914. เรียนปรัชญาความสุขจากซิทคอม “เป็นต่อ”


บทความ โดย ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ Positive Psychology Coach


เร็วๆนี้อยู่ดีๆ ผมก็เห็นเรื่อง “เป็นต่อ” ละครซิทคอม โผล่มาใน Netflix เลยแว๊บไปดูเล่น เมื่อเช้าลองลองค้นดูปรากฏว่าตอนนี้ยังทำกันอยู่ปี 64 ก็ยังทำต่อ ผมก็เลยตามดูแต่ไม่กี่ตอน ก็ขำ ฮา ทะลึ่งดี จริงๆ ละครแนวนี้ไม่ในแนวที่ผมดู และเนื่องจากเป็นชอบวิจารณ์หนัง ผมก็อดไม่ได้ว่าจะเขียนวิจารณ์ออกมา แต่แป๊กครับ จริงๆ จะเขียนมานานแล้วแต่เขื่อมโยงไม่ได้ จะมองมุมไหนดี ไม่แล้วแก่ใจ ที่สุด ผมก็เลยกลับไปดูสี่ห้าตอน รวมถึงเมื่อเช้า แล้วว๊าวๆๆๆ ผมเห็นมุมวิจารณ์แล้ว

ผมฟันธง เรื่องนี้เป็นหนังปรัชญาไม่ใช่ตลกซิทคอมธรรมดา ครับ ..ไปโน่น 

คุณอาจว่าผมคิดอะไรแปลกๆ ผมมองเห็นอะไรบางอย่าง ผมเห็นคนดีๆ เก่งๆ น่ารักเช่นชีทิพย์ แฟนของเป็นต่อ และบรรดารักแท้ของตัวละครในเรื่องต้องปวดใจจากการกระทำที่บ้าคลั่ง เจ้าชู้ ของชายที่ตัวเองรัก ซ้ำซากหลายๆ ปี กลุ่มผู้ชายที่คิดว่าตัวเองฉลาด แต่หลายครั้งก็ถูกหลอก เสียเงินเสียทองไปกับความไม่ยับย้ังชั่งใจของตัวเอง หลายครั้งคนเก่งและดีๆอย่างเช่นตอนที่ผมดู เจ๊มิ๊งค์ต้องมาช่วยสับรางให้เป็นต่อที่เป็นตัวเอกในเรื่องถ้าเป็นต่อและผองเพื่อนเป็นเรื่องจริง ตัวคนที่ต้องไปอยู่วังวนของคนกลุ่มนี้จะรู้สึกอย่างไร ผมว่าต้องรู้สึกอิหยังวะแน่นอน

..จะว่าไปผมเองดูเรื่องนี้แล้วเหมือนในชีวิตจริง ที่หลายครั้งในชีวิต ต้องไปอยู่ในวังวนเรื่องแบบนี้ แม้ไม่บ่อย สำหรับผมที่เคยเจอรู้สึกว่ามันอิหยังวะคล้ายๆในเรื่องก็ เช่นเคยเจอเพื่อนจากตจว. บอกที่บ้านว่ามาทำงานขอนแก่น แต่พากิ๊กมาเฉย ประมาณว่าอ้างชื่อผมกับภรรยาที่บ้านก็มี บ้ามาก แถมให้ผมพาเที่ยวอีก OMGผมรู้สึกว่าห้วงขณะที่ผมต้องไปยุ่งกับเรื่องตัณหาราคะคนอื่น นี่มันช่างไร้ความหมาย (Meaningless) คือตรูมาทำอะไรตรงนี้ ทำไมต้องเป็นเรา มันอิหยังวะ ที่สุดเราก็ห่างๆ ออกไปไม่สามารถมีความรู้สึกที่ดีต่อกันได้อีก 

มีอะไรอีกมากที่คุณอาจไปเกี่ยวข้องด้วยแล้วมันไม่มีความหมาย มันพะอืดพะอม เช่นการนั่งฟังผู้ใหญ่ในองค์กรมาขี้โม้ผลงานตัวเอง ความสัมพันธ์กับคนกลุ่มต่างๆ ที่บ้าน ที่ทำงาน ป้าเผือกแถวบ้าน เพื่อนเก่าที่มีพลังการขายตรงสูงเทียมฟ้า

เราทุกคนล้วนแล้วแต่เจอความอิหยังวะมาทักทายเราในหลายๆ ช่วงของชีวิต..

คำถามคือแล้วเราจะทำอย่างไรให้ต่างออกไปเพื่อหลุดพ้นภาวะนี้

เจ๊มิ๊งค์ น้องพอใจ เหล่าผองเพื่อนของเป็นต่อในเรื่อง ถ้าเรารู้จักกันผมจะแนะนำให้อ่านเล่มนี้ครับ "The Philosopher's Book of Questions & Answers: Questions to Open Your Mind"เป็นหนังสือที่จะช่วยให้ท่านจัดการกับภาวะ “อิหยังวะ” ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้เลย 

เล่มนี้รวบรวมคำถามของนักปรัชญาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณจนถึงนักปรัชญาร่วมสมัย สำหรับโจทย์ของเจ๊มิงค์และผองเพื่อน ผมอยากแนะนำให้รู้จักนักปรัชญาที่ชื่อ Albert Borgmann (1937–) ที่ผู้เขียนเล่มนี้พูดถึง ท่านตั้งคำถามชวนคิดว่า

“ต่อให้เรามีชีวิตที่มีความหมาย (อิคิไก จุดหมาย จุดประสงค์ของชีวิต-ผู้เขียน) แต่มันก็ไม่ใช่ทุกเวลาที่เราจะรู้สึกแบบนั้น คำถามคือ

1.อะไรคือส่ิงที่คุณทำอยู่แต่รู้สึกว่ามันไม่มีความหมายเลย 

2.แล้วอะไรคือจุดประสงค์ (Purpose) ของกิจกรรมนั้นๆ

3. เราจะสามารถทำอะไรที่มีความหมายมากกว่าเดิมเพื่อตอบโจทย์จุดประสงค์เรื่องเดียวกันได้บ้าง”เช่นเราสามารถไปวิ่งในสวนสาธารณะแทนที่จะมัวแต่วิ่งอยู่ในฟิตเนส หรือ ทำอาหารเองแล้วกินอย่างช้าแทนที่จะซื้ออาหารสำเร็จรูปมากินหน้าจอทีวี

เจ๊มิงค์และเหล่ากัลยาณมิตรอาจลองตอบคำถามนี้ น่าจะช่วยได้มากจริงๆ ชุดคำถามนี้ประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องในทุกแง่มุมของความอิหยังวะในชีวิตผมเองลองตอบดู 

1.อะไรคือส่ิงที่คุณทำอยู่แต่รู้สึกว่ามันไม่มีความหมายเลย "นั่งฟังเพื่อนร่วมอาชีพโอ้อวด ข่ม พยายามอวดว่าตัวเองไปไกล "

2. แล้วอะไรคือจุดประสงค์ (Purpose) ของกิจกรรมนั้นๆ"เพื่อมารยาท ให้เขารู้สึกดี"

3. เราจะสามารถทำอะไรที่มีความหมายมากกว่าเดิมเพื่อตอบโจทย์จุดประสงค์เรื่องเดียวกันได้บ้าง"จริงๆ ไม่ work นะ หลายครั้งรำคาญแต่เกรงใจ อาจเปลี่ยนเป็นสัมภาษณ์เขา ว่าเขาทำสำเร็จมาได้ไง แล้วถามเขาว่าเขาจะเอาความรู้ไปช่วยคนได้อย่างไร หรือถามเพิ่มอาจารย์ครับ ผมมีปัญหาในงามวิจัยแบบนี้ ความโดดเด่น ประสบการณ์ของอาจารย์จะมาช่วยผมให้ทำงานดีขึ้นอย่างไรไปเลย อย่าฟังไปพะอืดพะอมไป การถามแบบนี้จากประสบการณ์คนขี้โม้จะหันกลับมาตอบอย่างมีสติ และถ้าเขาไม่รู้จริงก็จะหันเหเลิกโม้ไปเลย ผมว่าการทำให้เขารู้สึกดีก็คือการทำให้เขาเป็นมืออาชีพ ท้าทายให้เขาคิดนั่นเอง ไม่ใช่ฟังแบบเซ็งๆ เพื่อสนองตัณหาเขาเท่านั้น

"วิจารณ์:

ว๊าวๆๆๆๆ ผมรู้สึกว่าพอตอบแล้ว มันดีต่อใจขึ้นมาทันทีเลย ผมรู้สึกปลดล๊อคตัวเองจากอะไรที่อิหยังวะ ที่ต้องเจอในที่ทำงาน และบางคนเหมือนจากที่คุยกันไม่ได้ มันกลับมาคุยกันได้ เหมือนไปเรียกสติเขากลับมาได้จริงๆ 

ที่สุดผมสามารถ Move on ก้าวข้ามจากภาวะอิหยังวะได้ 

คุณล่ะ ตอบแล้วรู้สึกยังไง 

ผมเองให้กำลังใจเจ๊มิ๊งค์ ชีทิพย์คนสวย หวังว่าทั้งสองคนจะได้มีโอกาสอ่านบทความผมนะครับ ขอให้เป็นต่อจริงๆ ตลอดไป ไม่เป็น(อิหยังวะ) ต่อ อย่างที่เห็น 

คุณก็เช่นกัน

ขอบคุณผู้สร้างครับ 

ด้วยรักและปราถนาดีครับบทความ 

โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 

Positive Psychology Coach

Ref: Wittkower, D.E.. The Philosopher's Book of Questions & Answers: Questions to Open Your Mind. Adams Media. Kindle Edition. 2.

หมายเลขบันทึก: 688740เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2021 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2021 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท