การเล่นแร่แปรธาตุของความใจบุญ: ว่าด้วยชนชั้นและพุทธศาสนาในภาคเหนือของประเทศไทย ตอนที่ 2


ความหมายของชนชั้น

เพราะความงุนงงสงสัยในปรกณัมของจำนวนพื้นไร่ที่มากเกินไป นักวิชาการหลายคนจึงได้ตาบอดต่อคุณลักษณะที่เป็นจริงของระบบเศรษฐกิจการเมืองชนบทของไทย ถึงแม้ว่าชาวนาจะถูกแบ่งแยกโดยการแบ่งทางช่วงชั้น แต่สมมติฐานของนักทฤษฎีที่มีลักษณะแบบเดียวกันได้กำหนดเนื้อหาในวรรณกรรมของการให้ของขวัญในหมู่ระบบครอบครัวชาวนา การศึกษาทางมานุษยวิทยาจำนวนมากที่เกี่ยวกับหมู่บ้านไทยได้ถูกลดทอน, ละทิ้ง, หรือปฏิเสธการแบ่งชนชั้นภายในหมู่บ้าน John De Young ไปถึงขั้นที่ว่าการวิเคราะห์ทางชนชั้นจะไร้ความหมายเมื่อบรรยายหมู่บ้านไทย อย่างไรก็ตาม การแบ่งแยกทางชนชั้นและความยากจนยังคงกำหนดชีวิตในหมู่บ้านไทยมาอย่างยาวนาน

การมีเรื่องราวร้องทุกข์, การประท้วง, และการลอบฆ่า ในระหว่างยุค 1970 นั้นก็เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าชาวนาไทยประสบแต่ปัญหามากมาย การวิจัยในเรื่องโครงสร้างการเป็นเจ้าของที่ดิน และการเป็นหนี้ก็เป็นสิ่งยืนยันถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคม ภาพแผนภูมิที่เสนอโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ แสดงให้เห็นว่า 34..9% ของครัวเรือนในชนบทที่อยู่ในภาคกลาง, 45.2% ที่อยู่ทางภาคใต้, 63.6% ที่อยู่ทางภาคเหนือ, 74.7% ของภาคอีศานที่ดำรงชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจน โดยได้รับเงินน้อยกว่า 300 ดอลลาร์ต่อไป (Turton 1978:108) กรมพัฒนาที่ดินได้ประมาณเอาว่า 48% ของคนไทยที่มีที่ดินเพาะปลูกได้ประมาณ 16%

ในขณะที่สถิติแห่งชาติได้บรรยายถึงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ แต่นักมานุษยวิทยาที่กำลังสำรวจทุกภูมิภาคของประเทศกลับนำเสนอหลักฐานเกี่ยวกับการแบ่งแยกทางหมู่บ้านแบบภายในขึ้นมา ถึงแม้ว่าคนที่ปฏิเสธการแบ่งแยกภายในหมู่บ้านก็นำเสนอหลักฐานที่ตรงกันข้ามขึ้นมา เมื่อ De Young เขียนถึงภาคเหนือ ก็พบว่า 27.7% ของชาวบ้านเป็นพวกเช่าที่นา Konrad Kingshill ให้ข้อสังเกตว่า 14% ของครัวเรือนในหมู่บ้านของเขาเป็นพวกไร้ที่ดิน Jack Potter ประมาณว่า 71% มีที่นาน้อยกว่า 5 ไร่ คือเพียงพอต่อการดำรงชีพเท่านั้น ในหมู่บ้านที่ฉันอยู่ 40% ใน 400 ครัวเรือนเป็นพวกไม่มีที่ดินทำกิน และทำหน้าที่เป็นกรรมกรแรงงาน การสำรวจที่ทำขึ้นในเชียงใหม่ในปี 1974 พบว่า 36% ของครัวเรือนเป็นพวกไร้ที่ดิน การศึกษาครั้งล่าสุด เปิดเผยให้เห็นการแบ่งแยกภายในในหมู่บ้านอื่นๆในภาคเหนือ รวมทั้งที่อื่นๆในประเทศไทยด้วย

ถึงแม้ว่านักวิชาการจะเสนอถึงการแบ่งแยกเป็นชนชั้นของครอบครัวเกษตรภายในว่าเป็นมาแต่เริ่มแรก แต่การสำรวจภายในชนบทที่ทำขึ้นมาในทศวรรษ 1930 ก็แสดงให้เห็นว่ามีการแบ่งแยกเป็นชนชั้นตั้งแต่ครั้งโน้นแล้ว การสำรวจในปี 1930 ของ Carle Zimmermaan พบว่า 36% ของครัวเรือนในภาคกลางเป็นพวกไร้ที่ดิน 27% ในภาคเหนือ 18% ในภาคอีศาน และ 14% ในภาคใต้ การวิจัยในศตวรรษที่ 19 เรื่องการพัฒนาที่ดินพบว่ามีการแบ่งแยกทางชนชั้นในที่ดิน เจ้านายและสมาชิกของชนชั้นสูงในภาคชนบทจะมีส่วนเกินในเรื่องข้าวค่อนข้างมาก ในขณะที่ชาวนาธรรมดาจะไม่มีส่วนเกินในเรื่องข้าว

การขึ้นๆลงๆของธรรมชาติทำให้ความเหลื่อมล้ำนี้ขยายมากขึ้น นักสอนศาสนาชื่อ Hugh Taylor เขียนรายงานของภัยแล้งในปี 1892 ในอาณาจักรประเทศไทยทางภาคเหนือของลำปาง ภัยแล้งติดต่อกันสามปีทำให้เกิดการขาดแคลนข้าว ภาวะข้าวยากหมากแพงในปี 1892 เริ่มแผ่ขยาย การขาดแคลนอาหารรุนแรงมากจนชาวบ้านต้องขอผลมะพร้าวเพื่อที่จะผสมกับข้าวของพวกเขา ราคาของผลมะพร้าวขึ้นไปถึงราคาข้าว 4 ปอนด์ในเวลาปกติ ความช่วยเหลือของเขาได้รับการรายงานว่าพบศพในบ้านร้าง และบ่อของหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยศพที่หิวโหยและชาวบ้านก็ยุ่งเกินกว่าจะฝังได้

ในขณะที่ภาวะข้าวยากหมากแพงนี้จะไม่ใช่เป็นสิ่งปกติ แต่หลักฐานเรื่องความยากจนเชิงที่ดินได้รับการบอกเล่าเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ระหว่างการสัมภาษณ์ของฉันในปี 1984-1986 อย่างน้อยฉันเคยถามคนแก่ 1 หรือ 2 คน ในหมู่บ้านจำนวน 273 ที่กระจายอยู่ใน 8 อำเภอ ในหุบเขาเชียงใหม่ ถึงภาวะความขาดแคลนข้าวในอดีต และเป็นเวลากี่เดือนในแต่ละปี ผู้ตอบจาก 9 หมู่บ้าน (3.3%) ตอบว่าชาวบ้านอยู่ในลักษณะพอกินพอใช้ หมู่บ้านที่เหลือประมาณ 96.7 % บอกว่าพวกเขาขาดแคลนข้าวประมาณ 2-3 เดือนในแต่ละปี เกือบครึ่งหนึ่งของหมู่บ้าน (48.7%) ปัญหาลักที่พวกเขาพบเจอคือการขาดแคลนข้าวประมาณ 2-3 เดือน อย่าลืมว่าหุบเขาเชียงใหม่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศ

รายงานของการสัมภาษณ์ที่มีต่อความยากจนเกินจะรับไหวนำไปสู่การบังคับให้พวกเขาไปสู่อุตสาหกรรมที่ไม่มีวันพัก ชาวบ้านบ่อยครั้งที่จะต้องเดินทางไกลเพื่อทำงานหรือหาอาหาร ชีวิตในอดีต ชาวบ้านมักจะบอกว่าจะหยุดพักไม่ได้ หากยังไม่มีกิน ดังที่หญิงอายุ 79 ปีอธิบายว่า ในอดีต ไม่ว่าเราจะเหนื่อยปานใดหรือขี้เกียจปานใดก็ตาม แต่เราไม่มีทางเลือก นอกจากจะทำงานเท่านั้น เธอยังอธิบายต่อโดยใช้คำเก่าแก่ว่า

“หากไม่ได้อยู่ที่บ้าน เราจะไม่มีกิน หากใครไม่ค้นหา เขาก็จะไม่ได้กิน หากใครไม่ตื่นแต่เช้า ท้องของเขาจะต้องร้องออกมา”

จากหลักฐานที่มีมาก่อน และประวัติศาสตร์บอกเล่า รวมทั้งการอ่านงานจากนักวิชาการพบว่าโดยส่วนใหญ่ชาวบ้านประสบกับความยากจน แต่ก็มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังมีทรัพย์สมบัติที่มากโข

แปลและเรียบเรียงจาก

Katherine A. Bowie. The Alchemy of Charity: Of Class and Buddhism in Northern Thailand.

หมายเลขบันทึก: 690825เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2021 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2021 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท