รัฐประหารในพม่า สะท้อนรัฐประหารไทย


การประกาศรัฐประหารในพม่าเมื่อเช้าวันนี้ มีลักษณะแปลกคือไม่ได้ฉีกรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการประกาศสภาวะฉุกเฉิน (state of emergency) เข้าใจว่าผู้ประกาศสภาวะฉุกเฉินคือรองประธานาธิบดีที่อยู่ในโควต้าของกองทัพ โดยอาศัยเหตุผลเรื่องการโกงเลือกตั้ง ที่ฝ่ายกองทัพพม่ามองว่าเป็นการ "ยึดกุมอำนาจรัฎฐาธิปัตย์" ของสหภาพด้วยวิถิทางมิชอบ และอาจนำไปสู่ความแตกแยกของความสามัคคีในชาติ และเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขมาตรา ๔๑๗ ของรัฐธรรมนูญพม่าฉบับปี ๒๐๐๘ จึงอาศัยอำนาจในรัฐธรรมนูญประกาศสภาวะฉุกเฉินตามมาตรา ๔๑๗ อำนาจรัฎฐาธิปัตย์ทั้งสาม คือนิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ จะถูกถ่ายโอนมาอยู่ในมือ "ผู้บัญชาการทหารสูงสุด" ตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญมาตรา ๔๑๘ ส่วน (a)

นี่หมายความว่ารัฐธรรมนูญฉบับ ๒๐๐๘ ยังมีผลบังคับใช้อยู่

การเลือกตั้งสิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีกลาย รัฐบาลก่อนหน้านี้เป็นเพียงรัฐบาลรักษาการ และกำหนดการเปิดประชุมสภาเป็นวันนี้ แต่ถูกประกาศสภาวะฉุกเฉินเสียก่อน จะว่าไปนี่เรียกว่าเป็นการทำรัฐประหารก็ว่าได้ แต่มีลักษณะใช้อำนาจพิเศษสร้าง "สภาวะยกเว้น" ที่ระบุไว้อย่างถูกกฎหมายในรัฐธรรมนูญ ถือเป็นหลักการ state of exception ของ คาร์ล ชมิตต์ ในรัฐธรรมนูญพม่าระบุบทบัญญัติในหมวด ๑๑ ทั้งหมวดว่าด้วยเรื่อง "สภาวะฉุกเฉิน" (provision on state of emergency) เริ่มตั้งแต่มาตรา ๔๑๐ จนถึง มาตรา ๔๓๒

สำนักข่าวรอยเตอร์ได้แปลคำประกาศสภาวะฉุกเฉินทางโทรทัศน์เป็นภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้

“The voter lists which were used during the multi-party general election which was held on the 8th of November were found to have huge discrepancies and the Union Election Commission failed to settle this matter.

Although the sovereignty of the nation must derive from the people, there was terrible fraud in the voter list during the democratic general election which runs contrary to ensuring a stable democracy. A refusal to settle the issue of voter list fraud and a failure to take action and follow a request to postpone lower-house and upper-house parliament sessions is not in accordance with article 417 of the 2008 (sic) constitution that refers to ‘acts or attempts to take over the sovereignty of the Union by wrongful forcible means’ and could lead to a disintegration of national solidarity.

Due to such acts, there have been a lot of protests going on in townships and cities in Myanmar to demonstrate their mistrust toward UEC. Other parties and people have also been found conducting different kinds of provocations including displaying flags which are very damaging to national security.

Unless this problem is resolved, it will obstruct the path to democracy and it must therefore be resolved according to the law. Therefore, the state of emergency is declared in accordance with article 417 of the 2008 constitution.In order to perform scrutiny of the voter lists and to take action, the authority of the nation’s law making, governance and jurisdiction is handed over to the Commander in Chief in accordance with the 2008 constitution article 418, sub article (a).

The state of emergency is effective nationwide and the duration of the state of emergency is set for one year, starting from the date this order is announced in line with article 417 of the 2008 constitution.”

ผลการเลือกตั้งปลายปีที่ผ่านมาของพม่าส่งผลให้พรรค NLD ซึ่งนำโดยนางอองซานซูจี ได้รับเลือกตั้ง ๒๕๘ ที่นั่ง ส่วนพรรค USDP ของกองทัพได้ที่นั่งไปเพียง ๒๖ ที่นั่ง ผลการเลือกตั้งนี้ทำให้พรรค NLD สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้

กองทัพไม่ต้องการวางมือจากอำนาจจึงต้องตัดสินใจรัฐประหารผ่านการประกาศสภาวะฉุกเฉิน อันที่จริงสองฝ่ายควรจะสามารถประนีประนอมให้กองทัพยังรักษาอำนาจบางส่วนต่อไปได้ ดังที่ผ่านมานางอองซานซูจี ก็แสดงออกเช่นนั้นหลายครั้งทั้งการยอมถูกกักตัวในบ้านพักอย่างสงบ ทั้งการออกโรงปกป้องการกระทำของกองทัพต่อชาวโรฮิงญา ทั้งที่มีรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน จนทำให้ชื่อเสียงของนางอองซานซูจีเสียหายไปมาก แต่ครั้งนี้ผลการเลือกตั้งแสดงฉันทามติของประชาชนที่จะมอบอำนาจให้พรรค NLD นางอองซานซูจีจึงตัดสินใจไม่ถอยในรอบนี้ จนนำไปสู่การตัดสินใจยึดอำนาจ ล่าสุดสำนักข่าว AP ประกาศว่านางอองซานซูจีประกาศให้ประชาชนออกมาประท้วงและไม่ยอมรับการทำรัฐประหารของกองทัพ (เป็นการเขียนแถลงการณ์ทิ้งไว้ล่วงหน้า) เว็บไซต์ไทยโพสต์รายงานข่าวการกล่าวประณามจากชาติต่าง ๆ ต่อการทำรัฐประหารของพม่าครั้งนี้

สถาบันโลกและอาณาบริเวณศึกษาแห่งเยอรมัน (German Institute of Global and Area Studie: GIGA) ได้ออกรายงาน "Burma’s Transition to “Disciplined Democracy”: Abdication or Institutionalization of Military Rule?" ตั้งแต่เมื่อปี ๒๐๑๑ เพื่อพิจารณาว่าเพราะเหตุใดพม่าถึงยอมคืนอำนาจให้รัฐบาลพลเมืองในการเลือกตั้งรอบที่ผ่านมา ทาง GIGA ได้สรุปปัจจัยต่าง ๆ ทั้งปัจจัยภายใน (endogenous) และปัจจัยภายนอก (exogenous) ผมได้สรุปปัจจัยและความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นแผนภาพด้านบนด้วย Graphviz (อ่านวิธีการสร้างแผนภาพจาก Graphviz ได้ที่นี่)

การประเมินปัจจัยทั้งภายในนอกและภายในของ GIGA ที่มีผลต่อการทำรัฐประหาร (หรือออกจากอำนาจ) ในช่วงต่าง ๆ ของพม่า
การประเมินปัจจัยทั้งภายในนอกและภายในของ GIGA ที่มีผลต่อการทำรัฐประหาร (หรือออกจากอำนาจ) ในช่วงต่าง ๆ ของพม่า

แผนผังความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถพัฒนาต่อเนื่องไปเป็นสมการความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างได้ (Structural Equation Modeling: SEM) หรืออาจพัฒนาไปเป็นแบบจำลองผ่านตัวแสดงแทนได้ (Agent-based Model: ABM)

รายงานของ GIGA สรุปโดยอ้างงานวิจัยจากงานวิจัยเปรียบเทียบระบอบเผด็จการในรูปแบบต่าง ๆ ในงานวิจัยหัวข้อ "What Do We Know About Democratization After Twenty Years?" ของ Barbara Geddes โดยให้ข้อสรุปว่าการปกครองแบบเผด็จการแบบรัฐบาลทหารพม่าที่ผ่านมาเป็นรูปแบบอ่อนแอที่สุด (คือกองทัพทำการปกครองโดยตรง) รูปแบบนี้มีอายุเฉลี่ยเพียงเจ็ดปี การเปลี่ยนแปลงของพม่ามาสู่รูปแบบที่อนุญาตให้มีการเลือกตั้งได้ถือเป็นเพิ่มเสถียรภาพของระบอบการปกครองมากขึ้น รูปแบบการปกครองเผด็จการผสมกับพรรคการเมืองพรรคเดียวไม่ว่าจะเป็น พรรคนาซีเยอรมัน พรรคบอลเชวิคของโซเวียต พรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม หรือ พรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ จะมีอายุที่ยืนยาวกว่า รูปแบบของพม่า (GIGA เรียกระบอบการปกครองของพม่าที่ผ่านมาว่า "tutelary democracy")

เปรียบเทียบเสถียรภาพและอายุของระบอบเผด็จการในรูปแบบต่าง ๆ
เปรียบเทียบเสถียรภาพและอายุของระบอบเผด็จการในรูปแบบต่าง ๆ

สำหรับในเมืองไทยผมไม่เห็นด้วยกับการวิเคราะห์ของพวกฝ่ายซ้าย เพราะผมมองไม่เห็นความสัมพันธ์ว่าที่ผ่านมา (โดยเฉพาะรัฐประหารครั้งล่าสุด) สถาบันกษัตริย์มีบทบาทอยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหารได้อย่างไร หากเราจะมองเรื่องนี้ต้องมองทั้ง "ชนชั้นนำ" (นี่ไม่ใช่การแบ่งโดยใช้กรอบคิดของมาร์กซ) และความจริงมีข้อขัดแย้งใน "ชนชั้น" ต่อความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการทำรัฐประหารอย่างซับซ้อน

งานที่ศึกษาทั้ง "ชนชั้น"  แบบไม่ใช้วิธีวิทยาของมาร์กซ ให้ดูได้จากทั้งงานของ Fred W Riggs และ  Yoshinori Nishizaki แม้ว่าจะได้ข้อสรุปที่แตกต่างกัน คือคนหนึ่งสรุปเป็นชนชั้นจากระบอบราชการ ส่วนอีกคนสรุปเป็นชนชั้นจากราชสกุล-สกุลเก่า แต่วิธีวิทยานั้นคล้ายคลึงกันมากเช่นการมองความเชื่อมโยงผ่านแผนผัง และการจัดวางอำนาจ/คีย์แมนลงในตำแหน่งและระบบราชการที่สำคัญ

กล่าวโดยสรุปการนำประเทศไทยออกจากระบอบรัฐประหาร จะต้องหาวิธีทำให้พวกที่มีความเห็นแบบฝ่ายอนุรักษ์นิยมต้องเห็นด้วยกับการนำประเทศออกจากระบอบรัฐประหาร การลดเงื่อนไขเรื่องสถาบันกษัตริย์เป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่ง และเรื่องนี้สามารถ resolve ลงได้ด้วยหลักการทวิอำนาจระหว่างสภาและพระราชอำนาจ (parliament and prerogative power) ไม่ใช่แบบที่ทำกันอยู่คือการโจมตีผ่านวาทกรรมจากพวกที่อ้างว่าต้านรัฐประหารในเวลานี้ แต่ต้องแสดงเหตุผลและคำอธิบายเพื่อแสดงให้เห็นว่าการทำรัฐประหารไม่ใช่ทางออก งานวิจัยข้างต้นของ GIGA ก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ผมคิดว่าไม่พอ เพราะในระยะหลังมีการเปรียบเทียบสมรรถภาพ และประสิทธิภาพระหว่างระบอบเผด็จการและเสรีประชาธิปไตย โดยเฉพาะการเปรียบเทียบทางอ้อมระหว่างระบอบของตะวันตกที่นำโดยอเมริกาและระบอบของตะวันออกที่นำโดยจีน (ซึ่งรับอิทธิพลบางด้านมาจากสิงคโปร์) เราจะต้องก้าวผ่านงานของ GIGA ไปอีกขั้นหนึ่งโดยแสดงให้เห็นว่าระบอบ Governance ของเสรีประชาธิปไตยมีความเหนือกว่า (หรือด้อยกว่า) ตรงจุดไหน อย่างไร นี่เป็นงานที่ผมกำลังศึกษาอยู่ นอกจากนี้ยังต้องศึกษาลึกลงไปเนื้อในของศาสนา-วัฒนธรรมว่าหลักคิดใดเอื้อให้เกิดการสร้างระบอบประชาธิปไตยและให้คุณค่าต่อความเท่าเทียมกัน

และการทำการศึกษานี้ ต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ เอาจริงเอาจัง ไม่ใช่ทำเล่นตลกโปกฮาไปวัน ๆ



ปรับปรุงล่าสุด

อาเซียนได้ออกแถลงการณ์สี่ข้อต่อสถานการณ์ในพม่า เป็นถ้อยแถลงที่น่าสนใจและแผกจากที่แถลงการณ์ที่ผ่านมา (โดยเฉพาะเรื่อง good governance)

  1. ASEAN Member States have been closely following the current developments in the Republic of the Union of Myanmar.
  2. We recall the purposes and the principles enshrined in the ASEAN Charter, including, the adherence to the principles of democracy, the rule of law and good governance, respect for and protection of human rights and fundamental freedoms.
  3. We reiterate that the political stability in ASEAN Member States is essential to achieving a peaceful, stable and prosperous ASEAN Community.
  4. We encourage the pursuance of dialogue, reconciliation and the return to normalcy in accordance with the will and interests of the people of Myanmar.
หมายเลขบันทึก: 688689เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2021 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2021 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท