ประเทศไทยต้องการนักกิจกรรมบำบัดอย่างไร?


ขอบพระคุณอ.อ้อมและอ.ติ๊กที่จุดประกายคลายสงสัยว่า "ทำไมม.มหิดลเราถึงไม่วิจัยตอบโจทย์กำลังคนขาดแคลนนักกิจกรรมบำบัด" เนื่องจากปัจจุบันมีนักกิจกรรมบำบัดสอบขึ้นทะเบียบได้ใบประกอบโรคศิลป์ 1,478 ท่าน แต่ update ข้อมูลการทำงานกับสมาคมนักกิจกรรมบำบัด/อาชีวบำบัดแห่งประเทศไทยเพียง 814 ท่าน

จากการสืบค้นข้อมูลว่า ทั่วโลกได้ศึกษากำลังพลคนขาดแคลนอย่างนักกิจกรรมบำบัดนี้ เค้าทำกันอย่างไร พบหลักฐานเชิงประจักษ์น่าสนใจดังนี้

  • จากงานวิจัยหนึ่ง อเมริกาได้สำรวจด้วยแบบสอบถามบนเวปไซด์เกี่ยวกับความต้องการนักกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุที่มีเพิ่มมากขึ้นใน 50 รัฐ พบว่า เป็นวิชาชีพที่ขาดแคลนมาก มีอัตราต่อประชากร 100,000 คน เท่ากับ 3 ในปี 2010 ขึ้นเป็น 18 ในปี 2020 และคาดการณ์เป็น 37 ในปี 2030 คลิกอ่านเพิ่มที่นี่ 
  • เช่นเดียวกับการสำรวจในระดับหน่วยงานกว่า 234 แห่งที่เคยจ้างงานนักกิจกรรมบำบัด ในปี 2003 เดือนมิ.ย.ถึงส.ค. ทางจดหมายก็ได้ตอบกลับมาถึง 79% พบว่ามีตำแหน่งงานว่างถึง 24% คาดการณ์ในอีก 2 ปี จะมีความต้องการ 48% แต่หานักกิจกรรมบำบัดมาทำงานยากมากถึง 63%  คลิกอ่านเพิ่มที่นี่ 
  • ย้อนไปดูงานวิจัยปี 2012 ในประเทศจอร์แดน พบว่า จากการสอบถาม 2 รพ.ใหญ่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด รวม 556 จาก 600 ราย ตอบกลับมาว่า 80% ทราบงานการออกแบบสื่อการรักษาเพิ่มคุณภาพชีวิตคนไข้ด้วยกิจกรรมที่มีเป้าหมายและมีความหมายต่อการดำเนินชีวิต แต่อีก 20% ไม่แน่ใจในความก้าวหน้าเพราะไม่มีการประเมินและการสื่อสารประสิทธิภาพของการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะน่าตกใจที่แพทย์กว่า 30% ไม่รู้ว่าจะส่งคนไข้ประเภทใดมาฝึกกิจกรรมบำบัด 
  • มองไปที่งานวิจัยของรัฐวิกตอเรีย เมลเบริน์ ในปี 2018 สำรวจปี 2016-2017 จาก 25% ของนักกิจกรรมบำบัดที่ขึ้นทะเบียนของออสเตรเลียอายุ 35 ปีขึ้นไป จาก 270 หน่วยงาน (n = 1,217) พร้อมมี Focus group กว่า 5 รอบ รวม 20 ราย พบว่า มีเพียง 77% ที่ตั้งใจทำงานต่อไปอีก 5 ปีข้างหน้า มีแค่ 7% ทำงานชนบท และเป็นหัวหน้างานถึง 72% แต่ทำงานควบ 2 หน่วยงานเพียง 18% ซึ่งอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ได้แก่ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ความไม่รู้ในวิธีการสื่อสารป้องกันโรคแก่คนไข้ ความต้องการที่แท้จริงของคนไข้ไม่ตรงกับสิ่งที่กำลังให้บริการอยู่ คิวรอนานมากเกินไป การประเมินบำบัดฟื้นฟูไม่เห็นความก้าวหน้าเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่น

"สรุปได้ว่า ถ้าเราสำรวจพบอัตราการขาดแคลนที่มากมายของนักกิจกรรมบำบัด และหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เราเป็นวิชาชีพที่เติบโตช้ามาจาก ความไม่รู้ในตัวตนของวิชาชีพเราเองและเรากำลังขาดทักษะการสื่อสารบทบาทการให้บริการที่มีประสิทธิภาพแท้จริง ในทางคู่ขนาน เราน่าจะผลิตหลักฐานเชิงประจักษ์ในรูปแบบข้ามศาสตร์สหวิชาชีพแล้วทำงานเชิงรุกกับวิชาชีพที่ต้องการการบำบัดฟื้นฟูพร้อม ๆ กับการส่งเสริมป้องกันโรคในกลุ่มเฉพาะ น่าจะเกิดประโยชน์สร้างสรรค์รวดเร็วในอนาคตปี 2030"  

หมายเลขบันทึก: 689167เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท