แรกเริ่มประเมินคณะบริหารไบเด็น รัฐบาลสหรัฐฯ


จำเดิม ประเทศสยามมีธรรมเนียมการทูตชื่อ "ปฏิสันถารสามนัด" กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงดำรัสถามทูตานุทูตต่างแคว้นนั้นด้วยสามคำถามว่า (๑) พระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ของท่านทรงสบายดีหรือ, (๒) บ้านเมืองของท่าน ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าบริบูรณ์ดีหรือไม่, และ (๓) ข้าศึกทั้งนอกเมืองและในเมืองของท่าน สงบราบคาบ ราษฎรมีความสุขสบายดีหรือไม่ ปฏิสันถารนี้พบได้บ่อยครั้งในวรรณกรรมสมัยเก่า ๆ ทั้งรามเกียรติ์ ลิลิตตะเลงพ่าย เสภาขุนช้างขุนแผน ตลอดจน รามเกียรติ์ ตอน ท้าวอัชบาลเสด็จออกรับทูต ในที่นี้ขอเสนอขุนช้างขุนแผน ตอน สมเด็จพระพันวษาเสด็จออกรับทูตจากล้านช้าง ดังต่อไปนี้

“จึงตรัสประภาษปราศรัย     มาในป่าไม้ใบหนา
กี่วันจะถึงพารา     มรรคายากง่ายประการใด
อนึ่งกรุงนาคบุรี     ข้าวกล้านาดีหรือไฉน
ฤๅฝนแล้งข้าวแพงมีภัย     ศึกเสือเหนือใต้สงบดี
ทั้งองค์พระเจ้าเวียงจันทน์     ทรงธรรม์เป็นสุขเกษมศรี
ไม่มีโรคายายี     อยู่ดีอย่างไรในเวียงจันทน์ ”

ปฏิสันถารสามนัด จะว่าเป็นแบบธรรมเนียมทั่วไปก็มองได้ ว่าเป็นเพียงการเริ่มโอภาปราศรัยเกริ่นคุยทั่วไป ก่อนจะเข้าราชกิจที่แท้จริงต่อไป หรือจะมองว่าจริงจังก็ได้ กล่าวคือ คำถามแรกสอบถามความเป็นอยู่ของผู้ปกครองและครอบครัว นั้นหมายถึงนโยบายหลักของราชธานีอาคันตุกะ คำถามสองและสามสอบถามสภาพบ้านเมือง นั้นหมายถึงสภาพทั่วไปของบ้านเมืองฝ่ายมาเยือน ทั้งจากการบริบาลของอัครเสนาบดีฝ่ายสมุหนายกผู้ถือตราราชสีห์สำหรับกิจการฝ่ายพลเรือน และกิจการทหารของอัครเสนาบดีฝ่ายสมุหกลาโหมผู้ถือตราคชสีห์ เป็นธรรมดาที่ราชธานีต่าง ๆ มักมีงานข่าวกรองจากดินแดนต่าง ๆ รายงานเข้ามาอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว การสอบถามนี้เป็นทั้งการเปรียบเทียบความแม่นยำของงานข่าวกรองและประเมินท่าทีทูตานุทูตไปพร้อมกัน

...

ปฏิสันถารสามนัดของประเทศมหาอำนาจในยุคปัจจุบัน ดูจะเริ่มแต่หัววันดังที่ผมได้เคยชี้เอาไว้ในบันทึกก่อน ไปแล้วว่าจีนเริ่มกำหนดนโยบายเกี่ยวกับไต้หวันของตนเองไปโดยการปรามประธานาธิบดีไช่อิงเหวินให้ลดความก้าวร้าวของนโยบายการแยกตนเป็นเอกราชลง และในขณะเดียวกันก็ประเมินท่าทีของสหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯ แม้ว่าในทางทฤษฎีให้การรับรองนโยบายจีนเดียว แต่สหรัฐฯ ก็มีสนธิสัญญาพิเศษในการคุ้มครองไต้หวัน (The Taiwan Relations Act, TRA)ไปด้วยในตัว

ครั้งก่อนเป็นการโต้ตอบในระดับโฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีน ต่อมาประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้แถลงในการประชุมดาวอสของ WEF แบบออนไลน์โดยมีสาระสำคัญสามประเด็นคือ ๑) เน้นย้ำกระบวนการแบบพหุภาคี ขอให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน ๒) ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศ มุ่งเน้นการพัฒนาระหว่างประเทศ "ใต้-ใต้" (ประเทศใต้ ศัพท์ในแวดวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหมายถึงประเทศกำลังพัฒนา, ส่วนประเทศเหนือคือประเทศพัฒนาแล้ว จีนมองว่าตนเองยังเป็นประเทศใต้ แต่ขนาดของเศรษฐกิจจะทำให้จีนกลายผู้นำของประเทศกลุ่มนี้โดยปริยาย) และ ๓) จีนสัญญาจะทำให้วัคซีนโควิด กลายเป็น "สินค้าสาธารณะ" (คือแจกจ่ายให้ประเทศอื่นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในทางหนึ่งนี่เป็นการโจมตีระบบ "ทุนนิยม" ของฝ่ายตะวันตกที่ถูกมองว่าแสวงหากำไรจากวัคซีน และอีกด้านก็ถือเป็นการทูตวัคซีนเพื่อสร้างความนิยมให้จีน)

ทั้งความเคลื่อนไหวของโฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน และถ้อยแถลงของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงต้องถือว่าเป็น การเดินหมากเม็ดแรกในการทูตมหาอำนาจครั้งนี้ แล้วต้องถือว่าเป็นการเปิดเกมรุกด้วยซ้ำไป หลังจากที่จีนต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับมานานในสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ (แต่ฝ่ายจีนก็คงมองว่าการตั้งรับนั้นคุ้ม เพราะนโยบายต่างประเทศแบบอเมริกามาก่อน สร้างความเสื่อมถอยให้สหรัฐฯ ไปมาก) เรื่องที่น่าสังเกตคือฝ่ายจีน ด้านหนึ่งก็เสมือนข่ม อีกด้านก็เสมือนยื่นมือมาจับเพื่อสร้างความร่วมมือ

ฝ่ายสหรัฐฯ เดินหมากโต้กลับโดยเริ่มจาก นางเจนนิเฟอร์ เรเน ซากี้ โฆษกทำเนียบขาว ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในการแถลงข่าวว่า คำแถลงของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ไม่ทำให้นโยบายสหรัฐฯ ต่อจีนมีการเปลี่ยนแปลงอะไร สหรัฐฯ มองว่าจีนมีลักษณะเผด็จการมากขึ้นทุกวัน จีนสร้างความท้าทายต่อความมั่นคง ความมั่งคั่ง และค่านิยมที่สหรัฐฯ ยึดถือ แต่สหรัฐฯ จะดำเนินนโยบายอย่าง "อดกลั้นแบบมียุทธศาสตร์" (strategic patience) และว่าสหรัฐฯ จะหารือกับทั้งฝ่ายเดโมแครตและรีพับรีกันในรัฐสภา พร้อมทั้งพันธมิตรชาติต่าง ๆ ก่อนจะดำเนินนโยบายใด

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีไบเด็นยังเปิดสายเจรจากับประธานาธิบดีปูติน โดยไบเด็นแสดงความกังวลเรื่องการจับกุมตัวผู้นำฝ่ายค้าน (นายนาลวานี) จนทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ในรัสเซีย สหรัฐฯ แสดงความกังขาเรื่องการตั้งค่าหัวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน และความขัดแย้งในยูเครน ไปจนถึงการกลับมาต่อรองเรื่องสนธิสัญญาหัวรบนิวเคลียร์ขนาดกลาง (START) (จีนไม่เข้าร่วมในสนธิสัญญานี้กับสหรัฐฯ และรัสเซีย) ไบเด็นยังยืนยันว่าสหรัฐฯ จะ "ดำเนินการอย่างหนักแน่น" หากรัสเซียคุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และพันธมิตร ฝ่ายรัสเซียบันทึกการเจรจานี้แต่ไม่ยอมกล่าวถึงการสนทนาในหัวข้อนายนาลวานี (ฝ่ายจีนเองก็จับตามองการเจรจานี้อย่างไกล้ชิด)

ในระดับกระทรวง (จนถึงปัจจุบันวุฒิสภาเพิ่งรับรองสมาชิกคณะรัฐมนตรี หรือเจ้าหน้าที่ระดับเทียบเท่า ไปเพียงสี่คนเท่านั้นคือ นายแอนโทนี บลิงเคน รมว ต่างประเทศ, นางจาเน็ต เยลเลน รมว การคลัง, นายลอยด์ ออสติน รมว กลาโหม, และนางเอวริล เฮเนส ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ) โฆษกกระทรวงพานิชย์ออกมาให้ข่าวว่าจะยังไม่มีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงเรื่องการขึ้นภาษีการนำเข้าสินค้าจากจีน จนทำให้สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ (SEMI) ต้องออกหนังสือขอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาการค้าแบบพหุภาคีมิใช่เอกภาคีแบบในสมัยทรัมป์ ส่วนโฆษกกระทรวงกลาโหมออกมาให้ข่าวเมื่อเช้านี้ (ตามเวลาไทย) ปัดคำเตือนเรื่องไต้หวันของจีน โดยบอกว่าจีนไม่จำเป็นต้องใช้ท่าทีก้าวร้าวเช่นนี้

เป็นที่ทราบกันดีถึงความเป็นอริระหว่างทั้งคู่ ไบเด็นนั้นเคยวิพากษ์ปูตินตรงไปตรงมาหนหนึ่งเมื่อปี ๒๐๑๑ ว่าเขาไม่เห็นวิญญาณในตัวปูตินเลย และปูตินก็ตอบโต้กลับว่า "เขาก็เช่นกัน" ท่าทีของสหรัฐฯ ต่อจีนจะเป็นอย่างไรต่อไป ต้องดูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และ รัสเซีย เพราะลักษณะการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ จะต้องคำนวณผลได้ผลเสียทั่วโลก และดูท่าทีแล้วก่อนจะดำเนินนโยบายไบเด็นก็คงจะปรึกษากับชาติพันธมิตรทั้งฝั่งยุโรปและอินโดแปซิฟิคเสียก่อน นี่เองจึงเป็นเหตุผลดังที่ผมเขียนไว้ในบันทึกครั้งก่อนว่าจีนก็ตระหนักเรื่องความสัมพันธ์ของตนกับรัสเซียเป็นอย่างดี "จะอยู่ก็รัสเซีย จะไปก็รัสเซีย" สงครามเย็นรอบที่แล้วนั้น คิสซิงเจอร์อาศัยช่องทางผ่านประธานาธิบดียาย่าข่านของปากีสถานเข้าถึงเหมาเจ๋อตง เพื่อเปิดความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จนทำให้พันธมิตรม่านเหล็กม่านไม้ไผ่ต้องปิดฉากลง เพราะในขณะนั้นเหมาเจ๋อตงเริ่มเกิดความขัดแย้งกับครุสชอฟเพราะหลังได้อำนาจ ครุสชอฟวิพากษ์วิจารณ์สตาลินและระบอบเก่าอย่างมาก เหมาเจ๋อตงเองหลังดำเนินนโยบายก้าวกระโดดใหญ่ผิดพลาดก็เกรงจะเกิดเหตุการณ์แบบที่เกิดขึ้นกับสตาลินกับตนบ้างจึงมีท่าทีเช่นนั้น แต่อันที่จริงลึก ๆ แล้วในทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งจีนและรัสเซียไม่เคยมีสัมพันธภาพยั่งยืน ครั้งนี้ก็ต้องดูว่าสัมพันธภาพสามเส้าระหว่าง วอชิงตัน-ปักกิ่ง-มอสโคว จะคลี่คลายไปอย่างไร (ทั้งนี้การที่ไบเด็นจะหันมาฟื้นฟูสัมพันธไมตรีกับรัสเซียก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อพิจารณาจากการปฏิบัติการโจมตีไซเบอร์ของรัสเซียครั้งใหญ่เมื่อปีกลาย จนทำให้บางคนถึงกับกล่าวว่า ปฏิบัติการโจมตีในระดับนี้สามารถเรียกได้ว่าการประกาศสงครามเลยทีเดียว)

แต่ในระยะยาวแล้วนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ มีความต่อเนื่องระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล (แม้ว่าจะมาจากต่างพรรคกัน) มากกว่าที่คิด ดูนโยบายเรื่องอินโดแปซิฟิคที่คณะบริหารทรัมป์ได้เปิดเผยออกมาที่นี่

ทั้งนี้โดยส่วนตัวผมประเมินว่าไบเด็นมีลักษณะยึดถือค่านิยมแบบแผนที่มั่นคงและเปิดกว้างกว่าทรัมป์ เขาเป็นคนทำงาน คิดและวางแผน อย่างละเอียดรอบคอบ ให้เกียรติและเชื่อถือในทีมงาน (ดูรายงานข่าวชิ้นนี้จาก Politico) เมื่อพูดจาสิ่งใดออกไปแล้วก็มีความเชื่อมั่นศรัทธาในแผนการและหลักการที่ตนเองยึดมั่นอย่างไม่คลอนแคลน แต่ในขณะเดียวกันเขาก็มีความยืดหยุ่นกว่าโอบามา ทั้งนี้มิใช่ว่าโอบามาจะไม่ยืดหยุ่นเท่าไบเด็น แต่เป็นข้อจำกัดจากคุณสมบัติตัวตนของโอบามาเองที่มิใช่คนผิวขาวผู้ถือคริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ ลักษณะนี้ของเขาสร้างความขัดแย้งในสังคมจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ง่าย แม้ว่าโอบามาอาจจะมีความคิดแบบยืดหยุ่นแต่เอาเข้าจริงจากข้อจำกัดดังว่า จะทำให้เขามีช่องในการแสวงหาความร่วมมือได้น้อย ทั้งพวกเดียวกันและฝ่ายตรงข้ามมักมองว่าโอบามายึดถืออุดมคติอย่างแรงกล้า การกล่าวปาฐกถาของเขาก็เสริมคุณลักษณะข้อนี้อย่างมาก จึงกล่าวได้ว่าการสร้างภาพลักษณ์แบบนี้เป็นดาบสองคม

ฝ่ายเดโมแครตคงคิดมาอย่างรอบคอบแล้วจึงให้การสนับสนุนไบเด็น ซึ่งต้องถือว่านักการเมืองสายกลาง (moderate) มากกว่านายเบอร์นี่ แซนเดอรส์ ซึ่งจัดเป็นนักการเมืองปีกก้าวหน้า

เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ต้องดึงสังคมกลับมาจุดสมดุลหลังจากแกว่งไปสุดโต่งด้านหนึ่งสมัยโอบามา (ในสายตาคนซีกตรงข้าม) และแกว่งไปอีกทิศตรงข้ามจากทรัมป์ (จากสายตาของคนอีกซีกหนึ่งเช่นกัน)

การประเมินข้างต้นนี้ ผมนำมาจากข้อเขียนย้อนหลังประเมินและคาดการณ์ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ๒๕๖๓ บันทึกด้านล่างนี้จะย้อนหลังจากวันล่าสุด ไปจนถึงบันทึกเริ่มแรกในการประเมินสถานการณ์ดังกล่าว


(๑) ไบเด็นจะชนะ

บันทึกเดิมในเฟสบุ๊คส่วนตัว เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

เมื่อวานมีคนถามผมมาหลังไมค์กันเยอะ ทั้งมิตรสหายหลายท่าน แล้วก็ทั้งผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือถึงผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ผมก็ยืนยันเหมือนที่ยืนยันไปแต่แรกว่าไบเด็นจะมีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดีมากกว่าทรัมป์ เดโมแครตจะชนะการเลือกตั้งในสภาล่าง ส่วนสภาสูงผมไม่ทราบ ผมยืนยันเรื่องนี้มาแต่ไหนแต่ไรตั้งแต่ไบเด็นลงแข่งกับแซนเดอร์สแต่แรกด้วยซ้ำ หลายคนคงทราบดี ผมคงไม่ต้องเอาลิงก์โพสต์เรื่องที่ผมพูดเรื่องพวกนี้มายืนยันอะไรอีก ลองเลื่อนข้อความที่ผมโพสต์ไปข้างล่างก็จะเห็นอยู่ ผมไม่ได้ให้ข้อมูลประกอบเฉพาะเรื่องความน่าจะเป็นจากโพล แต่ให้เหตุผลและหลักคิดประกอบไปด้วยว่าทำไมช่วงนี้จำเป็นต้องอาศัยพลังสาย moderate แบบไบเด็นถึงจะเข้ามาแก้ปัญหาในสหรัฐฯ และในโลกได้ดีกว่าแซนเดอร์สซึ่งถือเป็นปีกซ้ายในเดโมแครต

เรื่องที่น่ารำคาญในระยะหลังคือทั้งพวกฝ่ายซ้ายที่เชียร์แซนเดอร์ส ทั้งพวกฝ่ายขวาที่เชียร์ทรัมป์ เห็นเมื่อวานช่วงคะแนนเลือกตั้งกำลังไล่กันสูสีก็ออกมาคุยข่มกันยกใหญ่ พวกฝ่ายซ้ายก็บอกว่านี่ถ้าเป็นแซนเดอร์สก็ชนะขาดไปแล้ว (ดูตัวอย่าง https://www.facebook.com/10513336322/posts/10159678080426323/?d=n) บางคนก็ว่าพวกเดโมแครตเล่นพรรคเล่นพวกไม่ยอมเลือกคนดี ๆ เข้ามาอะไรไปโน่น พวกฝ่ายขวาก็ว่าทรัมป์ชนะแน่นอน ฯลฯ เช้านี้มาเห็นก็สงบเสงี่ยมลงไปเยอะ บางคนก็ลบสเตตัสเดิมที่เคยพูดคุยโวโอ้อวดแบบผิด ๆ ไว้ออกไปด้วยซ้ำ

ผมไม่ใช่เทวดาหรอกนะครับ เรื่องพวกนี้ผมก็ดูโพลเป็นพื้นฐาน แล้วตรวจดูหลายรอบ ดูหลายโพล แล้วก็ตรวจปัจจัยอื่น ๆ ประกอบอย่างที่เคยบอกว่า ผมสนใจเรื่องนี้มาแต่แรกทั้งในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งในแง่การเมือง ฯลฯ ตรวจซ้ำแล้วซ้ำอีก

โอเคมาดูว่า ทำไมโพลถึงจะแม่นหรือไม่แม่น ถ้าทำตามหลักการอย่างที่ควรจะเป็น สองภาพข้างล่างนี้ผมเอามาจาก หนังสือ "The Practice of Social Research, eleventh edition" ของ Earl Babbie อันนี้เป็นฉบับปี 2006 หน้า 193-194 หนังสือนี้เป็นหนังสือมาตรฐานสำหรับคนที่สนใจเรื่องการวิจัยเชิงปริมาณด้านสังคมศาสตร์

สมมติเราต้องการเก็บกลุ่มตัวอย่างของประชากรจำนวน 10 คน ที่แต่ละคนจะมีเงินในกระเป๋า คนที่หนึ่งมีเงิน 0 เหรียญ คนที่สองมีเงิน 1 เหรียญ คนที่สามมีเงิน 2 เหรียญ ... ไปจนถึงคนที่สิบมีเงิน 9 เหรียญ เมื่อรวมจำนวนเงินของกลุ่มประชากรทั้งหมดจะได้จำนวน 45 เหรียญ (0+1+2+3+4+5+6+7+8+9) ค่าเฉลี่ยกลางจะอยู่ที่ 4.5 เหรียญ (45/10)


ภาพที่ 7.5 สมมติเราเลือกสุ่มตัวอย่างหนึ่งคน เรามีโอกาสสุ่มมาได้ตั้งแต่คนมีเงิน 0 เหรียญ, 1 เหรียญ, 2 เหรียญ, 3 เหรียญ... ฯลฯ ไปเรื่อย ๆ จนถึง 9 เหรียญ จะเห็นว่าค่าที่สุ่มได้มีตั้งแต่ต่ำสุด -4.5 (0 - 4.5) ไปจนถึงมากสุด +4.5 (9 - 4.5) คือเหวี่ยงไปทั้งค่าที่น้อยที่สุด ไปจนถึงค่าที่มากที่สุด

ภาพที่ 7.6 สมมติเราเลือกสุ่มตัวอย่างสองคน ก็จะมีโอกาสสุ่มได้เป็นคู่ต่อไปนี้ ($0, $1); ($0, $2); ... ; ($7, $8); ($8, $9) ค่าเฉลี่ยที่เกิดจากการคำนวณของแต่ละคู่ ตามตัวอย่างนี้จะเป็น $0.5 จาก [($0 + $1)/2]; ไปจนถึง $8.5 จาก [($8 + $9)/2] การกระจายตัวยังคงกว้างอยู่แต่แคบเข้ามาคือหดลงมาเป็นจาก $0.5 จนถึง $8.5 ในจำนวนนี้เรามีโอกาสสุ่มเจอค่าเฉลี่ยของคู่ตัวอย่างเท่ากับค่าเฉลี่ยมาตรฐานกลางของกลุ่มประชากรทั้งกลุ่มคือ $4.5 ถึง 5 กลุ่มตัวอย่างจากทั้งหมด 45 กลุ่มตัวอย่างในภาพนี้


ภาพที่ 7.7a เลือกกลุ่มตัวอย่างสามคนจากประชากร การกระจายตัวจะหดลงมาเป็น $1 จนถึง $8 มีโอกาสสุ่มเจอค่าเฉลี่ยของคู่ตัวอย่างที่ใกล้เคียง แต่ไม่เท่ากับค่าเฉลี่ยมาตรฐาน 20 กลุ่ม

ภาพที่ 7.7b เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นสี่คนจากประชากร การกระจายตัวจะยิ่งหดแคบลงไปอีก ไปจนถึงภาพที่ 7.7c (สุ่มประชากรห้าคน) จนถึงภาพที่ 7.7d (สุ่มประชากร 6 คน) ยิ่งสุ่มประชากรมากขึ้นเท่าใดค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ได้ยิ่งลู่เข้าใกล้ค่าเฉลี่ยมาตรฐานกลางมากเท่านั้น พูดง่าย ๆ คือยิ่งสุ่มมากโอกาสหาค่าผิดก็ยิ่งน้อย ถ้าสุ่มเท่ากับประชากรทั้งกลุ่มก็จะไม่ผิดเลย แต่ปัญหาก็คืออาจจะเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลมากเท่านั้น แต่สำหรับประชากรขนาดใหญ่มาก ๆ มันจะเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากประชากรจำนวนหนึ่งเท่านั้นการเก็บจำนวนมากกว่านั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรอีก การเก็บตัวอย่างถ้าทำถูกหลักการและมีการกระจายตัวสุ่มตัวอย่างให้ถูกต้องก็สามารถ "แทน" ค่าประชากรทั้งหมดได้ดีคือไม่เหวี่ยงไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป แต่จะเห็นว่ามันก็ยังมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ ความคลาดเคลื่อนนี้เราถึงเรียกว่าความเชื่อมั่นจากการเก็บข้อมูลสำรวจของเรา นอกจากเรื่องนี้ก็มีวิธีการสร้างมาตรวัด (scale) จากแบบสอบถาม ฯลฯ ทั้งหมดนี่ก็พูดถึงในหนังสือเล่มนี้คร่าว ๆ ทั้งหมด คุณภาพของการทำงานเหล่านี้ก็จะสะท้อนออกมาถึงความแม่นยำของผลสำรวจในที่สุด

โอกาสที่โพลจะทำนายผิดพลาดมีไหม ก็มีโอกาสเป็นไปได้ ในหนังสือเล่มนี้ก็ยกตัวอย่างจากการทำโพลของ the Digest โดยใช้ฐานข้อมูลจากสมุดโทรศัพท์ และเจ้าของทะเบียนรถ โพลนี้ทำนายผลการเลือกตั้งถูกต้องเมื่อปี 1924, 1928 และ 1932 ปี 1936 โพลนี้ทำผลสำรวจโดยส่งคำถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง 10 ล้านคน มีคนตอบกลับมา 2 ล้านคน ผลการตอบคำถามคนเลือก Alf Landon มากกว่าประธานาธิบดี Roosevelt ที่ 57% ต่อ 43% แต่ผลเลือกตั้งจริงก็อย่างที่เราทราบกัน Roosevelt ชนะแบบถล่มทลายที่ 61% เรียกว่าสวนโพลแบบเละเทะ แล้วก็หยุดตำนานความแม่นยำของ the Digest ไว้แค่นั้น (ดูหน้า 182) ทำไมผลโพลถึงคลาดเคลื่อนขนาดนั้น เหตุผลก็คือช่วงนั้นเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (great depression) กรอบการสุ่มข้อมูล (sampling frame) ของ the Digest ที่ใช้ฐานข้อมูลจากสมุดโทรศัพท์และเจ้าของทะเบียนรถครอบคลุมเฉพาะประชากรมีฐานะเท่านั้น และละเลยคนยากจนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำแล้วหันไปเทคะแนนให้กับนโยบาย New Deal ของปธน Roosevelt ปัญหาของเรื่องนี้จึงอยู่ที่ sampling frame ของ the Digest เกิดความเบี่ยงเบน ไม่แทนภาพประชากรทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อีก เรื่องนี้สำนักโพลก็ทราบดีเขาถึงต้องพยายามปรับปรุง sampling frame ให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ

ผมไม่ค่อยสงสัยอะไรกับพวกสายสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ ที่ไม่มีความรู้เรื่องการวิจัยเชิงปริมาณอย่างนี้นะ แค่รำคาญนิดหน่อยที่คนเราก็สามารถให้ความเห็นได้ทุกเรื่องแม้แต่ในเรื่องที่ตัวเองไม่รู้ ว่าอันที่จริงคนที่เรียนนิติศาสตร์แล้วใช้งานวิจัยเชิงปริมาณที่ซับซ้อนกว่าที่ผมพูดแบบพื้น ๆ นี้ก็มีอยู่ แต่คนเหล่านั้นแสดงความเห็นต่อสาธารณะน้อย เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีด้วยซ้ำ ส่วนสื่อเมืองไทยก็มั่วไปเรื่อยแห่ตามกระแสเฮไปเฮมาอย่างที่เห็นกันอยู่ แต่สำหรับคนที่เรียนจบสายวิทยาศาสตร์มาคุ้นเคยกับงานวิจัยเชิงปริมาณพวกนี้อยู่แล้ว (หรือแม้แต่จบเศรษฐศาสตร์ก็เหมือนกัน) แต่ดันออกมาเชียร์แซนเดอร์สแบบหลับหูหลับตามั่ว ๆ นี่ผมสงสัยตรรกะอยู่ว่านี่เอาอะไรมาคิด แล้วคิดจะรับผิดชอบอะไรกับที่ออกมาพูดหรือให้ข้อมูลแบบนั้นบ้างไหม แต่ผมสงสัยว่าไม่

จะว่าไปในระยะหลังผมคาดการณ์ทางการเมืองอะไรไม่ค่อยผิดไปจากที่ผมมองเท่าไหร่ การเมืองญี่ปุ่น การเมืองระหว่างประเทศ ไปจนถึงการเมืองมาเลเซีย และการเมืองไทย แต่หลัง ๆ ขี้เกียจออกมาพูดก็เพราะความเห็นมั่ว ๆ อย่างที่เขียนมาข้างต้น แล้วก็ดูเหมือนคนจะชอบความเห็นมั่ว ๆ พวกนั้นด้วยซ้ำ เหตุผลที่ไม่พูดอีกอย่างสำหรับการเมืองไทยและการเมืองมาเลเซีย คือมันใกล้ตัวเกินไป ผมได้ข้อมูลจากคนในระดับที่เกี่ยวข้องกับการเมืองลึก ๆ บางเรื่องก็ละเอียดอ่อนเกินกว่าจะพูดอะไรออกมาโดยเฉพาะในช่วงเวลาแบบนี้

ความรู้เรื่องอะไรพวกนี้ บางทีก็สะท้อนกับคุณภาพสื่อหรือการให้ความเห็นสาธารณะในเมืองไทย แล้วสะท้อนกลับมาถึงคุณภาพการเมืองไทยได้ดีเหมือนกัน ว่ามันก็ได้เท่านี้แหละจะเอาอะไรมาก


(๒) บันทึกนี้นำมาจากโพสต์เก่าในเฟสบุ๊คส่วนตัว เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๓

Yes, I do support Joe Biden.

But my major idea on supporting him has come from his foreign policy "Why America must lead again", I think his idea on foreign affairs is crystal clear and practicality. My foundation of international relations has rested upon what is called "neo-realism", among notable scholars are people like John Mearsheimer, Stephen Walt and Kenneth Waltz, etc. This school has relied on crude "power" (either hard or soft) projected by great powers to realign a "global order". But on top of that this global order isn't a soulless mechanical system. It has been built by and is comprised of human-being. So, constructionist in international relations will explain why in this 21st century the global order will promote peace rather than war, and will make a tendency toward "inclusiveness" more. Neither Wilson’s Fourteen Points which was influenced by Kantian perpetual peace, nor modern globalization can explain this phenomenon well enough, albeit making a good reference on origins. And that's why World War II or Cold War happened. Thomas P.M. Barnett's idea, in his book "The Pentagon's New Map", about "The Functioning Core" and "Non-Integrated Gap" has unpremeditated explained this "character" of the 21st century global order.

This kind of social phenomena, according to constructionist, has been generated by a struggle of black people within the US which is a hegemonic power of global order. This struggle is long and bitterness along the US history. There is one scholar that can explain this phenomenon so well, Samuel Huntington on his "Who are we?: The challenges to America's national identity".

Don't be so surprise that Joe Biden and his Democratic fellows will chant "Remember, who we are" when they need to challenge Trump. 

There is a clash between different "American identities" from both parties. This struggle has built "norm" and "culture" in America and it welcomes minorities (although with long struggle) because of The Fifteenth Amendment, and especially the declaration of the independence, "We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable Rights, that among these are Life, Liberty and the pursuit of Happiness."
Although guaranteed by law, but social equality is another thing, as of my another post regarding Brown v. Board of Education of Topeka in 1954. This "norm" and "culture" in America hence produce global "norm" and "culture" in the same way as well. (And now Trump has tried to reverse this "norm".)

There is no wonder why black people support Democratic party more than Republican party. It doesn't mean that there is Apartheid in Republican. The Republican nowadays accepts black representatives and voters. This is the fact that even first grade students in primary school are familiar with. But we can't deny there is a tendency that Democratic party can produce the first black president. I'm not surprise to see that this party will produce the first woman president, or the first gay/lesbian president, or the first Hispanic president, or the first Asian president in the future. It is Democratic party that will promote, support and advocate for "social equality/justice" and "inclusiveness" more than Republican party.

Remember? Fact and data prevail, and action speaks louder than words.

This is some criticizing from my "conservative friend" which I want to response and make an argument to clarify with. I do welcome any criticism. I know it's hard to stay in the center, but I think I prepare myself well enough, especially on academic background.

Another criticism on economic front is from the leftist such as this article, in which I'll borrow an article from The Economist to defend my stance as of "the radical centrist":

Some readers, particularly those used to the left-right split in most democratic legislatures, are bamboozled by The Economist’s political stance. We like free enterprise and tend to favour deregulation and privatisation. But we also like gay marriage, want to legalise drugs and disapprove of monarchy. So is the newspaper right-wing or left-wing?

“Where there is a liberal case for government to do something, The Economist will air it”

Neither, is the answer. The Economist was founded in 1843 by James Wilson, a British businessman who objected to heavy import duties on foreign corn. Mr Wilson and his friends in the Anti-Corn Law League were classical liberals in the tradition of Adam Smith and, later, the likes of John Stuart Mill and William Ewart Gladstone. This intellectual ancestry has guided the newspaper’s instincts ever since: it opposes all undue curtailment of an individual’s economic or personal freedom. But like its founders, it is not dogmatic. Where there is a liberal case for government to do something, The Economist will air it. Early in its life, its writers were keen supporters of the income tax, for example. Since then it has backed causes like universal health care and gun control. But its starting point is that government should only remove power and wealth from individuals when it has an excellent reason to do so.

“We reconcile the left’s impatience at an unsatisfactory status quo with the right’s scepticism about grandiose redistributive schemes”

The concepts of right- and left-wing predate The Economist’s foundation by half a century. They first referred to seating arrangements in the National Assembly in Paris during the French Revolution. Monarchists sat on the right, revolutionaries on the left. To this day, the phrases distinguish conservatives from egalitarians. But they do a poor job of explaining The Economist’s liberalism, which reconciles the left’s impatience at an unsatisfactory status quo with the right’s scepticism about grandiose redistributive schemes. So although its credo and its history are as rich as that of any reactionary or revolutionary, The Economist has no permanent address on the left-right scale. In most countries, the political divide is conservative-egalitarian, not liberal-illiberal. So it has no party allegiance, either. When it covers elections, it gives its endorsement to the candidate or party most likely to pursue classically liberal policies. It has thrown its weight behind politicians on the right, like Margaret Thatcher, and on the left, like Barack Obama. It is often drawn to centrist politicians and parties who appear to combine the best of both sides, such as Tony Blair, whose combination of social and economic liberalism persuaded it to endorse him at the 2001 and the 2005 elections (though it criticised his government’s infringements of civil liberties).
When The Economist opines on new ideas and policies, it does so on the basis of their merits, not of who supports or opposes them. Last October, for example, it outlined a programme of reforms to combat inequality. Some, like attacking monopolies and targeting public spending on the poor and the young, had a leftish hue. Others, like raising retirement ages and introducing more choice in education, were more rightish. The result, “True Progressivism”, was a blend of the two: neither right nor left, but all the better for it, and coming instead from what we like to call the radical centre.


(๓) บันทึกนี้นำมาจากโพสต์เก่าในเฟสบุ๊คส่วนตัว เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๓

It's really a tough time for the moderates. Obama "hope" could make a tectonic shift against Bush's neocons agenda, but it has paved the way to the counter of the right from "tea party" and then an emerging of Trumpism. This has also been reinforced by an intervention from the Russian "sharp power" / hybrid warfare doctrine. Trump has included far-right, conspiracy theorists, and white evangelical Protestants in his own arsenal. Now extreme right movements have been flourishing all over European continent. Now the whole world is full of strong leaders.

Key rightist strategist like Dominic Cummings has emerged to help Boris Johnson materializing Brexit, see the movie "Brexit the uncivilwar". Cummings played a leading role in the Conservative Party's victory in the 2019 general election, albeit Isaac Levido, an Australian political strategist, a protégé of Lynton Crosby, the semi-retired so-called “Wizard of Oz” and “master of the dark arts” who worked as a strategist for both David Cameron and May, ran major campaign.

The Socialists make their move, Bernie Sanders is an early signal on this. Unfortunately with or without Sanders success, it will make situation far worse and dangerous, with the counter-movement from the right. Being aware of this risk, globalist billionaires trying to turn the tide, such as Soros' speech at Davos early this year is a prime example. In this speech, apart of criticizing Trump, Xi, Kim, Modi, etc, he pledges to contribute $US 1 billion to build Open Society University Network (OSUN).
Mike Bloomberg has gone further by engaging on a presidential candidate in Democratic Party. He has skipped the first four caucuses, and will bet it all with the coming Super Tuesday. Steve Bannon has mentioned a huge impact of Bloomberg's personal wealth and the network of media and NGOs that will change the course of political contour.

Making a political inclusiveness is not easy, Obama has push forward an experimental political system to get closure to "a more perfect union." There is still a deep divide between Black and White Anglo-Saxon Protestants (WASPs). My own visit at Topeka school national historic site stunned me how deep such divide had demonstrated during Brown v. Board of Education of Topeka in 1954. This debate is very conceptual deep, and sometimes it's difficult to strike a fine line between "inclusiveness" and "equality", since "separate but equal" doctrine is unconstitutional in this case.

Biden got his needed crucial victory in South Carolina with 35 delegates and 256,111 popular votes or 48.4%, far better than prediction by the poll (Biden 37%, Sander 14%), Sanders also strike well at 19.9%, while Tom Steyer could make only 11.3% below the threshold, making him and Pete Buttigieg to get out from the campaign.

Despite this victory rejuvenates Biden's campaign, most national polls do not favor Biden. Super Tuesday will be a three corner fighting between himself, Sanders and Bloomberg. It should be a fate of the whole world either, whether or not it will turn the world back to the central, or keep moving right, or turning left and getting more far-right. The moderate liberalists have to do their work so hard, study theory and philosophy much more deeper in order to synchronize both leftist and rightist.
====

(From Inquirer)

The result of America’s (and Philadelphia’s) collective shrug is — or at least should be — a national disgrace. Many experts have argued that public schools in the United States are just as segregated by race today as they were in the 1960s — meaning that the real-world impact of 1954′s Brown v. Board of Ed decision that we celebrate with great fanfare every May 17 has been negligible, at best. The great miasma of chatter about school choice and magnet schools and charters has muddied the fact that too many black and brown kids in America go to schools that look too much like the same schools black and brown kids were forced to attend in 1954 — all or almost-all non-white, with crumbling infrastructure and a lack of resources, struggling to attract the best educators.

That’s why it felt like something of a lightning bolt late last month when a series of unlikely events conspired to make school busing, of all things, the flashpoint of the very first Democratic 2020 presidential debates. Those planets lined up because a) the Democratic front-runner is former veep Joe Biden, first elected to the Senate from Delaware in 1972, when he was trying to navigate a white-hot busing controversy in Wilmington and said some things that sure sound politically incorrect in the 2010s and b) Sen. Kamala Harris, looking to stop Biden’s momentum by directly confronting him, summoned her own experience being bused to integrate Berkeley’s schools in the 1960s.

====

(From Boston Globe)

Bloomberg entered the race only in November as Biden was losing support in the polls as the leading moderate candidate. Bloomberg skipped the first four contests and has been campaigning and advertising heavily in the states that vote Tuesday. He appeared Saturday night in Charlotte, N.C.

Big victories in South Carolina propelled Barack Obama in 2008 and Hillary Clinton in 2016 to the Democratic nomination. About 60 percent of the state’s Democratic electorate are Black, and winning here demonstrates support from that key component of the party’s base.

Biden has had strong backing from Black voters over his long Senate career, and particularly after serving as Obama’s vice president.

หมายเลขบันทึก: 688630เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2021 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2021 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท