ทดสอบนศ.ก.บ.การประเมินหนึ่ง


ก่อนทำแบบทดสอบ 10% ให้นศ.อ่านทบทวนตำรากิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา อย่างน้อย 1 บท เพื่อนำมาตอบโจทย์ข้างล่างนี้

โจทย์ จงเลือกอธิบาย Semi-structured Activity ที่เขียนในตำราข้างต้น โปรดระบุบทที่นศ.อ้างอิง เพื่อนำมาอธิบายกระบวนการประเมินความสามารถของผู้รับบริการสุขภาพจิตและจิตเวชว่าประเมินอะไรและอย่างไร โดยเลือกมาหนึ่งภาวะหรือหนึ่งโรคได้แก่ ภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้า อารมณ์สองขั้ว หรือ จิตเภท คลิกทบทวนการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ที่นี่  อย่าลืมใส่ชื่อและรหัสประจำตัวด้วยความโชคดีนะครับ

หมายเลขบันทึก: 688830เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2021 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2021 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

Assignment 10% ณิชารีย์ เจียรชัย 6223009

Semi-structured activity : กิจกรรมการปั้นอย่างอิสระเพื่อประเมินทักษะจิตสังคม [อ้างอิงจากบทที่ 5 สมดุลสมองเพื่อการบำบัด หัวข้อที่5.3 ความเข้าใจ หน้าที่81-82] เพื่อประเมินความสามารถของผู้รับบริการ “จิตเภท”

ผู้ป่วยจิตเภท = ผู้ที่มาอาการเหล่านี้อย่างน้อย 6 เดือน ได้แก่ - Positive symptom : Delusion, Hallucination, Schneiderian first rank symptom, Disorganized speech&behavior- Negative symptom : Affective flattening, Alogia, Avolition, Anhedonia, Asociality- Cognitive changed (EF)

การประเมินผู้ป่วยจิตเภทจะต้องทำการดูเบื้องต้นถึงอาการที่เกิดขึ้น รวมถึงความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย จากการศึกษาตำรากิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา จึงเลือก Semi-structure activity ข้างต้นมาใช้ในการประเมินผู้ป่วย เพราะ กิจกรรมนี้สามารถใช้ประเมินทักษะจิตสังคมขณะปั้น โดยมีการสังเกตพฤติกรรมตามการตรวจสภาพจิต(mental status examination) เช่น ให้ความร่วมมือเป็นมิตร/ไม่สนใจเพิกเฉย/มุ่งร้าย, ไม่สบตา/จ้องเขม็ง/สายตา หลุกหลิก, สีหน้ากังวล/บึ้งตึง/ เบื่อหน่าย/ยิ้มแย้ม /จดจ่อพอใจ รวมทั้งวิเคราะห์ความสามารถขณะปั้นซึ่งอ้างอิงจาก comprehensive occupational therapy evaluation, COTE เช่น เร่ิมต้นทําาทันที/ลังเลนานก่อนทํา, พูดอธิบายภาพเหมาะสม/ย้กคิดวนไปมาเรื่องตัวเอง/คิดลบเรื่องตัวเอง/คิดลบเรื่องผู้อื่น/ หมกมุ่นความผิดพลาดในอดีต/ครุ่นคิดคาดหวังในอนาคต/ไม่ให้คุณค่ากับตัวเอง/ ไม่รู้จักตัวเองโดยมีขั้นตอนในการทำกิจกรรมดังนี้ 1. ผู้บำบัดวางก้อนดินน้ำมันหรือดินเหนียวตรงหน้าผู้รับบริการและบอกให้ปั้นอะไรก็ได้จากดินก้อนนี้ บันทึกเวลาที่ใช้ในการปั้นด้วย2. เมื่อปั้นเสร็จให้ผู้รับบริการบอกเกี่ยวกับสิ่งที่ปั้นว่าสิ่งที่ปั้นคืออะไร มีความหมายกับชีวิตอย่างไร ขณะปั้นคิดอะไร ชอบ/ไม่ชอบ ได้เรียนรู้อะไรจากการปั้นครั้งนี้บ้าง3. ผู้บำบัดและผู้รับบริการวิเคราะห์ผลงานหลังปั้นผ่านการเรียนรู้แบบตั้งคำถามปลายเปิดพร้อมคำชื่นชม

Assignment 10% ปรียาภรณ์ งามสิมะอ้างอิงจากบทที่4

บทผู้ป่วย : ผู้หญิงวัย 35 ปี ทำงานตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับบริษัทเอกชนมาได้ 3 ปีแล้ว ก่อนหน้าทำงานที่บริษัทเดิมตั้งแต่เรียนจบ ขยันขันแข็ง มีผลงานดี จึงได้เลื่อนขั้นมาเรื่อยๆ จนตอนนี้ได้อยู่ในตำแหน่งที่สูง เงินเดือนสูง แต่พบภาวะซึมเศร้า และมีอาการ anxiety ร่วม จากการสัมภาษณ์และพูดคุยพบว่า เจ้าตัวมีความเครียดจากงาน กลัวทำงานผิดพลาด จึงตั้งใจทำงานเต็มกำลัง เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ได้รับการยอมรับและชื่นชม แต่ก่อนชอบฟังเพลง เล่นกีฬา มีกิจกรรม outdoor ทุกวันหยุดกับครอบครัว แต่พอได้เลื่อนขั้นและขึ้นเงินเดือนเรื่อยๆ ก็เริ่มสนใจแต่งาน ไม่ค่อยได้ใช้เวลาวันหยุดทั้งกับตัวเอง เพื่อน หรือครอบครัวเหมือนแต่ก่อน อดีตเคยชอบศิลปินเกาหลีท่านหนึ่ง และไปคอนเสิร์ตอยู่เสมอ แต่3-4ปีให้หลังนี้ก็ไม่ได้ไป รวมทั้งไม่ได้ติดตามศิลปินที่เคยชอบอีกเลย เพราะไม่มีเวลา

กิจกรรมที่จะให้ทำ1. จะเริ่มให้ทำกิจกรรมวัดใจตัวเองก่อน
- ประเมินความเครียด ความกังวล โดยให้คนไข้วัดชีพจรตัวเอง ให้สังเกตว่าชีพจรเร็ว หรือช้า ถ้าเร็วเกินไปให้ลองหายใจเข้าลึกๆ ออกยาวๆ เป็นการเริ่มทำใจให้นิ่ง คลายกังวล2. ทำการคลายอารมณ์ลบ เนื่องด้วยคนไข้มีภาวะซึมเศร้า จึงจะประเมินอารมณ์ลบ และคลายอารมณ์เหล่านั้นก่อน - ให้คนไข้ทบทวนความรู้สึกตึงบริเวณศีรษะ-ใบหน้า ให้คะแนนความตึงนั้นในแต่ละส่วน 0-10 (ใบหน้า=ศูนย์ความกังวล)- ให้คนไข้ทบทวนความรู้สึกตึงบริเวณกลางอก ให้คะแนนความตึง0-10 (อก=ศูนย์ความเศร้า)- ให้คนไข้ทบทวนความรู้สึกตึงบริเวณท้อง ให้คะแนนความตึงนั้น0-10 (ท้อง=ศูนย์ความโกรธ)- เมื่อประเมินแล้ว ให้คนไข้ทำการคลายอารมณ์เหล่านั้น- ศูนย์ความกังวล ให้คนไข้ใช้สองนิ้ว ชี้-กลาง เคาะเบาๆ บริเวณหัวคิ้ว พร้อมกับพูดว่า “แม้เราจะกลัว เราจะหายกลัว มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ” กรณีที่บนใบหน้าคนไข้มีจุดที่ตึงหลายจุด ให้เคาะทุกจุด พร้อมกับพูดในแต่ละจุดว่า “หายกลัว หายกลัว หายกลัว มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ”- ศูนย์ความเศร้า ให้คนไข้เคาะบริเวณใต้ต่อไหปลาร้า พร้อมกับพูด “แม้เราจะเศร้า เราจะหายเศร้า เข้มแข็ง เข้มแข็ง เข้มแข็ง” ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ประสานมือทำเหมือนท่าขอพร เคาะอกเบาๆ พร้อมกับพูดว่า “ถึงแม้เราจะเศร้า เราจะหายเศร้า เราจะหายเศร้า เราจะหายเศร้า เราจะรักตัวเองให้มากๆ”- ศูนย์ความโกรธ ให้คนไข้เคาะสีข้างตัวเองด้วยปลายนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย พูด “หายโกรธ หายโกรธ หายโกรธ ให้อภัย ให้อภัย ให้อภัย”3. เข้าสู่กิจกรรมหลัก เป้าหมายหลักคือการเน้นฝึก unthink exercise ด้วยช่วงวัยระหว่าง 30-40ปี จะมีความกลัวเสียหน้า กลัวไม่ได้รับคำชื่นชมอยู่ภายในจิตใจ ดังนั้นจึงเน้นตั้งใจฝึกให้คิดน้อยลง คิดให้ช้าลง ใคร่ครวญให้จิตใจสงบ ผ่านกิจกรรม semi structure activity คือกิจกรรม “ถ่ายทอดภาพในหัว” เป็นกิจกรรมแนวทางปฏิบัติเดียวกับ collage - โดยจากการสัมภาษณ์และพูดคุย เราพอทราบกิจกรรมในอดีตที่คนไข้สนใจ เราก็จะเตรียมนิตยสารแนวๆนั้น เช่น นิตยสารการท่องเที่ยว นิตยสารรวมกิจกรรมoutdoor กีฬาextreme นิตยสารศิลปินเกาหลี บ้าน-เฟอร์นิเจอร์ etc. เตรียมกระดาษ 12*18นิ้วกรรไกร กาว ปากกาสี- เมื่อเราเตรียมของให้เรียบร้อยแล้ว เราจะให้โจทย์คนไข้ นั่นคือ “ให้ตัดแปะภาพจนทำให้บนกระดาษใบนี้เต็มไปด้วยหัวใจของคุณ” โดยให้กติกาว่า collage นี้จะต้องทำเสร็จภายใน 30 นาที “คิดให้น้อย คิดให้ช้า ใช้ใจที่สงบ หลบจากข้างนอกหรือข้างในที่กำลังวุ่นวาย”- เมื่อคนไข้แปะเสร็จแล้วให้คนไข้อธิบาย ว่าทำไมถึงเลือกรูปแต่ละรูป บอกความรู้สึกก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ4. ให้ feedback คนไข้ และสรุปกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมตัดแปะถ่ายทอดภาพในหัวที่เป็น semi structure นี้ มีเป้าประสงค์ที่จะประเมินความกังวล ความเครียด ความเศร้า ความโกรธ และช่วยลด ช่วยผ่อนคลายอารมณ์เหล่านั้นออกจากคนไข้ รวมทั้งใช้กิจกรรมนี้ดู psychosocial perf. ของคนไข้ ดูการปรับอารมณ์ ความยืดหยุ่น การมีself esteem สู่ self confident สู่ self assertion ในงานที่ได้รับผิดชอบ เพื่อแสดงความสามารถ รวมทั้งดูการเคารพกฎกติกา และการกล้าแสดงความคิดเห็น

Assignment 10% ปรียาภรณ์ งามสิมะ 6223025 อ้างอิงจากบทที่ 4

บทผู้ป่วย : ผู้หญิงวัย 35 ปี ทำงานตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับบริษัทเอกชนมาได้ 3 ปีแล้ว ก่อนหน้าทำงานที่บริษัทเดิมตั้งแต่เรียนจบ ขยันขันแข็ง มีผลงานดี จึงได้เลื่อนขั้นมาเรื่อยๆ จนตอนนี้ได้อยู่ในตำแหน่งที่สูง เงินเดือนสูง แต่พบภาวะซึมเศร้า และมีอาการ anxiety ร่วม จากการสัมภาษณ์และพูดคุยพบว่า เจ้าตัวมีความเครียดจากงาน กลัวทำงานผิดพลาด จึงตั้งใจทำงานเต็มกำลัง เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ได้รับการยอมรับและชื่นชม แต่ก่อนชอบฟังเพลง เล่นกีฬา มีกิจกรรม outdoor ทุกวันหยุดกับครอบครัว แต่พอได้เลื่อนขั้นและขึ้นเงินเดือนเรื่อยๆ ก็เริ่มสนใจแต่งาน ไม่ค่อยได้ใช้เวลาวันหยุดทั้งกับตัวเอง เพื่อน หรือครอบครัวเหมือนแต่ก่อน อดีตเคยชอบศิลปินเกาหลีท่านหนึ่ง และไปคอนเสิร์ตอยู่เสมอ แต่3-4ปีให้หลังนี้ก็ไม่ได้ไป รวมทั้งไม่ได้ติดตามศิลปินที่เคยชอบอีกเลย เพราะไม่มีเวลา

กิจกรรมที่จะให้ทำ1. จะเริ่มให้ทำกิจกรรมวัดใจตัวเองก่อน
- ประเมินความเครียด ความกังวล โดยให้คนไข้วัดชีพจรตัวเอง ให้สังเกตว่าชีพจรเร็ว หรือช้า ถ้าเร็วเกินไปให้ลองหายใจเข้าลึกๆ ออกยาวๆ เป็นการเริ่มทำใจให้นิ่ง คลายกังวล2. ทำการคลายอารมณ์ลบ เนื่องด้วยคนไข้มีภาวะซึมเศร้า จึงจะประเมินอารมณ์ลบ และคลายอารมณ์เหล่านั้นก่อน - ให้คนไข้ทบทวนความรู้สึกตึงบริเวณศีรษะ-ใบหน้า ให้คะแนนความตึงนั้นในแต่ละส่วน 0-10 (ใบหน้า=ศูนย์ความกังวล)- ให้คนไข้ทบทวนความรู้สึกตึงบริเวณกลางอก ให้คะแนนความตึง0-10 (อก=ศูนย์ความเศร้า)- ให้คนไข้ทบทวนความรู้สึกตึงบริเวณท้อง ให้คะแนนความตึงนั้น0-10 (ท้อง=ศูนย์ความโกรธ)- เมื่อประเมินแล้ว ให้คนไข้ทำการคลายอารมณ์เหล่านั้น- ศูนย์ความกังวล ให้คนไข้ใช้สองนิ้ว ชี้-กลาง เคาะเบาๆ บริเวณหัวคิ้ว พร้อมกับพูดว่า “แม้เราจะกลัว เราจะหายกลัว มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ” กรณีที่บนใบหน้าคนไข้มีจุดที่ตึงหลายจุด ให้เคาะทุกจุด พร้อมกับพูดในแต่ละจุดว่า “หายกลัว หายกลัว หายกลัว มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ”- ศูนย์ความเศร้า ให้คนไข้เคาะบริเวณใต้ต่อไหปลาร้า พร้อมกับพูด “แม้เราจะเศร้า เราจะหายเศร้า เข้มแข็ง เข้มแข็ง เข้มแข็ง” ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ประสานมือทำเหมือนท่าขอพร เคาะอกเบาๆ พร้อมกับพูดว่า “ถึงแม้เราจะเศร้า เราจะหายเศร้า เราจะหายเศร้า เราจะหายเศร้า เราจะรักตัวเองให้มากๆ”- ศูนย์ความโกรธ ให้คนไข้เคาะสีข้างตัวเองด้วยปลายนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย พูด “หายโกรธ หายโกรธ หายโกรธ ให้อภัย ให้อภัย ให้อภัย”3. เข้าสู่กิจกรรมหลัก เป้าหมายหลักคือการเน้นฝึก unthink exercise ด้วยช่วงวัยระหว่าง 30-40ปี จะมีความกลัวเสียหน้า กลัวไม่ได้รับคำชื่นชมอยู่ภายในจิตใจ ดังนั้นจึงเน้นตั้งใจฝึกให้คิดน้อยลง คิดให้ช้าลง ใคร่ครวญให้จิตใจสงบ ผ่านกิจกรรม semi structure activity คือกิจกรรม “ถ่ายทอดภาพในหัว” เป็นกิจกรรมแนวทางปฏิบัติเดียวกับ collage - โดยจากการสัมภาษณ์และพูดคุย เราพอทราบกิจกรรมในอดีตที่คนไข้สนใจ เราก็จะเตรียมนิตยสารแนวๆนั้น เช่น นิตยสารการท่องเที่ยว นิตยสารรวมกิจกรรมoutdoor กีฬาextreme นิตยสารศิลปินเกาหลี บ้าน-เฟอร์นิเจอร์ etc. เตรียมกระดาษ 12*18นิ้วกรรไกร กาว ปากกาสี- เมื่อเราเตรียมของให้เรียบร้อยแล้ว เราจะให้โจทย์คนไข้ นั่นคือ “ให้ตัดแปะภาพจนทำให้บนกระดาษใบนี้เต็มไปด้วยหัวใจของคุณ” โดยให้กติกาว่า collage นี้จะต้องทำเสร็จภายใน 30 นาที “คิดให้น้อย คิดให้ช้า ใช้ใจที่สงบ หลบจากข้างนอกหรือข้างในที่กำลังวุ่นวาย”- เมื่อคนไข้แปะเสร็จแล้วให้คนไข้อธิบาย ว่าทำไมถึงเลือกรูปแต่ละรูป บอกความรู้สึกก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ4. ให้ feedback คนไข้ และสรุปกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมตัดแปะถ่ายทอดภาพในหัวที่เป็น semi structure นี้ มีเป้าประสงค์ที่จะประเมินความกังวล ความเครียด ความเศร้า ความโกรธ และช่วยลด ช่วยผ่อนคลายอารมณ์เหล่านั้นออกจากคนไข้ รวมทั้งใช้กิจกรรมนี้ดู psychosocial perf. ของคนไข้ ดูการปรับอารมณ์ ความยืดหยุ่น การมีself esteem สู่ self confident สู่ self assertion ในงานที่ได้รับผิดชอบ เพื่อแสดงความสามารถ รวมทั้งดูการเคารพกฎกติกา และการกล้าแสดงความคิดเห็น

Assignment 10% นางสาว ฐิดาพร อินทรปาน 6223008บทสมมติ : คุณ A ชายไทย วัย 45ปี เป็นผู้ประกอบการโรงแรม เปิดธุรกิจมาได้5ปี แต่เมื่อปี2563 ประสบปัญหาจากการระบาดของโรค COVID-19 ที่ต้อง Lockdown โรงแรม จนปัจจุบันปี2564 ก็ยังไม่สามารถทำกิจการได้ จึงทำให้คุณ A เครียด เศร้าใจ นอนไม่หลับมาประมาณ 5เดือน(เป็นปัญหาหลักที่ผู้รับบริการต้องการให้ช่วยเหลือ) เพราะคิดมากว่าจะหาเงินจากไหนมาหมุนกิจการโรงแรม รู้สึกไร้ค่า เพราะเหมือนคนตกงาน โดยในแต่ละวันจะไม่ลุกไปหาอะไรทำ นอกจากคิดจมอยู่ในอดีต ว่าตนไม่สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้เหมือนเดิม ครอบครัวจึงพาคุณ A มาไปพบแพทย์ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า(MDD) ประมาณ 7 เดือน แล้วจึงส่งต่อมายัง นักกิจกรรมบำบัดเพื่อประเมิน และบำบัดต่อไป **MDD = ผู้ป่วยต้องมีอาการอย่างน้อย 5 ข้อที่เปลี่ยนไป ได้แก่ เศร้าทั้งวันเกือบทุกวันโดยที่ตนเองรู้สึก และคนอื่นเห็นกว่า 2สัปดาห์, ไม่สนใจทำสิ่งที่เคยทำกว่า 2สัปดาห์, น้ำหนักลดลง/เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้คุม รือเพิ่มมากกว่าร้อยละ5 มีการเบื่ออาหาร/อยากอาหาร, นอนไม่หลับ/หลับมากเกือบทุกวัน, ทำอะไรช้า/อยู่ไม่สุขเกือบทุกวัน, เหนื่อยอ่อนเพลีย/ไม่มีแรงเกือบทุกวัน, รู้สึกไร้ค่า/รู้สึกผิดมากไปเกือยทุกวัน, สมาธิตัดสินใจลดลงเกือบทุกวัน, คิดเรื่องตายซ้ำๆ/พยายามทำร้ายตนเอง/มีแผนที่จะทำ มีอาการนานกว่า 2เดือนเริ่มจากการ 1. “วัดใจตนเอง” [อ้างอิงจากบทที่ 4 ข้อที่ 1.1 ,หน้าที่ 55] โดยให้ผู้รับบริการทำสมาธิ หลับตา ที่บริเวณข้อมือให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง แตะที่เส้นเลือดตรงข้อมือโดยเอียงไปด้านนิ้วโป้ง ให้ลองคว่ำดูว่าเจอชีพจรเต้นหรือไม่ ทดลองพร้อมกันโดยจะจับเวลา 1 นาที ว่าชีพจรเต้นกี่ครั้ง เพื่อประเมินความตึงเครียดที่ส่งผลต่อการเต้นของชีพจรโดยใช้จิตสำนึกในการวัดด้วยตนเอง ว่าผู้รับบริการมีอัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ หรือเร็วเกิน 90 หากเกิน แสดงว่าร่างกายเหนื่อยมากๆ เครียดหนักมากๆ ควรให้นั่งพัก 5 แล้ววัดอีกครั้ง ถ้ายังเกิน 100 ครั้ง/นาที ให้ปรึกษาแพทย์ 2. “ประเมินอารมณ์ตึงเครียด” [อ้างอิงจากบทที่ 5 ข้อที่ 5.5.3 ,หน้าที่ 86] เพื่อให้ทราบแนวทางการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจของตนเองในระดับจิตใต้สำนึกได้ โดยให้ผู้รับบริการหลับตาในท่ายืน นั่ง หรือนอน แล้วทบทวนว่า มีอารมณ์ตึงเครียดบริเวณใดของร่ายกาย เริ่มจากใบหน้า รอบหัวใจ ท้อง แต่ละตำแหน่งมีระดับความเครียดกี่คะแนนจาก 0-10(น้อยไปมาก) แล้วOTรอฟังคำตอบ และบันทึกข้อมูลให้ชัดเจน ต่อมาให้ชวนเคาะคลายอารมณ์ลบ 3. “เคาะคลายอารมณ์ลบ” [อ้างอิงจากบทที่ 4 ข้อที่ 4.3.3 ,หน้าที่ 61] เพื่อคลายอารมณ์ด้านลบ ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดที่ตึงตามกล้ามเนื้อต่างๆในบริเวณดังข้อที่ 2 และฝึกการตระหนักรู้ดูแลตัวเอง โดยOT ทำต่อจากข้อที่ 2 หากผู้รับบริการสวมแว่น ให้ถอดแว่นออกก่อนปฎิบัติ โดยเริ่มต้นจาก1.เคาะสับสันด้านนิ้วก้อย แล้วพูดว่า “แม่ว่าเราจะกลัว เศร้า โกรธ..เราจะเปิดใจ ยอมรับ และรักตัวเองให้มากๆ” 2.เคาะกลางกระหม่อมด้วยปลายนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย ประสานหลังมือสองข้าง แล้วพูดว่า “แม้ว่าเราจะกลัว เศร้า โกรธ…เราจะเปิดใจ ยอมรับ และรักตัวเองให้มากๆ” 3.เคาะหัวคิ้วทั้ง2ข้าง ด้วยนิ้วชี้ กลาง แล้วพูดว่า “หายกลัว หายกลัว หายกลัว” หรือ “มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ” 4.เคาะกลางอกใต้กระดูกไหปลาร้าด้วยการแบมือข้างขวา แล้วพูดว่า “หายเศร้า หายเศร้า” หรือ “เข้มแข็ง เข้มแข็ง เข้มแข็ง” 5.เคาะสีข้างลำตัวใต้ต่อรักแร้ลงมา 1 ฝ่ามือแนวขวางด้วยนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย หงายมือประสานแต่ละข้าง แล้วพูดว่า “หายโกรธ หายโกรธ หายโกรธ” หรือ “ให้อภัย ให้อภัย ให้อภัย” แล้วให้OT ประเมินอารมณ์ตึงเครียดอีกครั้ง เพื่อดูว่าความตึงตามบริเวณดังกล่าวจาก 10 ลดลงหรือไม่ 4.ฝึกเทคนิคการหายใจแบบ 4-7-8 [อ้างอิงจากบทที่ 4 ข้อที่ 4.4 ,หน้าที่ 59] หากยังรู้สึกเครียด และสามารถใช้กับผู้ที่รับความรู้สึกมีอารมณ์เศร้า และมีภาวะนอนไม่หลับ(ซึ่งเป็นปัญหาหลักของผู้รับบริการ) โดยเอาลิ้นแตะเพดานบนแล้วปิดปากนิ่งไว้ หายใจเข้า-ออกทางจมูกตามธรรมชาติ หายใจเข้า ให้ลมค้างไว้ที่หน้าอก นับในใจ 1-4 กลั้นไว้ให้ลมหายใจมาที่ท้อง นับในใจ 1-7 เป่าลมออกทางปากยาวๆ นับในใจ 1-8 หากอยากทำช่วงตื่นนอนเพื่อให้ร่างกายสดชื่น ให้ทำอย่างน้อย 4 รอบ แต่ถ้าเกิน 4 รอบจะทำให้รู้สึกง่วงนอนได้** Semi-structured activity = กิจกรรมที่OT และผู้รับบริการช่วยกันทำกิจกรรม50-50 และเป็นการดูPsychosocial performance โดยการปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ความคิดยืดหยุ่น สื่อสารตรงกันกับคนอื่น มีความรับผิดชอย การเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และการจัดการความเครียด/เวลา/การงาน 5.ทำ Semi-structured activity : กิจกรรมฝึกสติกับสมองส่วนหน้า [อ้างอิงจากบทที่ 4 ข้อที่ 5.1 ,หน้าที่ 59] เพื่อประเมินPsychosocial performance, สติของผู้รับบริการ ปรับความรู้สึกให้ผ่อนคลาย และได้ทบทวนตนเอง-หลับตา เปิดเพลงพระคุณแม่ เมื่อเพลงจบยังไม่เปิดตา ย้ายความรู้สึกมาจับที่หัวใจ ใช้ความเงียบให้รับรู้สึกถึงจังหวะหัวใจ ถ้าเกิดความกลัว ให้ผ่อนคลาย ฟังเสียงเต้นของหัวใจเบาๆ-ให้กล่าวขอบคุณตัวเอง ดังนี้ “ขอบคุณที่เกิดมา ด้วยความรัก ความเมตตา ความร่าเริง ความเข้มแข็งของคุณพ่อคุณแม่ เรารักคุณพ่อคุณแม่มากๆ และรักคุณพ่อคุณแม่ไปจนถึงวาระสุดท้าย”-ย้ายความรู้สึกมาที่หัวใจอีกครั้งหนึ่ง ย้ายตำแหน่งมาที่หน้าอก เป็นจุดที่ครองความเศร้า เคาะเบาๆ แล้วพูดว่า “ถึงแม้เราจะเศร้า เราจะเปิดใจ ยอมรับและรักตัวเองให้มากๆ หายเศร้า” 3รอบ-ย้ายความรู้สึกไปที่หัวใจอีกครั้ง แล้วฟังเสียงหัวใจ ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว ทำสมาธิ ใช้ใจตอบ “เราเกิดมาทำไม” จากนั้นรอฟังเสียงหัวใจ ถ้าน้ำตาไหลก็ปล่อยให้ไหล พอได้คำตอบแล้ว ค่อยๆก้าวออกมาหนึ่งก้าว-เงยหน้าขึ้นเล็กน้อย พูดตามว่า “เราคือใคร” หาคำตอบให้เจอ ใช้ใจตอบ ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว สมาธิอยู่ที่หู บางจังหวะก็จับเสียงที่หูกับเสียงที่หัวใจ ให้มันต่อเนื่องกัน ถามตัวเองว่า “เรากำลังทำอะไร เพื่อใคร” (ไม่ต้องพูดออกมา) ถอยหลังไปอีกก้าว ฟังเสียงหัวใจ ทบทวนคำตอบของคำถามในใจว่าที่เราจะทำอะไร เพื่อใคร(ไม่ต้องพูดออกมา)- ถอยหลังไปอีกก้าว ฟังเสียงหัวใจอีกที หลับตา ทวนคำตอบในใจอีกครั้งว่าเรากำลังทำอะไร เพื่อใคร และเราคือใคร ถอยไปอีกก้าว เอามือมาแตะหัวใจ ฟังเสียงหัวใจ แล้วถามอีกครั้งในใจ เรากำลังทำอะไร เพื่อใคร และเราเกิดมาทำไม ทวนคำตอบในใจอีกครั้ง เอามือลง หลับตาแล้วนั่งลง แล้วลืมตาขึ้น เอากระดาษขึ้นมา บันทึกคำตอบ 6.ทำ Semi-structured activity : กิจกรรมบำบัดจัดการงาน [อ้างอิงจากบทที่ 6 ข้อที่ 2 ,หน้าที่ 101] เพื่อประเมินPsychosocial performance, ฝึกให้สร้างนิสัยที่ดีในการปรับพฤติกรรม ให้ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีเป้าหมาย(จากการที่ผู้รับบริการไม่ลุกไปทำอะไรเลย และจมอยู่แต่กับในอดีต)-ฝึกนิสัยดีงามมีการวางแผนดูแลสุขภาพ ทุกเช้าหลังตื่นนอน ใช้เวลา 5-10 นาที ทบทวนรูปแบบการดําาเนินชีวิตว่า คิดกังวลเยอะไหม ที่มักพูดว่า “กลัวทําไม่ได้ ถ้าทําแล้วแย่ลง คนอื่นจะมองไม่ดี เหนื่อยเบื่อไม่อยากทํา ไม่รู้” ให้ปรับความคิด ว่า “ความกลัวเป็นเรื่องธรรมชาติ มนุษย์หยุดกลัวไม่ได้ พวกเราเอาชนะความ กลัวได้ด้วยการต้ังใจเป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ” จาก 1-10 คะแนน คิด ว่า กลัวกังวลกี่คะแนน ถ้า 10 คะแนนเต็ม ก็เป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ 10 รอบ-จงเริ่มทําสิ่งที่ทําได้ง่าย เช่น การอาบน้ำอุ่นสระผมนวดตัวผ่อนคลาย การแปรงฟัน ฝึกสมองด้วยมือข้างไม่ถนัดบ้าง การเคี้ยวอาหารที่ทําาเองง่าย ๆ หนึ่งคําาเคี้ยวให้ได้ 30-80 คร้ังคลายกังวล ทําาแล้วสนุก ทําาได้ง่าย ทําสิ่งที่ถนัดสักวันละ 20-30 นาที ต่อหนึ่งกิจกรรม เช่น วาดรูปสีต่างๆ อ่านหนังสือรอบรู้ ฝึกแต่งคํากลอน-เนื้อเพลง เล่น ดนตรี เล่น กีฬา เขียนบันทึก คิด พูด ทําความดี เขียนบัญชี ออมเงิน รายวัน -เดือน-ปี เขียนตารางเวลาทํางานบ้านกับทํางานหารายได้(สามารถหารายได้เสริมได้ จากการทำกิจกรรมที่เป็น Leisure เพื่อทนรายได้หลักที่หายไปจากการLockdown) เต้นรํา ร้องเพลง ปลูกรดน้ำต้นไม้ สวยงาม-พืช กินได้ ดูแลสัตว์เลี้ยง ทําอาหารทานเอง ทําอาหารกับครอบครัว ทํางาน ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้งานฝีมือด้วยการปั้นการเย็บ สวดมนต์ออกเสียง ลองทําไปให้หลากหลาย มากกว่า 1 กิจกรรม อย่างน้อยวันละ 2-3 กิจกรรม ทําไปอย่างช้าๆ ไม่รีบร้อน สบายๆ ผ่อนคลาย 40-90 นาที-พูดขอบคุณตัวเองที่จะทำให้เสร็จภายในเวลาที่วางแผนไว้ ขอร้องขอความช่วยเหลือได้ ถ้าเหนื่อยเบื่อก็หยุดพักด้วยการขยับร่างกายเดินทางมองธรรมชาติเพลินใจ ยืนนิ่งพักสายตา กระพริบตาเป็นจังหวะช้าๆ 20ครั้ง นวดหู2ข้าง พร้อมดึงติ่งหูให้ตื่นตัวหายง่วง ต่อด้วยหายเข้าทางจมูกลึกๆ แล้วกลั้นหายใจค้างไว้ นับในใจ 1-10 แล้วหายใจออกทางจมูกยาวๆ ทำไปเรื่อยๆ จนรู้สึกสดชื่น ก็กลับไปทำกิจกรรมต่อจนสำเร็จทีละนิดจิตแจ่มใสใน 1-4วันติดต่อกัน ทำแบบนี้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกัน 3-8สัปดาห์-ฝึกงานประจำทำหลายเดือนให้สงบสุขใจ งานประจำ เช่น งานบ้าน แต่ถ้าจำเจจะทำให้เครียดสะสม เพราะใช้เวลาเกือบทั้งวันเกือบทุกวัน ควรคิดทำแบบไม่จำเจ (สัปดาห์ละ 1-2วัน วันละ 1-3ชั่วโมง) ทำงานบ้านเท่าที่จำเป็น รู้จักพอประมาณตน กระจายงานให้ครอบครัวช่วยกันทำได้ ไม่ให้รู้สึกคิดลบว่า “ต้องทำ” จนเป็นภาระของชีวิต ไม่ย้ำคิดย้ำทำจนทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าจนเกินพอดี พูดบอกตัวเองบ่อยๆว่า “ขออนุญาตปล่อยวางให้รักตัวเองให้มากๆ จงเปิดใจ เรียนรู้ทำงานอื่นให้สบายใจ” เช่น พูดคุยออนไลน์เห็นหน้าเพื่อนสนิท และคนที่รักที่ไว้ใจ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือระบายทุกข์…รับฟังเห็นอกเห็นใจกันอย่างพอเหมาะพอควร สักวันละ 20นาที-ฝึกออกกำลังกายให้คิดบวกกับฝึกออกกำลังใจให้มีสมาธิ จะหลับตาหรือตามองลงพื้น หายใจเข้าทางจมูกลึกๆ นับ1-3 แล้วค้างไว้ในปอด นับในใจ1-2 ต่อด้วยหายใจออกทางจมูกยาวๆ ช้าๆ นับในใจ 1-4 ทำไปเรื่อยๆ จนครบกำหนด เวลาที่ตั้งใจ ครั้งละ 10-15นาที ทำกี่ครั้งก็ได้ ยิ่งทำยิ่งดี ทำทุกวันต่อเนื่องกัน 10 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจัดการอารมณ์ให้คิดแก้ปัญหาอย่างมีสติได้ทันเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลาที่ไม่แน่นอนหรือคาดการณ์ไม่ได้-สุดท้ายการออกกำลังกายแบบผสมผสาน ตั้งแต่ขยับร่างกายยืนกระโดดตบ นับ จังหวะ 1-20 ประสานมืองอเข่าสองข้างไปซ้ายทีขวาทีนับจังหวะ 1-20 คว่ำตัววิดพื้น นับจังหวะ 1-20 ต่อด้วยท่าแพลงก์เกร็งหน้าท้องในท่ากำ มือลงน้ำหนักข้อศอก สองข้างพร้อมปลายเท้าแยกกันให้ลำตัวขนานไม่แตะพื้น นับจังหวะ 1-20 แล้วจบ ด้วยการวิ่งอยู่กับท่ พร้อมเป่าลมหายใจออกทางปากไปเรื่อยๆ จนหายเหนื่อย นับ จังหวะ 1-20 แล้วต่อด้วยการรำ กำหนดลมหายใจลมปราณเข้าออก ประกอบด้วย 18 ท่าไทเก็ก ไทชิชี่กง ต้าจี้ใช้เวลาเพื่อสุขภาพวันละ 10-30 นาทีเป็นอย่างน้อย ให้ร่างกายแข็งแรง-ปรับสิ่งแวดล้อมให้ทำงานสร้างสรรค์ความสุข สิ่งแวดล้อมนี้ เช่น จัดของในบ้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้คิดเป็นระเบียบ เน้นหยิบใช้สอยได้ง่าย ใช้เวลาน้อย เพื่อเพิ่มพลังงานให้คิดเรียนรู้ทำสิ่งใหม่ๆ ดีต่อใจในตารางชีวิตคิดบวกประจำวัน ไม่เร่ง รีบ ไม่ฝืนใจ จนเกินไป และได้ใคร่ครวญความคิดจิตพอเพียง ไม่ขี้เหนียว ประหยัด ค่าใช้จ่ายแบบใช้เท่าที่จำ เป็นจนเหลือเก็บออมไว้ใช้ในชีวิตระยะยาว สิ่งของใดที่คิดมีเหตุผลเพื่อคงเหลือของที่ดีและสำคัญ ให้ตัดใจบริจาค หรือทิ้งขยะรีไซเคิลได้เลย ลองคิดตอบคำถามต่อไปนี้จะได้รู้สึก “สุขใจที่ได้ทิ้งสิ่งของที่เก็บสะสมในบ้าน” คือ ทิ้งสิ่งของนี้แล้ว จะไม่ซื้ออีกใช่ไหม เก็บสิ่งของนี้ไว้ เพราะจะนำติดตัวไปเที่ยวนานๆใช่ไหม ถ้าผ่านไป 3 ปียังอยากใช้สิ่งของชิ้นนี้อยู่หรือไม่-สิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกอย่าง คือ สภาพห้องนอนที่มั่นใจให้นอนหลับพักผ่อนอย่าง เพียงพอ คืนละ 7-9 ชั่วโมง ตั้งเวลาเข้านอนกับตื่นนอนเป็นประจำวันให้คงที่ ทั้ งวันทำงานกับวันหยุดทำงาน ไม่ควรเข้านอนเกินตี1 เพราะตับจะขจัดสารพิษใน ร่างกายช่วงตี1 - ตี3 ไม่ควรทานอาหารหนัก 3 ชั่วโมง ก่อนเวลาเข้านอน ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนัก 2 ชั่วโมง ก่อนเวลาเข้านอน และไม่ควรใช้อุปกรณ์สื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์มีแสงสีฟ้าในจอคอมพิวเตอร์-มือถือ-แท็บเล็ต 1 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน-กิจกรรมการดำ เนินชีวิตที่ควรทำ 1 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน ได้แก่ ฝึกหายใจด้วย กะบังลม-หายใจเขาท้องป้อง-หายใจออกท้องแฟบ (5-10 นาทีไม่นับในใจ ให้วางมือหนึ่งที่หน้าอก อีกมือวางที่ท้อง รับรู้สึกจังหวะขึ้นลงของมือสองข้างสลับกัน เวลา หายใจออกจะช้ากว่าหายใจเข้า 2 เท่า) ฝึกไม่คิดแบบลืมตาในท่านั่งบนเก้าอี้ ใช้นิ้วชี้นิ้วกลางคลำจับชีพจรตรงเส้นเลือดบริเวณข้อมือทางนิ้วโป้ง (ให้รับรู้สึกสัมผัส เป็นจังหวะเปรียบเทียบกันระหว่างมือขวากับมือซ้าย แล้วจับข้อมือข้างที่ เต้นเร็ว นับในใจ 1-90 จนสบายผ่อนคลาย) ยืดเหยียดขยับร่างกายเบาๆ ทำโยคะ ตั้งใจยิ้ม หัวเราะสัก 4รอบ จดวางดูต้นไม้สีเขียวกำลังฟอกอากาศในห้องนอน ทำสมาธิในท่าสบาย ปรุงอาหารที่ไม่เคี้ยวเยอะ ชงเครื่องดื่มอุ่นๆ ฟังเสียงผ่อนคลาย เล่าฟังนิทาน สวดมนต์ภาวนา เขียนสื่อสารความรู้สึกนึกคิดดีๆ สัก 5 ข้อว่า “วันนี้ชีวิตได้คิดดี พูดดีทำดีอะไรบ้างอยากขอบคุณ -ขอโทษตัวเองเรื่องอะไร อยากใหอภัยใคร อยากบอกรักใคร

Assignment 10% นางสาว ฐิดาพร อินทรปาน 6223008บทสมมติ : คุณ A ชายไทย วัย 45ปี เป็นผู้ประกอบการโรงแรม เปิดธุรกิจมาได้5ปี แต่เมื่อปี2563 ประสบปัญหาจากการระบาดของโรค COVID-19 ที่ต้อง Lockdown โรงแรม จนปัจจุบันปี2564 ก็ยังไม่สามารถทำกิจการได้ จึงทำให้คุณ A เครียด เศร้าใจ นอนไม่หลับมาประมาณ 5เดือน(เป็นปัญหาหลักที่ผู้รับบริการต้องการให้ช่วยเหลือ) เพราะคิดมากว่าจะหาเงินจากไหนมาหมุนกิจการโรงแรม รู้สึกไร้ค่า เพราะเหมือนคนตกงาน โดยในแต่ละวันจะไม่ลุกไปหาอะไรทำ นอกจากคิดจมอยู่ในอดีต ว่าตนไม่สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้เหมือนเดิม ครอบครัวจึงพาคุณ A มาไปพบแพทย์ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า(MDD) ประมาณ 7 เดือน แล้วจึงส่งต่อมายัง นักกิจกรรมบำบัดเพื่อประเมิน และบำบัดต่อไป MDD = ผู้ป่วยต้องมีอาการอย่างน้อย 5 ข้อที่เปลี่ยนไป ได้แก่ เศร้าทั้งวันเกือบทุกวันโดยที่ตนเองรู้สึก และคนอื่นเห็นกว่า 2สัปดาห์, ไม่สนใจทำสิ่งที่เคยทำกว่า 2สัปดาห์, น้ำหนักลดลง/เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้คุม หรือเพิ่มมากกว่าร้อยละ5 มีการเบื่ออาหาร/อยากอาหาร, นอนไม่หลับ/หลับมากเกือบทุกวัน, ทำอะไรช้า/อยู่ไม่สุขเกือบทุกวัน, เหนื่อยอ่อนเพลีย/ไม่มีแรงเกือบทุกวัน, รู้สึกไร้ค่า/รู้สึกผิดมากไปเกือยทุกวัน, สมาธิตัดสินใจลดลงเกือบทุกวัน, คิดเรื่องตายซ้ำๆ/พยายามทำร้ายตนเอง/มีแผนที่จะทำ มีอาการนานกว่า 2เดือน เริ่มจากการ 1. “วัดใจตนเอง” [อ้างอิงจากบทที่ 4 ข้อที่ 1.1 ,หน้าที่ 55] โดยให้ผู้รับบริการทำสมาธิ หลับตา ที่บริเวณข้อมือให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง แตะที่เส้นเลือดตรงข้อมือโดยเอียงไปด้านนิ้วโป้ง ให้ลองคว่ำดูว่าเจอชีพจรเต้นหรือไม่ ทดลองพร้อมกันโดยจะจับเวลา 1 นาที ว่าชีพจรเต้นกี่ครั้ง เพื่อประเมินความตึงเครียดที่ส่งผลต่อการเต้นของชีพจรโดยใช้จิตสำนึกในการวัดด้วยตนเอง ว่าผู้รับบริการมีอัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ หรือเร็วเกิน 90 หากเกิน แสดงว่าร่างกายเหนื่อยมากๆ เครียดหนักมากๆ ควรให้นั่งพัก 5 แล้ววัดอีกครั้ง ถ้ายังเกิน 100 ครั้ง/นาที ให้ปรึกษาแพทย์ 2. “ประเมินอารมณ์ตึงเครียด” [อ้างอิงจากบทที่ 5 ข้อที่ 5.5.3 ,หน้าที่ 86] เพื่อให้ทราบแนวทางการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจของตนเองในระดับจิตใต้สำนึกได้ โดยให้ผู้รับบริการหลับตาในท่ายืน นั่ง หรือนอน แล้วทบทวนว่า มีอารมณ์ตึงเครียดบริเวณใดของร่ายกาย เริ่มจากใบหน้า รอบหัวใจ ท้อง แต่ละตำแหน่งมีระดับความเครียดกี่คะแนนจาก 0-10(น้อยไปมาก) แล้วOTรอฟังคำตอบ และบันทึกข้อมูลให้ชัดเจน ต่อมาให้ชวนเคาะคลายอารมณ์ลบ 3. “เคาะคลายอารมณ์ลบ” [อ้างอิงจากบทที่ 4 ข้อที่ 4.3.3 ,หน้าที่ 61] เพื่อคลายอารมณ์ด้านลบ ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดที่ตึงตามกล้ามเนื้อต่างๆในบริเวณดังข้อที่ 2 และฝึกการตระหนักรู้ดูแลตัวเอง โดยOT ทำต่อจากข้อที่ 2 หากผู้รับบริการสวมแว่น ให้ถอดแว่นออกก่อนปฎิบัติ โดยเริ่มต้นจาก1.เคาะสับสันด้านนิ้วก้อย แล้วพูดว่า “แม่ว่าเราจะกลัว เศร้า โกรธ..เราจะเปิดใจ ยอมรับ และรักตัวเองให้มากๆ” 2.เคาะกลางกระหม่อมด้วยปลายนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย ประสานหลังมือสองข้าง แล้วพูดว่า “แม้ว่าเราจะกลัว เศร้า โกรธ…เราจะเปิดใจ ยอมรับ และรักตัวเองให้มากๆ” 3.เคาะหัวคิ้วทั้ง2ข้าง ด้วยนิ้วชี้ กลาง แล้วพูดว่า “หายกลัว หายกลัว หายกลัว” หรือ “มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ” 4.เคาะกลางอกใต้กระดูกไหปลาร้าด้วยการแบมือข้างขวา แล้วพูดว่า “หายเศร้า หายเศร้า” หรือ “เข้มแข็ง เข้มแข็ง เข้มแข็ง” 5.เคาะสีข้างลำตัวใต้ต่อรักแร้ลงมา 1 ฝ่ามือแนวขวางด้วยนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย หงายมือประสานแต่ละข้าง แล้วพูดว่า “หายโกรธ หายโกรธ หายโกรธ” หรือ “ให้อภัย ให้อภัย ให้อภัย” แล้วให้OT ประเมินอารมณ์ตึงเครียดอีกครั้ง เพื่อดูว่าความตึงตามบริเวณดังกล่าวจาก 10 ลดลงหรือไม่ 4.ฝึกเทคนิคการหายใจแบบ 4-7-8 [อ้างอิงจากบทที่ 4 ข้อที่ 4.4 ,หน้าที่ 59] หากยังรู้สึกเครียด และสามารถใช้กับผู้ที่รับความรู้สึกมีอารมณ์เศร้า และมีภาวะนอนไม่หลับ(ซึ่งเป็นปัญหาหลักของผู้รับบริการ) โดยเอาลิ้นแตะเพดานบนแล้วปิดปากนิ่งไว้ หายใจเข้า-ออกทางจมูกตามธรรมชาติ หายใจเข้า ให้ลมค้างไว้ที่หน้าอก นับในใจ 1-4 กลั้นไว้ให้ลมหายใจมาที่ท้อง นับในใจ 1-7 เป่าลมออกทางปากยาวๆ นับในใจ 1-8 หากอยากทำช่วงตื่นนอนเพื่อให้ร่างกายสดชื่น ให้ทำอย่างน้อย 4 รอบ แต่ถ้าเกิน 4 รอบจะทำให้รู้สึกง่วงนอนได้ Semi-structured activity = กิจกรรมที่OT และผู้รับบริการช่วยกันทำกิจกรรม50-50 และเป็นการดูPsychosocial performance โดยการปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ความคิดยืดหยุ่น สื่อสารตรงกันกับคนอื่น มีความรับผิดชอย การเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และการจัดการความเครียด/เวลา/การงาน 5.ทำ Semi-structured activity : กิจกรรมฝึกสติกับสมองส่วนหน้า [อ้างอิงจากบทที่ 4 ข้อที่ 5.1 ,หน้าที่ 59] เพื่อประเมินPsychosocial performance, สติของผู้รับบริการ ปรับความรู้สึกให้ผ่อนคลาย และได้ทบทวนตนเอง-หลับตา เปิดเพลงพระคุณแม่ เมื่อเพลงจบยังไม่เปิดตา ย้ายความรู้สึกมาจับที่หัวใจ ใช้ความเงียบให้รับรู้สึกถึงจังหวะหัวใจ ถ้าเกิดความกลัว ให้ผ่อนคลาย ฟังเสียงเต้นของหัวใจเบาๆ-ให้กล่าวขอบคุณตัวเอง ดังนี้ “ขอบคุณที่เกิดมา ด้วยความรัก ความเมตตา ความร่าเริง ความเข้มแข็งของคุณพ่อคุณแม่ เรารักคุณพ่อคุณแม่มากๆ และรักคุณพ่อคุณแม่ไปจนถึงวาระสุดท้าย”-ย้ายความรู้สึกมาที่หัวใจอีกครั้งหนึ่ง ย้ายตำแหน่งมาที่หน้าอก เป็นจุดที่ครองความเศร้า เคาะเบาๆ แล้วพูดว่า “ถึงแม้เราจะเศร้า เราจะเปิดใจ ยอมรับและรักตัวเองให้มากๆ หายเศร้า” 3รอบ-ย้ายความรู้สึกไปที่หัวใจอีกครั้ง แล้วฟังเสียงหัวใจ ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว ทำสมาธิ ใช้ใจตอบ “เราเกิดมาทำไม” จากนั้นรอฟังเสียงหัวใจ ถ้าน้ำตาไหลก็ปล่อยให้ไหล พอได้คำตอบแล้ว ค่อยๆก้าวออกมาหนึ่งก้าว-เงยหน้าขึ้นเล็กน้อย พูดตามว่า “เราคือใคร” หาคำตอบให้เจอ ใช้ใจตอบ ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว สมาธิอยู่ที่หู บางจังหวะก็จับเสียงที่หูกับเสียงที่หัวใจ ให้มันต่อเนื่องกัน ถามตัวเองว่า “เรากำลังทำอะไร เพื่อใคร” (ไม่ต้องพูดออกมา) ถอยหลังไปอีกก้าว ฟังเสียงหัวใจ ทบทวนคำตอบของคำถามในใจว่าที่เราจะทำอะไร เพื่อใคร(ไม่ต้องพูดออกมา)- ถอยหลังไปอีกก้าว ฟังเสียงหัวใจอีกที หลับตา ทวนคำตอบในใจอีกครั้งว่าเรากำลังทำอะไร เพื่อใคร และเราคือใคร ถอยไปอีกก้าว เอามือมาแตะหัวใจ ฟังเสียงหัวใจ แล้วถามอีกครั้งในใจ เรากำลังทำอะไร เพื่อใคร และเราเกิดมาทำไม ทวนคำตอบในใจอีกครั้ง เอามือลง หลับตาแล้วนั่งลง แล้วลืมตาขึ้น เอากระดาษขึ้นมา บันทึกคำตอบ 6.ทำ Semi-structured activity : กิจกรรมบำบัดจัดการงาน [อ้างอิงจากบทที่ 6 ข้อที่ 2 ,หน้าที่ 101] เพื่อประเมินPsychosocial performance, ฝึกให้สร้างนิสัยที่ดีในการปรับพฤติกรรม ให้ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีเป้าหมาย(จากการที่ผู้รับบริการไม่ลุกไปทำอะไรเลย และจมอยู่แต่กับในอดีต)-ฝึกนิสัยดีงามมีการวางแผนดูแลสุขภาพ ทุกเช้าหลังตื่นนอน ใช้เวลา 5-10 นาที ทบทวนรูปแบบการดําาเนินชีวิตว่า คิดกังวลเยอะไหม ที่มักพูดว่า “กลัวทําไม่ได้ ถ้าทําแล้วแย่ลง คนอื่นจะมองไม่ดี เหนื่อยเบื่อไม่อยากทํา ไม่รู้” ให้ปรับความคิด ว่า “ความกลัวเป็นเรื่องธรรมชาติ มนุษย์หยุดกลัวไม่ได้ พวกเราเอาชนะความ กลัวได้ด้วยการต้ังใจเป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ” จาก 1-10 คะแนน คิด ว่า กลัวกังวลกี่คะแนน ถ้า 10 คะแนนเต็ม ก็เป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ 10 รอบ-จงเริ่มทําสิ่งที่ทําได้ง่าย เช่น การอาบน้ำอุ่นสระผมนวดตัวผ่อนคลาย การแปรงฟัน ฝึกสมองด้วยมือข้างไม่ถนัดบ้าง การเคี้ยวอาหารที่ทําาเองง่าย ๆ หนึ่งคําาเคี้ยวให้ได้ 30-80 คร้ังคลายกังวล ทําาแล้วสนุก ทําาได้ง่าย ทําสิ่งที่ถนัดสักวันละ 20-30 นาที ต่อหนึ่งกิจกรรม เช่น วาดรูปสีต่างๆ อ่านหนังสือรอบรู้ ฝึกแต่งคํากลอน-เนื้อเพลง เล่น ดนตรี เล่น กีฬา เขียนบันทึก คิด พูด ทําความดี เขียนบัญชี ออมเงิน รายวัน -เดือน-ปี เขียนตารางเวลาทํางานบ้านกับทํางานหารายได้(สามารถหารายได้เสริมได้ จากการทำกิจกรรมที่เป็น Leisure เพื่อทนรายได้หลักที่หายไปจากการLockdown) เต้นรํา ร้องเพลง ปลูกรดน้ำต้นไม้ สวยงาม-พืช กินได้ ดูแลสัตว์เลี้ยง ทําอาหารทานเอง ทําอาหารกับครอบครัว ทํางาน ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้งานฝีมือด้วยการปั้นการเย็บ สวดมนต์ออกเสียง ลองทําไปให้หลากหลาย มากกว่า 1 กิจกรรม อย่างน้อยวันละ 2-3 กิจกรรม ทําไปอย่างช้าๆ ไม่รีบร้อน สบายๆ ผ่อนคลาย 40-90 นาที-พูดขอบคุณตัวเองที่จะทำให้เสร็จภายในเวลาที่วางแผนไว้ ขอร้องขอความช่วยเหลือได้ ถ้าเหนื่อยเบื่อก็หยุดพักด้วยการขยับร่างกายเดินทางมองธรรมชาติเพลินใจ ยืนนิ่งพักสายตา กระพริบตาเป็นจังหวะช้าๆ 20ครั้ง นวดหู2ข้าง พร้อมดึงติ่งหูให้ตื่นตัวหายง่วง ต่อด้วยหายเข้าทางจมูกลึกๆ แล้วกลั้นหายใจค้างไว้ นับในใจ 1-10 แล้วหายใจออกทางจมูกยาวๆ ทำไปเรื่อยๆ จนรู้สึกสดชื่น ก็กลับไปทำกิจกรรมต่อจนสำเร็จทีละนิดจิตแจ่มใสใน 1-4วันติดต่อกัน ทำแบบนี้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกัน 3-8สัปดาห์-ฝึกงานประจำทำหลายเดือนให้สงบสุขใจ งานประจำ เช่น งานบ้าน แต่ถ้าจำเจจะทำให้เครียดสะสม เพราะใช้เวลาเกือบทั้งวันเกือบทุกวัน ควรคิดทำแบบไม่จำเจ (สัปดาห์ละ 1-2วัน วันละ 1-3ชั่วโมง) ทำงานบ้านเท่าที่จำเป็น รู้จักพอประมาณตน กระจายงานให้ครอบครัวช่วยกันทำได้ ไม่ให้รู้สึกคิดลบว่า “ต้องทำ” จนเป็นภาระของชีวิต ไม่ย้ำคิดย้ำทำจนทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าจนเกินพอดี พูดบอกตัวเองบ่อยๆว่า “ขออนุญาตปล่อยวางให้รักตัวเองให้มากๆ จงเปิดใจ เรียนรู้ทำงานอื่นให้สบายใจ” เช่น พูดคุยออนไลน์เห็นหน้าเพื่อนสนิท และคนที่รักที่ไว้ใจ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือระบายทุกข์…รับฟังเห็นอกเห็นใจกันอย่างพอเหมาะพอควร สักวันละ 20นาที-ฝึกออกกำลังกายให้คิดบวกกับฝึกออกกำลังใจให้มีสมาธิ จะหลับตาหรือตามองลงพื้น หายใจเข้าทางจมูกลึกๆ นับ1-3 แล้วค้างไว้ในปอด นับในใจ1-2 ต่อด้วยหายใจออกทางจมูกยาวๆ ช้าๆ นับในใจ 1-4 ทำไปเรื่อยๆ จนครบกำหนด เวลาที่ตั้งใจ ครั้งละ 10-15นาที ทำกี่ครั้งก็ได้ ยิ่งทำยิ่งดี ทำทุกวันต่อเนื่องกัน 10 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจัดการอารมณ์ให้คิดแก้ปัญหาอย่างมีสติได้ทันเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลาที่ไม่แน่นอนหรือคาดการณ์ไม่ได้-สุดท้ายการออกกำลังกายแบบผสมผสาน ตั้งแต่ขยับร่างกายยืนกระโดดตบ นับ จังหวะ 1-20 ประสานมืองอเข่าสองข้างไปซ้ายทีขวาทีนับจังหวะ 1-20 คว่ำตัววิดพื้น นับจังหวะ 1-20 ต่อด้วยท่าแพลงก์เกร็งหน้าท้องในท่ากำ มือลงน้ำหนักข้อศอก สองข้างพร้อมปลายเท้าแยกกันให้ลำตัวขนานไม่แตะพื้น นับจังหวะ 1-20 แล้วจบ ด้วยการวิ่งอยู่กับท่ พร้อมเป่าลมหายใจออกทางปากไปเรื่อยๆ จนหายเหนื่อย นับ จังหวะ 1-20 แล้วต่อด้วยการรำ กำหนดลมหายใจลมปราณเข้าออก ประกอบด้วย 18 ท่าไทเก็ก ไทชิชี่กง ต้าจี้ใช้เวลาเพื่อสุขภาพวันละ 10-30 นาทีเป็นอย่างน้อย ให้ร่างกายแข็งแรง-ปรับสิ่งแวดล้อมให้ทำงานสร้างสรรค์ความสุข สิ่งแวดล้อมนี้ เช่น จัดของในบ้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้คิดเป็นระเบียบ เน้นหยิบใช้สอยได้ง่าย ใช้เวลาน้อย เพื่อเพิ่มพลังงานให้คิดเรียนรู้ทำสิ่งใหม่ๆ ดีต่อใจในตารางชีวิตคิดบวกประจำวัน ไม่เร่ง รีบ ไม่ฝืนใจ จนเกินไป และได้ใคร่ครวญความคิดจิตพอเพียง ไม่ขี้เหนียว ประหยัด ค่าใช้จ่ายแบบใช้เท่าที่จำ เป็นจนเหลือเก็บออมไว้ใช้ในชีวิตระยะยาว สิ่งของใดที่คิดมีเหตุผลเพื่อคงเหลือของที่ดีและสำคัญ ให้ตัดใจบริจาค หรือทิ้งขยะรีไซเคิลได้เลย ลองคิดตอบคำถามต่อไปนี้จะได้รู้สึก “สุขใจที่ได้ทิ้งสิ่งของที่เก็บสะสมในบ้าน” คือ ทิ้งสิ่งของนี้แล้ว จะไม่ซื้ออีกใช่ไหม เก็บสิ่งของนี้ไว้ เพราะจะนำติดตัวไปเที่ยวนานๆใช่ไหม ถ้าผ่านไป 3 ปียังอยากใช้สิ่งของชิ้นนี้อยู่หรือไม่-สิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกอย่าง คือ สภาพห้องนอนที่มั่นใจให้นอนหลับพักผ่อนอย่าง เพียงพอ คืนละ 7-9 ชั่วโมง ตั้งเวลาเข้านอนกับตื่นนอนเป็นประจำวันให้คงที่ ทั้ งวันทำงานกับวันหยุดทำงาน ไม่ควรเข้านอนเกินตี1 เพราะตับจะขจัดสารพิษใน ร่างกายช่วงตี1 - ตี3 ไม่ควรทานอาหารหนัก 3 ชั่วโมง ก่อนเวลาเข้านอน ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนัก 2 ชั่วโมง ก่อนเวลาเข้านอน และไม่ควรใช้อุปกรณ์สื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์มีแสงสีฟ้าในจอคอมพิวเตอร์-มือถือ-แท็บเล็ต 1 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน-กิจกรรมการดำ เนินชีวิตที่ควรทำ 1 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน ได้แก่ ฝึกหายใจด้วย กะบังลม-หายใจเขาท้องป้อง-หายใจออกท้องแฟบ (5-10 นาทีไม่นับในใจ ให้วางมือหนึ่งที่หน้าอก อีกมือวางที่ท้อง รับรู้สึกจังหวะขึ้นลงของมือสองข้างสลับกัน เวลา หายใจออกจะช้ากว่าหายใจเข้า 2 เท่า) ฝึกไม่คิดแบบลืมตาในท่านั่งบนเก้าอี้ ใช้นิ้วชี้นิ้วกลางคลำจับชีพจรตรงเส้นเลือดบริเวณข้อมือทางนิ้วโป้ง (ให้รับรู้สึกสัมผัส เป็นจังหวะเปรียบเทียบกันระหว่างมือขวากับมือซ้าย แล้วจับข้อมือข้างที่ เต้นเร็ว นับในใจ 1-90 จนสบายผ่อนคลาย) ยืดเหยียดขยับร่างกายเบาๆ ทำโยคะ ตั้งใจยิ้ม หัวเราะสัก 4รอบ จดวางดูต้นไม้สีเขียวกำลังฟอกอากาศในห้องนอน ทำสมาธิในท่าสบาย ปรุงอาหารที่ไม่เคี้ยวเยอะ ชงเครื่องดื่มอุ่นๆ ฟังเสียงผ่อนคลาย เล่าฟังนิทาน สวดมนต์ภาวนา เขียนสื่อสารความรู้สึกนึกคิดดีๆ สัก 5 ข้อว่า “วันนี้ชีวิตได้คิดดี พูดดีทำดีอะไรบ้างอยากขอบคุณ -ขอโทษตัวเองเรื่องอะไร อยากให้อภัยใคร อยากบอกรักใคร

Assignment 10% นันทิชา สรเวชประเสริฐ 6223024 อ้างอิงจากบทที่ 5 สมดุลสมองเพื่อการบำบัด ในหัวข้อที่ 5.3 ความเข้าใจจะเลือกประเมินในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า MDD ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอารมณ์เศร้าทั้งวันเกือบทุกวันตนเองและคนอื่นเห็นมากกว่า 2 สัปดาห์ ,มีความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปมองเห็นแต่ความผิดพลาดของตัวเอง โทษตัวเอง รู้สึกไร้ค่าไม่มั่นใจในตนเอง ,มักจะหมกมุ่นจมอยู่กับอดีต ทำอะไรช้า ,มีสมาธิ ความจำและการตัดสินใจลดลงส่งผลต่อการแก้ไขปัญหา ,ขาดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ ไม่สนใจสิ่งที่เคยทำมากกว่า 2 สัปดาห์ ,คิดเรื่องตายซ้ำๆ พยายามทำร้ายตัวเอง ,น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้คุม เพิ่มมากกว่าร้อยละ 5 มีอาการเบื่ออาหารอยากอาหาร ,นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป ,เหนื่อยอ่อนเพลียไม่มีแรงเกือบทั้งวัน (มีอย่างน้อย 5 อาการ)บทผู้ป่วย : ผู้ป่วยหญิงอายุ 42 ปี ตกงาน ต้องดูแลครอบครัวทั้งหมด (พ่อแม่ ลูก หย่าร้างกับสามีไม่ได้ติดต่อกันแล้ว) ต้องใช้เงินที่เหลือจากการทำงานก่อนหน้านี้จุนเจือคนในครอบครัว จึงทำให้เครียดเป็นอย่างมาก ไม่รู้จะระบายกับใคร ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป ทำให้เริ่มมีอารมณ์เศร้า นอนไม่หลับมา 3 เดือน กินอาหารได้น้อยลง หมกมุ่นโทษตัวเองจมอยู่กับอดีต รู้สึกว่าตัวเองเป็นลูกอกตัญญู ไม่มีค่า เพราะดูแลครอบครัวไม่ได้ มีความคิดฆ่าตัวตาย คนรอบตัวและตัวเองเริ่มสังเกตได้จึงไปพบแพทย์ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น MDD จึงส่งต่อมากิจกรรมบำบัดซึ่งกิจกรรมนี้จะใช้กับผู้รับบริการที่หมกมุ่นจมกับอดีต กังวลอนาคต ผู้รับบริการสามารถเล่าเรื่องผ่านกิจกรรมการวาดภาพ ปั้นดินน้ำมัน ทำให้เราสามารถประเมินปัญหาต่างๆ และได้รับรู้เรื่องราวปัญหา สุขภาพจิต ทัศนคติส่วนตัว ความชอบ cognitive ฯลฯ ซึ่งเป็น Semi-structured Activity ดังนั้นจึงเลือกที่จะประเมินผู้รับบริการแบบผู้ให้คำปรึกษา จุดประสงค์เพื่อช่วยแยกแยะปัญหาชีวิต รับฟังและช่วยชี้นำให้ผู้รับบริการสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ โดยผ่านการประเมินทักษะจิตสังคมเน้นการแสดงออกแห่งตน (self-expression) โดยใช้กิจกรรมสื่อสารด้วยการวาดภาพ วิธีการประเมินมีดังนี้1.เริ่มจากแนะนำตัว และถามชื่อนามสกุลผู้รับบริการ โดยเราจะนั่งด้านข้างเยื้อง ออกมาทางซ้ายหรือขวาเล็กน้อย เพื่อเลี่ยงไม่ให้ผู้รับบริการรู้สึกว่ากําลังถูกสังเกตพฤติกรรมมาเกินไป 2.วางกระดาษ A4 พร้อมดินสอ ตรงหน้าผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการใช้ดินสอวาดภาพสิ่งที่ประทับใจ โดยให้ผู้รับบริการเลือกนึกภาพที่จะวาดด้วยตนเอง3. ให้ผู้วาดลงชื่อ วันที่ และเวลาที่ใช้ในการวาดรูปนี้ จากนั้นขอให้ผู้รับบริการเล่าเกี่ยวกับภาพว่า “สิ่งที่อยู่ในภาพนี้คืออะไร อยู่ที่ไหน อยู่ในช่วงเวลาใด กําลังทําอะไรกับใคร ภาพนี้ทําให้คุณคิดถึงอะไร” 4. จดบันทึกคําสําคัญระหว่างเล่าเรื่อง เพื่อประเมิน กระบวนการคิด รับรู้ คําพูด ได้แก่ เรื่องเล่าภาพรวมคิดถึงอะไรมากกว่าระหว่าง ตนเอง หรือ ผู้อื่น สะท้อนถึงปัญหาชีวิต หรือ ไม่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาชีวิต พูดความรู้สึกถึงนิสัยส่วนตัว หรือไม่พูดถึงเลย คําพูดย้อนคิดบวกตาม โจทย์ หรือ คิดลบขัด แย้งโจทย์ ขณะเล่าเรื่อง ดูมีการรับความรู้สึกนึกคิดที่มีเรื่องเล่าเป็นไปได้จริง หรือ เล่าเท่าที่จําเป็น และตลอดช่วงการทํากิจกรรมประเมิน สีหน้าท่าทีดูราบรื่น ให้ความร่วมมือ หรือ เริ่มจินตนาการได้อีกทางเลือกหากผู้รับบริการไม่ชอบการวาดภาพ จะเปลี่ยนไปใช้กิจกรรมการปั้นดินอย่างอิสระ เพื่อฝึกผู้รับบริการสังเกตอ่านใจตนเอง ได้คิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง 1.ให้ผู้รับบริการปั้นอะไรก็ได้ที่อยากปั้น2. ขอผู้รับบริการบอกเกี่ยวกับสิ่งที่ปั้นว่าคืออะไรและมีความหมายกับชีวิตอย่างไร ขณะที่กำลังปั้นนึกถึงอะไร ชอบผลงานนี้ไหม ได้เกิดการเรียนรู้อะไรบ้างในการปั้นดิน 3.ประเมินทักษะจิตสังคมขณะปั้นดิน อ้างอิงการสังเกตพฤติกรรมตามการตรวจสภาพจิตที่สําคัญ (mental status examination) ได้แก่ ไม่สบตา/จ้องเขม็ง/สายตา หลุกหลิก, ให้ความร่วมมือเป็นมิตร/ไม่สนใจเพิกเฉย/มุ่งร้าย, สีหน้ากังวล/บึ้งตึง/ เบื่อหน่าย/ยิ้มแย้ม /จดจ่อพอใจ, แต่งกายเรียบร้อยสะอาด/สุขอนามัยไม่ดี มีกลิ่นตัว4.วิเคราะห์ความสามารถขณะปั้นดิน ประเมินcomprehensive occupational therapy evaluation, COTE ได้แก่ ใช้เวลา เหมาะสมดี/นานเกินไป/เร็วเกินไป, เริ่มต้นทําทันที/ลังเลนานก่อนทํา, พูดอธิบาย ภาพเหมาะสม/ย้ำคิดวนไปมาเรื่องตัวเอง/คิดลบเรื่องตัวเอง/คิดลบเรื่องผู้อื่น/ หมกมุ่นความผิดพลาดในอดีต/ครุ่นคิดคาดหวังในอนาคต/ไม่ให้คุณค่ากับตัวเอง/ ไม่รู้จักตัวเอง5.วิเคราะห์ผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยตั้งคำถามปลายเปิด พร้อมชื่นชม ดิฉันคิดว่าควรจะทำทั้ง 2 กิจกรรม เพื่อผลการประเมินที่ครอบคลุม

Assignment 10 % น.ส.ณัฐธิพร สอาดดี 6223023ผู้รับบริการ : กลุ่มโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder; MDD) ผู้ป่วยที่มีอาการจากเกณฑ์การวินิจฉัย (DSM5) อย่างน้อย 5 ข้อจากอาการดังนี้ รู้สึกว่าตัวเองเศร้าทั้งวัน, ไม่สนใจทำกิจกรรม, เบื่อหรืออยากอาหาร, นอนไม่หลับ/นอนมากไป, ทำอะไรช้า-ซ้ำๆ, อ่อนเพลีย, รู้สึกไร้ค่า, การจดจ่อลดลง, มีความคิดอยากตาย, โดยต้องมีอาการติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์Semi-structured Activity : การประเมินเพื่อทราบแนวทางการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจในระดับจิตใต้สำนึกของผู้รับบริการ (อ้างอิงข้อมูลจาก กิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา บทที่ 5 สมดุลสมองเพื่อการบำบัดหัวข้อ 5.5 การกระทำ (5.5.3 การประยุกต์)) ซึ่งมีวิธีการดังนี้1.แจ้งจุดประสงค์การประเมินโดยบอกผู้รับบริการว่าวันนี้เราจะมา “ประเมินอารมณ์ตึงเครียด” 2.ให้ผู้รับบริการหลับตาในท่าที่สบายแล้วทบทวนว่ามีอารมณ์ตึงเครียดบริเวณใดของร่างกาย โดยเริ่มจากบริเวณใบหน้า หัวใจและท้อง ถามผู้รับบริการว่าแต่ละตำแหน่งมีระดับความเครียดกี่คะแนน 0-10 (ไม่มีถึงมากที่สุด) ผู้ประเมินรอฟังคำตอบและบันทึกข้อมูลให้ชัดเจน3.หากผู้รับบริการมีอารมณ์ตึงเครียดน้อยกว่า 6 คะแนนให้ชวนเคาะอารมณ์ลบ โดยใช้นิ้วชี้และกลางเคาะระหว่างหัวคิ้วพร้อมพูด “มั่นใจ3 หายกลัว3” เคาะใต้ต่อไหปลาร้าพร้อมพูด “เข้มแข็ง3 หายเศร้า3” และเคาะใต้ต่อรักแร้ พร้อมพูด “ให้อภัย3 หายโกรธ3”4.ทำการประเมินซ้ำว่าผู้รับบริการมีอารมณ์ตึงเครียดเป็นอย่างไรหากลดลงให้ทำข้อต่อไปแต่ถ้ายังไม่ลดให้ชวนเคาะอีก 3 รอบแล้วลองประเมินอีกครั้ง5.ให้ผู้รับบริการหลับตา เดินไปข้างหน้าโดยแต่ละก้าวให้ถามคำถามตามลำดับ “เห็นภาพภาพตัวเองอยู่ที่ไหนกับใครเมื่อไร” “ตัวเองกำลังทำอะไร” “ใช้ความสามารถที่มีอย่างไร” “คุณเกิดมาทำไม” “คุณคือใคร” “คุณกำลังทำเพื่อใคร”6.ให้ผู้รับบริการ เดินถอยหลังและตอบเร็วขึ้น โดยใช้คำถามย้อนดังเดิมเพิ่มเติมคือ “คุณจะพัฒนาตนเองอย่างไร” “อยากเห็นตัวเองเปลี่ยนแปลงอย่างไร” “ที่เห็นตัวเองพัฒนาขึ้นนั้น อยู่ที่ไหนกับใครเมื่อไร”7.ชวนผู้รับบริการสะท้อนการเรียนรู้ โดยถามว่า “คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างและจะนำไปพัฒนาตัวเองอย่างไร” ให้ผู้รับบริการเขียนผ่านกระดาษไปกับการที่ผู้บำบัดแสดงความคิดเห็นเชิงบวก ทบทวนความคิดของผู้รับบริการ พร้อมทั้งสาธิตแนวทางการแก้ไขปัญหา- มองว่าเป็นการประเมินที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับผู้รับบริการที่เป็นโรคซึมเศร้าเนื่องจากจะเห็นว่าในขั้นแรกของการประเมินที่เป็นการเคาะอารมณ์นั้นก็เป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้อยู่กับตัวเอง รับรู้อารมณ์ปัจจุบันเพื่อให้จิตใจได้สงบมากขึ้นไม่จมกับความเศร้ามากเกินไปก่อนที่เราจะทำการตั้งคำถามโดยในส่วนของคำถามนั้นก็เป็นคำพูดที่กระตุ้นให้ผู้รับบริการได้ลองคิดทบทวนตัวเองเพื่อที่จะได้เห็นความสามารถ, คุณค่าในตัวเอง (Self-competence), รับรู้ว่าตัวเองทำอะไรได้และอยากทำอะไร (Personal Causation), บทบาทที่ตัวเองมีรวมไปถึงการค้นหาเป้าหมายในชีวิต ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดก็จะสามารถเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจของเขาตั้งแต่เริ่มการประเมินจนจบผ่านการให้คะแนนและตอบคำถามของตัวผู้รับบริการเองและในส่วนของการตอบคำถามพร้อมที่ให้เดินก้าวหน้าหลังก็สามารถประเมินดูการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยได้ โดยระหว่างการประเมินก็เป็นการเปิดโอกาสให้นักกิจกรรมบำบัดเองได้เห็นถึงตัวตนและปัญหาของผู้รับบริการชัดเจนมากขึ้นเพื่อที่จะได้นำไปวางแผนการรักษาให้เหมาะสมมากที่สุด

assignment 10% ชนกชนม์ ภาคีพันธุ์ 6223018 เลือกภาวะซึมเศร้า : MDD โดยผู้นับบริการเป็นหญิง 1ราย อายุ 34ปี สถานะโสด เป็นลูกคนเดียวโดยพ่อแม่หย่าร้างกันตั้งแต่ในวัยเด็กทำให้อาศัยอยู่กับคุณแม่ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ไม่ได้ติดต่อญาติคนอื่นเป็นเวลานาน ปัจจุบันทำอาชีพพนักงานบริษัทในฝ่ายการตลาดซึ่งเค้าทำงานได้ดีจนกำลังจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งในผังงานบริษัทรอบหน้า โดยปกติหญิงรายนี้เมื่อมีปัญหาจากการทำงานหรืออยากระบายเรื่องในที่ทำงานเค้ามักจะระบายให้กับเพื่อนไม่กี่คนแต่เค้าจะระบายให้แม่ของเขาฟังเป็นหลักไม่ว่าจะปัญหาหรือความสำเร็จ รวมถึงการขอกำลังใจที่เค้ามักจะได้รับจากแม่เสมอจนกระทำแม่ของผู้รับบริการได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหันเธอมาพบหลังจากกลับจากที่ทำงาน หลังจากนั้นเธอจึงได้ขอหัวหน้าลางานเพื่อจัดการเรื่องงานศพซึ่งเธอแทบจะต้องทำทุกอย่างเพียงคนเดียวเพราะไม่ได้มีการติดต่อญาติคนอื่นเป็นเวลานาน โดยหลังจากที่ลา าน1อาทิตย์ เพื่อนร่วมงานสามารถสังเกตเธอได้เลยว่ามีอาการเศร้าอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงเธอยังดูอ่อนเพลียเหมือนคนไม่มีแรง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัดจนเพื่อนร่วมงานเริ่มเป็นห่วงเนื่องจากแต่เดิมเธอเป็นคนทำงานดีตัดสินใจวางแผนได้เก่ง และเธอเริ่มบ่นกับเพื่อนสนิทของเธอว่ารู้สึกอ้างว้าง ไม่มีกระจิตกระใจที่จะทำงานเหมือนเดิม พอผ่านเหตุการณ์ได้1เดือนหัวหน้าของเธอเริ่มเรียกเข้าไปพบ เนื่องจากคุณภาพงานของเธอลดลงอย่างเห็นได้ชัด พอเข้าสู่เดือนที่สองอาการของเธอก็ยังไม่ดีขึ้นและเริ่มมีการพูดว่าไม่อยากทำแล้ว ไม่อยากอยู่บนโลกแล้ว จนเพื่อนของเธอเริ่มเป็นห่วงยิ่งขึ้น หลังจากเพื่อนพาไปพบแพทย์พบว่าเป็น mdd เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดจาก ความเศร้าโศกเสียใจที่มีอาการมากกว่า2เดทอนโดยมีอาการตามdsm5พบอาการมากกว่า5อย่างคือ ความเศร้า หมดความสนใจ นอนไม่หลับ เชื่องช้า อ่อนเพลีย รู้สึกไร้ค่า และอยากฆ่าตัวตาย โดยจะเลือกจากกิจกรรมใน2.2.3 รับมือกับความเศร้าในหัวใจ เหงา ซึม เฉื่อยชา ง่วงนอน โดยให้นั่งหายใจเข้าลึกๆแล้วกลั้นหายใจให้นานที่สุดแล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทำซ้ำๆจนได้เหงื่อแล้วลุกขึ้นหายใจเข้าลึกๆแล้วกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้และค่อนๆผ่อนลมหายใจออกจนกว่าจะหายง่วง และล้างหน้าด้วยน้ำเย็นเอานิ้วชี้ นิ้วโป้งนวดดึงติ่งหูทั้ง2ข้างถ้ายังไม่ได้ผล ให้แผ่เมตตา และทำอีกกิจกรรมคือ รับมือกับความกลัวที่ฐานหัวสมอง ให้นั่งหรือยืน หายใจเข้าออกนับหนึ่งหายใจออกนับ2ไปเรื่อยๆจนถึง10 จากนั้นนับถอยหลังจาก10ไป1ทำซ้ำอีกรอยให้นับ1ถึง9และทำซ้ำดรื่อยๆ หยุดทำเมื่อจิตสงบโดยกิจกรรมทั้ง2จะช่วยให้คลายอารมณ์ตึงเครียดลบและช่วยเพิ่มระดับสติสัมปชัญญะ ทำให้เกิดความพร้อมนะการปรับปรุงตัวก่อนเริ่มทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อให้ผู้รับบริการรายนี้สามารถอดอารมณ์เศร้าหมองและพร้อมสำหรับการกลับไปทำงานอีกครั้ง

Assignment 10% อยุทธ์เจตน์ ล้อเรืองสิน 6223003ผู้รับบริการชาย อายุ30 ปี อาชีพพนักงานออฟฟิศ มีภาวะซึ้มเศร้าใน Bipolar ( MDD in Bipolar disorder)มีอาการดังต่อไปนี้1เศร้าทั้งวันเกือบทุกวันตนเองรู้สึกได้และคนอื่นเห็นมามากกว่า 2 สัปดาห์2ไม่สนใจกิจกรรม งาน ที่เคยทำเป็นประจำมามากกว่า 2 สัปดาห์3ทำกิจกรรมต่างๆอย่างเชื่องช้า4รู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลียไม่มีแรงจะทำกิจกรรมต่างๆ5รู้สึกว่าตนเองไร้ค่าไม่มีความสามารถ6คิดเรื่องการวางแผนที่จะฆ่าตัวตายโดยการรมควันตนเองในห้องพักแต่ยังไม่ได้ทำ-เมื่อได้เจอกับผู้รับบริการเริ่มต้นด้วยการสวัสดีทักทายแนะนำตนเองด้วยความเป็นมิตรพูดคุยด้วยน้ำเสียงที่อ่อนนุ่มและแสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่จะช่วยเหลืออย่างแท้จริง ขออณุญาตวัดชีพจรผู้รับบริการที่มีข้อมือท้างสองข้างและอาจให้ผู้รับบริการได้ลองจับชีพจรของตนเองและบอกผลที่วัดได้ดูว่าทั้งสองข้างเต้นเร็วเท่ากันไหมหากชีพจรข้างที่ถนัดเต้นเร็วกว่าจะบ่งบอกได้ว่าผู้รับบริการนี้มีอาการวิตกกังวลร่วมด้วย และที่สำคัญคือผู้บำบัดควรสอบถามและเก็บข้อมูลความคิดที่อยากจะฆ่าตัวตายของผู้รับบริการทั้งเหตุจูงใจ ความรู้สึกของตอนที่คิด มีปัจจัยใดที่ทำให้เริ่มคิดแบบนั้น วางแผนจะทำด้วยวิธีใดและสาเหตุใดจึงเลือกใช้วิธีนั้นจากนั้นจึงเริ่มการประเมิณสัมภาษณ์ความคิดเชิงระบบและพฤติกรรมที่มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการโดยอ้างอิงจากMOHO & Meta model อ้างอิงจากบทที่6การเอาใจใส่เพื่อการบำบัดหัวข้อที่6.2.2-6.2.3 โดยจะแบ่งออกเป็นสามหัวข้อหลักคือระบบเจตจำนง,ระบบพฤตินิสัยและระบบความสามารถ ซึ่งในความจริงนั้นมีคำถามอยู่หลายข้อแต่ในที่นี้จะถามคำถามเท่าที่จำเป็นและอยู่ในหัวข้อที่ผู้บำบัดต้องการข้อมูลในหัวข้อนั้นๆ ในเคสนี้จะถามคำถามดังนี้ 1คุณคิดอย่างไรเมื่อลองทําสิ่งใหม่จะประสบผลสําเร็จได้มั้ย 2สิ่งที่ถูกต้องที่คุณกําลังทําคืออะไร3อะไรที่จะทํา ให้คุณมีคุณค่ามากขึ้น4คุณชอบออกแรงพยายามทําอะไรยากๆ บ้าง5คุณเชื่อมั่นในพฤติกรรมที่กําลังทําอะไรเพื่อใครบ้าง6คุณมีความคิดตัดสินใจ ริเริ่ม เป็นลําดับ สืบค้น หรือปรับตัวได้ดีไหม7มีอะไรที่อยากปรับปรุงได้ดีขึ้นไหม ซึ่งการสัมภาษณ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้องค์ประกอบความคิดเจตจำนงค์ภายในตนเองเกิดสุนทรียสนทนาและสุนทรียภาพการเปลี่ยนแปลงตนเอง ยังเป็นการให้ผู้บำบัดได้สังเกตุพฤติกรรม ท่าทาง การใช้คำพูด น้ำเสียง ความคิดเชิงระบบ ความรู้ ความเชื่อ การให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ สามารถบ่งบอกได้ถึงระดับของอารมณ์(Mood)และสภาวะทางจิตของผู้รับบริการนอกจากนี้หากผู้รับบริการมีการคงสมาธิในการตอบคำถามได้ไม่ดีก็อาจจะเป็นที่มาจากการมีความคิดที่วกวนอยู่ในสมองอาจเป็นความคิดลบที่ไปกระทบสมองส่วนอะมิกดาลาที่เป็นเหมือนตัวเซนเซอร์ส่งผลให้คลื่นสมองของสภาพจิตมีสมาธิที่ลดลงอ้างอิงจากบทที่6.2.1-ต่อมาหลังจากที่ได้สัมภาษณ์และรู้ได้ว่าผู้รับบริการมีอาการซึมเศร้าวิตกกังวลSemi-structure activityแรกจะเป็นการฝึกการรับรู้อารมณ์ (Emotional perception) เป็นการปฏิบัติกำหนดลมหายใจเป็นฐานสมมติเพื่อฝึกฝนให้คิดน้อยๆคลายอารมณ์ตึงเครียดลบเพิ่มระดับสติสัมปชัญญะปรับอารมณ์ให้พร้อมในการปรับปรุงตนเองในการดำเนินชีวิตและพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมต่อไป กิจกรรมนี้อ้างอิงจากบทที่2การเรียนรู้เพื่อการบำบัดหัวข้อที่2.2.3 โดยเราเลือกที่จะใช้วิธีรับมือกับความเศร้าที่ฐานหัวใจ(เป็นจุดของความเหงาเบื่อซึมเฌื่อยชา) ผู้บำบัดจะบอกให้ผู้รับบริการนั่งหายใจเข้าลึกๆและกลั้นลมหายใจเอาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทำซ้ำๆจนเริ่มมีเหงื่อออกให้ลุกขึ้นยืนหายใจเข้าลึกๆและกลั้นเอาไว้ให้ได้นานที่สุดจึงค่อยๆผ่อนลมหายใจออกมา ต่อด้วยการล้างหน้าด้วยน้ำเย็นแล้วใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งกดนวดเบาๆที่ติ่งหูทั้งสองข้าง-เมื่อเสร็จสิ้นการปรับอารมณ์ผู้บำบัดจะให้ผู้รับบริการทำSemi-structured activity ที่สองคือกิจกรรมการตัดแปะรูปในหัวข้อ “สิ่งที่ฉันชอบ” อ้างอิงจากหัวข้อที่ 6.3.3 โดยกิจกรรมนี้จะเป็นกิจกรรมที่จะทำร่วมกันกับ OTคนอื่นๆที่มีอายุใกล้เคียงกับตัวผู้รับบริการทำกิจกรรมร่วมด้วยประมาณ3-4คน โดยใช้อุปกรณ์คือกระดาษสีต่างขนาด12x18นิ้ว กาว(แท่งหรือน้ำก็ได้) กรรไกร และนิตยสารหรือหนังสือภาพหลายชนิด โดยจะเริ่มด้วยการให้ผู้รับบริการเลือกกระดาษสีที่จะเป็นพื้นหลังของภาพจากนั้นให้ผู้รับบริการเลือกตัดหรือฉีกรูปจากนิตยสารได้ตามสะดวกและนำมาตัดแปะปะติดปะต่อกันเป็นรูปภาพที่ต้องการลงบนพื้นหลังที่เลือกเอาไว้ เมื่อผู้บำบัดสังเกตเห็นว่าผู้รับบริการทำเสร็จเรียบร้อยให้ถามว่าเสร็จแล้วใช่หรือไม่ ถ้าหากว่าเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตัวผู้รับบริการได้ลองเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภาพที่เขาได้ทำออกมา อาจมีการถามว่าทำไมถึงเลือกที่จะทำรูปนี้และให้ผู้รับบริการได้Feedbackความรู้สึกของตัวเองในการทำกิจกรรมในวันนี้ว่ารู้สึกอย่างไรทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมรวมไปถึงรู้สึกอย่างไรที่ได้ทำกิจกรรมนี้ร่วมกับคนอื่นๆ ซึ่งในกิจกรรมนี้ผู้บำบัดจะได้ประเมิณในหลากหลายด้านโดยเฉพาะความตั้งใจจดจ่อในการทำกิจกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ความเหมาะสมในการตั้งชื่อภาพ ความสมดุล การให้คุณค่าและความชื่นชอบส่วนตัวซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดกิจกรรมอื่นๆเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจที่มากขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆให้แก่ตัวผู้รับบริการ และยังทำให้ผู้บำบัดสามารถประเมิณทักษะทางสังคมของตัวผู้รับบริการผ่านการทำกิจกรรมนี้ร่วมกับผู้อื่นได้ออกเป็น5ระดับได้แก่ 1กลุ่มคู่ขนาน(Parallel group) อยู่ในกลุ่มได้แต่สับสนเงียบเฉยต้องการการกระตุ้นให้ทำกิจกรรม2กลุ่มผลงาน(Project group) ทำกิจกรรมกลุ่มได้ต้องกระตุ้นให้ไม่อึดอัดที่จะทำงานกับคนอื่น3กลุ่มช่วยกันคิดกันทำ(Egocentric cooperative group) ทำกิจกรรมกลุ่มได้แต่ต้องกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นหรือรับฟังผู้อื่น4กลุ่มอารมณ์ร่วม(Cooperative group) ทำกิจกรรมกลุ่มได้แต่ต้องกระตุ้นให้แสดงการรับรู้สึกทั้งบวกและลบ5กลุ่มวุฒิภาวะ(Mature group) ช่วยตนเองและผู้อื่นขณะทำกิจกรรมได้อาจต้องกระตุ้นการแสดงบทบาทผู้ให้กำลังใจ ผู้สอนฯลฯ

Assignment 10% ญาตาวี วชิรกิจโกศล 6223021Semi-structure activity: กิจกรรมเล่าชีวิตผ่านงานปั้นดินน้ำมันเพื่อประเมินสุขภาวะทางจิต [บทที่4 การสื่อสารเพื่อการบำบัด หัวข้อที่ 4.3 แรงพยายาม]เพื่อประเมินผู้ป่วย ภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยอายุ 25 ปี เป็นพนักงานที่บริษัทแห่งหนึ่งแต่เนื่องด้วยเธอเป็นพนักงานใหม่จึงถูกกดดันจากเพื่อนร่วมงานรุ่นพี่และเจ้านายอยู่เสมอ เธอต้องรับผิดชอบงานเยอะและไม่มีเวลาว่างให้กับตัวเอง รวมถึงเพิ่งเลิกกับแฟนที่คบกันมานานทำให้เธอรู้สึกเศร้าขาดแรงจูงใจในการทำงาน และการใช้ชีวิตภาวะซึมเศร้า : เป็นภาวะที่อารมณ์รู้สึกเป็นลบภายในใจแบ่งเป็น 1.คิดไปเอง ไม่มีจริง - GAD วิตกกังวลนานกว่า 6 เดือน- Social Phobia หลีกเลี่ยงสังคม- Panic dis. อย่างน้อย 1 อาการใน 1 เดือน- OCD ย้ำคิดย้ำทำ2.เศร้านาน มากเกินไป มากกว่า 2 สัปดาห์3.MDD 4.Normal sadness

กิจกรรมเล่าชีวิตผ่านงานปั้นดินน้ำมัน เป็นการเพิ่มพูนสุขภาวะภายในใจตัวเอง เพื่อป้องกันภาวะหมดไฟจากการทำงาหนัก เพิ่มการตระหนักรู้ดูแลตนเองทำให้เกิดความคิดยืดหยุ่นในการจัดการความเครียด ความล้า และความหนัก

ขั้นตอนในการทำกิจกรรม 1.ผู้บำบัดแนะนำผู้รับบริการให้เชื่อมั่นในความเป็นอิสระ เพื่อสื่อสารคุณค่าและความหมายต่อประสบการณ์ชีววิตได้ไหลลื่นของกิจกรรม2.ให้หลับตาอยู่กับตนเองเพื่อสำรวจจินตนาการ อารมณ์ ความรู้สึก 3.ให้ผู้รับบริการปั้นดินน้ำใันที่บ่งบอกถึงความเป็นตนเองโดยให้ลูกปิงปองสีเหลือเป็นหัวและสีขาวเป็นลำตัว4.เมื่อปั้นเสร็จแล้วให้ผู้รับบริการนึก 3 คำที่สะท้อนความรู้สึกตนเอง5.แลกเปลี่ยนความรู้สึกว่าก่อนปั้นคิดอะไร ความรู้สึกระหว่างปั้น และเมื่อประกอบแลเวรู้สึกอย่างไร6.ให้ผู้รับบริการตอบโจทย์ความเชื่อมั่นด้านต่างๆ 5 ด้าน 1. เช่ือมั่นในคุณค่าความดีงาม 2. เชื่อในพลังกายเข้มแข็ง 3. เช่ือในพลังใจร่าเริง 4. เชื่อในพลังอารมณ์กล้าหาญและ 5. เช่ือในพลังเมตตา เยียวยาต่อตนเองและผู้อื่นประเมินความเชื่อมั่นให้คะแนนตัวเอง ต้ังแต่ 1 (เชื่อน้อยที่สุด) ถึง 7 (เชื่อมากสุด)7.ประเมินความมั่นใจ 5 ด้าน 1. ทักษะการดูแลสุขภาพกายใจ ของตนเอง 2. ทักษะการดูแลสุขภาพกายใจของผู้อื่น 3. ทักษะการแบ่งเวลาดูแล ตนเอง ครอบครัวและการทำ งานเยียวยา 4. ทักษะการจัดการความเครียดภายในตนเอง และ5. ทักษะการให้คําาปรึกษาสร้างกําลังใจให้กับผู้ได้รับผลกระทบให้คะแนน 0 (ไม่มีความมั่นใจ) ถึง 10 (มีความมั่นใจมากที่สุด)

กิจกรรมนี้ประเมินทักษะของผู้รับบริการภาวะซึมเศร้า จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการขณะทำกิจกรรม ว่ามีความวิตกกังวล ขาดสมาธิ เหนื่อยง่าย ขณะทำกิจกรรมหรือไม่ มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมไหม สามารถคงความสนใจในการทำกิจกรรม มีความกลัวหรือความวิตกกังวลต่อการทำกิจกรรมหรือการเข้าร่วมกิจกรรมกับบุคคลอื่นหรือไม่ สามารถเคลื่อนไหว คิด และควบคุมอารมณ์ในขณะปั้นดิน และยังเป็นกิจกรรมที่ทำให้ได้ตระหนักรู้ถึงตนเองให้คุณค่าในตนเองอีกด้วย กิจกรรมการประเมินนี้จะทำให้ผู้บำบัดเข้าใจผู้รับบริการในมุมมองต่างๆมากขึ้นและสามารถนำข้อมูลการประเมินที่ได้ไปวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ

Assignment 10%น.ส.อริสรา เกียรติเจริญพร 6223015(อ้างอิง บทที่1 การใช้สติเพื่อการบำบัด)ผู้รับบริการ: หญิงวัย24ปี ทำงานอิสระเกี่ยวกับการวาดภาพประกอบ มีความถนัดด้านศิลปะ มีโรคซึมเศร้านาน3เดือนเกิดจากความผิดหวังเรื่องการทำงาน เพราะหางานไม่ได้ในช่วงโควิด มีปัญหาค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องอยู่บ้านเป็นเวลานาน ครอบครัวไม่ให้ความใส่ใจดูแล คอยกดดันเรื่องงานและไม่เข้าใจปัญหาที่ผู้รับบริการกำลังเผชิญจนเกิดปัญหาในครอบครัวบ่อยครั้ง ร่วมกับตนเองไม่มีเพื่อนให้ปรึกษา ทำให้คิดว่าตนเองไม่มีค่า ไม่เหลือใคร เกิดความเครียดเรื่องชีวิต รู้สึกผิดหวังกับตัวเองติดต่อกันเป็นเวลานาน มีอาการนอนมากเกินไป เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เศร้าเกือบทุกวัน อ่อนเพลียไม่มีแรง เคยคิดฆ่าตัวตายSemi-structured Activity : กิจกรรมวาดรูประบายสีชีวิตประเมินอะไร : ประเมินอารมณ์, ประเมินภาวะไม่สมดุลของกิจกรรมการดำเนินชีวิต ,ประเมินรูปแบบความคิด, ประเมินการวางแผนชีวิตในอนาคต,ประเมิน psychosocial performance

ประเมินอย่างไร: ในผู้รับบริการที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการอย่างน้อย 5 อาการที่เปลี่ยนไป คือ-เศร้าทั้งวันเกือบทุกวันจนตนเองรู้สึกและคนอื่นเห็น เป็นเวลากว่า2weeks-ไม่สนใจทำสิ่งที่เคยทำกว่า 2 weeks-น้ำหนักลดลง/เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้คุม เพิ่มมากกว่าร้อยละ5 มีอาการเบื่อ/อยากอาหาร-นอนไม่หลับ/หลับมากเกือบทุกวัน-ทำอะไรซ้ำๆ/อยู่ไม่สุขเกือบทุกวัน-เหนื่อยอ่อนเพลีย/ไม่มีแรงเกือบทุกวัน-สมาธิตัดสินใจลดลงเกือบทุกวัน-คิดเรื่องตายซ้ำๆพยายามทำร้ายตนเอง/มีแผนที่จะทำ

ดังนั้นจึงใช้กิจกรรมการวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับตัวเองซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการถนัด เพื่อประเมินความคิด ความรู้สึก และภาวะสมดุลของกิจกรรมการดำเนินชีวิต

ทำได้โดยเริ่มจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการ แนะนำตัวเองและให้ผู้รับบริการแนะนำตัวเอง ถามถึงความชอบหรือความถนัดซึ่งผู้รับบริการมีความถนัดด้านศิลปะ ถามถึงจุดประสงค์ที่มาหานักกิจกรรมบำบัด เริ่มการประเมินโดยให้ผู้รับบริการวาดรูปโดยให้มีตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเอง[ทั้งกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน สิ่งที่กำลังคิดหรือต้องการวาดอย่างอิสระ สิ่งที่ต้องการทำในอนาคต] พร้อมระบายสีแล้วเล่าเรื่องจากภาพที่วาด โดยสีที่ผู้รับบริการใช้จะสะท้อนถึงอารมณ์ของผู้รับบริการ จากนั้นให้ผู้รับบริการอธิบายตัวละครที่วาดมีลักษณะอย่างไร(เพื่อดูแนวคิดต่อตนเองของผู้รับบริการ) จากนั้นให้เล่าถึงสิ่งต่างๆที่ปรากฎในภาพ- สามารถประเมินpsychosocial performanceขณะทำกิจกรรมได้ โดยดูการปรับอารมณ์บวก การมีความคิดยืดหยุ่น สามารถสื่อสารได้ตรงกัน ความมั่นใจในตนเอง(self confidence) ความกล้าแสดงความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็น ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การจัดการความเครียด การจัดการเรื่องเวลา/การงาน- โดยในภาพที่สื่อถึงกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันก็ทำให้รู้ถึงกิจกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้บำบัดสามารถถามถึงการใช้เวลาในแต่ละกิจกรรมที่อยู่ในภาพ รวมทั้งถามถึงกิจกรรมอื่นๆที่สำคัญเพิ่มเติมได้ เช่น การกิน การนอน เพื่อดูว่ามีการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่สมดุลหรือไม่ เป็นการประเมินจิตจดจ่อหรือความต้องการกิจกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งในผู้รับบริการท่านนี้ที่มีโรคซึมเศร้าจะมีภาวะไม่สมดุลของกิจกรรมการดำเนินชีวิต คือการอยู่ว่าง เฉย ไม่ทำอะไร(unoccupied)- ในภาพที่สื่อถึงสิ่งที่กำลังคิดหรือที่ต้องการวาดอย่างอิสระ และการอธิบายลักษณะของตนเอง เป็นการประเมินจิตสร้างใจ หรือ กระบวนการทางจิตที่หลอมรวมใจให้มีสติ ซึ่งเป็นการประเมินว่ามีรูปแบบความคิดอย่างไร มีรูปแบบที่ผิดพลาดหรือไม่ เช่น วิจารณ์ตนเองมากเกินไป จมอยู่กับอดีตมากเกินไป มองทุกสิ่งในแง่ลบ นอกจากนี้หากภาพนี้เกี่ยวกับการตาย ก็อาจทำให้รู้ว่าผู้รับบริการมีความคิดฆ่าตัวตายควรให้ระวังไว้- ในภาพที่สื่อถึงสิ่งที่ต้องการทำในอนาคต เป็นการประเมินจิตสามัญ คือ การที่มนุษย์ตัดสินใจในตนเอง(self-determination) ซึ่งปัจจัยสำคัญเกิดมาจากแรงจูงใจภายใน(self-motivation) โดยในการให้บรรยายและผู้บำบัดถามเพิ่มเติมในภาพนี้ ทำให้ได้ทราบว่าผู้รับบริการมีสิ่งที่ต้องการทำหรือไม่ ต้องการทำสิ่งนั้นเพื่อใคร มีเป้าหมายและวางแผนอนาคตไว้หรือไม่จากนั้นผู้บำบัดถามต่ออีกว่า “อีก15ปีข้างหน้านี้จะวางแผนการใช้ชีวิตอย่างไรให้แตกต่าง นอกกรอบ และมีความดีงาม” ให้ใช้เวลา 15 นาทีในการเขียนคําตอบบนกระดาษ A4 คนที่กําลังใช้ชีวิตแบบซ้ำซากจําเจ จะรู้สึกอึดอัด และคิดไม่ออกในการตอบคําถามได้ชัดเจน

เมื่อเสร็จแล้วก็สรุปกิจกรรม ถามถึงสิ่งที่ชอบและประทับใจในภาพวาดนี้พร้อมกับชื่นชมผลงาน

อานีตา โต๊ะจิ 6223034อ้างอิงบทที่ 6 การเอาใจใส่เพื่อการบำบัด ; หัวข้อ 6.3 หยั่งรู้Semi-structure activity: กิจกรรมตัดกระดาษ (กลุ่ม)ผู้รับบริการ : จิตเภท (Schizophrenia)

ขั้นตอนการทำกิจกรรม- ผู้ประเมินเตรียมกระดาษสีต่างๆ สําหรับเป็นพื้น, กาว, กรรไกร, และนิตยสารหลายเล่ม- บอกผู้รับบริการให้เลือกกระดาษสีที่ทำเป็นพื้น 1 แผ่น ให้เลือกภาพในนิตยสารตามต้องการแล้วใช้วิธีการฉีก หรือ การตัดภาพ ติดลงบนกระดาษสีท่ีเลือกไว้ - เมื่อผู้รับ บริการหยุดทําก็ให้ถามว่า “เสร็จแล้วหรือ” ถ้าใช่ ให้ผู้รับบริการลงช่ือ วันท่ี และ ช่ือภาพไว้ด้านหลังกระดาษสี ถ้าไม่ใช่ ก็ให้ทําาต่อไปจนเสร็จ- ผู้ประเมินให้ผู้รับบริการเล่าเรื่องเกี่ยวกับภาพที่ได้ และควรถามในส่วนที่ว่า “สิ่งของในภาพหมายถึงอะไร ทำไมถึงเลือกภาพนี้ รู้สึกอย่างไรต่อภาพที่ทำนี้ รู้สึกว่ากิจกรรมที่ให้นี้เป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง”

การประเมิน- ประเมินความสามารถขณะทำกิจกรรม ได้แก่ ความตั้งใจ ความทรงจํา ความคิดรวบยอด ความ รับผิดชอบ ความประณีตผลงาน ความสมดุลในการจัดภาพ ความเหมาะสมในการตั้งชื่อภาพ การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง การแสดงออกทางอารมณ์ การสื่อสารภาษากาย-พูด การวางแผนจัดลําดับภาพ การทำงานอย่างอิสระ/ขอความช่วยเหลือการรักษาสิทธ์ิ แสดงความต้องการ การตัดสินใจลงมือทําทันที/ลังเลสงสัย/ใช้เวลาคิดนาน ขณะเลือกกระดาษสี การใช้วัสดุอุปรณ์และการปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (การสังเกตจำนวนภาพที่ตัด การใช้ตัวหนังสือ การมีโครงกรอบ และการรับฟังเสียงสะท้อนความรู้สึกจากสีที่ใช้กับการเล่าเรื่องที่เช่ือมโยงประสบการณ์ชีวิต)- ประเมินความสามารถทางสังคมของผู้รับบริการในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นว่าอยู่ในระดับใด ได้แก่ Parallel group, Porject group, Egocentric cooperative group, Cooperative group หรือ Mature group- ประเมิน Positive symptoms: จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการขณะทำกิจกรรม เช่น Disorganized speech: สังเกตผู้รับบริการขณะสื่อสารกับเพื่อนในกลุ่ม ว่ามีลักษณะของการพูดเป็นอย่างไร มีการพูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่ต่อเนื่อง หรือพูดไม่ค่อยเข้าใจหรือไม่, Delusion: ประเมินจากการเล่าเรื่องเกี่ยวกับภาพที่ผู้รับบริการทำ ว่ามีเรื่องราวที่มาจากเนื้อหาความคิดที่ผิดปกติหรือ มีการหลงผิดในเรื่องใดหรือไม่ เป็นต้น- ประเมิน Negative symptoms: สังเกตว่ามีพฤติกรรม เฉยเมย พูดน้อย ไม่มีเจตจำนง ภาวะสิ้นยินดี หรือไม่เข้าสังคมหรือไม่ ตลอดการทำกิจกรรมตัดกระดาษ

Assignment 10% ธวัลรัตน์ เรืองวีระชัยกุล 6223010

ผู้รับบริการ GAD (General anxiety disorder) มีอาการวิตกกังวลนาน 6 เดือนขึ้นไป มีอย่างน้อย 1 อาการต่อไปนี้ มีความยากลำบากที่จะจัดการความกังวลของตนเอง มีความร้อนรนหรือวิตกมากเกินไป เหนื่อยล้าง่าย คงความสนใจได้ยากหรือความคิดหายไป (mind going blank) , หงุดหงิดง่าย , มีภาวะ muscle tension กล้ามเนื้อตึงมากเกินไป , มีปัญหาเรื่องการนอน (DSM-5) โดยที่ความวิตกกังวลส่งผลต่อการทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ยับยั้งการเริ่มต้นทำกิจกรรม ความกลัวที่จะผิดหวังหรือล้มเหลว ติดความสมบูรณ์แบบ และไม่มีสาเหตุจากโรคจิตเวชอื่น/สาเหตุทางกาย/การใช้ยาเสพติดความวิตกกังวลมากเกินไป การประเมิน สามารถเริ่มประเมินได้จากการประเมินทักษะอภิปัญญาที่มีโครงสร้างแน่นอนเพื่อทราบแนวทางการพัฒนาสมองส่วนหน้าด้านการบริหารจัดการความคิด อารมณ์และการกระทำดำเนินชีวิตได้ต่อมาทำการประเมินแบบกึ่งโครงสร้างเพื่อการเปลี่ยนแปลงจิตใต้สำนึก ชวนเคาะคลายอารมณ์ลบและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ[อ้างอิงจากบทที่ 5 สมดุลสมองเพื่อการบำบัด หัวข้อที่5.5.3 การประยุกต์ หัวข้อการกระทำ หน้าที่85-86]อีกแนวทางหนึ่งอาจประเมินโดยการทํากิจกรรมแบบเดี่ยวหรือแบบกลุ่ม (semi structure activity / stucture activity) เพื่อสังเกต process skill and social interaction skill,mental functions รวมถึง psychosocial performance เช่น การแก้ปัญหา ความรู้สึกที่มีต่อตัวเอง ความมั่นใจ การเผชิญกับส่ิงท่ีกังวลทีละน้อย ตัวอย่าง กิจกรรมงานปั้น [อ้างอิงจากบทที่ 5 สมดุลสมองเพื่อการบำบัด หัวข้อที่5.3 ความเข้าใจ หน้าที่81-82] กิจกรรมการปั้นดินอย่างอิสระ การเริ่มต้น จดจ่อและหยุดทำกิจกรรม ความคิดนึกถึงชอบ/ไม่ชอบ เกิดการเรียนรู้อะไรจากการปั้น ประเมินทักษะจิตสังคมขณะปั้นดิน อ้างอิงการสังเกตพฤติกรรมตามการตรวจสอบสภาพจิตที่สำคัญ (mental status examination) วิเคราะห์ความสามารถขณะปั้นดินอ้างอิงการประเมินครอบคลุมทั้งกิจกรรมบำบัด (comprehensive occupational therapy evaluation, COTE) วิเคราะห์ผลงานหลังปั้นดินผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบตั้งคำถามปลายเปิดพร้อมคำชื่นชม ซึ่งสามารถนำไปสู่กิจกรรม semi structure activity เพื่อการฝึกและการบำบัด ค้นหา volition ของผู้รับบริการ เสริมสร้างกิจกรรมที่สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่รู้สึกว่าตนเองจะทําไม่สําเร็จหรือ ล้มเหลว สามารถคาดเดาได้ ค่อยเพิ่มความหลากหลายหรือความแปลกใหม่ ร่วมกับมีการใช้ Relaxation techniques and positive self-talk เพื่อจัดการความเครียดความกังวล [อ้างอิงจากบทที่ 4 การสื่อสารเพื่อการบำบัด หัวข้อที่ 4.2.3 การประยุกต์ กิจกรรม”คิด เครียด คลาย” หน้าที่55-60] ทําให้สมอง ตื่นตัวและสั่งการให้ร่างกายทํางานอย่างท้าทาย เกิดการเรียนรู้ด้วยความคิดบวก ทําให้จิตเข้มแข็ง ภายในตัวเอง ร่างกายแข็งแรง สื่อสารออกมาด้วยใจผ่อนคลาย มีอารมณ์อ่อนโยน และช่วยเหลือ ผู้อื่นด้วยความจริงใจ ด้วยวิธี “STRESS” ประกอบด้วย วัดใจตัวเอง (self-test) พักผ่อน (rest) สบาย (ease) รู้สึก (sense) แลกเปลี่ยน (share) ดังต่อไปนี้(1) วัดใจตัวเองโดยฝึกจิตสํานึกวัดชีพจร อัตราการหายใจด้วยตัวเองและทดสอบจัดการความกลัวด้วยตนเอง (2)พักผ่อน โดยใช้ท่าบริหารตา ระลึกย้อนกลับไปวัยเด็กเขียนกิจกรรมความสุข MAGIC(3)สบาย กิจกรรมฟังเพลงมนตราบำบัด , กิจกรรมนั่งสบายสงวนพลังงาน(4)รู้สึก ออกกำลังคิดจิตกาย , วิธีหายใจทางปากกรณีที่รับรู้สึกเครียดมาก, และเทคนิคหายใจแบบ 4-7-8 สำหรับภาวะนอนไม่หลับ(5)แลกเปลี่ยน กิจกรรมฝึกสติกับสมองส่วนหน้า

Assignment 10% โดย ภัสสร บัณฑุกุล 6223012 ผู้รับบริการเป็นโรค dysthymic disorder อายุ 26 ปี ประกอบอาชีพพนักงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้รับบริการมีอารมณ์เศร้าเรื้อรังติดต่อเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี โดยผู้บริการไม่มีระยะปกตินานเกิน 2 เดือน ร่วมกับอาการสำคัญอย่างอื่น เช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ท้อแท้สิ้นหวัง เป็นต้น อ้างอิงจากบทที่ 4 การสื่อสารเพื่อการบำบัด ส่วนการประเมินแบบ semi-structure คือ กิจกรรม คิด เครียด คลาย ประกอบด้วย วัดใจตัวเอง (self-test) พักผ่อน (rest) สบาย (ease) รู้สึก (self-test) แลกเปลี่ยน (share) แต่วิธีการที่เลือกในครั้งนี้มีเพียง วัดใจตัวเอง (self-test) และ พักผ่อน (rest)กิจกรรมแรก คือ การฝึกจิตสํานึกวัดชีพจรและอัตราการหายใจด้วยตัวเองทําสมาธิหลับตา ที่บริเวณข้อมือให้ใช้นิ้วชี้นิ้วกลางแตะเส้นเลือดตรงข้อมือเอียงไปด้านนิ้วโป้ง ลองคลำดูว่าเจอชีพจรเต้นหรือไม่ ทดลองพร้อมกันโดยจะจับเวลา 1 นาทีชีพจรเต้นกี่ครั้ง ทั้งนี้ควรฝึกการหายใจก่อนจับชีพจรเพื่อจัดการกับอารมณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการจับชีพจร ถ้าชีพจรเต้นเร็วกว่าปกตินั่นหมายความว่า ร่างกายเหนื่อยล้าและเครียดหนัก และทดสอบจัดการความกลัวด้วยตนเองและให้คะแนนความกลัวตั้งแต่ 0-10 ถ้าให้ 7 คะแนนขึ้นไปแสดงว่าไม่มีความกลัวและกิจกรรมต่อไป คือ การย้อนกลับไปวัยเด็กโดยให้ผู้รับบริการเขียนกิจกรรมที่ทำแแล้วมีความสุข 10 อย่าง ใช้ MAGIC เป็นหลักในการคิดย้อนนึกถึงกิจกรรมการดําเนินชีวิตวัยเด็ก M คือ Magic ในวัยเด็กมีความมหัศจรรย์อะไร A คือ Art งานศิลปะอะไรที่ทํา ในวัยเด็กแล้วชอบมาก G คือ Games ตอนเด็กๆ ชอบเล่นเกมส์หรือกีฬาอะไร I คือ Idea มีไอเดียอะไรที่ทํา ให้ผู้อ่านมีความสุขในวัยเด็ก C คือ Creative อะไรที่ทํา ในวัยเด็กแล้วเกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ป่วยได้วัดระดับความเครียดและความกลัวของตัวเอง และนักิจกรรมบำบัดจะได้สังเกตภาษากายและความรู้สึกของผูั้รับบริการและได้หากิจกรรมที่ชอบทำแล้วมีความสุข เพื่อนำกิจกรรมเหล่านั้นมาปรับเป็นสื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

Assignment 10% ขวัญดาว คำเหลา 6223006

จากตัวอย่างการใช้กิจกรรมการประเมินจาก [บทที่ 5.สมดุลสมองเพื่อการบำบัดในหัวข้อ 5.3 ความเข้าใจ ] เป็นการใช้ Semi-structure Activity อย่างการปั้นดินเพื่อเป็นการ Self-Expression ดึงคุณค่าจากภายในจิตใจของผู้รับบริการออกมา ดึงความคิดให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสที่มือและสายตา รวมถึงการประสานงานร่วมกันของทั้งสองอวัยวะ

ซึ่งกิจกรรมนี้สามารถปรับประยุกต์ใช้กับผู้รูปบริการ OCD (Obsessive-compulsive disorder) ได้

อาการของผู้รับบริการ OCD : -มีความเครียด (eg. ตั้งครรภ์/ปัญหาเรื่องเพศ/การสูญเสียคนรัก)-Comorbid mental disorders tic/eating disorders/SSD (Somatic symptom disorders)-มีอาการย้ำคิด เกิดมโนภาพอย่างควบคุมไม่ได้แม้พยายามจะหยุดคิดหรือเพิกเฉยกับมันแล้ว มีความเชื่อที่ไม่ตรงกับความจริง 12 ครั้งต่อวัน-มีพฤติกรรมบางอย่างซ้ำๆ เช่น ล้างมือซ้ำๆ / ตรวจซ้ำๆ / นับในใจซ้ำๆ /ทำสิ่งซ้ำๆ เกินความจำเป็น นานกว่า 2 ปี

โดยโรค OCD อาจต้องใช้ยาขนานสูงกว่าโรคซึมเศร้า นั่นก็คือ SSRI หรือ Clomipramine

วิธีการทำการประเมิน : 1.ผู้ประเมินวางก้อนดินน้ำมัน / ดินเหนียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว ตรงหน้าผู้รับบริการ บอกว่า “ให้ปั้นอะไรก็ได้ที่อยากปั้นจากดินก้อนนี้” เมื่อผู้รับบริการทำท่าทางเหมือนจะหยุดทำ ให้ถามว่า “เสร็จแล้วหรือ” ถ้าใช่ ให้ผู้ประเมินบันทึกเวลาที่ใช้ในการปั้น ถ้าไม่ใช่ ให้ปั้นต่อไปจนเสร็จ

2.ผู้ประเมินขอให้ผู้รับบริการช่วยบอกเกี่ยวกับสิ่งที่ปั้นว่า คืออะไร และ มีความหมายกับชีวิตคุณอย่างไร ขณะที่ปั้นอยู่นึกถึงอะไร มีความชอบหรือพึงพอใจในผลงานอย่างไรบ้าง คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการปั้นดินในครั้งนี้

สิ่งที่ต้องการประเมินและสิ่งที่ต้องวิเคราะห์จากกิจกรรม

ประเมินทักษะจิตสังคมขณะปั้นดิน อ้างอิงจากการสังเกตพฤติกรรมตามการตรวจสภาพจิตที่สำคัญ (mental status examination) ได้แก่ ไม่สบตา/จ้องเขม็ง/สายตาหลุกหลิก , ให้ความร่วมมือ/ไม่สนใจ/มุ่งร้าย , สีหน้ากังวล/บึ้งตึง/เบื่อหน่าย/ยิ้มแย้ม/จดจ่อพอใจ , แต่งกายสะอาดเรียบร้อย/สุขอนามัยไม่ดีมีกลิ่นตัว

วิเคราะห์ความสามารถขณะปั้นดิน อ้างอิงการประเมินครอบคลุมทางกิจกรรมบำบัด (Comprehensive occupational therapy evaluation,COTE) ได้แก่ ใช้เวลาเหมาะสมดี/นานเกินไป/เร็วเกินไป , เริ่มต้นทำทันที/ลังเลนานก่อนทำ , พูดอธิบายภาพเหมาะสม/ย้ำคิดวนไปมาเรื่องตัวเอง/คิดลบเรื่องตัวเอง/คิดลบเรื่องคนอื่น/หมกมุ่นกับความผิดพลาดในอดีต/ครุ่นคิดคาดหวังในอนาคต/ไม่ให้คุณค่ากับตัวเอง/ไม่รู้จักตัวเอง

วิเคราะห์ผลงานหลังปั้นดินผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบตั้งคำถามปลายเปิด (อะไร เพราะอะไรอย่างไร) พร้อมคำชื่นชม ได้แก่ การใช้ดินทั้งหมดหรือบางส่วน การสัมผัสดินด้วยมือตนเองหรือมีอุปกรณ์ช่วย การใช้มือทุบ/คลึง/แตะ/ตัด ด้วยความแรงหรือความเบา การปั้นดินตามรูปที่ต้องการ มีการทำลายปรับรูปแบบไปเรื่อย

อีกทั้งกิจกรรมปั้นดินนี้ยังสามารถประเมิน Psychosocial Performances ได้ คือ : -Self Expression
-Self control-Self confident-Responsibility-การจัดการเวลา-การจัดการความเครียด ปรับอารมณ์เป็นบวก-การกล้าแสดงความคิดเห็น-การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

Assignment 10% ฑิตยา วชิระนภศูล 6223022อ้างอิงจาก บทที่3 พฤตินิสัยเพื่อการบำบัด หัวข้อที่3.4 ปัจจุบันขณะ โดยเลือกกลุ่มผู้รับบริการคือ กลุ่มBipolar ผู้ป่วยbipolar คือคนที่มีภาวะเศร้า(MDD)และภาวะคึกคัก อารมณ์คลั่ง(mania/hypomania)สลับกัน โดยเมื่ออยู่ในภาวะเศร้าจะมีอาการอย่างน้อย 5 อาการจากอาการต่อไปนี้ 1.เศร้าทั้งวันเกือบทุกวันมากกว่า2สัปดาห์ 2.ไม่สนใจสิ่งที่เคยทำมากกว่า2สัปดาห์ 3.นอนไม่หลับหรือหลับมาเกือนทุกวัน 4.ทำอะไรช้าหรืออยู่ไม่สุขเกือบทุกวัน 5.เหนื่อยอ่อนเพลียเกือบทุกวัน 6.รู้สึกไร้ค่าเกือบทุกวัน 7.สมาธิตัดสินใจลงลดเกือบทุกวัน 8.คิดเรื่องตายซ้ำๆหรือมีแผนจะทำ 9.น้ำหนักแปรปรวนเมื่ออยู่ในภาวะmania/hypomania จะมีอาการดังนี้ 1.สนุกหรือหงุดหงิดทั้งวันทุกวันเป็นเวลา1สัปดาห์ 2.รู้สึกตัวเองยิ่งใหญ่ มีอำนาจ 3.นอนแค่3ชม.ก็เพียงพอ 4.พูดมากกว่าปกติ 5.fight of idea 6.หันเหความสนใจง่าย 7.psychomotor agitation : กระวนกระวาย พลุ่งพล่าน มีกิจกรรมมากเกินไปการประเมินจะเริ่มจากประเมินความเครียดของคนไข้ โดยใช้Mental State Exam เพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงอารมณ์และความเครียดของตนเอง และทำให้ความเครียดลงลดหลังจากนั้นใช้กิจกรรม Semi-structured Activity เลือกแบบประเมินดังกล่าว เพราะแบบประเมินนี้มีวิธีที่ ทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงนิสัยและอารมณ์ในบทบาทของตนเองในบทบาทจากนั้นมีการฝึกฝนนิสัยใหม่เพื่อลดนิสัยเดิมที่แย่ สุดท้ายมีการฟื้นฟูนิสัยใหม่ และทำให้ผู้รับบริการนึกคิดอยู่บนความเป็นจริง ทั้งในเรื่องการกระทำ และการตัดสินใจ โดยวิเคราะห์ผ่าน SOAP Note ประกอบด้วย Subjective (S) ส่ิงท่ีได้ยินจากผู้รับบริการ Objective (O) สิ่งท่ีสังเกตพฤติกรรมผู้รับบริการ Assessment (A) ส่ิงที่ได้ประเมินพร้อมแปลผลการประเมิน Plan/Progression (P) สิ่งที่วางแผนตั้งเป้าหมายกับความก้าวหน้าของการให้บริการ สุดท้ายหลังประเมินเสร็จเราจะได้รับรู้ความคิด พฤติกรรม อารมณ์ ความสามารถ ณ ช่วงเวลานั้นของผู้รับบริการ และได้วางแผนการรักษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

Assignment 10% นางสาวกรกนก อนุวรรตน์วร 6223016 อ้างอิงจากบทที่5 สมดุลสมองเพื่อการบำบัด ประเมินปัญหาเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ผู้รับบริการชายวัยกลางคน จากการสูญเสียญาติที่รักมากๆไปกะทันหัน ทำให้เกิดความเศร้าจากการสูญเสียคนที่รัก และความผิดหวังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือญาติจากไปอย่างรวดเร็ว มีความคิดโทษตัวเองว่าดูแลไม่ดีพอ พาไปรักษาในที่ที่ไม่ดีพอ คิดว่าไม่ควรพาไปตั้งแต่แรก ไม่อย่างนั้นคงไม่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ซึ่งความเศร้านี้เป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิต มีอาการเบื่ออาหาร รู้สึกไม่อยากกินอะไร บอกว่าไว้ทุกข์ สามารถคิดแก้ปัญหาให้คนอื่นได้ แต่ตัวเองมีความคิดวน เหมือนจะคิดได้ แต่ก็กลับมาคิดอีก และไม่เป็นOCDข้อมูลผู้รับบริการ : ผู้รับบริการชาย อายุ 40 ปี พึ่งสูญเสียญาติที่รักมากๆไปอย่างกะทันหัน ต้องดูแลครอบครัวรวมทั้งจิตใจคนในครอบครัวและตัวเอง ซึ่งพอรู้ว่าตัวเองมีความรู้สึกเศร้าที่จัดการไม่ได้ เลยมาพบนักกิจกรรมบำบัด หลังจากที่ได้แนะนำตัว สอบถามประวัติ ทราบว่าผู้รับบริการมีภาวะเครียดสะสมจากความเศร้า และความคิดที่จมอยู่กับอดีต รู้สึกผิดกับตัวเอง มีความคิดโทษตัวเอง นักกิจกรรมบำบัด เริ่มกิจกรรมเบื้องต้นประเมินจากการที่ผู้รับบริการไม่มีสมาธิจดจ่อ ชีพจรเต้นเร็ว คิดกังวล จึงเริ่มคลายความกังวลจากกิจกรรม(5.3.2จุดมุ่งหมาย ช่วยเหลือให้ผู้รับบริการพ้นทุกข์ ค้นหาคุณค่าภายใน เพื่อเพิ่มความสามารถของผู้รับบริการ) ด้วยการให้ผู้รับบริการหลับตาหายใจเข้าลึกๆหายใจออกยาวๆ 4 ครั้ง ฝึกสบตา มีสมาธิฝึกสังเกตสีหน้าท่าทางภาษากาย ด้วยจิตจดจ่อมีสมาธิสักครู่ และเปิดปากเล่าเรื่องตัวเองโดยไร้เสียง ฝึกอ่านใจผู้สนทนาว่าเขาเล่าด้วยอารมณ์อะไรสุขทุกข์เฉย แล้วลองเปลี่ยนจากผู้เล่าเป็นผู้รับรู้บ้าง ก่อนเริ่มอีกรอบ ให้จิตผ่อนคลาย ปล่อยวางความคิด โดยใช้มือข้างไม่ถนัดกุมนิ้วโป้งแล้วพูดในใจว่า”หายกังวล” กุมนิ้วชี้แล้วพูดในใจว่า”หายกลัว” กุมนิ้วกลางแล้วพูดในใจว่า”หายหงุดหงิด” กุมนิ้วนางแล้งพูดในใจว่า”หายเศร้า” และกุมนิ้วก้อยแล้วพูดในใจว่า บอกว่ารักตัวเองอย่างไร (ชื่อคุณ) จะรักเพื่อนอย่างนั้น แล้ววางนิ้วโป้งแตะกลางฝ่ามือ พูดในใจว่า(ชื่อคุณ) จะมอบความรักความเมตตาให้ตัวเอง(ชื่อคุณ) และ(ชื่อเพื่อน) พูดไปเรื่อยๆ จนรับรู้สัมผัสการเต้นของชีพจรอย่างผ่อนคลาย คือไม่เต้นเร็วหรือช้าเกินไป และถ้าผู้รับบริการ ยังคงจมอยู่กับความคิดในอดีต จะใช้กิจกรรม Semi- structure Activity ผ่านการประเมินทักษะจิตสังคม(หัวข้อ 5.3.3การประยุกต์) ประเมินผู้รับบริการเพื่อแยกแยะปัญหาชีวิต และรับฟังผู้รับบริการ ให้กล้าคิด และชี้นำให้สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เน้นการแสดงออกแห่งตน(Self-expression) ผ่านกิจกรรมการวาดภาพที่มีแก่นเรื่อง(Thematic drawing) เพื่อทราบแนวทางการประเมินในการใช้สื่อความหมายแบบอวัจนภาษา(Non-verbal communication) วิธีการประเมินเริ่มจาก 1. แนะนำตัวและถามชื่อนามสกุลผู้รับบริการด้วยวาจาสุภาพ ผู้บำบัดนั่งเยื้องออกมาด้านซ้ายหรือขวาเล็กน้อย เพื่อลดความตึงเครียดของผู้รับบริการ 2. ผู้ประเมินวางกระดาษ A4 พร้อมดินสอ แปลให้ผู้รับบริการ ใช้ดินสอวาดภาพสิ่งที่ประทับใจ เช่น คนที่ผู้อ่านรัก สัตว์เลี้ยงตัวโปรด 3. เมื่อผู้รับบริการหยุดว่า ให้ผู้ประเมินถามว่า เสร็จแล้วหรือถ้าใช่ให้ลงวันที่ชื่อและเวลาที่ใช้ในการวาดรูป ถ้าไม่ใช่ก็ให้วาดต่อไป 4. ขอให้ผู้รับบริการ เล่าเกี่ยวกับภาพที่ว่าคืออะไร อยู่ที่ไหน ในช่วงเวลาใด กำลังทำอะไรกับใคร ภาพนี้ทำให้คุณคิดถึงอะไร5. ผู้ประเมินขออนุญาตผู้รับบริการบันทึกคำสำคัญ หลังจากนั้นประเมินกระบวนความคิด การรับรู้คำพูด คือเราภาพรวมว่าคิดถึงอะไรมากกว่าระหว่างตนเองหรือผู้อื่น สะท้อนปัญหาชีวิตถ้าผู้รับบริการไม่ชอบการวาดภาพคือประเมินทักษะจิตสังคมเน้นการแสดงออกแห่งตนเปลี่ยนเป็นการปั้นดินอย่างอิสระเพื่อฝึกผู้รับบริการเป็นนักสังเกตอ่านใจ 1 ผู้รับบริการวางก้อนดิน 10 นิ้วตรงหน้าผู้รับบริการให้ปั้นอะไรก็ได้ที่อยากบ้าน เมื่อผู้รับบริการทำท่าหยุดบ้านให้ถามว่าเสร็จแล้วหรือถ้าใช่ก็ให้จดบันทึกเวลาในการปั้นถ้าไม่ใช่ก็ให้ปั้นต่อ 2 ผู้ประเมิน ขอให้ผู้ปั้นช่วยบอกว่าปั้นเกี่ยวกับอะไรมีความหมายกับชีวิตอย่างไร ขณะกำลังปั้นคิดถึงอะไรอยู่ พอใจในผลงานไหม เกิดการเรียนรู้อะไรในการปั้นครั้งนี้ 3.ประเมินทักษะจิตสังคมขณะปั้น สังเกตพฤติกรรมตามการตรวจสภาพจิต Mental status examination ได้แก่ไม่สบตา/จ้องเขม็ง/สายตาหลุกหลิก/, ให้ความร่วมมือเป็นมิตร/ไม่สนใจเพิกเฉย/มุ่งร้ายสีหน้ากังวลบึ้งตึง, เบื่อหน่าย/ยิ้มแย้ม/จดจ่อพอใจ, แต่งกายเรียบร้อยสะอาด/สุขอนามัยไม่ดีมีกลิ่นตัว 4. วิเคราะห์ความสามารถขณะปั้นดิน ได้แก่ ใช้เวลาเหมาะสมดี/นานเกินไป/เร็วเกินไป, เริ่มต้นทำทันที/ลังเลนานก่อนทำ, พูดอธิบายเหมาะสม/ย้ำคิดวนไปมาเรื่องตัวเอง/คิดลบเรื่องตัวเอง/คิดลบเรื่องผู้อื่น/หมกมุ่นในอดีต/ครุ่นคิดคาดหวังในอนาคต/ไม่ให้คุณค่ากับตัวเอง/ไม่รู้จักตัวเอง 6.วิเคราะห์ผลงานหลังปั้นดินแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบคำถามปลายเปิด(อะไร เพราะอะไร อย่างไร) พร้อมชื่นชมผลงานของผู้รับบริการ

Assignment 10% ศรุตา ฟุ้งสิริรัตน์ (6223014)

ผู้รับบริการ : Generalized anxiety disorder (GDA) ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน การงาน การเงิน การเข้าสังคม หรือการแต่งงาน โดยวิตกกังวลนาน 6 เดือนขึ้นไป ควบคุมความกังวลเกินเหตุได้ยากลำบาก ขาดสมาธิ เหนื่อยล้า และหงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยตึงกล้ามเนื้อ หลับยาก หลับๆตื่นๆ หลับไม่เต็มอิ่ม ซึ่งไม่ได้เกิดจากการใช้สารเสพติด โรคทางจิตเวชอื่น หรือสาเหตุจากทางกาย

Semi-structured Activity : กิจกรรมอ้างอิงจากบทที่1 หัวข้อ 1.3 จิตสามัญ1.กิจกรรมทบทวนจิตสามัญ โดยเริ่มจากให้ผู้รับบริการยืนหลับตา ใช้มือสัมผัสฟังเสียงหัวใจเต้น เมื่อรู้สึกนิ่งแล้วให้ตอบคําถามว่า “เกิดมาทําไม” จากน้ันนํามือออกแต่ยังคงหลับตาอยู่ แล้วเดินก้าวต่อไปข้างหน้าหนึ่งก้าว ทบทวนจิตสามัญเพื่อตอบคําถามว่า “กําลังทําอะไรเพื่อใคร” โดยผู้ที่มีความเครียดสูง วิตกกังวล จะคิดลบและตอบเป็นคําพูดยาวๆ มีการหายใจตื้นเร็ว คิ้วขมวด กระพริบตาถี่ หน้าซีด เหงื่อออก ไร้รอยยิ้ม และเดินหลังคร่อม 2.กิจกรรมวางแผนชีวิต โดยตอบคำถามว่า “อีก 15 ปีข้างหน้าจะวางแผนการใช้ชีวิตอย่างไรให้แตกต่าง นอกกรอบ และมีความดีงาม” ใช้เวลา 15 นาทีในการเขียนคําตอบบนกระดาษ A4 โดยสามารถสังเกตผู้รับบริการได้ว่าร่างกายยังคงมีความเครียดและวิตกกังวลสูงเมื่อใช้ความคิดเยอะ ใช้ชีวิตแบบซ้ำซากจําเจ รู้สึกอึดอัด และคิดไม่ออกในการตอบคําถามได้ชัดเจน

การประเมินความสามารถของผู้รับบริการ : กิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการประเมิน self-determination ประกอบด้วย self-control คือการควบคุมตัวเอง และ self-transcendence คือการก้าวข้ามตัวตนเดิม ว่ามีมากน้อยอย่างไรในการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง และประเมินถึงสิ่งรบกวนที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลในการทํากิจกรรมการดําเนินชีวิตต่างๆ โดยจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางจิต หรือทําให้ร่างกายเกิดความตึงเครียด ปวดล้าเมื่อยตึงกล้ามเนื้อ

Assignment 10% นางสาวสรัลพร กันภัย 6223030ผู้ป่วยเพศหญิง เเม่เลี้ยงเดี่ยวมีภาวะซึมเศร้า จากบ้านเกิดมาทำงานในกรุงเทพ โดนหัวหน้างานที่อายุไล่เลี่ยกันตำหนิด้วยถ้อยคำหยาบคายเสียงดังต่อหน้าคนอื่นบ่อยครั้ง กดดันตัวเองเนื่องจากสอบเลื่อนตำเเหน่งไม่ได้หลายครั้ง มีการวิตกกังวล ร้องไห้ติดต่อกันหลายวันหลังจากกลับจากที่ทำงาน เบื่ออาหาร ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ หลับไม่เต็มตื่น อยากลาออก มีความกังวลว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ขณะที่โดนตำหนิอย่างรุนแรง Semi-structured activity : การฝึกจัดการความล้าในชีวิตของตนเองด้วยจิตสามัญอย่างเข้มแข็ง ร่าเริง เมตตา [อ้างอิงจากข้อ1.3.3]ก่อให้เกิดความสมดุลของการทําางาน ด้านจิตกายใจ ซึ่งจะยืนหลับตาใช้มือสัมผัสรับฟังเสียงหัวใจเต้น เมื่อรู้สึกนิ่งก็ตอบคําาถามว่า “เกิดมาทําไม” จากน้ันนําามือออกจากการสัมผัสหัวใจ หลับตา แล้วเดินก้าวต่อไปข้างหน้าหนึ่งก้าว โดยทบทวนจิตสามัญเพื่อตอบคําาถามท่ีว่า “กําาลังทําอะไรเพื่อใคร” พบว่า ผู้ที่มีความเครียดสูงจะคิดลบและตอบเป็นคําาพูดยาว มีการหายใจเต้นเร็ว คิ้วขมวด กระพรอบตาถี่ หน้าซีด เหงื่อออก ไร้รอยยิ้ม และเมื่อให้ลืมตาตอบคำถามที่ว่า “อีก 15 ปีข้างหน้า จะวางเเผนการใช้ชีวิตอย่างไรให้เเตกต่าง นอกกรอบ เเละมีความดีงาม” โดยให้ใช้เวลา 15 นาทีในการเขียนคําตอบบนกระดาษ A4 เพื่อประเมินสืบค้นเเรงจูงใจภายในตัวตน (self motivation)

Assignment 10% จงรัก อังศุวิรุฬห์ 6223017ผู้รับบริการหญิงอายุ 35 ปี ปัจจุบันเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเป็นหัวหน้า ทำให้ต้องรับหน้าที่ในการดูเเลลูกน้องในทีม เเละรับความกดดันจากการทำงานที่ต้องอาศัยความรอบคอบ ด้วยนิสัยที่เป็นคนเก็บตัวทำให้มักจะคิดมากกับทุกๆเรื่องที่เกิดขึ้นเพียงคนเดียว จนปัจจุบัน พบว่าตนเองมีภาวะซึมเศร้า(MDD) มีอาการเศร้าเป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ รู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย นอนหลับยากขึ้น เเละไม่มีสมาธิจนส่งผลต่อการทำงาน ให้ผู้รับบริการสำรวจเเละเคาะคลายอารมณ์ตนเอง(4.3) โดยให้ทบทวนความรู้สึกบริเวณศีรษะ อก และ ท้อง ว่ารู้สึกเเน่นบริเวณต่างๆหรือไม่ 1-10 ให้ระดับคะเเนนเท่าไหร่ จากนั้นเคาะเพื่อคลายอารมณ์ โดยเเน่นบริเวณศีรษะหมายถึงความกลัว กลางอกหมายถึงความเศร้า ท้องหมายถึงความโกรธ เมื่อสำรวจเเละเคาะคลายอารมณ์เเล้ว ทำให้ผู้รับบริการรู้เท่าทันอารมณ์ตนเองมากยิ่งขึ้น ต่อจากนั้นจึงทำประเมินโดยใช้ semistructure activity (5.3) โดยให้ผู้รับบริการวาดภาพสิ่งที่ประทับใจใส่กระดาษA4 เเละให้เล่าว่าภาพที่วาดนั้นคืออะไร เรื่องออะไร ภาพนี้ทำให้คิดถึงอะไร ประเมินกระบวนการคิด รับรู้ พูด เมื่อประเมินเรียบร้อย เราจะได้รู้จักผู้รับบริการมากขึ้น รวมถึงผู้รับบริการจะได้รู้จักตนเองมากขึ้น เเละร่วมกันวางเเผนการบำบัดต่อไป

Assignment 10% น.ส.วิดา ใสบริสุทธิ์ 6223002

ผู้รับบริการ : ภาวะซึมเศร้า Social phobia ลักษณะคือ หลีกเลี่ยง/ฝืนด้วยความกลัว (1.กลัวจะแสดงความกังวลออกไปจนถูกประเมินคิดลบ 2.กลัวในขณะสนทนา/พบปะคนไม่คุ้นเคย/พูดต่อหน้ากลุ่มคน/กินอาหารร่วมกับคนอื่นตั้งแต่หนึ่ง สถานการณ์ขึ้นไป)

Semi-structured Activity : กิจกรรมติดกระดาษ [อ้างอิงจาก 6.3.3 การประยุกต์ หน้า98] เพื่อทําการประเมินระดับความสามารถทางสังคมในกระบวนการกลุ่มพลวัติ และเกิดการหยั่งรู้สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น

ขั้นตอนการทำกิจกรรม : 1. ผู้ประเมินเตรียมกระดาษสีต่างๆ สําหรับเป็นพื้นขนาด 12x18 นิ้ว, กาว, กรรไกร, และนิตยสารหลายเล่ม 2.บอกผู้รับบริการให้เลือกกระดาษสีที่ทำเป็นพื้น 1 แผ่น ให้เลือกภาพในนิตยสารตามต้องการแล้วใช้วิธีการฉีก หรือ การตัดภาพ ติดลงบนกระดาษสีที่เลือกไว้ 3.เมื่อผู้รับ บริการหยุดทําก็ให้ถามว่า “เสร็จแล้วหรือ” ถ้าใช่ ให้ผู้รับบริการลงชื่อ วันที่ และ ชื่อภาพไว้ด้านหลังกระดาษสี ถ้าไม่ใช่ ก็ให้ทําาต่อไปจนเสร็จ4.ผู้ประเมินให้ผู้รับบริการเล่าเรื่องเกี่ยวกับภาพที่ได้ และควรถามในส่วนที่ว่า “สิ่งของในภาพหมายถึงอะไร ทำไมถึงเลือกภาพนี้ รู้สึกอย่างไรต่อภาพที่ทำนี้ รู้สึกว่ากิจกรรมที่ให้นี้เป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง”[การประเมิน] ประเมินความสามารถขณะทำกิจกรรม ได้แก่ ความตั้งใจ ความทรงจํา ความคิดรวบยอด ความ รับผิดชอบ ความประณีตผลงาน ความสมดุลในการจัดภาพ ความเหมาะสมในการตั้งชื่อภาพ การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง การแสดงออกทางอารมณ์ การสื่อสารภาษากาย-พูด การวางแผนจัดลําดับภาพ การทำงานอย่างอิสระ/ขอความช่วยเหลือการรักษาสิทธ์ิ แสดงความต้องการ การตัดสินใจลงมือทําทันที/ลังเลสงสัย/ใช้เวลาคิดนาน ขณะเลือกกระดาษสี การใช้วัสดุอุปรณ์และการปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (การสังเกตจำนวนภาพที่ตัด การใช้ตัวหนังสือ การมีโครงกรอบ และการรับฟังเสียงสะท้อนความรู้สึกจากสีที่ใช้กับการเล่าเรื่องที่เชื่อมโยงประสบการณ์ชีวิต)* ประเมินความสามารถทางสังคมของผู้รับบริการในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นว่าอยู่ในระดับใด : ได้แก่ Parallel group, Porject group, Egocentric cooperative group, Cooperative group หรือ Mature group- ประเมิน Positive symptoms: จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการขณะทำกิจกรรม เช่น Disorganized speech: สังเกตผู้รับบริการขณะสื่อสารกับเพื่อนในกลุ่ม ว่ามีลักษณะของการพูดเป็นอย่างไร มีการพูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่ต่อเนื่อง หรือพูดไม่ค่อยเข้าใจหรือไม่, Delusion: ประเมินจากการเล่าเรื่องเกี่ยวกับภาพที่ผู้รับบริการทำ ว่ามีเรื่องราวที่มาจากเนื้อหาความคิดที่ผิดปกติหรือ มีการหลงผิดในเรื่องใดหรือไม่ เป็นต้น- ประเมิน Negative symptoms: สังเกตว่ามีพฤติกรรม เฉยเมย พูดน้อย ไม่มีเจตจำนง ภาวะสิ้นยินดี หรือไม่เข้าสังคมหรือไม่ ตลอดการทำกิจกรรมตัดกระดาษ

Assignment 10% นางสาวฮานีฟา อิแต 6223035อ้างอิงบทที่3 พฤตินิสัยเพื่อการบำบัด ในผู้ป่วย bipolar disorder -bipolar disorder:เป็นโรคเรื้อรังทางจิต ที่มีความแปรปรวนในเรื่องของอารมณ์และพฤติกรรมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระดับการรู้คิด(cognitive) และการทำงานของร่างกาย โดยอาการที่เกิดขึ้น จะเกิดความแปรปรวนของอารมณ์สลับกันระหว่าง mania(เกิดนานกว่า1สัปดาห์) หรือ hypomania(เกิดmania มามากกว่า4วัน) และ MDD (ช่วงที่มีอารมณ์ซึมเศร้า) โดยช่วงที่เกิด mania ผู้รับบริการจะมีลักษณะอาการ(อย่างน้อย4อาการ)คือ สนุกร่าเริงหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ คิดว่าตัวเองเป็นร่างทรง มีอำนาจ(Grandiosity) นอนน้อย ความคิดฟุ้งกระจาย เกิดไอเดียอยากทำกิจกรรมหลายอย่าง แต่ไม่ได้ลงมือทำอะไรสักอย่าง(fight of idea) มีอารมณ์กระวนกระวาย พลุ่งพล่าน หมกมุ่นกับเรื่องเพศมากเกินไป หรือใช้เงินมากเกินไป แบบไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในช่วงที่เกิด MDD ผู้รับบริการจะมีลักษณะอาการ(อย่างน้อย5อาการ) คือ เศร้าเกือบทุกวันมากกว่า 2 สัปดาห์ ไม่สนใจทำกิจกรรมมากกว่า 2 สัปดาห์(แม้ว่ากิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่เคยทำอยู่บ่อยๆก็ตาม) นอนไม่หลับหรือนอนมากกว่าปกติ น้ำหนักขึ้นหรือลดผิดปกติ เหนื่อยอ่อนเพลีย สมาธิตัดสินใจลดลง คิดเรื่องตายซ้ำๆโดยอาการที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และไม่มีโรคทางกายหรือสมอง หรือพิษจากยาเป็นสาเหตุของอาการเหล่านั้น -การประเมิน:จะประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ความรู้สึกนึกคิด สมาธิ อารมณ์ และพฤติกรรมในผู้รับบริการ•การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจะประเมินจากการสัมภาษณ์และสังเกต โดยหากผู้รับบริการมีความคิดเรื่องอยากตายซ้ำๆหรือมีเจตนาแน่ชัดว่าอยากฆ่าตัวตาย เราก็จะต้องสอบถามผู้รับบริการถึงวิธีการ คอยระวังและหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการอย่างดี•การประเมินความรู้สึกนึกคิด สมาธิ อารมณ์ พฤติกรรม จะประเมินผ่าน semi structure activity ที่เป็นกิจกรรมการวาดภาพระบายสี ในรูปแบบ group therapy โดยให้ผู้รับบริการวาดภาพระบายสีตามใจชอบ เปิดให้ผู้รับบริการได้คิดด้วยจิตอิสระ ไร้โครงสร้าง ไร้ระเบียบ ไร้คำเตือน ฝึกการใช้จิตกับสมองส่วนหน้าที่ส่งผลต่ออารมณ์มั่นคง (อ้างอิงตาม 3.3 การอยู่ไม่ว่าง) และผลการประเมินจะได้จากการสังเกตผู้รับบริการขณะทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม ว่ามีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างไรบ้าง และประเมินจากภาพวาดของผู้รับบริการ ที่สะท้อนถึงอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของผู้รับบริการไว้ นอกจากนี้ ผู้รับบริการยังได้ฟื้นฟูนิสัยใหม่ผ่านการทำ semi structure activity ดังกล่าว ให้มีความ altruistic mastery จากการเรียนรู้ผ่านการทำ group therapy เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถรับรู้ ปรับเปลี่ยนอารมณ์อย่างมีสติ เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง เข้าใจ และเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น (อ้างอิงตาม 3.4 ปัจจุบันขณะ)

Assignment 10 % นายกฤษณพัชร์ น่วมมะสิงห์ 6223005ภาวะของผู้ป่วยที่เลือก : ภาวะซึมเศร้า เป็นในส่วนของpanic disorder มีอาการตั้งใจทำสิ่งที่ไม่คุ้นเคย(ท้าทายตัวเอง)มากเกินไป มีในส่วนของการกลัวคนอื่นตัดสิน กลัวความผิดพลาด กลัวการถูกเยาะเย้ย ซึ่งส่งผลให้เกิดการ เครียด เป็นอย่างมากกิจกรรมที่เลือก(Semi-structured Activity) : อ้างอิงจากบทที่ 4 การสื่อสารบำบัด หัวข้อย่อย 4.2.3 กิจกรรม “คิด เครียด คลาย” จากการได้ศึกษาจากตำราพบว่า ความเครียดนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ความเครียดลบที่ส่งผลต่อการทำกิจจกรมเพียงอย่างเดียว แต่มี “ความเครียดบวก(eustress)” เป็นความเครียดที่ทำให้สมองตื่นตัวสั่งการการทำงานร่างกายอย่างท้าทาย เป็นเสมือนแรงผลักดันอ่อนๆ โดยมีกระบวนการหลัก 5 ขั้นตอน แบ่งตามรหัสย่อของคำว่าstress คือ ST-R-E-S-SST มาจาก self-test การวัดใจตัวเอง ให้คนไข้ทำสมาธิหลับตา ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางแตะไปที่ข้อมืออีกข้าง เอียงไปด้านนิ้วโป้ง จนเจอชีพจรเต้น จับเวลา1นาทีแล้วนับว่าชีพจรเต้นกี่ครั้ง คนปกติจะอยู่ที่60-90 ถ้ามากว่านี้แสดงว่าร่างกายเหนื่อยและเครียดมากๆR มาจาก rest การพักผ่อน ใช้การย้อนกลับไปวัยเด็ก ผ่านการเขียนกิจกรรมที่เคยทำในวัยเด็กแล้วมีความสุข10อย่าง ใช้หลัก MAGIC เป็นหลักในการคิดย้อนนึกถึงกิจกรรมการดําเนินชีวิตวัยเด็ก M คือ Magic ในวัยเด็กมีความมหัศจรรย์อะไร A คือ Art งานศิลปะอะไรที่ทํา ในวัยเด็กแล้วชอบมาก G คือ Games ตอนเด็กๆ ชอบเล่นเกมส์หรือกีฬาอะไร I คือ Idea มีไอเดียอะไรที่ทํา ให้ผู้อ่านมีความสุขในวัยเด็ก C คือ Creative อะไรที่ทํา ในวัยเด็กแล้วเกิดความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการนี้ช่วยให้เขากลับไปทบทวนตัวเองในวัยเด็ก อาจจะทำให้อยากลองกลับไปทำกิจกรรมเหล่านั้นช่วยคลายความเครียดจากปัจจุบันได้E มาจาก ease ความสบาย ใช้การฟังเพลงเรียกว่ามนตราบำบัด โดยใหเปิดเพลงที่มีบทสวด หลับตาลง ถ้าสวดได้ให้สวดตาม จากนั้นลืมตานวดใบหูตามเข็มนาฬิกานวดวนเข้าใบหูไปเรื่อยๆแล้วดึงหู ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว ยืดกล้าเนื้อโดยเอามือขวาจับหูและเอามือซ้ายจับศอกขวา หายใจเข้าเป่าลมออกยาวๆ และเปลี่ยนข้างทำเหมือนเดิม จากนั้นยกมือซ้ายและเข่าขวาขึ้น เอามือซ้ายแตะเข้าขวา ร้องออกมาว่า เฮ่ พอเอามือกลับเข่าลงให้ร้องว่า ฮ่า จากนั้นสลับอีกข้างทำเหมือนเดิม สุดท้ายคือใช้มือเคาะกลางอกไม่เบาไปไม่แรงไป ขณะเคาะหายใจเข้ากลั้นไว้ แล้วเป่าออกแรงๆ ออกเสียง เฮอ 3ครั้งS มาจาก sense ความรู้สึก ใช่วิธีการหายใจออกเสียง อา โดยให้หายใจเข้าเอามือไขว้หลัง เปล่งเสียง อา ให้ออกเสียงให้ยาวที่สุดที่ทำได้ อย่าฝืน กรณีหายใจขัด นับ1-5 หรือ 1-10 นานเกินไปเปลี่ยนเป็นหายใจเข้านับ 1 2 3 ค้างไว้กลั้นไว้ หายใจออกนับ 1 2 3 4 เป่าลมออกจมูก ถ้าเหนื่อยปล่อยออกปากตัวอักษรสุดท้าย S มาจาก share การแลปเปลี่ยน ใช้วิธีแบบฝึกหัดการได้ยินและการมอง จับกลุ่ม5คน กำมือ ยื่นมือขวาไปข้างหน้า หลับตา รับสัมผัสจากเพื่อน ให้เพื่อนเดินมาทางขวามือ สัมผัสโดยการจับมือ หรือบีบแขนคนที่หลับตาก็ได้ แล้วบอกชื่อ ให้ทุกคนทำจนครบ แล้วให้คนที่หลับตาบอกชื่อเพื่อน2คนขึ้นไป ถ้าทำได้แสดงว่าสมองส่วนหน้าทำงานได้ดีแล้ว กระบวนการทั้ง5นี้อาจจะไม่ต้องทำทุกกระบวนการก็ได้ถ้ามีเวลาไม่พอ เพราะทุกกระบวนการสามารถประเมินความเครียดและคลายความเครียดได้ในตัวเอง อีกทั้งกระบวนการที่กล่าวมาทั้งหมดนอกจากใช้ประเมินความเครียดตัวเอง คลายความเครียดแล้ว ยังได้ฝึกทำให้ความเครียดลบที่มีให้ลดลง กลายเป็น ความเครียดบวกที่มากขึ้น ได้เรียนรู้การคิดบวก สะท้อนความคิดยืดหยุ่น แบบ อึด ฮึด สู้ และคืนสุขภาวะให้ตัวเอง

Assignment 10% นางสาวฮานีฟา อิแต 6223035 (ใหม่)อ้างอิงบทที่ 3 พฤตินิสัยเพื่อการบำบัด ในผู้ป่วย bipolar disorder -bipolar disorder:เป็นโรคเรื้อรังทางจิต ที่มีความแปรปรวนในเรื่องของอารมณ์และพฤติกรรมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระดับการรู้คิด(cognitive) และการทำงานของร่างกาย โดยอาการที่เกิดขึ้น จะเกิดความแปรปรวนของอารมณ์สลับกันระหว่าง mania(เกิดนานกว่า1สัปดาห์) หรือ hypomania(เกิดmania มามากกว่า4วัน) และ MDD (ช่วงที่มีอารมณ์ซึมเศร้า) โดยช่วงที่เกิด mania ผู้รับบริการจะมีลักษณะอาการ(อย่างน้อย4อาการ)คือ สนุกร่าเริงหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ คิดว่าตัวเองเป็นร่างทรง มีอำนาจ(Grandiosity) นอนน้อย ความคิดฟุ้งกระจาย เกิดไอเดียอยากทำกิจกรรมหลายอย่าง แต่ไม่ได้ลงมือทำอะไรสักอย่าง(fight of idea) มีอารมณ์กระวนกระวาย พลุ่งพล่าน หมกมุ่นกับเรื่องเพศมากเกินไป หรือใช้เงินมากเกินไป แบบไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในช่วงที่เกิด MDD ผู้รับบริการจะมีลักษณะอาการ(อย่างน้อย5อาการ) คือ เศร้าเกือบทุกวันมากกว่า 2 สัปดาห์ ไม่สนใจทำกิจกรรมมากกว่า 2 สัปดาห์(แม้ว่ากิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่เคยทำอยู่บ่อยๆก็ตาม) นอนไม่หลับหรือนอนมากกว่าปกติ น้ำหนักขึ้นหรือลดผิดปกติ เหนื่อยอ่อนเพลีย สมาธิตัดสินใจลดลง คิดเรื่องตายซ้ำๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และไม่มีโรคทางกายหรือสมอง หรือพิษจากยาเป็นสาเหตุของอาการเหล่านั้น -การประเมิน:จะประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ความรู้สึกนึกคิด สมาธิ อารมณ์ และพฤติกรรมในผู้รับบริการ•การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจะประเมินจากการสัมภาษณ์และสังเกต โดยหากผู้รับบริการมีความคิดเรื่องอยากตายซ้ำๆหรือมีเจตนาแน่ชัดว่าอยากฆ่าตัวตาย เราก็จะต้องสอบถามผู้รับบริการถึงวิธีการ คอยระวังและหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการอย่างดี•การประเมินความรู้สึกนึกคิด สมาธิ อารมณ์ พฤติกรรม จะประเมินผ่าน semi structure activity ที่เป็นกิจกรรมการวาดภาพระบายสี ในรูปแบบ group therapy โดยให้ผู้รับบริการวาดภาพระบายสีตามใจชอบ เปิดให้ผู้รับบริการได้คิดด้วยจิตอิสระ ไร้โครงสร้าง ไร้ระเบียบ ไร้คำเตือน ฝึกการใช้จิตกับสมองส่วนหน้าที่ส่งผลต่ออารมณ์มั่นคง (อ้างอิงตาม 3.3 การอยู่ไม่ว่าง) และผลการประเมินจะได้จากการสังเกตผู้รับบริการขณะทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม ว่ามีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างไรบ้าง และประเมินจากภาพวาดของผู้รับบริการ ที่สะท้อนถึงอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของผู้รับบริการไว้ นอกจากนี้ ผู้รับบริการยังได้ฟื้นฟูนิสัยใหม่ผ่านการทำ semi structure activity ดังกล่าว ให้มีความ altruistic mastery จากการเรียนรู้ผ่านการทำ group therapy เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถรับรู้ ปรับเปลี่ยนอารมณ์อย่างมีสติ เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง เข้าใจ และเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น (อ้างอิงตาม 3.4 ปัจจุบันขณะ)

Assignment 10% น.ส. ชนัญญา เงาศิริกาญจนกุล 6223020 ผู้รับบริการกลุ่ม : Major Depressive Disorder ซึ่งผู้ป่วยมีอย่างน้อย5อย่างจากอาการดังนี้เป็นระยะเวลามากกว่า2สัปดาห์คือ 1.เศร้าทั้งวันเกือบทุกวัน 2.ไม่สนใจสิ่งที่เคยทำ 3.น้ำหนักเพิ่มหรือลดเนื่องจากอาการอยากอาหารหรือเบื่ออาหาร 4.นอนไม่หลับหรือหลับมากเกือบทุกวัน 5.ทำอะไรช้าหรืออยู่ไม่สุขเกือบทุกวัน 6.อ่อนเพลียเกือบทุกวัน 7.รู้สึกไร้ค่าเกือบทุกวัน 8.สมาธิลดลงเกือบทุกวัน 9.คิดฆ่าตัวตายหรือพยายามทำร้ายตัวเอง Semi-structured activity : กิจกรรมบําบัดเพื่อการสํารวจเคาะคลายอารมณ์ลบ (อ้างอิงจากบทที่4 การสื่อสารเพื่อการบำบัด หัวข้อ 4.3 แรงพยายาม) ซึ่งมีวิธีการคือ 1.ทบทวนความรู้สึกจากบริเวณต่างๆคือ ศรีษะ (แสดงถึงความรู้สึกกลัว) กลางอก (แสดงถึงความรู้สึกเศร้า) และท้อง (แสดงถึงความรู้สึกโกรธ) แล้วให้คะแนน 0 - 10 (น้อย-มาก) การทำในข้อนี้เป็นการสำรวจตนเองเพื่อให้ตระหนักรู้ถึงความรู้สึกและอารมณ์ ณ ขณะนั้นของผู้รับบริการ จากนั้นจึงจะเริ่มข้อ2คือการเคาะ โดยจะเคาะทั้งหมด 5 บริเวณคือ 1.เคาะสับสันมือด้านนิ้วก้อยแล้วพูดว่า “แม้ว่าเราจะกลัว เศร้า โกรธ…เราจะ เปิดใจยอมรับและรักตัวเองให้มากๆ” 2.เคาะกลางกระหม่อมด้วยปลายนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย ประสานหลังมือสองข้าง แล้วพูดว่า “แม้ว่าเราจะกลัว เศร้า โกรธ…เราจะเปิดใจ ยอมรับ และรักตัวเองให้ มากๆ” 3.เคาะหัวคิ้วสองข้างด้วยนิ้วชี้ กลางสองข้าง แล้วพูดว่า“หายกลัว หายกลัว หายกลัว” หรือ “มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ” 4.เคาะกลางอกใต้ต่อกระดูกไหปลาร้าด้วยการแบมือข้างขวา แล้วพูดว่า “หายเศร้า หายเศร้า หายเศร้า” หรือ “เข้มแข็ง เข้มแข็ง เข้มแข็ง” 5.เคาะสีข้างลำตัวใต้รักแร้ลงมาหนึ่งฝ่ามือแนวขวางด้วยปลายนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย หงายมือประสานแต่ละข้าง แล้วพูดว่า “หายโกรธ หายโกรธ หายโกรธ” หรือ “ให้อภัย ให้อภัย ให้อภัย” ซึ่งการทำในขั้นตอนนี้จะเป็นการทำให้เกิดความคิดยืดหยุ่นในการจัดการความเครียด ความล้า ความหนัก เพิ่มพลังบวก ให้กำลังใจให้ตนเอง และแสดงความเมตตากรุณาต่อตนเอง การทำกิจกรรมนี้เป็นการประเมินระดับอารมณ์ และความรู้สึกของผู้รับบริการ รวมถึงความสามารถในการจัดการความคิดยืดหยุ่น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมสามารถใช้ในการวางแผนการบำบัดของผู้รับบริการต่อไปได้

Assignment 10% น.ส.สู่ขวัญ ธรรมโม 6223033ประเมินระดับความสามารถทางสังคมในกระบวนการกลุ่มพลวัติผู้ป่วยกลุ่มจิตจิตเภท [ มีอาการPositive symptoms,Negative symptoms,Cognitive Changed-EF อย่างน้อย6เดือน ] ด้วย semi-structure activity : กิจกรรมติดกระดาษ ( อ้างอิงจากบทที่6 การเอาใจใส่เพื่อการบำบัด หัวข้อ 6.3 หยั่งรู้ )เพื่อการบำบัดผู้รับบริการให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการทำกิจกกรรมการดำเนินชีวิต และบำบัดฟื้นฟูระบบประสาทการเคลื่อนไหว และเพิ่มทักษะทางสังคมและมีอารมณ์ด้านบวก มีอารมณ์ร่วม มีสัมพันธภาพและมีความหมายกับเป้าหมาย ขั้นตอนการทำกิจกรรม 1.เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ กระดาษสีที่ทำเป็นพื้น ขนาด 12*18 นิ้ว,กาว,กรรไกร และนิตยสารหลายเล่ม2.ผู้ประเมินบอกให้ผู้รับบริการเลือกกระดาษสีพื้น 1 แผ่น และให้เลือกภาพในนิตยสารตามต้องการแล้วใช้วิธีการฉีกหรือตัดภาพ และนำไปติดลงบนกระดาษสีที่เลือกไว้ และเมื่อผู้รับบริการหยุดทำให้ถ้าว่า “เสร็จแล้วหรือ” ถ้าใช่ ให้ผู้รับบริการลงชื่อ วันที่ และ ชื่อภาพไว้ด้านหลังกระดาษสี 3.ให้ผู้รับบริการเล่าเรื่องเกี่ยวกับภาพ และถามว่า “สิ่งของในภาพนี้หมายถึงอะไร และทำไมเลือกภาพนี้ รู้สึกอย่างไรต่อภาพนี้ รู้สึกว่ากิจกรรมนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง”4.ผู้ประเมินวิเคราะห์ความสามารถขณะทํากิจกรรมนี้ อ้างอิงการประเมินครทางกิจกรรมบําบัดได้แก่ ความตั้งใจ ความทรงจํา ความคิดรวบยอด ความรับผิดชอบ ความประณีตผลงาน ความสมดุลในการจัดภาพ ความเหมาะสมในการ ตั้งชื่อภาพ ความสวยงามระหว่างจุดหลักและการกระจายภาพย่อย การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง การแสดงออกทางอารมณ์ การสื่อสารภาษากาย-พูด การวางแผนจัดลําดับภาพ การแสดงความคับข้องใจ การทำงานอย่างอิสระ/ขอความช่วยเหลือ การรักษาสิทธ์ิแสดงความต้องการ การตัดสินใจลงมือทําทันที/ลังเลสงสัย/ใช้เวลาคิดนาน ขณะเลือกกระดาษสี การใช้วัสดุอุปกรณ์และการปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (การสเงเกตจำนวนภาพที่ตัด การใช้ตัวหนังสือ การมีโครงกรอบ และการรับฟังเสียงสะท้อนความรู้สึกจากสีที่ใช้กับการเล่าเรื่องที่เช่ือมโยงประสบการณ์ชีวิต) 5.ผู้ประเมินวิเคราะห์ความสามารถทางสังคมของผู้รับบริการเป็น 5 ระดับ ดังต่อไป นี้:1) อยู่ในกลุ่มได้ แต่สับสน เงียบเฉย ต้องกระตุ้นให้สนใจทํากิจกรรม เรียก กลุ่มคู่ ขนาน (parallel group) 2) ทำกิจกรรมกลุ่มได้ ต้องกระตุ้นให้ไม่อึดอัดเขินที่จะพูดคุย/ทำงานกะบคนอื่น เรียกกลุ่มผลงาน (project group) 3) ทำกิจกรรมกลุ่มได้ ต้องกระตุ้นแสดงความคิดเห็นหรือรับฟังผู้อื่น เรียก กลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทําา (egocentric cooperative group) 4)ทำกิจกรรมกลุ่มได้ ต้องกระตุ้นแสดงการรับรู้สึกนึกคิดทั้งบวกและลบ เรียก กลุ่มอารมณ์ร่วม (cooperative group) 5) ช่วยตนเองและผู้อื่นขณะทํากิจกรรมกลุ่มได้ ต้องกระตุ้นการแสดงบทบาทผู้ให้กําลังใจ ผู้สอน ผู้อภิปราย ผู้ถาม ผู้ดําเนินการ เรียก กลุ่มวุฒิภาวะ (mature group)

Assignment 10% นางสาวชาลิสา สวรรค์พร 6223007ผู้รับบริการ : Generalized anxiety disorder (GAD) โดยผู้รับบริการจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน การงาน การเงิน การเข้าสังคม หรือการแต่งงานมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งผู้รับบริการมีความวิตกกังวลมากเกินจนส่งผลให้ผู้รับริการหงุดหงิดง่าย เหนื่อยล้าง่าย ขาดสมาธิในการทำกิจกรรม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีปัญหาการนอนหลับส่งผลให้นอนหลับไม่เต็มอิ่ม (นอนหลับยาก นอนหลับๆ ตื่นๆ นอนกระสับกระส่าย) ซึ่งอาการและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้มีการทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่มีประสิทธิภาพSemi-structured Activity (อ้างอิงจากบทที่ 2 การเรียนรู้เพื่อการบำบัด) : 1. กิจกรรมการฝึกการรับรู้อารมณ์ (emotional perception) (อ้างอิงจาก 2.2.3) โดยจะใช้กิจกรรม “การปฏิบัติภาวนาโดยมีลมหายใจเป็นฐานสมมติตรงลิ้นปี่” โดยเริ่มจาก- รับมือกับความกลัวตรงฐานหัวสมอง (กังวล งง ยอมตาม สับสน จมอดีต เกรงใจ อาย ฟุ้งซ่าน) : ให้นั่งหรือยืนหายใจเข้า-ออกนับ 1 หายใจเข้า-ออกนับ 2 ไปเรื่อยๆ จนถึง 10 จากนั้นให้นับถอยหลังจาก 10 ไปหา 1 ทําซ้ำอีกรอบให้นับจาก 1 ขึ้นไปถึง 9 แล้วย้อนกลับไปหา 1 ทําซ้ำอีกรอบให้นับจาก 1 ขึ้นไปถึง 8 แล้วย้อนกลับไปหา 1 ทำไปเรื่อยๆ โดยจะหยุดทำเมื่อจิตรับรู้ถึงความสงบ- รับมือกับความเศร้าตรงฐานหัวใจ (เหงา ซึม เฉื่อยชา ง่วงนอน เบื่อ ละอายผิด) : ให้นั่งหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทําได้แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก ทําซ้ำๆ จนได้เหงื่อแล้วลุกขึ้นยืนหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทําได้แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกจนกว่าจะหายง่วง ต่อด้วยล้างหน้าด้วยน้ำเย็นแล้วเอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งนวดดึงติ่งหู 2 ข้าง ถ้ายังไม่ได้ผล ก็แผ่เมตตาให้ตัวเองด้วยการสวดมนต์ออกเสียง และ/หรือทําสมาธิโดยอธิษฐานในใจว่า “ขอให้ข้าพเจ้าดูแลตัวเองด้วยความรัก เมตตากรุณา สุขสงบ ปลอดภัย” พร้อมทั้งเปิดเพลงที่ผ่อนคลาย (Loving kindness meditation : LKM) แล้วไปนอนพักสัก 3 - 15 นาที (ไม่ควรนอนเวลา 15.00 น.เป็นต้นไปจะทํา ให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน)- รับมือกับความโกรธตรงฐานหัวหน่าว (เกลียด จับผิด สงสัย หงุดหงิด อิจฉา หึง หวง) : ให้นั่งหรือยืนหายใจเข้า-ออกลึกๆ 3 ครั้ง แล้วหายใจเข้า-ออกนับออกเสียง 1 ทำไปจนถึง 10 จากนั้นให้หายใจเข้า-ออกนับออกเสียง 9 ทำไปจนนับถอยหลังถึง 1 ทำต่อไปเรื่อยๆ จนรับรู้จิตใจอันสงบ ต่อด้วยการเจริญเมตตา และมีสมาธิรับฟังเสียงพูดกับตัวเองว่า “จงใช้สติคอยระวังไม่ให้โกรธ แม้มีใครพูดจาตํา หนิจะไม่โต้เถียง จะฝึกความอดทน จะไม่ตายไปขณะจิตกําลังโกรธ และให้นึกว่า “เขาโกรธเพราะกําลังไม่สบายใจ จะช่วยคนๆ นี้ได้อย่างไร”**กิจกรรมนี้ทำเพื่อฝึกฝนให้คิดน้อย ๆ คลายอารมณ์ตึงเครียดลบ (emotional distress) เพิ่มระดับสติกับสัมปชัญญะให้เกิดการรับรู้ที่ชัดเจน และเกิดความพร้อมในการปรับปรุงตัวเองก่อนการทํากิจวัตรประจำวัน2. กิจกรรมการรู้สึกเป็นภาพการไหลของพลังงานทั่วร่างกายจากปลายเท้าจรดกลางกระหม่อม (อ้างอิงจาก 2.4.3) เริ่มจากวางมือ 1 หรือ 2 ข้างเหนือบริเวณหัวใจ นำการตระหนักรู้มาฝึกจึตสมาธิที่หัวใจ เปิดอกผายไหล่ผึ่งในท่านั่งหลังตรง ผ่อนคลายหัวไหล่ หายใจเข้า-ออกลึกๆ ช้าๆ ย้ําความรู้สึกถึงพลังความรักความเมตตาสัมผัสมาที่มือและแขน 2 ข้างทุกขณะที่กำลังทํากิจวัตรประจําวัน แล้วค่อยๆ หมุนหัวไหล่กับสะบักไปข้างหลังกลับมาข้างหน้าอย่างช้าๆ 4-10 รอบ ในเวลา 2-3 นาทีจนรู้สึกถึงความสุขกายสบายใจ แล้วยิ้มรับรู้สึกถึงความมั่นใจ ฝึกการตระหนักรู้ 5-10 นาที และยิ่งถ้าได้ปิดตาและฝึกจิตจินตนาการเป็นจุดบนกําแพงจนเกิดจิตสมาธิไม่วอกแวกแล้วลืมตาขึ้นเพื่อคงภาพจิตนาการได้นานขึ้น 2-3 นาทีก็ยิ่งทำให้การตระหนักรู้ร่างกายของผู้รับบริการได้มากขึ้น**กิจกรรมนี้ทำเพื่อฝึกจิตให้อยู่กับปัจจุบัน ลดการคิดถึงอดีตและเรื่องราวในอนาคต (ควบคุม/ลดความวิตกกังวลที่มากเกินเหตุ) และเพิ่มการตระหนักรู้และสมาธิในการกระทำ ณ ขณะปัจจุบันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังลดความปวดเมื่อยและความตึงเครียดทางกายและทางจิตใจไปพร้อมๆ กัน3. การทวนคําพูด (restating) พร้อมการปรับคําพูดให้มีความหมายบวก (paraphrasing) เพื่อเชิญชวนให้ผู้รับบริการเรียนรู้คิดทบทวนใหม่ (relearning) นําความรู้เก่าที่ไม่เป็นประโยชน์ออก (unlearning) จนเกิดทัศนคติใหม่ (reframing)**กิจกรรมนี้ทำเพื่อปรับความคำพูดซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการรับรู้และความเข้าใจการรู้คิดของผู้รับบริการ หากผู้รับบริการเกิดความคิดและทัศนคติในเชิงบวกมากขึ้นก็จะส่งผลให้มีกำลังใจ แรงจูงใจ เห็นความเป็นไปได้ เกิดความพยายาม และลงมือทำ เพื่อควบคุมความวิตกกังวลและปรับการกิจวัตรประจำวัน (Routine) เพื่อลดช่วงเวลาว่างที่ง่ายต่อการกระตุ้นให้เกืดความวิตกกังวลอีกครั้ง

Assignment 10% สุพิชชา พุฒมาเล 6223032

ผู้ป่วย : ผู้ป่วยชาย อายุ 27 ปี เป็นหัวหน้าแผนกการงานเงินบริษัทแห่งหนึ่ง มีความเครียดสะสมจากการทำงานจนเกิดภาวะซึมเศร้า ทำให้ขาดความมั่นใจในการเป็นผู้นำประเภทผู้ป่วย : ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า MDD เนื่องจากมีความเครียดจากการทำงาน ลักษณะอาการ : ผู้ป่วยมีอารมณ์เศร้าทั้งวันเกือบทุกวัน โดยที่ตนเองรู้สึกและคนอื่นเห็นมากกว่า 2 สัปดาห์ ,ไม่สนใจทำสิ่งที่เคยทำกว่า 2 สัปดาห์ ,ทำอะไรช้า/อยู่ไม่สุขเกือบทุกวัน ,นอนไม่หลับ/หลับมากเกือบทุกวัน ,เหนื่อย อ่อนเพลีย/ไม่มีแรงเกือบทุกวัน ,รู้สึกไร้ค่า/รู้สึกผิดมากไปเกือบทุกวัน ,น้ำหนักลดลง/เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้คุม/เพิ่มมากกว่าร้อยละ 5 มีอาการเบื่ออาหาร/อยากอาหาร ,สมาธิตัดสินใจลดลงเกือบทุกวัน ,คิดเรื่องตายซ้ำๆ/พยายามทำร้ายตัวเอง/มีแผนที่จะทำ โดยมีอย่างน้อย 5 อาการSemi-structured activity : กิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อการเล่าชีวิตและประเมินสุขภาวะทางจิตสังคมของตัวเองผ่านงานปั้นดินน้ํามัน (อ้างอิง : บทที่ 4 การสื่อสารเพื่อการบำบัด หัวข้อที่ 4.3 แรงพยายามหน้าที่ 62-63)เป้าประสงค์ : เมื่อเฝ้าสังเกตและใช้แรงพยายามฝึกหัดสติแห่งตนเองเพื่อเรียนรู้ความจริงอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้พบภาวะผู้นำ ด้วยความจริงใจ (heartfelt leader) เป็นผู้ให้ความเป็นตัวตนที่แท้จริง สื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติ จนเกิดอารมณ์ไว้ใจให้มุ่งมั่นเข้าร่วมแรงร่วมใจขับเคลื่อนสุขภาวะบนพื้นฐานแห่งความต้องการทางสังคมต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (occupational needs) และเพิ่มภาวะผู้นําอย่างรู้สติ (mindful leadership) ในการดูแลด้วยความเมตตากรุณา ทั้งเพิ่มพูน สุขภาวะภายในใจตัวเองให้พร้อมก่อนที่จะดูแลผู้อื่นด้วยภาวะผู้นำ เพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ดูแลตัวเอง ให้เกิดความคิดยืดหยุ่นในการจัดการความเครียด ความล้า และความหนัก* แนะนำผู้ปั้นดินน้ำมันให้เชื่อมั่นในความเป็นอิสระเเห่งจิตจดจ่อของมนุษย์ เพื่อสื่อสารคุณค่าและความหมายต่อประสบการณ์ชีวิตได้ไหลลื่นของกิจกรรมอันหลากหลาย (flow of diversional activities) * ในขณะที่มือกําลังปั้นดิน หรือ “ตัวตนใหม่” ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างกระบวนการ “เปลี่ยนรูป” นั้นคือกระบวนการดึงตัวตนภายในออกมา* ให้หลับตาอยู่กับตนเองสักครู่ เพื่อสํารวจจินตนาการ อารมณ์ ความรู้สึก จากนั้นให้แต่ละคนปั้นดินน้ํามันเป็นตัวการ์ตูนลักษณะใดก็ได้ที่บ่งบอกถึง “ความเป็นตนเอง” โดยให้ลูกปิงปองสีเหลืองเป็นส่วนหัวและลูกปิงปองสีขาว เป็นลําตัว ท้ังตกแต่งส่วนประกอบร่างกายและอื่นๆ ด้วยดินน้ํามัน โดยใช้เวลา 15 นาที* เมื่อปั้นเสร็จจนได้ชิ้นงานแล้ว ขอให้แต่ละคนมองผลงานที่ปรากฏและนึกถึงคํา 3 คําที่สะท้อนความรู้สึกของตนเอง โดยแบ่งกลุ่มย่อยอย่างน้อย 4 คน แลกเปลี่ยน ความรู้สึก ก่อนปั้นดินน้ํามันคิดอะไร ความรู้สึกระหว่างปั้น และเมื่อประกอบเป็น “ตัวตนใหม่” ผ่านดินน้ํามันแล้ว รู้สึกอย่างไรบ้าง ใช้เวลา 20 นาที

ต่อไปเป็นการประเมินสุขภาวะทางจิตสังคมของตัวเอง* หลังจากปั้นดินน้ำมันเล่าชีวิตเสร็จแล้ว ให้ทำสมาธิแบบลืมตาครึ่งหนึ่ง หรือมองลงไปที่พื้น หายใจเข้าออกช้าๆ สัก 4 รอบ แล้วเขียนเรียนรู้ “ความจริงแห่งชีวิต” บนกระดาษ A4 ให้ตอบโจทย์ว่า ท่านมีความเชื่อมั่นในด้านต่างๆเหล่านี้อย่างไร โดยระดับการให้คะแนนตัวเอง ต้ังแต่ 1 (เชื่อน้อยที่สุด) ถึง 7 (เชื่อมากที่สุด)* การประเมินความเชื่อมั่นประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1. เช่ือมั่นในคุณค่าความดีงาม 2. เชื่อในพลังกายเข้มแข็ง 3. เช่ือในพลังใจร่าเริง 4. เชื่อในพลังอารมณ์กล้าหาญ และ 5. เช่ือในพลังเมตตา เยียวยาต่อตนเองและผู้อื่น* ต่อด้วยสอบทวนความมั่นใจในทักษะของท่านอย่างไรบ้าง โดยระดับการให้คะแนน 0 (ไม่มีความมั่นใจ) ถึง 10 (มีความมั่นใจมากที่สุด)* การประเมินความมั่นใจประกอบด้วย 5 ด้านคือ 1. ทักษะการดูแลสุขภาพกายใจของตนเอง 2. ทักษะการดูแลสุขภาพกายใจของผู้อื่น 3. ทักษะการแบ่งเวลาดูแลตนเอง ครอบครัวและการทำงานเยยีวยา 4. ทักษะการจัดการความเครียดภายในตนเอง และ5. ทักษะการให้คําปรึกษาสร้างกําาลังใจให้กับผู้ได้รับผลกระทบ

นางสาวศลิษา และตี เลขที่28 6223029เคส : ผู้รับบริการอายุ30ปี เพศหญิง เป็นภาวะซึมเศร้า (MDD) โดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และเข้ารับการรักษาร่วมกับทานยามากว่า2ปีแล้ว จากการที่ได้พูดคุยกับผู้รับบริการทำให้ได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติม ผู้รับบริการเป็นพนักงาน office ในกรุงเทพฯ อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ โดยผู้รับบริการเล่าว่าก่อนเริ่มมีอาการ ตนทำงานหนักเลยเวลาตลอดเพราะต้องหาเงินมาเลี้ยงพ่อแม่ที่ไม่ได้ทำงานแล้ว ทุกๆวันต้องออกจากบ้านแต่เช้ามืดเพราะรถติดและกลับถึงบ้านตอนที่ฟ้ามืดแล้ว ทำแบบนี้ซ้ำอยู่เป็นปี ทำให้ไม่มีเวลาได้อยู่กับตัวเองหรือออกไปเที่ยวเล่น เพื่อนที่เคยคบอยู่ก็เริ่มห่างหายกันไป หลังจากนั้นก็ก็ได้เริ่มสังเกตอาการของตัวเองว่า น้ำหนักลงจากเดิมมากกว่า7กิโล ตอนกลางคืนนอนไม่หลับทั้งๆที่เหนื่อยและเพลียมาก มีอาการเศร้าในทุกๆวัน เริ่มรู้สึกว่าไม่มีเป้าหมายเพื่อตัวเอง ใช้ชีวิตไปวันๆ ตัวเองไม่มีค่า จนถึงขั้นที่เคยคิดวิธีฆ่าตัวตายมาแล้ว แต่ก็ล้มเลิกไปเพราะเป็นห่วงว่าพ่อกับแม่จะไม่มีคนเลี้ยงดู จากการที่ได้อ่าน ‘กิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา บทที่4 : การสื่อสารเพื่อการบำบัด’เริ่มให้การบำบัดผู้รับบริการโดย1. วัดใจตัวเอง ให้ผู้รับบริการวัดชีพจรของตัวเองโดยใช้นิ้วชี้กลางนางจับที่ข้อมือฝั่งนิ้วโป้ง ทำสมาธิหลับตา วัดชีพจร 1นาที ถ้ามีชีพจรมากกว่า90แสดงว่ามีความเครียด และเปรียบเทียบดูระหว่างข้างซ้ายกับขวา ถ้าข้างที่ถนัดมีชีพจรมากกว่า แสดงว่ามีความวิตกกังวล2. การสำรวจเคาะคลายอารมณ์ลบ ศรีษะ คือ ศูนย์ความลัว กลางอก คือ ศูนย์ความเศร้า ท้อง คือ ศูนย์ความโกรธ โดยแต่ละบริเวณให้ถามระดับความตึง จาก0-10 เพื่อนำมาเปรียบเทียบหลังเคาะ เคาะหัวคิ้วสองข้าง พูดว่า ‘หายกลัวx3 หรือ มั่นใจx3’ เคาะกลางอกใต้ไหปลาร้า พูดว่า ‘หายเศร้าx3 หรือ เข้มแข็งx3’ เคาะสีข้างใต้รักแร้ พูดว่า ‘หายโกรธx3 หรือ ให้อภัยx3’ แล้วถามระดับความตึงของส่วนต่างๆว่าลดลงมั้ย เพื่อดูอารมณ์ของผู้รับบริการ3. จากหัวข้อการสังเกตในหมวดประยุกต์ ช่วงอายุ 20-30ปี ให้ฝึกสมองซีกขวา เกี่ยวกับ ดนตรี ศิลปะ กีฬา ช่วงอายุ 30-40ปี ให้ฝึกเคาะคลายอารมณ์ซึ่งสามารถสอนและให้กลับไปฝึกทำที่บ้านได้ ในส่วนของกิจกรรมอื่นๆที่จะให้ฝึกเพื่อคลายความคิดลบ ต้องถามความชอบหรืองานอดิเรกของเขา
จากการทำกิจกรรมข้างต้นทำให้ทราบระดับอารมณ์ของผู้รับบริการ และสอบถามถึงกิจกรรมที่ชอบ เพื่อที่จะได้นำมาวางแผนการบำบัดที่เหมาะสมกับอารมณ์และความถนัดความชอบ เพื่อให้ตัวเขาได้คลายกังวล สมองตื่นตัวมากขึ้น ได้คิดถึงสิ่งต่างๆอย่างท้าทายในทางบวก

Assignment 10% ชนะพล ยาทิพย์ 6223019Semi-structured activity : กิจกรรมติดกระดาษ (จากบทที่ 6 - การเอาใจใส่เพื่อการบำบัด)ภาวะที่เลือก : โรคซึมเศร้า ผู้รับบริการจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการจากอาการต่อไปนี้ คือ 1.เศร้าทั้งวัน เกือบทุกวัน ตนเองสามารถรู้สึกและคนอื่นรู้สึก มากกว่า 2 สัปดาห์ 2. ไม่สนทำสิ่งที่เคยทำ 3. น้ำหนักลด เพิ่มโดยที่ไม่ได้คุมหรือทานมากขึ้น 4. นอนไม่หลับเกือบทุกวัน 5. ทำอะไรช้า อยู่ไม่สุขเกือบทุกวัน 6.เหนื่อยอ่อนเพลีย 7.รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากเกือบทุกวัน 8.สมาธิตัดสินใจสั้นลดลง 9.คิดเรื่องตายซ้ำๆ พยายามยชทำร้ายตนเอง หรือมีแผนที่จะทำ ส่วนวิธีการทำกิจกรรมขออธิบายสั้นๆดังนี้ 1.เตรียมกระดาษขนาด 12*18 นิ้ว กาว กรรไกร และนิตยสารหลายเล่ม 2. บอกให้ผู้รับบริการเลือกกระดาษสีทำเป็นพื้น 1 แผ่น 3.ทำการเลือกภาพจากนิตยสารโดยการตัด หรือฉีก แล้วนำลงมาติดบนกระดาษที่เป็นพื้น 4.เมื่อทำเสร็จแล้วให้ผู้ประเมินถามว่า ทำไมถึงเลือกภาพนี้ รู้สึกอย่างไรต่อภาพนี้ ร฿้สึกว่ากิจกรรมนี้ให้ประโยชน์อะไร ที่เลือกใช้กิจกรรมติดกระดาษ เนื่องจากเป็นการประเมินได้ในเบื้องต้นของการวิเคราะห์ด้านความคิด ความทรงจำ ความคิดรวบยอด รวมไปถึงด้านอารมณ์ที่มีผลต่อภาพนี้ ที่อาจจะนำไปสู่สาเหตุของการที่เขาเป็นโรคซึมเศร้าได้ เนื่องจากผู้รับบริการจะต้องมีเหตุผลอะไรบางอย่างที่จะต้องเลือกภาพนี้ เลือกวิธีการจัดองค์ประกอบแบบนี้ การจัดรูปตัวบุคคลไว้ในตำแหน่งต่างๆ ทำไมถึงต้องมีบุคคลนี้ หรือเหตุผลที่ชอบรูปนี้ อาจจะมีผู้รับบริการบางคนที่อาจจะเลือกรูปพระสงฆ์ มาตัดแปะลงในกระดาษ อย่างเดียวไม่เลือกรูปอื่น อาจจะเพราะการที่เขาไม่สามารถ move on ได้ ความคิดวนอยู่กับตัวเอง หมกมุ่นกับตัวเอง ไม่สามารถห้ามความคิดตัวเองได้ จึงตัดสินใจเลือกแต่รูปนี้ ก็เป็น 1 ในอาการของผู้รับการของโรคซึมเศร้าเช่นกัน การใช้กิจกรรมนี้ไม่ได้เน้นเพียงแค่การได้ข้อมูลมาซึ่งจากการถามเท่านั้น แต่จะเริ่มประเมินตั้งแต่การเริ่มต้น คือการเลือกภาพ การจัดสมดุล ความประณีต ความเหมาะสมในการตั้งชื่อภาพ หรือแม้กระทำลักษณะท่าทางขณะทำกิจกรรมเช่น การตัดสินใจ การขอความช่วยเหลือ การรักษาสิทธิ์ของตนเอง การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ การปรับตัวเรียนรู้ต่อสิ่งใหม่ สิ่งใหม่ที่ว่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นแค่สิ่งของแต่รวมไปถึงบุคคล หรือเหตุการณ์ต่างๆที่เข้ามาด้วยเช่นกัน การทำกิจกรรมนี้เป็น preparatory methods มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูระบบประสาทการเคลื่อนไหว ระบบการเรียนรู้อารมณ์สังคมด้วยจิตเมตตา หรือทักษะอ่อนโยน soft skill กิจกรรมนี้สามารถเชื่อมไปกิจวัตรประจำวันที่เขากำลังทำ หรือสนใจอยู่ได้ หรือสามารถมองควบคู่ไปได้ในเรื่อง การหยั่งรู้ (หน้า 97) และ เป็นระเบียบ (หน้า 100) โดยที่จะเน้นเรื่องของการ ถ้าเหนื่อย เบื่อก็ให้หยุดพัก เป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกความเป็นระเบียบ ที่จะส่งผลไปถึงการเติบโตทางความคิดในใจ 3 รูปแบบได้แก่ 1.คิดตระหนักรู้ในสิ่งที่ตัวเราเป็นมากกว่าสิ่งที่ตัวเราอยากเป็น 2.คิดสร้างสรรค์ 3. คิดยืดหยุ่นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ หรือข้อนี้ในหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัด คือ การเป็นผู้ฟังที่ดี และจะมีอีกกิจกรรมเช่นกันที่มีลักษณะคล้ายๆแบบนี้ นั่นคือการสร้างตัวละครสมมติในบ้าน 1 หลัง ซึ่งตัวผู้รับบริการก็จะเป็นคนจัดวางตัวเองรวมไปถึงคนรอบข้างในตำแหน่งต่างๆของตัวบ้าน พูดคุยกันว่าทำไมคนนี้ถึงอยู่ในตำแหน่งนี้ของบ้าน เพราะอะไร แต่กิจกรรมนี้จะเน้นที่ environment เป็นหลักมากกว่าที่มีผลต่อผู้รับบริการ และการทำกิจกรรมทั้ง 2 อย่างนั้นจะต้องประกอบด้วย positive emotion + engagement + relationship + meaning - purpose + achievement - accomplishment - ของนักกิจกรรมบำบัดที่จะเป็นต้นแบบแก่ผู้รับบริการ

Assignment 10% นางสาวฮานีฟา อิแต 6223035 แก้ไขล่าสุด อ้างอิงบทที่3 พฤตินิสัยเพื่อการบำบัด ในผู้ป่วย bipolar disorder -bipolar disorder:เป็นโรคเรื้อรังทางจิต ที่มีความแปรปรวนในเรื่องของอารมณ์และพฤติกรรมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระดับการรู้คิด(cognitive) และการทำงานของร่างกาย โดยอาการที่เกิดขึ้น จะเกิดความแปรปรวนของอารมณ์สลับกันระหว่าง mania(เกิดนานกว่า1สัปดาห์) หรือ hypomania(เกิดmania มามากกว่า4วัน) และ MDD (ช่วงที่มีอารมณ์ซึมเศร้า) โดยช่วงที่เกิด mania ผู้รับบริการจะมีลักษณะอาการ(อย่างน้อย4อาการ)คือ สนุกร่าเริงหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ คิดว่าตัวเองเป็นร่างทรง มีอำนาจ(Grandiosity) นอนน้อย ความคิดฟุ้งกระจาย เกิดไอเดียอยากทำกิจกรรมหลายอย่าง แต่ไม่ได้ลงมือทำอะไรสักอย่าง(fight of idea) มีอารมณ์กระวนกระวาย พลุ่งพล่าน หมกมุ่นกับเรื่องเพศมากเกินไป หรือใช้เงินมากเกินไป แบบไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในช่วงที่เกิด MDD ผู้รับบริการจะมีลักษณะอาการ(อย่างน้อย5อาการ) คือ เศร้าเกือบทุกวันมากกว่า 2 สัปดาห์ ไม่สนใจทำกิจกรรมมากกว่า 2 สัปดาห์(แม้ว่ากิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่เคยทำอยู่บ่อยๆก็ตาม) นอนไม่หลับหรือนอนมากกว่าปกติ น้ำหนักขึ้นหรือลดผิดปกติ เหนื่อยอ่อนเพลีย สมาธิตัดสินใจลดลง คิดเรื่องตายซ้ำๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และไม่มีโรคทางกายหรือสมอง หรือพิษจากยาเป็นสาเหตุของอาการเหล่านั้น -การประเมิน:จะประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และพฤติกรรมในผู้รับบริการ•การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจะประเมินจากการสัมภาษณ์ โดยหากผู้รับบริการมีความคิดเรื่องอยากตายซ้ำๆหรือมีเจตนาแน่ชัดว่าอยากฆ่าตัวตาย เราก็จะต้องสอบถามผู้รับบริการถึงวิธีการ คอยระวังและหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการอย่างดี•การประเมินความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ พฤติกรรม จะประเมินผ่าน semi structure activity ที่เป็นกิจกรรมการวาดภาพระบายสี ในรูปแบบ group therapy โดยให้ผู้รับบริการวาดภาพระบายสีตามใจชอบ ซึ่งการประเมินจะได้จากการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของผู้รับบริการ ขณะทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม ว่ามีการแสดงออกถึงพฤติกรรมอย่างไร และประเมินจากภาพวาดของผู้รับบริการ ที่สะท้อนถึงอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของผู้รับบริการผ่านการให้ผู้รับบริการพูดอธิบายถึงผลงานของตนและสอบถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของเขาขณะทำกิจกรรม นอกจากนี้ ผู้รับบริการยังได้ฟื้นฟูนิสัยใหม่ผ่านการทำ semi structure activity ดังกล่าว ให้มีความ altruistic mastery จากการเรียนรู้ผ่านการทำ group therapy เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถรับรู้ ปรับเปลี่ยนอารมณ์อย่างมีสติ เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง เข้าใจ และเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น (อ้างอิงตาม 3.4 ปัจจุบันขณะ)

assignment 10% นางสาวปิยอร ศรีนามวงศ์ 6223026 ผู้รับบริการ - ภาวะซึมเศร้า social phobia มีลักษณะ หลีกเลี่ยงหรือฝืนทำด้วยความกลัว กลัวที่จะถูกประเมินคิดลบ กลัวขณะสนทนา/พบปะคนที่ไม่คุ้นเคย/การพูดต่อหน้ากลุ่มคน การประเมิน - กิจกรรมการฝึกรับรู้อารมณ์ (emotional perception) (อ้างอิงจากบทที่ 2.2 )เป็นการปฏิบัติภาวนาโดยมีลมหายใจเป็นฐานสมมติตรงลิ้นปี่ ฝึกฝนให้คิดน้อยๆ คลายอารมณ์ตึงเครียด ทำให้เกิดการรับรู้ที่ชัดเจน ไม่หลงผิด พร้อมในการปรับปรุงตนเอง-ความกลัวตรงฐานหัวสมอง(กังวล งง ยอมตาม สับสน เกรงใจ อาย ฟุ้งซ่าน) ให้นั่งหรือยืนหายใจออกนับ1 หายใจเข้านับ2 จนถึง 10 จากนั้นนับถอยหลัง10-1 ทำซ้ำอีกรอบเป็น1-9 ทำซ้ำอีกรอบ 1-8 ไปเรื่อยๆจะหยุดทำเมื่อจิตนับรู้ถึงความสงบ-ความเศร้าตรงฐานหัวใจ(เหงา ซึม เบื่อ ละอายผิด) นั่งหายใจเข้าลึกๆกลั้นให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจ ทำซ้ำๆจนเหงื่อออกแล้วลุกขึ้นยืนหายใจด้วยวิธีเดิมทำจนกว่าจะหายง่วง แล้วจึงล้างหน้าด้วยน้ำเย็นเอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งดึงตื่งหูทั้ง2ข้าง ถ้ายังไม่ได้ผลให้ทำสมาธิแล้วอธิฐานในใจว่า“ขอให้ข้าพเจ้าดูแลตัวเองด้วยความรัก เมตตากรุณา สุขสงบปลอดภัยประกอบเสียงเพลงอย่างผ่อนคลายแล้วไปนอนพักสักสามนาทีจนถึงไม่เกิน 15 นาทีไม่ควรนอนเวลา 15.00 น.เป็นต้นไปจะทํา ให้นอนไม่หลับตอนกลางคืนมีการใช้การทวนคำพูด (restating) (อ้างอิงบทที่ 2.5) ปรับคำพูดให้มีความหมายบวก ให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้คิดทบทวนใหม่นำความรู้เก่าที่ไม่เป็นประโยชน์ออก ทำให้เกิดเป็นทัศนคติใหม่ที่จะช่วยเอาชนะปัญหาของตัวผู้รับบริการ และเป็นการสร้างสัมพันธ์ภาพทางกิจกรรมบำบัดซึ่งจะช่วยให้การเข้าใจจัดการพฤติกรรมที่มีปัญหา ด้วยรูปแบบการแก้ปัญหาและให้เหตุผลรวบรวมข้อมูลป้อนกลับและการฝึกพูดในเชิงบวกยังช่วยเป็นแรงเสริมด้านบวกที่จะช่วยให้ผู้รับบริการมีความมั่นใจมากขึ้นในการทำกิจกรรม

Assignment 10% นายอาบีดีน การี 6223004

Semi-structured activity : กิจกรรมการฝึกการรับรู้อารมณ์ (emotional perception)[อ้างอิงจากบทที่ 2 การเรียนรู้เพื่อการบำบัด หัวข้อที่ 2.2.3]

เพื่อประเมินความสามารถของผู้รับบริการ : ภาวะซึมเศร้า จาก GAD (Generalized Anxiety Disorder) โดยมีอาการนานกว่า 6 เดือน

ประเมินโดยการสังเกตความสามารถในการฝึกการรับมืออารมณ์ทั้ง 3 คือ กลัว เศร้า และโกรธ ที่มีความสัมพันธ์กับการแสดงพฤติกรรมของผู้รับบริการ GAD โดยใช้กิจกรรม “การปฏิบัติภาวนาโดยมีลมหายใจเป็นฐานสมมติตรงลิ้นปี่” ได้แก่

  • ฝึกรับมือกับความกลัวตรงฐานหัวสมอง
    (กังวล งง ยอมตาม สับสน จมอดีต เกรงใจ อาย ฟุ้งซ่าน)
    ให้นั่งหรือยืนหายใจเข้าออกนับหนึ่ง หายใจเข้าออกนับสอง ไปเรื่อยๆ จนถึงสิบ จากนั้นให้นับถอยหลังจากสิบไปหาหนึ่ง ทำซ้ำอีกรอบให้นับขึ้นไปถึงแค่เก้าแล้วย้อนหลับไปหาหนึ่ง ทำซ้ำอีกรอบให้นับขึ้นไปถึงแค่แปดแล้วย้อนหลับไปหา หนึ่ง ทำไปเรื่อยๆ จะหยุดทำเมื่อจิตรับรู้ความสงบ
  • ฝึกรับมือกับความเศร้าตรงฐานหัวใจ
    (เหงา ซึม เฉื่อยชา ง่วงนอน เบื่อ ละอายผิด)
    ให้นั่งหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าทีจะทำได้ แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก ทำซ้ำๆ จนได้เหงื่อแล้วลุกขึ้นสลับทำในขณะยืนจนกว่าจะหายง่วงซึม ต่อด้วยล้างหน้าด้วยน้ำเย็นแล้วเอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งนวดดึงติ่งหูสองข้าง ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ใช้การกล่าวพูดให้กำลังใจตนเอง (self talk) หรือการแผ่เมตตาให้ตัวเองด้วยการสวดมนต์หรือขอพรออกเสียง (metta prayer) เช่น “ขอให้ฉันมีความสุข ขอให้ฉันปราศจากความทุกข์ ขอให้ฉันปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง ขอให้ฉันจงมีความสุขกาย สุขใจ รักษากายวาจาใจให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด” และ/หรือ การทำสมาธิ อธิษฐานในใจว่า “ขอให้ฉันดูแลตัวเองด้วยความรัก เมตตากรุณา สุขสงบ ปลอดภัย” ประกอบเสียงเพลงหรือเสียงสวดมนต์อย่างผ่อนคลาย LKM (Loving Kindness Meditation) แล้วไปนอนพักสักสามนาทีจนถึงไม่เกิน 15 นาที ไม่ควรนอนเวลา 15.00 น. เป็นต้นไปจะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน
  • ฝึกรับมือกับความโกรธตรงฐานหัวหน่าว
    (เกลียด จับผิด สงสัย หงุดหงิด อิจฉา หึง หวง)
    ให้นั่งหรือยืนหายใจเข้าออกลึกๆ สามครั้ง แล้วหายใจเข้า-หายใจออกนับออก เสียงหนึ่ง ทำเช่นนี้ไปจนนับถึงสิบ จากนั้นให้หายใจเข้า-หายใจออกนับเก้า ทำเช่นนี้ ย้อนกลับลงไปถึงหนึ่ง ไปเรื่อยๆ จนรับรู้จิตใจอันสงบเยือกเย็นต่อด้วยการเจริญเมตตา (หรือการรับรู้จิตจอจ่อเพื่อเพิ่มพูนเมตตาปัญญา และมีสมาธิรับฟังเสียงพูดกับ ตัวเองว่า “จงใช้สติคอยระวังไม่ให้โกรธ แม้มีใครพูดจาตำหนิ จะไม่โต้เถียง จะฝึก ความอดทน จะไม่ตายไปขณะจิตกำลังโกรธ” และให้นึกว่า “เขาโกรธเพราะกำลังไม่สบายใจ จะช่วยคนๆ นี้ได้อย่างไร”

สรุปการฝึกฝนดังกล่าวนั้น ให้ใช้ความคิดน้อยๆ คลายอารมณ์ตึงเครียดลบ (emotional distress) หรือ Psychomotor Agitation ในผู้รับบริการ GAD และเพิ่มระดับสติกับสัมปชัญญะให้เกิดการรับรู้ท่ีชัดเจนว่า “ไม่หลงผิด รู้จุดมุ่งหมายให้เกิดความพร้อมในการปรับปรุงตัวเองก่อนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต” ซึ่งการฝึกฝนดังกล่าวยังสามารถประเมินความสามารถในการควบคุมความวิตกกังวลเกินเหตุของผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี หากผู้รับบริการตั้งใจฝึกจิตจินตนาการ (mental practice) อย่างต่อเนื่องจนรับรู้สึกนึกคิดถึงความปรารถนาให้จิตเลือกพฤติกรรมใหม่ (mental rehearsal) เช่น สมองมีสติสัมปชัญญะฝึกจิตจดจ่อจนเกิดสมาธิ ให้สื่อสารร่างกายให้ทำงานได้อย่างผ่อนคลาย ไม่หงุดหงิดง่าย และความวิตกกังวลลดลง แล้วพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของจิตใจและความแข็งแรงของร่างกายได้อย่างสมดุล เช่น ร่างกายทำงานโดยไม่เหนื่อยล้าง่าย ไม่ปวดเมื่อยตึงกล้ามเนื้อ มีความคล่องแคล่วขึ้นเมื่อได้ออกกำลังคิด จิตกายใจ และคิดวางแผนออกแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยบริบทสถานการณ์ชีวิตได้อย่างรอบคอบและยืดหยุ่นในสังคมอนาคตได้

Assignment 10% น.ส.พรพิมล อ่อนคำ 622307 ผู้รับบริการวัย 25 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะซึมเศร้า เนื่องจากตัดสินใจออกจากงานประจำที่ตนทำอยู่ เพื่อออกมาเป็นYoutuber หวังว่าจะทำรายได้จากการทำคลิปออกมาได้เงินมากกว่าที่เคยทำงานประจำ แต่ไม่เป็นอย่างที่หวังไว้ เพราะวีดิโอที่ได้เผยแพร่ไปกลับไม่มีคนให้ความสนใจเท่าที่ควร ทำให้ผิดหวังเป็นอย่างมากและโทษตัวเองเสมอว่าไม่เก่ง ห่วย ไม่สามารถคิดอะไรที่แปลกใหม่หรือสามารถดึงดูดให้คนมาดูได้ คิดลบกับตัวเอง ไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง เครียด หมดหนทาง ผู้รับบริการไม่สามารถกำจัดความเครียดเหล่านี้ได้ จะคิดวนจมกับความเครียดและปัญหาที่มี ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สมองไม่ปลอดโปล่งพอที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ รวมถึงมีความรู้สึกกลัวที่จะเป็นYoutuberต่อไป-มีการสัมภาษณ์เพิ่มเติมว่าผู้รับบริการทำอะไรแล้วรู้สึกผ่อนคลายซึ่งผู้รับบริการบอกว่าชอบทำขนมแต่ทำไม่ค่อยเก่ง ช่วงนี้เลยเลี่ยงที่จะไม่ทำเพราะกลัวแก้ไขปัญหาไม่ได้และกลัวทำออกมาได้ไม่ดีจากความเครียดที่มีอยูู่และภาวะซึมเศร้าที่เป็น จึงจะดูถึงการแก้ไขปัญหาขณะให้ทำกิจกรรมเพราะผู้รับบริการบอกว่าเครียดจนไม่สามารถคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาได้เลย เหมือนกับปัญหาที่เจอจากการทำวีดิโอลงYoutubeของตน-Semi-structure activity คือ 1.ประเมินความกังวลและความเครียดที่มี เพื่อให้รับรู้ถึงระดับของมันก่อน โดยให้วัดชีพจรของตัวเอง ถ้าเต้นเกิน 90ครั้งต่อนาทีแปลว่ากำลังเครียดอยู่มากๆ เมื่อรับรู้แล้วหากชีพจรเต้นเร็ว ให้หายใจออกทางปากยาวๆ นับ 1-10 ทำซ้ำ 5ครั้ง ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยทำให้ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พร้อมทำอย่างอื่นต่อ 2.ใช้การเคาะคลายอารมณ์ลบประเมินว่ามีความกังวัล ความเครียด ความเศร้า และความคิดลบมากแค่ไหน และเพื่อให้รับรู้แล้วผ่อนคลายสิ่งเหล่านั้นออกมา โดยให้ทบทวนความรู้สึกบริเวณศีรษะ กลางอก ท้อง ว่าให้คะแนนความกลัว ความเศร้า ความโกรธ เท่าไหร่จาก0-10 0คือไม่มี 1คือน้อย10 คือมากที่สุด จากนั้นเริ่มต้นเคาะสับสันมือด้านนิ้วก้อยแล้วพูดว่า”แม้เราจะกลัว เศร้า โกรธ เราจะเปิดใจยอมรับและรักตัวเองให้มากๆ”เคาะกลางกระหม่อมด้วยปลายนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย แล้วพูดว่า”แม้เราจะกลัว เศร้า โกรธ เราจะเปิดใจยอมรับและรักตัวเองให้มากๆ” เคาะหัวคิ้วสองข้างด้วยนิ้วชี้กลางสองข้างแล้วพูดว่า “มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ” เคาะกลางอกใต้ต่อกระดูกไหปลาร้าด้วยการแบมือข้างขวา แล้วพูดว่า “เข้มแข็ง เข้มแข็ง เข้มแข็ง” และเคาะข้างลำตัวใต้รักแร้ แล้วพูดว่า“หายโกรธ หายโกรธ หายโกรธ” (ทั้ง 2ข้อนี้อ้างอิงจากบทที่ 4 : ความจริง,แรงพยายาม)3.จากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมทำให้รู้ว่าผู้รับบริการทำขนมแล้วรู้สึกผ่อนคลายแต่เดี๋ยวนี้ไม่ทำแล้วเพราะกลัวแก้ไขปัญหาไม่ได้และกลัวทำออกมาได้ไม่ดีเนื่องจากเครียดและภาวะซึมเศร้าที่เป็น จึงจะให้ผู้รับบริการเลือกขนมที่ไม่เคยทำโดยผู้บำบัดจะมีรายชื่อขนมรวมถึงสูตรมาให้แต่เป็นขนมที่ไม่ยากและซับซ้อนมาก โดยจะใช้เพื่อประเมินถึงการแก้ไขปัญหาว่าผู้รับบริการจะมีท่าทีเครียดหรือกังวลมากน้อยเพียงใดเมื่อเจอปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะทำ และสามารถกำจัดอารมณ์เหล่านั้นแล้วแก้ไขปัญหาได้หรือไม่เพราะเป็นขนมที่ตัวเองไม่เคยทำ อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หรืออาจมีสิ่งที่ใหม่ๆให้ผู้รับบริการต้องเรียนรู้ว่าตัวเองจะทำอย่างไรเพื่อให้มันสำเร็จ ซึ่งเมื่อผู้รับบริการไม่กล้าที่จะทำยังกลัวอยู่ ให้ผูู้บำบัดพูดเสริมไปว่าให้ลองทำดูก่อน ค่อยๆทำ ทำออกมาไม่ได้ตามที่หวังก็ไม่เป็นไร ซึ่งกิจกรรมนี้ทำเพื่อให้ผู้บำบัดได้สังเกตถึง process skills ตรวจสอบสภาพจิตในการทำ ความมั่นใจในการทำ รวมถึงสีหน้าท่าทางแสดงถึงความเครียดและความกังวลมากน้อยเพียงใด วิเคราะห์ความสามารถในการทำใช้เวลาเหมาะสมหรือไม่ คิดลบและหมกมุ่นว่าตัวเองจะทำไม่ได้หรือไม่รวมถึงดูถึงการแก้ปัญหา ให้ผู้รับบริการได้บอกว่าตนได้เรียนรู้อะไรจากการได้ลองทำขนมที่ไม่เคยทำ และได้ขจัดความเครียด ได้ผ่อนคลายแล้วแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นออกมาได้อย่างไรบ้าง ให้ผู้รับบริการลองชื่นชมตัวเองและผลงานของตน (อ้างอิงจากบทที่ 5 : ความเข้าใจ)

ผู้นำเสนอ : นิชาภา ฤชุทัศน์สกุล 6223011 นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่2 (Assignment 10%)โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) : ผู้รับบริการหญิง อายุ 29ปี โสด อาศัยอยู่คนเดียว มีอาการอยู่ในระยะคลั่ง (Mania episode)ติดกัน 5 วันต่อสัปดาห์ โดยมีอาการกระวนกระวาย หุนหันพลันแล่น หงุดหงิด ขาดสมาธิได้ง่าย(distractibility)ทำให้มีความยากลำบากมากในการทำงานแบบ Work from home ในช่วงสถานการณ์โควิด19 ส่งงานไม่ทันกำหนด เพื่อนร่วมงานเริ่มตีตัวออกห่าง เนื่องจากมีบุคลิกภาพแบบ Grandiosityโดยไม่รู้ตัวและมีนิสัยชอบโทรหาเพื่อนทุกวัน หลายครั้งในบางวัน เมื่อเพื่อนเริ่มตัดการติดต่อกับเธอ และหัวหน้างานต่อว่าเรื่องการส่งงานที่ล่าช้า เธอรู้สึกเศร้าอย่างมาก (Depressive epispde) ขาดแรงจูงใจนการทำสิ่งต่างๆอยากนอนอย่างเดียว ไม่อยากตื่น เบื่ออาหาร รู้สึกแย่กับการกระทำของตนเองที่โทรไปหาเพื่อนทุกวันก่อนหน้านี้ รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่าเนื่องจากโดนหัวหน้าตำหนิ เธอเริ่มทำร้ายตัวเองด้วยการเอาคัตเตอร์มากรีดแขนตนเอง เริ่มจึงมาขอคำปรึกษาจากนักกิจกรรมบำบัด เพราะต้องการที่จะยังทำงานเลี้ยงชีพตนเองอยู่ แต่ไม่รู้จะจัดการกับความรู้สึกด้อยค่าในตัวเองอย่างไรและยังไม่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ก่อนเริ่มประเมิน : - สังเกตสีหน้า ท่าทางการนั่ง- ปรับสิ่งแวดล้อมให้ผู้รับบริการรู้สึกผ่อนคลาย ไม่กดดันเริ่มประเมิน :- จัดท่าคนไข้ให้อยู่ในท่าตรง คอ หน้าตรง ผ่อนคลาย- สัมภาษณ์ความต้องการของผู้รับบริการ (ได้ข้อมูลที่อยู่ข้างต้น) - ทำการปรับอารมณ์บวก โดยการวัดชีพจรและอัตราการหายใจของตนเอง ถือว่าเป็นวิธีคลายเครียดที่ดีที่สุดในโลก [อ้างอิงจากบทที่4 หัวข้อ1.วัดใจตัวเอง] และแปรผล หากเต้นเร็วกว่า 90 BPM. แสดงว่าร่างกายเครียดมาก ให้นั่งพัก 5นาที แล้ววัดอีกครั้ง- สอนการใช้เทคนิคการหายใจแบบ 4-7-8 [อ้างอิงจากบทที่4 หัวข้อ4.4] โดยเอาลิ้นแตะเพดานบนแล้วปิดปากนิ่งไว้ หายใจเข้าออกตามธรรมชาติ หายใจเข้าให้ลมค้างไว้ที่หน้าอก นับ1-4 กลั้นไว้ให้ลมมาที่ท้อง นับ1-7ในใจ แล้วเป่าลมออกทางปากยาวๆ นับในใจ1-8โดยแนะนำให้ทำช่วงตื่นนอน ไม่ควรเกิน 4 รอบ- สอบถามถึงสิ่งที่สนใจ ถามหา interest จากผู้รับบริการ : ชอบการวาดรูป doodle แต่ไม่ได้ทำมาสักพักแล้วเนื่องจากงานหนักและอาการของโรคอารมณ์สองขั้ว[ อ้างอิงจากบทที่ 3 หัวข้อ3.4 ปัจจุบันขณะ ] การบ่มเพาะนิสัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้พฤตินิสัย+การฝึกฝนนิสัยดีใหม่พื่อลดนิสัยแย่ๆ+การฟื้นฟูนิสัยใหม่ โดยมีเป้าหมาย ได้แก่ การรับรู้การปรับเปลี่ยนอารมณ์ได้อย่างมีสติ, การแยกแยะความคิดของคนรอบข้าง(เอาใจเขามาใส่ใจเรา)ต่อมานักกิจกรรมบำบัดสามารถประเมินผ่านกิจกรรมต่างๆโดยจะมีบทบาทในการเพิ่มโอกาสและตัวเลือกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้รับบริการสนใจ คือ การวาดภาพ แต่เราจะให้ผู้รับบริการวาดภาพอย่างมีเป้าหมาย โดยการให้วาดภาพตนเอง เพื่อประเมินการรับรู้ตัวเองของผู้บริการว่ามุมมองต่อตนเองอย่างไรนอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทเพิ่มพลังชีวิตในการกำหนดเป้าหมาย เพิ่มการตระหนักรู้ถึงทักษะและความสามารถของผู้รับบริการ ดังนั้นจึงต้องนำสิ่งที่ผู้ป่วยสนใจมาประยุกต์ ปรับให้เข้ากับความต้องการที่จะะกลับไปทำงานได้ โดยการแนะนำให้จัดทำ checklist / To-do list แบบรายวัน จะเริ่มสอบถามว่าผู้รับบริการมีความรู้จัก To-do list มากน้อยแค่ไหน หากไม่รู้จักเลยก็อธิบายลักษณะ และ หาตัวอย่างมาให้ดู หากผู้รับบริการมีความสนใจที่จะทำ ก็แนะนำให้จัดทำขึ้นด้วยตัวเอง เพราะจะได้ฝึกผ่านการเขียน การใช้สหสัมพันธ์ของตาและมือ การได้ฝึกสมาธิให้จดจ่อ มีการวางแผนลำดับความสำคัญ และยังได้ใช้พื้นที่ว่างบนกระดาษในการวาดภาพตามความสนใจของผู้รับบริการด้วย แต่หากผู้รับบริการมีระดับความสนใจต่ำ นักกิจกรรมบำบัดอาจจะแนะนำเป็นรูปแบบแอพพลิเคชั่นเพื่อความสะดวกสบายมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถตั้งเตือนอัติโนมัติได้ / อีกทั้งสอนทักษะการ Grade down กิจกรรม เช่น หากงานที่ได้รับมอบหมายมีมากเกินไป ก็แนะนำวิธีการซอยย่อยงาน ทำทีละน้อยแต่ทำบ่อยๆ แล้วค่อยๆเพิ่มความท้ายทาย เป็นการเพิ่มระยะเวลาในการจดจ่อมากขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เน้นการติดตามงานอยู่สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้งานถูกละเลยเมื่อถูก distracted จากสิ่งแวดล้อมอื่น

จากกรณีศึกษาข้างต้น ผู้นำเสนอเลือกประยุกต์การประเมินตามหลักการกิจกรรมบำบัดการดำเนินชีวิตจิตเมตตา บทที่ 3 คือ “SELF CARE” หรือ “การดูแลตน” ที่เปรียบการปรับพฤตินิสัยเหมือนการดูแลตนเอง ผ่านการรู้จักนิสัยที่ไม่ดีและดีของตนเองแล้วปรับเปลี่ยนนิสัยใหม่ให้แสดงบทบาทของชีวิต ให้คิด พูด ทำ เหมาะสมกับวุฒิภาวะและทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตบนความเป็นนายแห่งตน ด้วย Therapeutic habituation ทั้ง 4 ได้แก่ 1. การรู้แจ้ง เรียนรู้อย่างมีสติ (insight) 2.การอยู่ไม่ว่าง (occupying) อยู่อย่างมีสติ mindful doing 3.การอยู่แบบปัจจุบันขณะ (now) ปรับตัวอยู่บนความจริงได้อย่างลุ่มลึก มีเหตุผล 4. การเป็นอยู่ปัจจุบัน (actuality) อยู่อย่างไม่ยึดติด ลดอัตตา เนื่องจากกรณีศึกษามีภาวะ occupational imbalance อย่างเด่นชัด ในระยะคลั่งก็มีพลังล้นเกินไป ความคิดโลดแล่นจนไม่อยู่กับปัจจุบัน ขณะที่ระยะซึมเศร้าก็ไร้ซึ่งพลังในการทำกิจกรรมและยึดติดกับสิ่งที่เป็นอดีต จนกระทบไปยังกิจกรรมการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ ด้วยเหตุนี้ผู้นำเสนอจึงเห็นว่าการปรับพฤตินิสัยให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ทันตนเองในปัจจุบันจะมีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถให้ผู้รับบริการในด้านself-managementได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของผู้รับบริการได้ในที่สุด

ขอบพระคุณค่ะ

Assignment 10% นายซอฟฟา สาและ 6223001 [อ้างอิงจากบทที่3:พฤตินิสัยเพื่อการบำบัด]Semi-structured Activity กับการประเมินกิจกรรมการดําาเนินชีวิตจิตเมตตานําพาสุขภาวะเปรียบเสมือน “การดูแลตน” รู้จักนิสัยที่ไม่ดีและดีของตนเอง แล้วปรับเปลี่ยน นิสัยใหม่ให้แสดงบทบาทชีวิตของตัวเองให้คิด พูด ทํา อย่างเหมาะสมกับวุฒิภาวะของความเป็น “นาย แห่งตน” ในการทำ กิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างความเหมาะสมในกลุ่มภาวะโรคอารมณ์สอง(Bipolar Disorder) ที่มีอาการMania อย่างน้อย 4 อาการ คือสนุก/หงุดหงิดทั้งวัน ทุกวัน 1 wk ,Grandiosity,นอน 3 ชม. ก็อิ่มแล้ว,พูดไม่หยุด พูดมากกว่าปกติ,Flight of idea,DistractibilityมีอากรHypomania มี Mania นาน 4 วันมีPsychomotor agitation คือ กระวนกระวาย,พลุ่งพล่าน,มีกิจกรรมมากไปMDD อาการที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างน้อย 5 อาการ เช่น เศร้าทั้งวันเกือบทุกวัน,ตนเองรู้สึกและคนอื่นเห็นกว่า 2 wks,ไม่สนใจทำสิ่งที่เคยทำกว่า 2 wks,น้ำหนักลดลง/เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้คุม/เพิ่มมากกว่าร้อยละ, เบื่ออาหาร/อยากอาหาร,นอนไม่หลับ/หลับมากเกือบทุกวัน,ทำอะไรช้า/อยู่ไม่สุขเกือบทุกวัน,เหนื่อยอ่อนเพลีย/ไม่มีแรงเกือบทุกวัน,รู้สึกไร้ค่า/รู้สึกผิดมากไปเกือบทุกวัน,สมาธิตัดสินใจลดลงเกือบทุกวัน,คิดเรื่องตายซ้ำ ๆ,พยายามทำร้ายตนเอง/มีแผนที่จะทำโดยพัฒนาปัญญา 4 ส่วน เพื่อจัดการปัญหาในขาดการปรับตัวต่อกิจกรรมการดําาเนินชีวิต ดังนี้

1.การรู้แจ้ง : กระบวนการสร้างปัญญารอบรู้ความจริง (wisdom) ด้วยความตั้งใจเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยรับฟังเสียงภายในใจอย่างลึกซึ้ง ใช้สติกับสมาธิ ฝึกฝนทําากิจกรรมการดําาเนินชีวิต และต่อยอดทักษะการคิดเกี่ยวกับการคิดของตนหรืออภิปัญญา (metacognitive skills)>Semi-structured Activity :โดยใช้Group therapy กลุ่มบำบัด เป็นการเรียนรู้สือสารกับสังคมรอบตัวได้รู้เท่าทันอารมณ์จากลบให้เป็นบวก สะท้อนความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใหม่อย่างมีสติตั้งใจฝึกทักษะการให้เหตุผลรอบด้าน (integrative reasoning skills) ด้วยการสะท้อน คิดเชื่อมความสัมพันธ์อย่างตั้งใจ (reflective intentional relationship) ร่วมกับ กลุ่มเพื่อนที่มีความหวังดีมีความเห็นอกเห็นใจเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่ม เกิดการเรียนรู้แบบใหม่ ได้เห็นแบบอย่างที่ดี เปลี่ยนแปลงความคิด เจตคติ และมีทักษะในการดำเนินชีวิตที่ดี>จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดเกิดการรู้แจ้งสะท้อนคิดถอดบทเรียน แล้วย้อน กลับมาทบทวน เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองด้วยความคิดบวก อารมณ์ดีมีสติ และเป็นพลเมืองดี มีสุขภาวะผู้นํา เกิดสุนทรียการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทําาให้เกิดการอารมณ์ร่วมทุกข์ร่วมสุขจนประสบความสําาเร็จในแก้ไขปัญหาและเรียนรู้ “ความจริงของชีวิต”>การประยุกต์ : 1.การปรับนิสัยเป็นผู้ฟังที่เปิดใจ (open-minded listener) 2.การเฝ้าสังเกตหยั่งรู้อ่านใจผู้พูด (open-hearted listener) 3.การกลับเข้ามาสะท้อนจิตภายในตัวผู้ฟัง (open-willed listener)

2.การอยู่ไม่ว่าง : การดําารงอยู่อย่างมีสติ (mindful doing) เพื่อสำรวจร่างงกายให้เกิดการผ่อนคลายก่อนทำกิจกรรมเสริมสร้างทางปัญญา>Semi-structured Activity : โดยใช้ กิจกรรมสิ่งสำคัญในอดีตและอีก5ปีข้างหน้า ให้หากระดาษกับดินสอ เขียนสิ่งที่สำคัญๆเหตุการณ์ที่ประทับใจในอดีตและเขียนวางแผนอนาคตว่าอีก5ปีข้างหน้าเราจะทำอะไรอย่างไร ดูสิ่งอยากทำหรือต้องทำอะไรบ้าง แล้วแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้สึกต่อเพื่อน หรือผู้บำบัด>จุดมุ่งหมาย : จุดมุ่งหมายให้เกิดความภาคภูมิใจในขณะทําากิจกรรรมคุณคือใคร เพราะทําให้เห็นเป้าหมายที่แท้จริงของการกระทําาด้วยตัวฉันเอง ตัวคุณเอง และตัวพวกเราเอง ต่อด้วยการบอกเล่าต่อกันและกัน>การประยุกต์ : ตั้งเป้าหมายให้ผู้รับบริการฝึก การควบคุมพฤติกรรมของตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป (graded exposure) ด้วยการปรับกิจกราม การดําาเนินชีวิต จากรูปแบบกึ่งโครงสร้างสู่ไร้โครงสร้างหรืออิสระ โดยสังเกตและประเมินซ้ำด้านสมรรถนะความเชื่อมั่นที่การตระหนักรู้ พร้อมวางแผนให้บรรลุเป้าหมาย ระยะส้ันให้มีทัศนคติคิดบวกมีการฝึกฝนนิสัยดีใหม่ ปรับเปลี่ยนไปมาตามลําาดับของระดับการรู้สติ ประกอบด้วย กล้าหาญ เป็นกลาง เต็มใจ ยอมรับ เหตุผล ความรัก รื่นเริง สันติ และเห็นความเป็นจริง

3.ปัจจุบันขณะ : วิธีการบ่มเพาะนิสัยที่มีความสัมพันธ์ กันในทางการบําาบัดฟื้นฟูผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม ประกอบด้วย การรับรู้พฤตินิสัย,การฝึกฝนนิสัยใหม่,การฟนื้ฟนูสิยัใหม่>Semi-structured Activity : โดยการใช้ กิจกรรมยามว่างหรืองานอดิเรกที่ชอบ (Leisure Exploration & Participatio) ใช้เวลาว่างดูแลตนเอง ใช้ทักษะทำกิจกรรมที่เน้นร่างกาย ทักษะที่เน้นการรับรู้ทางการมองเห็น ทักษะที่เน้นความจำ ทักษะที่เน้นจัดการความคิดของตนเอง ทักษะที่เน้นจัดการความล้าและความเครียด เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ได้สำรวจทำกิจกรรมยามว่าง ทบทวนตนเอง มีความมั่นใจกล้าที่จะทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น ก้าวข้ามภาวะอารมณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดหรือกังวลได้>จุดมุ่งหมาย : เพื่อฝึกฝนรับรู้นิสัยที่ดีตามการแสดงบทบาทชีวิตให้มีคุณค่ามากขึ้น เช่น รู้สึกแยกแยะความคิดบวกลบของผู้คนรอบตัว รับรู้ปรับเปลี่ยนอารมณ์อย่างมีสติ ปรับลดนิสัยเห็นแก่ตัวผ่านการทํากิจกรรมการดําาเนินชีวิตกิจกรรมยามว่าง จิต เมตตา และส่งเสริมสุขภาวะจิตสังคมด้วย “ความเป็นนายแห่งตนบนนิสัยเห็นใจผู้อื่น (altruistic mastery)>การประยุกต์ :เพิ่มโอกาสและตัวเลือกของการทํากิจกรรมการดําเนินชีวิต เพิ่มพลังชีวิตในการกําาหนดเป้าหมาย เพิ่มการตระหนักรู้ถึงทักษะและความสามารถ ให้ความท้าทาย เพื่อทําากิจกรรมการดําาเนินชีวิตที่จัดการสิ่งแวดล้อมทางสังคมได้ กําาลังทําาสิ่งที่มีความหมาย ช่วยสนับสนุนความจําเป็นที่ทำสิ่งนี้ให้มีความเป็นอยู่ดี นําพาสุขภาวะที่ดี

4.เป็นอยู่ปัจจุบัน :การพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ให้ฝึก ทักษะการแก้ไขปัญหาชีวิตด้วยการดึงปฏิภาณไหวพริบจากภายในให้แสดงออกมาสู่การมีปฏิสันถารสู่ภายนอก (inside out) เพื่อนําาพาการเกิดปฏิสังขรณ์ปัจจัยที่เป็นเหตุแห่งปัญหาชีวิตให้ร่วมแรง ร่วมใจปฏิกรรมสู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะทางจิตสังคมทั้งตัวเองและผู้อื่น (outside in)ด้วยการฝึกสติเพื่อความรักความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเองด้านบุคลิกภาพของตัวเองพร้อมกับการรับรู้สภาวะจิตที่มีสติแห่งตน (self-conscious) โดยไม่เก็บตัวครุ่นคิด-ไม่หมกมุ่นหมดหวัง- ไม่ตัดสินวิจารณ์-ไม่ยืดหยุ่นเกินพอดี>Semi-structured Activity : โดยใช้กิจกรรมที่มีขั้นตอนมากขั้น คือ กิจกรรมทำอาหาร ช่วยให้เป็นการโฟกัสกับปัจจุบัน กระบวนการปรุงอาหารที่ดี จะช่วยบำรุงจิตใจและสติของเราได้ เพราะการทำอาหาร เราจำเป็นจะต้องโฟกัสช่วงเวลาตรงหน้าหรือสิ่งที่กำลังทำอยู่ ทำให้ไม่เผลอเคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในอดีต หรือปัญหาในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งการมีสติจะช่วยลดความเครียดและความกังวลให้กับจิตใจได้ ช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ จนเมื่อทำออกมาสำเร็จ ก็เกิดเป็นความภาคภูมิใจต่อตัวเอง หรือก็คือได้ self-esteem เพิ่มขึ้นตามมาอีกที และยังช่วยกระชับความสัมพันธ์กับสมาชิกกลุ่มด้วย>จุดมุ่งหมาย :การพัฒนาบุคลิกภาพด้วยการฝึกกิจกรรมเพิ่มพูน 1) ทักษะการใช้ชีวิตด้วยความคิดยืดหยุ่น 2)ทักษะปัญญาเมตตาหรือใช้ความมรู้สคำเห็นอกเห็นใจอยากช่วยผู้อื่น 3) ทักษะกล้าตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์ตึงเครียด >การประยุกต์ :ต้องเปิดโอกาสให้ฝึกทักษะคิดตัดสินใจในการทำงานด้วยความหลากหลายของบุคลิกภาพ กำหนดขอบเขตของการทำงานที่ท้าทาย และส่งเสริมให้มีโอกาสเลือกกิจกรรมที่สร้างความผ่อนคลาย ตรงข้ามกับงานประจำ กิจกรรมกลางแจ้งที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ถ้างานประจำต้องให้บริการผู้อื่น ยามว่างควรไปรับบริการจากผู้อื่นบ้าง ส่งเสริมการพูดอย่างสร้างสรรค์เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ชมเชย ให้กำลังใจและประสานความเข้าใจกันกับผู้ร่วมงาน จะช่วยให้รู้สึกมีความสุขในการทำงานเมื่อมีผู้คอยให้กำลังใจ ช่วยปรับเปลี่ยนความคิดเรื่องดีๆ ไม่หมกมุ่นกับตัวเองมากเกินไปและคิดถึงคนอื่นบ้าง จะทำให้มีจิตใจเข้มแข็งช่วยให้สามารถเรียนรู้ต่อสู้กับอุปสรรคได้เป็นอย่างดี

Assignment 10% นส.มุทิตา โพธิรัตน์ 6223013เพื่อผู้รับบริการในประเภทของภาวะซึมเศร้าในรูปแบบของการคิดไปเอง ไม่มีจริง ในลักษณะSocial phobia มีอาการสำคัญคือ กลัวที่จะถูกประเมินคิดลบ,กลัวในขณะสนทนา/พบผู้คนไม่คุ้นเคย/พูดต่อหน้ากลุ่มคน/กินอาหารร่วมกับคนอื่น โดยที่มีอาการตั้งแต่1สถานการณ์ขึ้นไป

Semi-structured activity: เลือกใช้กิจกรรมการฝึกการรับรู้อารมณ์ (อ้างอิงจากบทที่ 2 ในหัวข้อที่ 2.2.3) ได้แก่ 1. รับมือกับความกลัวตรงฐานหัวสมอง(กังวล งง ยอมตาม สับสน จมอดีต เกรงใจ อาย ฟุ้งซ่าน)ให้นั่งหรือยืนหายใจเข้าออกนับหนึ่ง หายใจเข้าออกนับสอง ไปเรื่อยๆ จนถึงสิบ จากนั้นให้นับถอยหลังจากสิบไปหาหนึ่ง ทำซ้ำอีกรอบให้นับขึ้นไปถึงแค่เก้าแล้วย้อนหลับไปหาหนึ่ง ทำซ้ำอีกรอบให้นับขึ้นไปถึงแค่แปดแล้วย้อนหลับไปหา หนึ่ง ทำไปเรื่อยๆ จะหยุดทำเมื่อจิตรับรู้ความสงบ2. รับมือกับความเศร้าตรงฐานหัวใจ(เหงา ซึม เฉื่อยชา ง่วงนอน เบื่อ ละอายผิด)ให้นั่งหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าทีจะทำได้ แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก ทำซ้ำๆ จนได้เหงื่อแล้วลุกขึ้นสลับทำในขณะยืนจนกว่าจะหายง่วงซึม ต่อด้วยล้างหน้าด้วยน้ำเย็นแล้วเอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งนวดดึงติ่งหูสองข้าง ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ใช้การกล่าวพูดให้กำลังใจตนเอง (self talk) หรือการแผ่เมตตาให้ตัวเองด้วยการสวดมนต์หรือขอพรออกเสียงและ/หรือ การทำสมาธิ อธิษฐานในใจว่า “ขอให้ฉันดูแลตัวเองด้วยความรัก เมตตากรุณา สุขสงบ ปลอดภัย” ประกอบเสียงเพลงหรือเสียงสวดมนต์อย่างผ่อนคลาย LKM (Loving Kindness Meditation) แล้วไปนอนพักสักสามนาทีจนถึงไม่เกิน 15 นาที ไม่ควรนอนเวลา 15.00 น. เป็นต้นไปจะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน

ประโยชน์ของกิจกรรม: รู้เพื่อการบําาบัดมุ่งหวังให้ผู้รับบริการได้ฝึกคิดปรับทัศนคติและความเชื่อเพื่อเปลี่ยนการรับรู้สิ่งที่ดีงามของสมองและร่างกายได้ ให้ได้วางแผนออกแบบกิจกรรมดำเนินชีวิตได้อย่างรอบคอบและยืดหยุ่นในสังคมอนาคนได้

Assignment 10% นส.มุทิตา โพธิรัตน์ 6223013เพื่อผู้รับบริการในประเภทของภาวะซึมเศร้าในรูปแบบของการคิดไปเอง ไม่มีจริง ในลักษณะSocial phobia มีอาการสำคัญคือ กลัวที่จะถูกประเมินคิดลบ,กลัวในขณะสนทนา/พบผู้คนไม่คุ้นเคย/พูดต่อหน้ากลุ่มคน/กินอาหารร่วมกับคนอื่น โดยที่มีอาการตั้งแต่1สถานการณ์ขึ้นไป

Semi-structured activity: เลือกใช้กิจกรรมการฝึกการรับรู้อารมณ์ (อ้างอิงจากบทที่ 2 ในหัวข้อที่ 2.2.3) ได้แก่ 1. รับมือกับความกลัวตรงฐานหัวสมอง(กังวล งง ยอมตาม สับสน จมอดีต เกรงใจ อาย ฟุ้งซ่าน)ให้นั่งหรือยืนหายใจเข้าออกนับหนึ่ง หายใจเข้าออกนับสอง ไปเรื่อยๆ จนถึงสิบ จากนั้นให้นับถอยหลังจากสิบไปหาหนึ่ง ทำซ้ำอีกรอบให้นับขึ้นไปถึงแค่เก้าแล้วย้อนหลับไปหาหนึ่ง ทำซ้ำอีกรอบให้นับขึ้นไปถึงแค่แปดแล้วย้อนหลับไปหา หนึ่ง ทำไปเรื่อยๆ จะหยุดทำเมื่อจิตรับรู้ความสงบ2. รับมือกับความเศร้าตรงฐานหัวใจ(เหงา ซึม เฉื่อยชา ง่วงนอน เบื่อ ละอายผิด)ให้นั่งหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าทีจะทำได้ แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก ทำซ้ำๆ จนได้เหงื่อแล้วลุกขึ้นสลับทำในขณะยืนจนกว่าจะหายง่วงซึม ต่อด้วยล้างหน้าด้วยน้ำเย็นแล้วเอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งนวดดึงติ่งหูสองข้าง ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ใช้การกล่าวพูดให้กำลังใจตนเอง (self talk) หรือการแผ่เมตตาให้ตัวเองด้วยการสวดมนต์หรือขอพรออกเสียงและ/หรือ การทำสมาธิ อธิษฐานในใจว่า “ขอให้ฉันดูแลตัวเองด้วยความรัก เมตตากรุณา สุขสงบ ปลอดภัย” ประกอบเสียงเพลงหรือเสียงสวดมนต์อย่างผ่อนคลาย LKM (Loving Kindness Meditation) แล้วไปนอนพักสักสามนาทีจนถึงไม่เกิน 15 นาที ไม่ควรนอนเวลา 15.00 น. เป็นต้นไปจะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน

ประโยชน์ของกิจกรรม: รู้เพื่อการบําาบัดมุ่งหวังให้ผู้รับบริการได้ฝึกคิดปรับทัศนคติและความเชื่อเพื่อเปลี่ยนการรับรู้สิ่งที่ดีงามของสมองและร่างกายได้ ให้ได้วางแผนออกแบบกิจกรรมดำเนินชีวิตได้อย่างรอบคอบและยืดหยุ่นในสังคมอนาคนได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท