905. เรียนอิคิไกจาก Netflix ตอน “Tuna Girl"


เรียนอิคิไกจาก Netflix ตอน “Tuna Girl"

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ IKIGAI School

ช่วงนี้ผมดูหนัง series และสารดีญี่ปุ่นใน Netflix มาก ไปเจอเรื่องหนึ่งเรื่อง Tuna Girl ดูจนจบแล้วว๊าวมากๆ  หนังเป็นเรื่องราวของสาวน้อยนักวิจัยระดับปริญญาเอกในศูนย์วิจัยเพราะเลี้ยงทูน่าของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่เป็นที่แรกในโลกที่สามารถเพราะพันธ์ุทูน่าสายพันธ์ุ Blue Fin  ...สาวน้อยผู้เฟอะฟะของเรา เขาไปเป็นนักศึกษาที่นี่ 

วันแรกก็เจอคำถามจากศาสตราจารย์ว่าตอนนี้สนใจอะไร ปรากฏสาวน้อยอึ้ง ตอบไม่ได้ ในขณะที่อาจารย์และเพื่อนรอบตัว รู้ว่าตัวเองจะทำอะไร และแต่ละคนก็ดูดื่มด่ำ พูดอย่างกระตือรือร้นว่าสนใจและกำลังทำอะไรอยู่ เมื่อตอบไม่ได้ครูเลยสั่งให้ไปเดินตามรุ่นพี่ที่เป็นดาวรุ่งของศูนย์ ก็คาวาอี้ตามสูตรหนังญี่ปุ่น 

แต่ยิ่งดูไป บางตอนนี้ผมน้ำตามซึมก็มี หนังแฝงปรัชญาไว้ลึกซึ้งมาก 

ผมชอบหลายตอน อยากให้คุณไปดูเอง เดี๋ยวจะ spoil จนหมด

สองสามตอนที่ชอบเช่น

  1. ตอนที่นักศึกษาคนหนึ่งเกิดหมดไฟเรื่องงาน ประมาณศึกษาเรื่องหนอน parasite ในทูน่า แล้วรู้สึกงานตัวเองมันดีจริง เหรอ ที่สุดมีรุ่นพี่คนหนึ่งเห็นหมอนี่เศร้าๆ เลยไปคุย คุยไปคุย เจ้าหนุ่มนั่นก็เริ่มพูดออกมา อ๊อ งานวิจัยนี้จะทำให้แก้ปัญหานี้ได้ ถ้าสำเร็จ จะทำให้การทำการประมงแบบชนิดหนักมากเกินไป คือทำจนเกินขอบเขต จะหายไปจากโลก จากนั้นเจ้าหนุ่มก็ทำหน้าดื่มด่ำ แล้วบอกว่า “แล้วโลกก็จะเกิดสันติสุข”  จากนั้นเจ้าหนุ่มคนนี้ก็มุ่งมั่นทำงาน อย่างมีความสุข 
  2. ตัวนางเอกหาตัวตนเรื่องการทำวิจัยไม่เจอ แต่ไปแอบได้ยินว่าศูนย์วิจัยทูน่านี่ ต้วเลี้ยงตัวเอง แต่ทูน่านี่ก็ไม่เหมือนแพนด้า คนรุ่นใหม่ๆ เฉยๆ แพนด้าเลยดีกว่า การทำงวิจัยเกี่ยวกับแพนด้าจะได้เงินทุนมากกว่า นางเอกเห็นอย่างนั้นเลยเริ่มแอบช่วยศูนย์ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลลง instagram และ twitter ของเเธอ เกิดดังขึ้นข้ามคืนจนได้สมมญานามว่า Tuna Girl  จนมีทีวีมาสัมภาษณ์ ครูก็ไม่ว่าก็ส่งเสริม นี่ผมชอบตรงนี้ และไม่พอเมื่อทำพลาด จนนางเอกขอลาออก ครูก็เข้ามาปลอบว่าอย่าออกเลย เขาก็เคยทำผิดพลาด ว่าแล้วเล่าเรื่องศูนย์วิจัยทูน่านี้ แรกเริมเดิมทีก็ตั้งขึ้นมา 11 ปีที่ไม่มีผลงานอะไรเลย ต้องไปโค้งขอทุนคน ต้องไปโค้งขอโอกาสจากคนนับไม่ถ้วน..  เคยทำผิดมามาก อาจารย์ถึงขั้นไปขอโทษทุกคนแทนนางเอก ทั้งๆ ที่เป็นหัวหน้า นางเอกซึ้งใจมาก  กลับมาทำงานเหมือนเดิม 
  3. และชอบตอนท้าย ที่นางเอกให้สัมภาษณ์ทีวี บอกว่าศูนย์เรา ตั้งเป้าจะเพิ่มอัตรการมีชีวิตรอดของปลาให้ได้ 5% จากไม่เกิน 0.1% ตอนนี้ใกล้แล้ว ถ้าได้ 5% เมื่อไหร่ ก็จบ...ครูแทรกมาเลยบอกว่าไม่จบ นี่คือการเริ่มต้นเท่านั้น เราจะยกระดับ เป็น 10%  งานวิจัยไม่เคยจบ..

ดูแล้วว๊าวแล้วว๊าวอีก ... แทบทุกนาที

นี่มันอิคิไก ชัดๆ ทั้งองค์กร งาน ส่วนตัว ความฝัน ครอบครัว... เป็นอิคิไกชุดใหญ่  ถ้าอาหารก็ชุดครอบครัว หรือคอมโบ้ หนังเรื่องนี้เป็นขุมทรัพย์ของการศึกษาเรื่องอิคิไกเลย อาจต้องใช้หนังสือหลายเล่ม เอาเล่มแรกครับ 

“What Makes Life Worth Living?: How Japanese and Americans Make Sense of Their Worlds” ของอาจารย์กอดอน แมททิว คืองานนี้เป็นงานวิจัยระดับป.เอกสายมนุษยวิทยาของอาจารย์ ที่เปรียบเทียบอิคิไก กับอะไรที่คล้ายๆ กันของตะวันตกนั้นคือ Purpose และ Meaning of Life เรียกว่าคุณจะลงลึกเรื่องอิคิไก เล่มนี้สุดๆ ครับ 

ก่อนอาจารย์ศึกษา อาจารย์ลงไปดูหนังสือเอกสารทุกเล่มในญี่ปุ่น  ก็ค้นพบว่าคนญี่ปุ่นมีทักศนะหลากหลายเกี่ยวกับอิคิไก เป็นที่ถกเถียงกันมาหลายปี และไม่ใช่ว่าทุกคนมีอิคิไก หรือที่คิดว่ามีคนอีกกลุ่มก็อาจบอกว่านั่นไม่ใช่อิคิไก ..


โดยรวมๆ อาจารย์บอกว่าอิคิไกคือ sense of commitment คือจริงจัง ทุ่มเท ซึ่งเป็นผลให้คนๆนั้นรู้สึกว่าชีวิตตัวเองมีค่า...

ที่สำคัญเวลาดูงานคนทำปริญญาเอก เขาไม่ได้ดูว่าใครพูดอะไรเท่านั้น แต่ดูว่าคนๆ นั้นฝึกฝนอะไรมา พื้นฐานปรัชญาความเชื่อของเขาคืออะไร และกำลังคิดอะไรอยู่ตอนพูดเรื่องนั้น เช่นเขาพูดถึงคุณหมอคามิย่า ที่หนังสืออิคิไกทุกเล่มพูดถึง คุณหมอท่านนี้เป็นจิตแพทย์ ท่านนี้เป็นคริสเตียน และได้อิทธิพลจากปรัชญา Existentialism มาก (ผมจะลงลึกเรื่องนี้ให้ในตอนต่อๆไป)  คามิย่าค่อนข้างจะต่อต้านกันพฤติกรรมที่เอาสังคมเป็นศูนย์กลางของญี่ปุ่น อาจารย์คามิย่าพูดไว้น่าสนใจว่า.. 

“ถ้าคุณเกิดค้นพบว่าคุณมีอิคิไก คือการไปเผยแพร่ศาสนาในต่างประเทศ แล้วทิ้งครอบครัวให้ตกอยู่ระกำลำบากอยู่ข้างหลังนี่ ไม่น่าเรียกว่าอิคิไก”  

อีกท่านหนึ่งบอกว่าอิคิไก คือ  Self-actualization ของมาสโลว์นั่นเอง

ในเล่มนี้ก็จะมีพระเซนมาแจมด้วย ท่านเสนอว่าไม่มีอิคิไกก็หาสิ มันเชื่อมโยงได้ทุกเรื่อง คนเราควรมีทั้งงานและส่วนตัว อิคิไกน่ะ 

แต่อีกคนก็บอกว่า “พิธีชงชานี่ไม่ใช่อิคิไกนะ ยกเว้นคุณจะอุทิศชีวิตเพื่อการชงชา ทำเป็นงานอดิเรกนี่ไม่ใช่” 

เล่มนี้ทำให้เห็นความพยายามของคนญีปุ่นที่จะค้นหาความสุข สิ่งที่ทำให้ชีวิตมีค่า ซึ่งไม่ต่างจากในอเมริกา และนักคิดในญี่ปุ่นหลายคนพยายามทำเรื่องนี้ให้ชัด 

และจากที่ผมเองอ่านมา รวมทั้งไปสอบถามเพื่อนที่เคยอยู่โอกิน่าว่า นักเรียนทุนปุ่นหลายๆ คน รวมถึงคนญี่ปุ่นเอง ก็ไปคนละทาง ล่าสุดบริษัทญี่ปุ่นที่ผมไปทำ สองปีก่อนพอพูดว่าเราจะมาหาอิคิไกให้ ปรากฏคนญี่ปุ่นเป็นสิบ งง มันอะไรนิ อิคิไก หลายคนก็ไม่รู้ครับ  

สรุปความเชื่อของอิคิไกมีหลากหลายครับ ว่ากันไป รู้บ้างไม่รู้บ้าง


แต่เราจะเรียนมาใช้งาน เท่าที่เราเข้าใจ เรามาวิเคราะห์กัน

มาดูเรื่อง Tuna Girl ผมสรุปได้ดังนี้ครับ เรื่องนี้ดูมีอิคิไกไหม 

  1. มีครับ ตั้งแต่ผู้ก่อตั้งศูนย์เมื่อ 32 ปีก่อนเลย ทุกคนมีอิคิไกเรื่องงาน ตามนิยามของอาจารย์ อิคิไกคือ sense of commitment คือจริงจัง ทุ่มเท ซึ่งเป็นผลให้คนๆนั้นรู้สึกว่าชีวิตตัวเองมีค่า... และเห็นชัดเลยว่าทุกๆ คนพยายามที่จะได้ทุ่มเทกับอะไรบางอย่าง พอไม่มีก็รู้สึกไม่มีค่า สงสัยสับส 
  2. มีการสื่อสาร Commitment หรืออิคิไก จนฝังหัว ว่าศูนย์นี้ตั้งเป้าให้อัตรารอดการฝักตัวของไข่ปลาทูน่าให้ได้ 5% โดยอิงประวัติการทุ่มเทของศูนย์ และผู้ก่อตั้งที่ตอนนี้เสียชีวิตไปแล้ว เรียกว่ามีเรื่องเล่าเพียบ และใช้ทุกครั้งที่คนชีวิตคนในศูนย์เกิดพัง ไม่ว่าจะมาจากเรื่องส่วนตัว หรือการตามหาความฝันไม่เจอก็ตาม
  3. มีการเปิดโอกาสให้คนค้นหาตัวเอง ทดลองแนวคิดแม้ผิดแหวกแนวอย่างกรณีของ Tuna Girl ที่ไม่ได้เน้นงานวิจัยทางวิทยศาสตร์แต่เน้นที่การประชาสัมพันธ์เรื่องทูน่าให้เด็กรุ่นใหม่  
  4. ทุกคนมีคำอธิบายว่าสิ่งที่ทำจะช่วยศูนย์วิจัย ประชาชน หรือโลกอย่างไร ทำให้เกิดพลังผลักดันเป็นแรงจูงใจภายใน
  5. สรุปแล้วนี่คือตัวอย่างของการสร้างอิคิไกที่เป็นงาน และไม่ได้บังคับใคร ทุกคนช่วยบ่มเพาะ ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนค้นหาตัวเอง และเป็นกำลังใจให้กัน
  6. แต่บางคนก็ไปไม่รอด เพราะครอบครัวมีปัญหาก็ต้องเปลี่ยนเป็นอิคิไก เพื่อครอบครัว ก็ต้องลาออกไปก่อน แต่ก็ได้กำลังใจไปเต็มเปี่ยม 

แล้วเราจะเอาอิคิไกไปใช้กับองค์กรอย่างไร  อาจารย์ไม่ได้ว่าไว้ ผมเลยกลับไปหาหนังสือของยูคาริ ที่ชื่อ IKIGAI Giving Everyday Meaning and Joyโดย Yukari Mitsuhashi  ที่บอกว่าเราจะค้นพบความหมายของงาน หรืออิคิไกในงานได้ ด้วยการถาม งานของเราสร้างผลกระทบอะไร (Impact)..แล้วเราจะค้นพบความหมายของมัน 

ดูเหมือนทุกคนตั้งแต่ผู้ก่อตั้ง จนถึง Tuna Girl ตอบคำถามนี้ได้หมด 

ผมเอามาทำบ้าง..

ในระดับสถาบัน หรือองค์กร ผมมีสถาบัน Appreciative Inquiry Institute  (AI Institute( ที่ผมตั้งขึ้นมาเพื่อวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ Appreciative Inquiry ศาสตร์การพัฒนาคนที่เน้นการตั้งคำถามเชิงบวก ให้ได้ความรู้ ประสบการณ์เชิงบวก เอามาเป็นฐานคิด ข้อมูล พื้นฐานที่ทำให้เราสามารถไปคิดสร้างสรรค์แก้ปัญหา พัฒนาอะไรก็ได้ .. เราไม่เน้นการคุยด้วยข้อมูลลบ หรือความเห็นลบๆ แต่เน้นสืบค้นว่าที่ทำได้ และเคยทำได้ดีที่สุด ทำอย่างไร  เช่นถ้าขายไม่ได้ เราไม่ถามทำไมขายไม่ได้ แต่เราจะถามว่า ที่เคยขายได้ทำอย่างไร หรือเห็นใครเคยขายได้บ้าง แล้วถามต่อแล้วจะทำอย่างไร ต่อไป..  


ถ้าตอบคำถามของยูคาริ นี่ เพื่อหาอิคิไกขององค์กรของผม...ผมอาจถามตัวเองว่า..

“ ...แล้วสิ่งนี้มีประโยชน์หรือเกิด Impact อย่างไร...”

ผมนึกถึงเหตุการณ์หนึ่ง วันหนึ่งมีคนมาถามผมว่า.. “อาจารย์ พี่รู้สึกแปลกใจ พี่นั่งคุยกับกลุ่มลูกศิษย์ (กลุ่มวิจัยเรื่อง Appreciative Inquiry ที่ม.ขอนแก่น)  รู้สึกไม่เหมือนกับที่เจอมาในกลุ่มอื่นๆ”   “อ้าวทำไมพี่ ปมถาม.. พี่เขาเลยตอบแบบนี้ ... “ทำไมดูบรรยากาศดี คุยกันแต่เรื่องดีๆ เห็นทั้งความเป็นไปได้ และโอกาสตลอด พลังบวกมากๆ ไม่เคยเจอแบบนี้ที่ไหนมาก่อนเลย...”   

“ใช่ครับพี่ พี่กำลังคุยกับลูกศิษย์ระดับเทพของผม กลุ่มนี้เก่งมากๆ ทำ AI มากจนกลายเป็นนนิสัยเลย เขาจะเน้นค้นหาเรื่องดีๆ มาคุยกัน ถ้ามีปัญหาก็พยายามค้นหา เรื่องดีๆ มาก็จะได้คำตอบเอง พี่กำลังเจอคนคุยกันด้วยภาษา Appreciative Inquiry ครับ..”

ว๊าววววว การได้ยิน feedback เรื่องนี้รู้สึกงานของเรามีค่า ... ผมชอบที่ผมพูดตอนท้ายจัง..

นี่ไงเป็นอิคิไก แล้ว  ...ผมมุ่งมั่นฝึกคนไทยให้พูดภาษา Appreciative Inquiry ครับ ... 

ฉะนั้น คนไทยตอนนี้ในองค์กร คุยกันแต่ปัญหา วิเคราะห์จนไม่เห็นทางออก มีแต่คุยกันลบๆ ผมอยากให้หมดไปสักที ครับ เราควรเอาเรื่องลบมาเป็นโจทย์แล้วหาทางออกด้วยวิธีการเชิงบวก ..ไม่ใช่จมดิ่งอยู่กับปัญหาและความสิ้นหวัง.. ถ้าเขาทำ Appreciative Inquiry เป็นการคุยทุกครั้งของเขา จะนำไปสู่ความหวัง การแก้ปัญหา และความภูมิใจ .. 

ในระดับองค์กร Appreciative Inquiry Institute สร้างขึ้นมาเพื่อทำให้คนไทยพูดภาษา Appreciative Inquiry เป็นภาษาที่สอง”  และนี่คือความมุ่งมั่น Commitment ของเราครับ.. นี่คือเหตุผลของการดำรงอยู่ของเราครับ...

ผมยังทำไม่ได้มากนัก แต่ก็มีความหวัง ความฝันและพลังเปี่ยมล้น...

และก็ต้องเดินรอยศาสตราจารย์ในเรื่องครับ คือ..ต้องค้นหาพลังอิคิไก ของทุกคน ถ้ามีก็ช่วยประคับประคอง ถ้าไม่มีก็เปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูก ...และผิดพังไม่เป็นไรครับ ลุกขึ้นและให้พลังกันต่อไป.. 

จบครับ


ขอบคุณผู้กำกับหนังที่สร้างเรื่องนี้มา Inspired มากๆ ผมจะไปบอกต่อมากๆครับ

สำหรับวันนี้ คำถามสำคัญคือ


"..อิคิไกขององค์กรของท่านคืออะไร..  และของพนักงานแต่ละคนคืออะไร.."

ถ้าไม่มีก็เริ่มครับ.. “สิ่งที่ท่านทำนี้สร้างผลกระทบ (Impact) อย่างไร” 


(ต่อวงการของคุณ สังคม ถ้าไปถึงโลกได้ยิ่งดี)

ด้วยรักและปราถนาดี

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 


IKIGAI School

หมายเลขบันทึก: 688104เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2021 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2021 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท