12 อรหันต์ ขันอาสา พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากภาคใต้ โดยใช้เครื่องมือ CBMC


12 คน กับภาระกิจงานทั้งภาคใต้ ถ้าไม่ใช่ระดับ อรหันต์ ทำงานไม่ได้ ทำงานชุมชนต้องใช้ใจ ไม่ใช่ระบบสั่งการ รู้ เข้าใข ใช้คนเป็นงานถึงจะสำเร็จกิจการ แต่ใช่จะเสร็จภาระกิจ เพราะธุรกิจชุมชน ต้องอาศัย กำลังคน กำลังเงิน กำลังใจ Empathy เพราะคนไม่ใช่เครื่องจักร จึงต้องการความรักและเอาใจใส่......

g;mury<okz^hoe [^iIkdkidy[g;mugLiK{db0c]tm6o=6,=o

นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พอช. เคาะคำสั่งแต่งตั้ง คณะทำงานพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนภาคใต้ ปี 2564 

มีดร. วิริยะ แต้มแก้ว เป็นที่ปรึกษา 

นายสะะแอ สามารถ จากสถาบันองค์กรการเงินชุมชนภาคประชาชน คนอาวุโสด้านพัฒนาระบบและทุนชุมชนคนคลองต่อรัติภูมิ เป็นที่ปรึกษาร่วม

นายนเรศ หอมหวล ผู้นำองค์กรชุมชน คนทำธุระกิจเรื่อง อุง (ชันโรง) นี่งหัวโต๊ะ

นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัล ภาคใต้ ตอนล่าง คณะทำงาน

นาย ณรงค์ คงมาก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน  คณะทำงาน  

นายไสว แสงสว่าง ผู้นำองค์กรชุมชนคนเก่งเรื่องเศรษฐกิจต้นไม้ จากอ่าวไทย คณะทำงาน 

นางรมืตา สารสิทธิ์ ผู้แทนโซนอ่าวไทย มีตลาดที่ไหน พบกะเสาะอาหารทะเลจากลิบงที่นั้น

นาย มะเยะ แดเมาะ ผู้แทนโซน 3จังหวัดชายแดรใต้ ขายการท่องเที่ยว บูนาดารา 

นายเจต์ มาหะมะ ผู้แทนอายุน้อย ร้อยล้านผ่านประสบการณ์ขายอายุน้อย 

นางนิรมล ทองคำ เลขาประชารัฐพัทลุง คณะทำงาน เลขาร่วม

นางสาว อรุณ ไชยเต็ม  ปก(เจ้าหน้าที่ปฎิบัติการชุมชน อาวุโส พอชสำนักงานภาคใต้ เลขาร่วม

นายอรุณ หวังหมัด ปก. (เจ้าหน้าที่ปฎิบัติการ อาวุโส สำนักงานภาคใต้ เลขาร่วม

ตามสูตร สองเจ็ดสามคือ ที่ปรึกษา2 ท่าน คณะทำงาน7คน เลขาร่วม 3คน บทบาทหน้าที่ยิ่งใหญ่ ในการกำหนดแนวทาง วางแผนสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจและการจัดการทุนชุมชน 

ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนา พื้นที่ปฎิบัติการงานเศรษฐกิจภาคใต้ 

ส่งเสริม เชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรชุมชนที่ดำเนินการธุระกิจ  ว่าด้วยการผลิต การแปรรูป การตลาด การท่องเที่ยวโดยชุมชน และนวัติกรรม ทำหน้าที่ประสานงานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง 

ให้ข้อเสนอแนะ ต่อสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  (พอช) และทำหน้าที่อื่นตามที่ พอช มอบหมาย..........ภายใต้ ภาระกิจตามกรอบงบประมาณพื้นืั่ 9,000,000 บาท 3งานหลักของภาคใต้ให้เกิดผลสัมฤทธิ  คือ

ตำบลธุระกิจ  80 พื้นที่ 

ตำบลต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง 100  พื้นที่

เชื่อมโยง เครือข่ายธุระกิจ  14 พื้นที่........

12 คน กับภาระกิจงานทั้งภาคใต้ ถ้าไม่ใช่ระดับ อรหันต์ ทำงานไม่ได้  ทำงานชุมชนต้องใช้ใจ ไม่ใช่ระบบสั่งการ รู้ เข้าใข ใช้คนเป็นงานถึงจะสำเร็จกิจการ แต่ใช่จะเสร็จภาระกิจ เพราะธุรกิจชุมชน ต้องอาศัย กำลังคน กำลังเงิน กำลังใจ 

Empathy เพราะคนไม่ใช่เครื่องจักร จึงต้องการความรักและเอาใจใส่......

ทำให้เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนคนเล็กคนน้อยทำธุระกิจด้วยหนึ่งสมองสองมือ ภายใต้ครอบครัว ปัจจัยการผลิต 3 พี่น้อง ธรรมชาติ  มนุษย์ และทุนเดินได้ด้วยตัวเองอย่างมั่นคง ซึ่งคงต้องอาศัยพี่เลี่ยงCBMCในการลงพื้นที่12 อรหันต์ เศรษฐกิจภาคใต้ ต้องงัด เคล็ดวิชากำลังภายในมาใช้ทุกรูปแบบในโครงการ ขาขึ้นเป็นการติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูต้อง.....

บ้าน วอญ่า 11 กุมภาพันธ์ 2564 

03.00 น.


ดร
ดร.ช้าง สุพัฒนพงศ์ แย้มยิ้ม คณะทำงานกลั่นกรองโครงการ พอชภาคใต้ สายวิชาการที่เข้มแข็ง

จามหวิทยาลัยราชภัฏสุราษธานี

หมายเลขบันทึก: 688884เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2021 03:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2021 03:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท