919. ค้นหาตัวตนด้วยทฤษฎีตัวยู (Theory U) ...แรงบันดาลใจจากสารคดี “My Octopus Teacher”


บทความ โดย ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ Theory U Thailand

เรื่องนี้ดูจาก Netflix เป็นหนังสารคดี ที่พูดถึงผู้กำกับหนังคนหนึ่งที่หมดไฟในชีวิต ไม่รู้ว่าจะทำงานไปทำไหม อยู่ไปเพื่ออะไร เกิดความเครียด จนครอบครัวเองเป็นห่วง เลยถือโอกาสหยุดพักงานเพื่อค้นหาตัวเอง ด้วยความที่ชอบดำน้ำลึก เลยไปที่อาฟริกาใต้ บังเอิญไปดำน้ำในที่แห่งหนึ่งซึ่งข้างใต้เป็นป่าสาหร่าย ดำทุกวันอย่างไร้จุดหมาย แต่ก็เริ่มเห็นความงามใต้ท้องทะเล และไปเจอเจ้าปลาหมึกสายตัวน้อย 

ด้วยความสนใจ เขาเริ่มไปหามันทุกวัน สังเกตพฤติกรรม จากที่มันระแวงเขาก็เริ่มคุ้นเคย เหมือนกลายเป็นเพื่อนกัน เขาก็ลงไปทุกวันจนเกือบปี ในปีนั้นเขาเห็นความเปลี่ยนแปลงการดิ้นรนเอาชีวิตรอด ถึงขั้นลงมืออ่านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็มีอะไรหลายเรื่องที่เขาเจอนอกเหนือจากที่ค้นคว้ามา เช่นเจอมันเล่นกับฝูงปลาได้ด้วย และค้นพบว่ามันฉลาดมากๆ มีต่อหนึ่งมันเจอปลาฉลามล่า มันก็หลบไปขี่หลังฉลามซะเลย 

ที่ผมชอบที่สุดคือในตอนท้ายที่เขาบอกว่า “เธอสอนผมว่าผมเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ไม่ใช่แค่ผู้เยี่ยมเยือน” “เขากับเพื่อนเกิดแรงบันดาลใจตั้ง Sea Change Project ชุมชนนักดำน้ำที่มีปณิธานว่าจะปกป้องป่าสาหร่ายทะเลไปชั่วชีวิต”

นี่เองที่เขาค้นพบตัวเอง 

สำหรับผมบอกเลยถ้าคุณดูสารคดีมหัศจรรย์เรื่องน้ี คุณอาจอยากเลิกกินปลาหมึกแน่ เพราะจริงมันน่ารักยังกับลูกหมา 

อีกเรื่องหนึ่งผมนึกถึงหนังสือสองเล่มคือ เล่มแรก Reinventing Organizations ชายผู้นี้ค้นพบจุดประสงค์ในชีวิต หรือ ปณิธาน (Purpose) และสร้างองค์กรที่มีจุดประสงค์ที่ดีงาม (Noble Purpose) องค์กรแบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทำให้โลกดีขึ้น น่าอนุโมทนา 

แล้วเขาทำอย่างไร ถึงค้นพบ Purpose ในหนังสือเล่มนี้บอกว่าการค้นหา Noble Purpose ทำได้หลายแบบเช่นใช้ Appreciative Inquiry หรือ Theory U ก็ได้ เรื่องนี้ดูมาทาง Theory U ผมเลยตามมาดูหนังสืออีกเล่ม The Essentials of Theory U ดูเหมือนผู้กับกับจะทำอะไรคล้ายๆ Theory U มากๆ เลยเป็นโอกาสที่ผมจะลงลึกเรื่องการใช้ Theory U มาค้นหาตัวเอง ให้ได้ Purpose เพื่อจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย 

Theory U เป็นเครื่องมือค้นหา Blindspot จุดบอดที่มองไม่เห็น Who หรือเรา Source หรือสภาวะภายใน (Inner Condition) เป็นที่มาของกระบวนการ (Process) ที่เป็นที่มาของผลลัพธ์ (Results) พูดง่ายๆ ถ้าเราไม่ค้นพบว่าเราคือใคร (Source) เราอาจกำลังทำอะไรที่สร้างความหายนะอยู่ก็ได้ หรือไม่หายนะ ก็ทุกข์สุดๆ คนเรา มักรู้ว่าเรากำลังทำอะไร อย่างไร แต่ไม่รู้ว่าทำไมเราจึงทำอย่างนั้น อะไรอยู่เบื้องหลังของทุกสิ่ง Theory U ช่วยคุณค้นหาจุดนี้ ให้คุณทบทวน ค้นหาตัวเอง เมื่อค้นพบ คุณจะทำอะไรที่ต่างออกไป ด้วยเหตุผลที่ดีกว่าเดิม นั่นหมายถึงคุณจะค้นพบ Purpose หรือจุดประสงค์ใหม่ของตัวเอง 

ถ้าทำในระดับองค์กรคือทำร่วมกันก็จะเจอ Purpose ขององค์กรทำอย่างไรครับ 

หัวใจสำคัญของ Theory U คือการสังเกต สังเกต สังเกต มากๆ ใช้สมาธิในการมองสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ผ่านขั้นตอนต่อไปนี้ครับ 

Co-intitiate เริ่มต้นด้วยการหยุดและฟังผู้อื่น ดูว่าอะไรชีวิตเราต้องการให้เราทำอะไร ขั้นตอนนี้ผู้กำกับหยุด และรู้สึกว่าต้องการไปทะเล ไปดำน้ำ

Co-sensing สังเกต สังเกต สังเกต ลงไปสังเกต ขั้นตอนนี้ผู้กำกับลงไปใทะเลทุกวัน ไปเห็นน้องปลาหมึก เริ่มสังเกต เริ่มเชื่อมโยง ไปศึกษาเพิ่มเติม แล้วเชื่อมโยงว่าน้องปลาหมึกกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งต่างๆ ใช้ชีวิตกันอย่างไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ขั้นตอนนี้ใช้เวลาให้นานที่สุด ผู้กำกับใช้เวลาเกือบปีจนน้องปลาหมึกสายตายตามอายุขัย การสังเกตนี้เท่าที่ผมเห็นเขาสังเกตุจนมองเข้าไปลึกในดวงตาของน้องปลากหมึก และเกิดความเชื่อมโยงกันจากภายใน สังเกตน้องกลายเป็นเพื่อนกับพี่เขาไปเลย นี่เองที่เรียกว่า Social Field หรือการเชื่อมโยงจากภายใน 

Presencing สังเกตว่าอะไรมันผุดขึ้นมา ที่เป็นความรู้ใหม่ๆ ที่มันมาจากภายในของคุณจริงๆ ขั้นตอนนี้ เมื่อเกิดการเชื่อมโยงกับน้องปลาหมึก ผู้กำกับเห็นอะไรที่ตำราไม่ได้บอกอีกมาก และตกผลึกได้ในที่สุดว่า “เธอสอนผมว่าผมเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ ไม่ใช่แค่ผู้เยี่ยมเยือน” จุดนี้เองเป็นจุดที่เป็น Blindspot จุดที่มองไม่เห็นมาก่อน และเมื่อมองเห็น มันคือจุดที่ผู้กำกับมองเห็นอะไรใหม่ๆ มันเป็นจุดต้นกำเนิดหรือ Source ที่ Otto Scharmer เรียก ... Source นี้ คือจุดที่ผู้กำกับมองข้ามมานาน เป็นจุดที่จะทำให้เกิดความสุขสงบในชีวิต ไม่เพียงแต่ตนเองเท่านั้น แต่ยังเป็นโลกภายนอก หรือระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ด้วย เขาพบว่าเขาเป็นส่วนหนึ่ง และที่ผ่านมาเขาไม่มีความสุขเพราะไม่เจอตัวนี้ 

Co-creating เกิดแนวคิดว่าจะปกป้องป่าสาหร่าย เพื่อลูกหลานน้องปลาหมึกในอนาคต อันนี้เป็นผลจากการที่เจอ BlindSpot มันผุดขึ้นมาเอง คือมันเกิดทิศทางใหม่ ที่ Otto Scharmer เรียกว่าการคิดจากอนาคต (Thinking from Emerging future) 

Co-evolving ต่อยอดไปเป็น “Sea Change Project ชุมชนนักดำน้ำที่มีปณิธานว่าจะปกป้องป่าสาหร่ายทะเลไปชั่วชีวิต” เป็นผลของการที่เรามีวิสัยทัศน์ใหม่ๆ เลยเกิด action plan ตามมา และเนื่องจากเป็น purpose จุดประสงค์ที่ดีงาม เลยมีคนมาแจมด้วยมากขึ้น เป็นเหตุและผลกันครับ นี่เองเป็นกระบวนการ Theory U ที่ตกผลึกขึ้นในใจของผู้กำกับท่านนี้ 

ว๊าวววววว ผมเห็นภาพการทำ Theory U ที่ชัดเจนมากขึ้น เรารู้ว่าตัวเราต้องการอะไรจริงๆ (Source) ที่จะทำให้เรามีความสุข กระบวนการ (Process) การทำงานการใช้ชีวิต ย่อมเปลี่ยน ผลลัพธ์ก็เปลี่ยนแน่นอนวันนี้ลองทบทวนดูถ้าคุณรู้สึกทะแม่งๆ ไม่มีความสุข คุณอาจไม่เจอตัวตนของคุณ คุณอาจใช้เวลานิด ลองเปลี่ยนสภาพแวดล้อม หรือเปลี่ยนความสนใจ หรือจะในงานก็ได้ แต่ให้เริ่มสังเกต ปรากฏการณ์ จะผ่านการคุยก็ได้ แต่ต้องคุยแบบไม่ตัดสินใคร หรือ Dialogue 

ถ้าที่ผมทำคือให้ฟัง แบบไม่ถามเลย สักครึ่งชั่วโมง พยักหน้าอย่างเดียว หรือถ้าคุย ก็พยามยามไม่สอน ไม่ขายของ ลูกศิษย์ผมเอา Theory U ไปทำที่ประเทศแห่งหนึ่ง ฟังไปสังเกตไปมากๆ ก็ค้นพบว่าลูกค้าประเทศนั้นบอกเครื่องจักรที่นำเข้าจากไทย จีน นี่มันสูงก็คนประเทศเขา ใช้ไม่สะดวก อ๊าวนี่มันจุดบอดนี่ เขาตกผลึก Presencing ปิ๊งเลย จากนั้นก็ไปปรับใหม่ให้เล็กลง ตอนนี้ยอดขายเป็นที่หนึ่งของประเทศนั้นครับ นี่ใช้เวลาสามสี่เดือน

ผมแนะนำครับถ้าใช้เทคนิคนี้ค้นหาตัวตน ก็อย่างต่ำสามเดือนครับ ถ้าคุณสนใจทำขนมขาย อยากรู้ว่าตัวตนของคุณคืออะไร อะไรคือจุดบอดของคุณ มันเหมือนเหรียญสองด้าน เมื่อค้นพบจุดบอด คุณจะหาจุดหมายเจอ หาจุดบอดไม่เจอก็หาจุดหมายไม่เจอ ลองไปสังเกตนานๆ แล้วลองตกผลึกจะเห็นอะไรดีๆ เกิดขึ้นในชีวิตคุณ ก็จะเหมือนผู้กำกับและลูกศิษย์ผม ที่สุดเราจะค้นพบอะไรบางอย่างที่เป็นด้านตรงข้ามของจุดบอด เรียกว่า Source ซึ่งจะพัฒนาเป็น Purpose หรือจุดประสงค์ที่ดีงาม มันคือการดึงจุดแข็งของเราไปเกื้อกูลคนอื่นได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น ใช่ที่เขาต้องการ คนอื่นก็มีความสุขขึ้น คุณก็มีความสุขขึ้น 

คำถามคือ Purpose จุดประสงค์ที่ดีงาม หรือปณิธานของคุณคืออะไร 

วันนี้พอเท่านี้นะครับ ขอบคุณผู้สร้างสารคดี และน้องปลาหมึกสายนะครับ

โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 

Ref: 1. Laloux, Frédéric. Reinventing Organizations: A Guide to Creating Organizations Inspired by the Next Stage of Human Consciousness . Nelson Parker. Kindle Edition. 

2. Scharmer, Otto. The Essentials of Theory U . Berrett-Koehler Publishers. Kindle Edition.

หมายเลขบันทึก: 688921เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2021 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2021 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท