ศพที่หอมหวน: กระบวนการทำให้เป็นสินค้าของศพพระที่มีบารมีในสังคมไทย ตอนที่ 2


บทนำ

ศพที่มีอำนาจบารมีแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพุทธกับเศรษฐกิจในประเทศไทย ถึงแม้ว่าปัจจัยทั้งสองประการนี้จะแยกขั้วกันสุดๆก็ตาม ในขณะที่ศาสนาจะเป็นสัญลักษณ์ถึงความบริสุทธิ์ แต่เงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้เป็นสินค้าในเชิงศาสนา (ทำบุญ) กลับแสดงถึงความสกปรก ตามที่ Scott Rachelle บอกไว้ ศาสนากับเศรษฐกิจมีความเบลอจนแยกจากกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าชุมชนสงฆ์บางแห่งมองว่าการสละซึ่งร่างกายเป็นการยกเลิกอันสุดยอดในโลกนี้ แต่หลายๆชุมนุมสงฆ์ไม่ทำสิ่งดังกล่าวในการปฏิบัติ การบริโภคมีบทบาทอย่างยิ่งในชีวิตของชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านทั่วๆไป นางวิสาขาและอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นตัวอย่างที่ดีในโลกชาวพุทธ เมื่อพูดถึงองค์กรทางศาสนา เศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำหน้าที่สนับสนุนพุทธศาสนา การปฏิเสธเงินและผลประโยชน์ทางการเงินอาจเกิดขึ้นหลังจากยุคอาณานิคมที่ทำให้พุทธเถรวาทกลายมาเป็นพุทธที่แท้จริง ซึ่งเน้นเหตุผล และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพื่อมาแข่งชันกับคริสเตียน

ดังนั้น ชุมชนท้องถิ่นจึงถูกทำให้เป็นชายขอบ และผลประโยชน์ทางการเงินจึงถูกตีหน้าจากการขายวัตถุทางศาสนาว่าไม่เหมาะสม ในมุมมองแบบพุทธ ความร่ำรวยคือสิ่งของที่ได้รับมาจากการทำบุญในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งได้กลายมาเป็นอัตลักษณ์ชาวพุทธ ความคิดรวบยอดอันนี้ทำให้การร่วมมือกันระหว่างศาสนาและเศรษฐกิจสามารถพบกันได้ในที่ทั่วไป และประเทศที่นับถือพุทธเถรวาทอื่นๆด้วย ดังนั้น จึงไม่มีสิ่งใดผิดหรือถูกเกี่ยวกับการกระทำให้ของเชิงศาสนาเป็นสินค้า เพราะว่าทุกๆสิ่งสามารถขายได้ในจุดประสงค์เฉพาะ หากคนยอมรับการเผาศพและพิธีศพซึ่งจำเป็นต้องใช้เงิน ก็ไม่น่าแปลกหรอกที่จะเก็บศพพระที่มีบารมีไว้เพื่อการขายไม่ได้ คำถามที่ตั้งในบทความนี้คือ รูปแบบอะไร และจุดมุ่งหมายอะไรที่การกระทำให้ศพพระที่มีบารมีกลายเป็นสินค้าที่พบในประเทศไทย?

ศพพระที่มีบารมีจะถูกทำให้เป็นมัมมี่ และไม่ใช่การฟื้นคืนชีพแบบศาสนาคริสต์ ตามประเพณีพุทธเถรวาท ศพของพุทธเจ้าถูกเผาในวันที่ 7 หลังจากนิพพาน อย่างไรก็ตาม การเก็บศพโดยเทคนิคที่ต่างออกไปคือความพยายามของคนหลายยุคสมัยตั้งแต่ 6,000 ปีมาแล้ว ในอเมริกาทางใต้ พบหัวประมาณ 6,000 ปี ในประเทศจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การทำให้เป็นมัมมี่อาจมาจากความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ มัมมี่บางคนในยุคสมัยใหม่ถูกเก็บไว้เพื่อการศึกษา ที่น่าสนใจก็คือชาวพุทธถูกสอนว่าศพแสดงถึงความอนิจจัง แต่ศพพระกลับไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน แต่พวกเขากลับเป็นสิ่งที่แสดงความโชคดี และถือว่าเป็นบุคคลจริงๆ

รายงานนี้จะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน เริ่มจากบทนำ ซึ่งนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและสินค้า ตามมาด้วยคำถามในการวิจัย ต่อมาจะเป็นการทบทวนวรรณกรรม เรื่องการทำให้เป็นสินค้าของพิธีศพ กระบวนการทำให้เป็นสินค้าของวัฒนธรรม ศาสนา และการท่องเที่ยว ต่อมาจะเป็นกรอบความคิดในการวิจัยเรื่องกระบวนการทำให้เป็นสินค้า จะมีการวิจัยภาคสนาม วิธีวิจัยจะเป็นชาติพันธุ์วรรณนา โดยมีตัวอย่างจาก 2 ตัวอย่างจาก 2 หมู่บ้าน การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการวิจัยเชิงลึกจะนำมาใช้ ปัญญานันทะภิกขุ กับครูบาชัยวงศ์จะเป็น 2 ตัวย่าง ในตอนนี้ คุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการทำให้ศาสนากลายเป็นสินค้า บรรทัดฐานของชาวพุทธ และวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงจะได้รับการศึกษา ซึ่งจะนำเสนอถึงเหตุผลที่ศพพระที่มีชื่อเสียงถูกทำให้เป็นสินค้า ต่อมาการอภิปรายจะตอบคำถามว่าทำไมพระมหานิกายจึงมีศพพระที่มีชื่อเสียงในขณะที่ธรรมยุติไม่มี

แปลและเรียบเรียงจาก

Jesada Buaban. Fragrant Corpses: Commodification of Charismatic Monk’s Corpses in Thai Society

หมายเลขบันทึก: 690508เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2021 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2021 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท