กิจกรรมบำบัดจิตสังคมคนทำงาน


อ้างอิงจาก คะโตะ โทะชิโนะริ เขียน. อังคณา รัตน์จันทร์ แปล. ยิ่งเรียนสูงเรียนเก่ง ยิ่งต้องเร่งปรับตัว. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์; 2560.

คนหัวดี คือ คนเรียนเก่ง ได้เกรดดี ชอบความสมบูรณ์แบบ สนใจพัฒนาตนเองด้วยมิติเดียว จะเกิดการเปรียบเทียบข้อมูลว่าใครเก่ง ใครไม่เก่ง ทำให้คนเก่งทำงานเอาเปรียบกับคนไม่เก่ง เช่น การวัดบุคลิกภาพ-ความเชื่อ-ความรู้สึกที่สะสมมาตั้งแต่ 7 ปีแรกเพื่อการพัฒนาจิตวิทยาให้รู้จักและเข้าใจตนเองมากขึ้นจนทำให้ขาดการพัฒนาความเห็นอกเห็นใจคนอื่น เป็นต้น 

ในความเป็นจริง "คนหัวดีมีการพัฒนาของศักยภาพของสมอง หรือ ความสุขความสามารถในการปรับตัวต่อสถานการณ์ปัญหาซับซ้อนในชีวิตได้ ยังไม่หลากหลายมิติ ประกอบด้วย การเรียนรู้ฝึกฝนสิ่งที่ท้าทายด้วยภาวะผู้นำความคิดบวก การฝึกสมองซีกขวาดึงความจำรอบตัวมาคิดผลงานสร้างสรรค์ การฝึกสื่อสารภาษากายและคำพูดด้วยความคิดยืดหยุ่น และการแสดงความเห็นอกเห็นใจ-เอาใจเขามาใส่ใจเขาเพื่อพัฒนาทักษะเมตตาปัญญาหรือสมองกตัญญูแก่ผู้มีพระคุณ " 

ดังนั้นการวัดคลื่นสมอง เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่นักกิจกรรมบำบัดนำมาสะท้อน "คนหัวดีว่ามีการทำงานในสมองตำแหน่งใดช้าหรือเร็ว ถ้าคนหัวดีมีการเปิดใจให้ยอมรับเพื่อการพัฒนาสุขภาพสมองของตัวเอง" โดยทั่วไปอยู่ในช่วงวัยเรียนระดับมหาวิทยาลัย เพิ่งจบรับปริญญา และกำลังปรับตัวในการนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาใช้ในการทำงานจริง อายุ 18-29 ปี เพราะสมองจะเรียนรู้ได้เต็มมีวุฒิภาวะสมวัยที่อายุ 30 ปี ก็จะเริ่มเสื่อมถอยลงตามวัยทีละนิด อย่างไรก็ตามตั้งแต่ 30 ปีจนถึง 50 ปี จะเป็นช่วงที่สมองจะเรียนรู้ว่า "เราเกิดมาเพื่อแก้ปัญหาชีวิตคิดบวก เปลี่ยนความรู้ในตัวตนเป็นความรักความเข้าใจในการช่วยเหลือผู้มีพระคุณ ผู้คนที่เรารัก และคนที่ด้อยโอกาสกว่าเรา เป็นผู้นำการทำความดีด้วยสุนทรียภาพการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะจิตสังคมภายในตนเองและอัจฉริยะของการพัฒนาสมองเพื่อสุขภาวะกายใจรวม 8 ด้าน ประกอบด้วย 

1.ความคิดตัดสินใจ คน IQ สูง ยึดถือแต่ตัวเอง อ่อนสามัญสำนึก ทำให้ไม่เห็นภาพรวมของการทำงาน เลยชอบด่วนตัดสินใจว่า "ทำไม่ได้" เพราะการคิดตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทำได้ช้า เพราะสมองคนเรียนเก่งมากจะคาดหวังเกรดเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ และปรับตัวยากเพราะคิดว่า "การทำงานเน้นคะแนนประเมินจากหัวหน้ามากกว่าการช่วยเพื่อนร่วมงานแก้ปัญหาเป็นทีม" กิจกรรมบำบัดจิตสังคม คือ สำคัญมากที่หัวหน้างานและผู้ร่วมงานที่มีประสบการณ์สูงควรอธิบายให้คนเก่งเหล่านี้เห็นภาพ บอกวิธีอย่างเป็นขั้นตอน และใช้ความรักความเข้าใจ (เมตตาจิต) ให้พวกเขาเปิดใจยอมรับและดึงความรู้ออกมาใช้ในการทำงานเพื่อส่วนรวมจริง ๆ จะเห็นว่าสมองการรับภาพมิติสัมพันธ์ของคนเก่งต้องพัฒนาเพิ่มเติม เช่น การสะท้อนคิดด้วยการชมภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวด้าน "เอาใจเราไปใส่ใจเขา" เพิ่มการฝึกวาดภาพสะท้อนความรู้สึกขณะมองสีหน้าท่าทาง (ภาษาใบ้ ไร้เสียง) ของเพื่อนร่วมงาน เพิ่มพื้นที่เปิดใจเรียนรู้ระบายความรู้สึกร่วมทุกข์ร่วมสุขระหว่างร่วมงานกัน เป็นต้น

      2. อารมณ์เข้าสังคมมีไหวพริบ คน IQ สูง จะมีน้ำเสียงพูดไม่น่าฟัง พูดแทรกผู้อื่น เพราะสมองอารมณ์ส่วนอะมิกดาลาไม่แข็งแรง ทำให้พวกเขาไม่แคร์ไม่ถนัดรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น พวกเขาถนัดรับรู้ข้อมูลเชิงปริมาณมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รู้สึกไม่ปลอดภัย โมโหง่าย ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยเฉพาะ "ขอโทษไม่เป็น ขอบคุณไม่เป็น เอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่" บางคนอะมิกดาลาทางขวาอ่อนแอทำให้ขาดศักยภาพในการประเมินคุณค่าตัวเองจากเสียงสะท้อนผู้อื่น หรือบางคนอะมิกดาลาทางซ้ายอ่อนแอทำให้ขาดศักยภาพในการทบทวนตัวเอง ไม่ถนัดวิเคราะห์ตัวเอง เพราะมัวอยากให้คนอื่นยอมรับ กิจกรรมบำบัดจิตสังคม คือ งดสิ่งที่ชอบให้ได้ 10 วัน ส่องกระจกแสดงสีหย้ามากกว่า 10 แบบ การพบปะผู้อื่นที่หลากหลายเพิ่มประสบการณ์ในการสนทนา ยิ่งเบื่อเจอผู้คนยิ่งฝืนเข้าใจผู้คนแล้วถ้าคนอื่นยอมรับเรา แสดงว่า เราก็ยอมรับตัวเองและผู้อื่นนั่นเอง ลองไปร้านเสริมสวย/บาร์เบอร์ร้านใหม่ ๆ ลองคุยความดีที่ทำในอาทิตย์นี้กับต้นไม้ ฝึกทำกิจกรรมการช่วยเหลือกันในเกมส์กีฬาพร้อมสะท้อนการยอมรับตัวเองกับผู้อื่น เช่น เราเรียนรู้อะไร เพื่อนเราเรียนรู้อะไร เราและเพื่อนได้พยายามทำอะไรจนสำเร็จ และถ้าผิดพลาดเกิดการเรียนรู้ปรับปรุงอย่างไร ทำให้สมองเรียนรู้ใหม่และเก็บความทรงจำดีต่อใจ เราได้เผชิญความจริงอะไรร่วมกันบ้าง 

      3. การพูดคุยสื่อสาร คน IQ สูง ทำงานสองอย่างพร้อมกันไม่ได้ เพราะไม่ถนัดงานที่ไม่เคยทำ สมองหลายส่วนยังทำงานไม่เชื่อมกัน กิจกรรมบำบัดจิตสังคม คือ ควรสนทนาไปคิดหาตัวเลือกที่จะพูดคุย 3 ข้อไปด้วย ฟังเสียงตามสายที่ได้ยินในที่สาธารณะและบันทึกเป็นข้อความทรงจำแบบคติชีวิต เลือกคำพูดที่ดีที่สุดขณะฟังเพื่อนสนทนาอย่างลึกซึ้ง ค่อย ๆเพิ่มจิตสำนึกคิดทบทวนซ้ำไปซ้ำมาว่า "วันนี้เราเข้าใจตัวเองอย่างไรบ้าง ย้อนมองตัวเองบ่อย ๆ ว่าควรพัฒนาตนเองให้มีความดีขึ้นอย่างไร"  สร้างเป้าหมายใน 1 วัน ด้วยคำไม่เกิน 10 คำ มองหาข้อดีของคนรอบข้างให้ได้ 3 ข้อ ลองวางแผนและสื่อสารทีมแข่งเกมให้แพ้บ้างทำอย่างไร เรียนรู้การทำงานของสมองจะสื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

      4.การเคลื่อนไหวร่างกาย
      คน IQ สูง แสวงหายึดติดมาตราฐานมากเกินไป คิดว่าตนเองเก่งคิดถูกต้องเสมอ คอยปิดบังจุดอ่อนของตนเอง เอาชนะคู่แข็งด้วยการยืนกอดอก เปลี่ยนตำแหน่งการยืนกดดันคนอื่น ชอบตัดสินคนอื่นว่าผิดเสมอ กิจกรรมบำบัดจิตสังคม คือ ควรฝึกสื่อสารคิดทำอาหารเมนูใหม่ ฟังแล้วค้นหาคำพูดติดปากของคู่สนทนาให้ได้ ใช้มือข้างไม่ถนัดแปรงฟัน ขึ้นลงบันไดแบบขั้นเว้นขั้น 

      5.การรับรู้ได้ยินเสียง คน IQ สูง มีสมองกลีบหน้าของสมองซีกขวาทำงานไม่ดี เลยแยกแยะตัวเองกับผู้อื่นไม่ชัดเจน ยิ่งใช้โลกออนไลน์มาก ๆ ก็ตัดสินการกระทำผิดของผู้อื่นจากข้อมูลเร็วเกินไป โดยไม่ได้รับรู้รับฟังเสียงความเห็นของผู้อื่น ขาดสามัญสำนึกจนคิดว่า "ทุกข้อมูลที่เขามีมักถูกเสมอ ไม่ยอมรับความผิด น้ำเสียงไม่เป็นมิตร พูดจาโผงผาง มองคนเป็นหุ่นยนต์" กิจกรรมบำบัดจิตสังคม คือ ฝีกน้ำเสียงอ่อนโยนด้วยท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน ร่วมแข่งขันเล่นกีฬาด้วยการสื่อสารวางแผนทำงานเป็นทีมแบบรู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย หาโอกาสร่วมเป็นจิตอาสาสมัครรับฟังเสียงทุกข์ใจจากผู้อื่นแล้วร่วมส่งเสียงให้กำลังใจได้ร่วมวางแผนแก้ปัญหาเสมือนครอบครัวเดียวกัน 

      6.การรับรู้สายตาภาพ คน IQ สูง ซักถามเพราะต้องการคำอธิบายจากคนอื่นมากเกินไป แต่เงียบไม่โต้ตอบผู้อื่นเพราะกลัวมีคนรู้ทันจุดอ่อนของคนเก่ง มีสมองกลีบขมับซ้ายมากไปทำให้ไม่ค่อยใช้สมองท้ายทอยซีกขวา กิจกรรมบำบัดจิตสังคม คือ ฝึกมองหาป้ายที่มีเลขคี่ข้างทาง เวลาเดินผ่านทางให้มองหาพื้นที่ว่าง มองอะไรดีงาม พูดในสิ่งที่เห็น วาดภาพใบหน้าตนเอง

      7.การเข้าใจเรื่องราวคำพูด คน IQ สูง ติดนิสัยประเมินคุณค่าด้วยประวัติการศึกษาดีเด่นใช้สมองกลีบขมับล่างเยอะเกินไปจนบกพร่อง ทำให้ไม่คิดยืดหยุ่น มีอัตตาหลงตัวเองไม่ค่อยฟังใคร เพราะสมองอารมณ์ส่วนอะมิกดาลาในสมองซีกขวา (การยอมรับผู้อื่น) ทำงานน้อยกว่า สมองอารมณ์ส่วนอะมิกดาลาในสมองซีกซ้าย (การยอมรับตัวเอง) กิจกรรมบำบัดจิตสังคม คือ ฝึกอ่านหนังสือที่เคยอ่านเมื่อ 10 ปีก่อนอีกครั้งว่าเข้าใจต่างจากเดิมหรือไม่อย่างไร อ่านหนังสือที่ไม่ค่อยได้อ่านแบบผ่าน ๆ แล้วตีความจะเปิดความคิดใหม่ ๆ จัดระเบียบห้องเสียใหม่ เลียบแบบบุคลิกของคนที่ชื่นชม เดาใจผู้คนรอบตัว แต่งตัวเลียนแบบคนที่แต่งตัวเก่ง 

      8.การจำคิดทบทวนเรื่องราว คน IQ สูงอยากได้ความรู้ใหม่ มีส่วนสมองจดจำอยู่ตรงกลีบขมับล่างบกพร่อง ทำให้ลังเลสงสัยและถามออกมาอย่างก้าวร้าว เช่น เชื่อมั่นในตนเองสูง ทำตัวโดดเด่นเป็นผู้นำ ต้องเป็นที่หนึ่งอยู่เหนือคนอื่น ชอบตัดสินคนเรียงเก่งกับไม่เก่งที่คะแนนสอบ ชอบค้นหาถามย้ำจุดอ่อนให้เพื่อนเสียหน้า กิจกรรมบำบัดจิตสังคม คือ ควรฝึกพูดกับตัวเองบ่อย ๆ ว่า ไม่โกรธ ให้อภัย 3 รอบ และ ฝึกฟังคนอื่นพูดรอใจเย็นสัก 3-10 วินาที ก่อนโต้ตอบ ฝึกเขียนบันทึกชมเชยคนอื่น เดาสภาพจิตใจคนอื่น พูดคุยช่วยเหลือคนที่ไม่เก่ง/ด้อยโอกาส ลองหยุดทำเรื่องเดิม ๆ สมองจะสมดุลเมื่อทำสิ่งแปลกใหม่ เมื่อสมองสมดุล เราจะสร้างความสัมพันธ์กับคนได้ทุกคน มีนิสัยเปลี่ยนแปลงถ้าเราฝึกสมองอ่อนแอให้ทำงานจนแข็งแกร่งขึ้น (สมองแต่ละคนต่างกัน ไม่เปรียบเทียบจุดเด่นจุดด้อย ยิ่งเริ่มฝึกสมองที่ไม่ถนัด แสดงบทบาทหน้าที่ของตัวเองต่อผู้อื่นให้บวก ๆ สมองยิ่งปรับตัวคิดยืดหยุ่น กระตือรือล้นปรับปรุงตัวเองทุกวัน มีโอกาสอยู่รอดปลอดภัย) 

      ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยอันควรคือ 30 ปี จงทบทวนตัวเองตั้งแต่วันนี้ในอายุ 8 ปีขึ้นไป ว่า 

      • สังคมเปิดกว้างให้เราฝึกทักษะการสื่อสารภาษาที่หลากหลาย ยิ่งคุยกับคนต่างวัยรู้เรื่อง ยิ่งมีหัวใจดีงามของความเป็นมนุษย์มากขึ้น
      • การเคลื่อนไหวร่างกายให้ หู ตา จมูก ลิ้น รส สัมผัส ทรงตัว ได้สนุก ยิ่งเล่าให้คนอื่นฟังความรู้สึกของเรา ยิ่งจินตนาการสร้างสรรค์ 
      • ยิ่งเรียนรู้การทำงานของสมองอารมณ์มาก ยิ่งอยากพัฒนาตนเองมากขึ้นและเพิ่มความทรงจำที่ดีในสมองอะมิคดาลาและฮิปโปแกมปัส
      • การออกกำลังกายให้ได้เหงื่อจะส่งเสริมสมองให้แข็งแกร่งมากขึ้น หาโอกาสงดมือถือและอีเมล์บ้าง จะทำให้ร่างกายอยากสื่อสารแบบอื่น
      • สมองคนเราเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 10 ปี ช่วง 3 ขวบ เรากำลังค้นพบบุคลิกภาพ (นิสัยเอกลักษณ์) ของตนเองเพียงครึ่งเดียว อีกครั้งคือการหากิจกรรมทำอะไรเพื่อตัวเองและคนอื่นบ้างหลัง 3 ขวบจนถึง 30 ปี โดยเฉพาะ 20 ปี ไม่ควรเรียนรู้แบบท่องจำ ควรเรียนรู้แบบลงมือทำเยอะๆ ยิ่งเคลื่อนไหว สื่อสาร มีความรักบ้าง อกหักบ้าง ทำอะไรผิดพลาดบ้าง จิตก็จะอิสระนำพาสมองให้เรียนรู้ปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับสังคมอย่างยืดหยุ่นได้หลัง 30 ปี พอเข้าวัย 40 ปี ก็จะใช้ชีวิตแบบล้มแล้วลุกเร็ว กังวลบ้าง ท้าทายบ้าง พอเข้าวัย 50 ปี ก็จะรู้จักตนเองว่ามีความถนัดที่หลากหลายแล้วดึงความเป็นอัจฉริยะแห่งตนช่วยเหลือสังคมในบทบาทพลเมืองดีมีสุขสงบไปจนวาระสุดท้ายของชีวิต 
          หมายเลขบันทึก: 688757เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2021 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2021 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


          ความเห็น (0)

          ไม่มีความเห็น

          พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
          ClassStart
          ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
          ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
          ClassStart Books
          โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท