วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning) ครั้งที่ 2


การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning): สะท้อนคิดและสถานการณ์เสมือนจริง

..............................................................

ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช โดย อ.อายุพร  กัยวิกัยโกศล

          โครงการวิจัยเรื่อง “ผลของการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยใช้การสะท้อนคิดต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช”

          1) วัตถุประสงค์การวิจัย

             1.1 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยใช้การสะท้อนคิด

    1.2 เปรียบเทียบคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมหลังการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยใช้การสะท้อนคิด

2) รูปแบบการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi - experimental research) แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง (two group pre-test, post-test design)

3) กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มทดลอง 16 คน และกลุ่มควบคุม 16 คน 

4) ผลการวิจัย

กิจกรรม ตัวอย่าง

สะท้อนหลังฝึกประสบการณ์ประจำวัน:

- สนทนาเพื่อการบำบัด 3 ครั้ง

- conference 1 ครั้ง

-  group 1 ครั้ง

1. “ทราบจุดดีของตนเองมากขึ้น”

2. “คิดว่าตนเองพูดรู้เรื่องแต่จริง ๆ เพื่อนหรือคนไข้ฟังไม่เข้าใจ”

3. “จะพยายามยิ้มให้มากขึ้น”

4. “หนูเป็นคนพูดน้อยได้รับหน้าที่เตรียมอุปกรณ์กลุ่มซึ่งหนูถนัดมากและมีส่วนทำให้กลุ่มสำเร็จ”  

5. “กลุ่มน.ศ.ที่ฝึกส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดีรู้นิสัยกันแล้ว แต่ก็มีบางคนที่ไม่คุ้นเคยถ้ามีกิจกรรมที่ทำให้เรารู้จักกันอย่างนี้ก็จะทำให้เข้าใจกันทำงานกันได้ดีขึ้น”

6. “ภูมิใจมากที่ทำให้คนไข้ยิ้มได้” (caseสติกเกอร์สื่อสาร)

7.(เสียงตื่นเต้นมาก) “วันนี้คนไข้มองหน้าหนูแล้วยิ้มให้ด้วยดีใจมากเลยค่ะ แต่ยังพูดหลงผิดเหมือนเดิมหนูจะพยายามต่อไป”(caseเป็นสายลับ)

8. “ไม่คิดว่าจะใช้เทคนิคการสนทนาได้ พออาจารย์บอกว่าถูกต้อง หนูดีใจมาก มั่นใจมากขึ้น กล้าพูดกับคนไข้มากขึ้น”

9.“อยากให้อาจารย์ใช้วิธีการสอนแบบนี้เยอะๆ จะทำให้น.ศ.เข้าใจและสนุกในการเรียน

 

1. ผลการวิจัยสู่การเปลี่ยนแปลง ( Transformative Learning) ตาม 4 องค์ประกอบ ได้แก่

1) ประสบการณ์ (experience)

2) การใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณ (critical reflection)

3) รูปแบบจากการใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณ

4) การกระทำ (action)

2. วิธีการจัดการเรียนการสอน 10 ขั้นตอน ดังนี้ 

1) การเผชิญและตระหนักถึงภาวะวิกฤต มอบหมาย case, แลกเปลี่ยนชีวิตผู้ป่วย ก่อน-หลังป่วย, การทำงาน, การดูแลตนเอง:  พลวัตรการเกิดปัญหาทางจิต (กรณีศึกษา) + สนทนาเพื่อการบำบัด

2) การวิเคราะห์ตรวจสอบตนเอง: ข้อมูลผู้ป่วยสอดคล้องกับแผนการพยาบาลอย่างไร

3) การประเมินสมมติฐานตนเองเชิงวิพากษ์: แผนที่วางใช้ได้จริงหรือไม่ 

4) ปรับเปลี่ยนกรอบความคิด: ครูชี้ประเด็นถ้าแผนไม่สอดคล้องกับปัญหาผู้ป่วย โดยผู้เรียนแสดงความคิด ทัศนคติ

5) การค้นหาทางเลือก: การมีส่วนร่วมของเพื่อนๆ และผู้สอน + บรรยากาศเป็นกันเอง

6) การพัฒนาแผนปฏิบัติการ: ผู้เรียนรวบรวมความคิดเห็นวางแผนการพยาบาลต่อไป

7) การศึกษาหาความรู้และทักษะเพื่อการดำเนินการตามแผน:แนะนำแหล่งประโยชน์ ชื่นชมการเปลี่ยนแปลงด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตร

8) การทดลองปฏิบัติตามแผน: แผนใหม่ที่ได้รับการพัฒนา

9) การพัฒนาขีดความสามารถและความเชื่อมั่นในตนเอง: ครูให้นักศึกษาอภิปราย, แสดงความรู้สึก ในการนำแผนใหม่ไปใช้, ชื่นชม

10) การบูรณาการมโนทัศน์ใหม่ให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตอย่างเป็นหนึ่งเดียว: ครูกระตุ้นให้คิดถ้าผู้เรียนยังคิดไม่เพียงพอ

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1) นโยบายชัดเจน

2) ผู้บริหารให้การสนับสนุน

3) แหล่งสนับสนุนฯ ต่างๆ

  - บุคลากรกลุ่มงานวิจัย: รองผู้อำนวยการฯ, หัวหน้างาน, สายสนับสนุน

            - เพื่อนๆ ที่ปรึกษา, ผู้มีประสบการณ์การวิจัย, กลุ่มตัวอย่าง (เห็นความสำคัญ)

            - งบประมาณ

            - แหล่งสืบค้นข้อมูล: หนังสือห้องสมุด, ระบบอินเทอร์เนท

4) ผู้สอนมีทักษะการใช้คำถามกระตุ้นการเรียนรู้และมีทักษะการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิด

5) ผู้สอนต้องรู้จักและมีข้อมูลผู้ป่วยมากพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

6) ผู้เรียนและผู้สอนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมีบรรยากาศผ่อนคลายเพื่อช่วยให้ผู้เรียนกล้าแสดงความคิดเห็น

ปัญหาอุปสรรค

1) กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการสื่อสารโดยการเขียนบรรยายเพื่อสะท้อนคิดสถานการณ์ยังไม่ชัดเจน (สะท้อนคิดทางคำพูดชัดเจนมากกว่า)

2)  ระยะเวลาการทำวิจัยไม่ต่อเนื่อง

 

ภาควิชาบริหารการพยาบาล โดย อ.ดร.อัศนี  วันชัย

          การบูรณาการแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและการสะท้อนคิด ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล บทที่ 4 เรื่องจริยธรรมกับวิชาชีพพยาบาล

 

 

1. วิธีการที่นำมาใช้

ขั้นที่ 1 Experience ให้นักศึกษาดูภาพยนตร์เรื่อง Wit ฉากการไม่ทำตามที่ผู้ป่วยร้องขอเรื่อง DNR โดยมีประเด็นคำถามคือ ประเด็นปัญหาที่ขัดหลักจริยธรรมวิชาชีพพยาบาล คืออะไร เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น

ขั้นที่ 2 Reflection นักศึกษาตรวจสอบตนเอง โดยมีประเด็นคำถามคือ 

นักศึกษามีความรู้สึกอย่างไรโดยใช้ emoji แสดงความรู้สึก และมีความคิดเห็นอย่างไรภายหลังจากชมภาพยนตร์ฉากนี้

ขั้นที่ 3 ประเมินสมมติฐานเดิมอย่างจริงจัง เข้ากลุ่มและมีประเด็นคำถามคือ ให้นักศึกษาทบทวนปัญหาที่ขัดแย้งหลักจริยธรรมเดิมที่ตนเองกำหนด เมื่อคุยกับเพื่อน จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร 

ขั้นที่ 4 สนับสนุนให้นักศึกษาเปิดใจยอมรับ ครูชี้แจงว่าการศึกษาปัญหาจริยธรรมมีหลายมุมมองขึ้นกับข้อมูลและเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน

ขั้นที่ 5 Conceptualizationค้นหาทางเลือกใหม่ ให้นักศึกษาร่วมกันแลกเปลี่ยนว่าจะทำอย่างไรถ้านักศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพคนนั้น

ขั้นที่ 6 ให้นักศึกษาวางแผนว่าจะทำสิ่งใหม่อย่างไร หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในอนาคต นักศึกษาจะทำอย่างไรไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก

ขั้นที่ 7 ให้นักศึกษาค้นหาความรู้และทักษะที่จำเป็นเพิ่มเติม โดยมีประเด็นคำถามคือ นักศึกษาคิดว่าเราควรหาความรู้อะไรเพิ่มเติมในกรณีที่เกิดขึ้น

ขั้นที่ 8 ให้นักศึกษาลองทำใหม่

ขั้นที่ 9 สนับสนุนให้นักศึกษามั่นใจ

ขั้นที่ 10 สนับสนุนให้นักศึกษาบูรณาการสิ่งใหม่กับวิถีชีวิต

2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและอุปสรรคในการนำ TL และ RP มาใช้ในการสอนทฤษฎีในนักศึกษาชั้นปีที่ 2

          1) สถานการณ์ที่นำมากระตุ้นต้องกระแทกใจ   

          2) เพราะนักศึกษายังไม่ได้ฝึกภาคปฏิบัติ

          3) ระยะเวลาต้องมากพอเนื่องจากเป็นนักศึกษากลุ่มใหญ่

4) ไม่มีโอกาสให้นักศึกษาได้ทดลองปฏิบัติในสิ่งที่คิดแผนไว้

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน โดย อ.ชนกานต์  แสงคำกุล

          การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1

1. องค์ประกอบโดยทั่วไปของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) 

1) ประสบการณ์ (experience)

2) การใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณ (critical reflection)

3) วาทกรรม (รูปแบบ หรือ กรอบแนวคิด) ที่เกิดจากการใคร่ครวญ (reflective discourse)

4) การกระทำ (action)

2. การตัดสินใจทางคลินิก (ปริชาติ สุขสวัสดิพร, โชติกา  ภาษีผล, และใจทิพย์  ณ สงขลา, 2562)

1) การตั้งข้อสังเกต

  1. การตีความ

3) การตอบสนอง

4) การสะท้อนคิด

3. วิธีการจัดการเรียนการสอน

1) ประสบการณ์ (experience) กรณีศึกษา 4 กรณีศึกษา 

         - การเขียนแผนการพยาบาลครั้งที่ 1 ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วย Partial gut obstruction

         - การเขียนแผนการพยาบาลครั้งที่ 2 ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วย Stroke

         - การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยอย่างปลอดภัย เรื่อง การวัดสัญญาณชีพที่ไม่ถูกต้อง

         - การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยอย่างปลอดภัย เรื่อง การผูกมัดผู้ป่วย (Physical restraints) 

    วิธีการ

- ครูมอบหมายให้นักศึกษาเขียนแผนการพยาบาล และวิเคราะห์การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยอย่างปลอดภัย ตามตารางฝึกงาน 

- ครูพบนักเรียนแบบออนไลน์ ทั้งกลุ่ม 6 คน เพื่ออธิบายแนวทางการทำงานแต่ละชิ้น และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามจนเข้าใจ 

- ครูให้เวลานักศึกษาได้ทำงานที่ได้รับมอบหมาย

- ครูนัดหมายให้นักศึกษามาส่งงานพร้อมรับคำแนะนำจากครูเป็นรายบุคคล

     2) การใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณ (critical reflection) ครูพบนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อ

          - ตรวจแผนการพยาบาล

- จับประเด็นที่น่าสนใจในกรณีศึกษามาให้นักศึกษาได้ใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณ (critical reflection) 
    3) วาทกรรม (รูปแบบ หรือ กรอบแนวคิด) ที่เกิดจากการใคร่ครวญ (reflective discourse)

- นักศึกษาสามารถบอกผลเสียจากการผู้มัดผู้ป่วย คือ ญาติอาจจะไม่เข้าว่าทำไมต้องผูกยึดผู้ป่วย

    4) การกระทำ (action) เป็นการฝึกในห้อง Lab จึงไม่ได้เห็นการนำไปสู่การปฏิบัติ

4. ผลลัพธ์การตัดสินใจทางคลินิก 

ประเด็น ก่อนเรียน หลังเรียน
ค่าเฉลี่ย SD. ค่าเฉลี่ย SD.
1. การตั้งข้อสังเกต 3.72 0.57 4.50 0.28
2. การตีความ 3.75 0.52 5.00 0.00
3. การตอบสนอง 3.75 0.27 4.75 0.39
4. การสะท้อนคิด 4.00 0.00 4.92 0.20

 

ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น โดย อ.สาวิตรี  ลิ้มกมลทิพย์

          ใช้การสะท้อนคิดในรายวิชาการพยาบาลเด็ก 2 (ICU) ให้เรียนรู้ sim ทีละ 2 คน แล้วสะท้อนคิด การปรับปรุง เช่น การดูแล C-line การใช้ infusion plum การคำนวณ drip ยา ทำให้นักศึกษารู้สึกว่าสามารถแก้ตัวได้ แต่ก็กลัวไปทำในผู้ป่วยจริงไม่ได้ แต่ทำให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริงและเกิดการเรียนรู้ การชื่นชมนักศึกษา เช่น ทำดีจริงๆ ทำให้นักศึกษายิ้มและกระตือรือร้นจะฝึกงานในห้องแลป

 

ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดย อ.ดร.สุวรรณี  สร้อยสงค์ และอ.ดร.ปิยพงศ์ สอนลบ

จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) 

“กระบวนการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญการศึกษาที่เน้นการพัฒนาด้านในอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยปราศจากอคติ เกิดความรักความเมตตา อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ    มีจิตสำนักต่อส่วนร่วมและความสามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างสมดุล”

1. ขั้นตอนการนำกระบวนการจิตตปัญญามาประยุกต์ใช้ในการเรียน

กิจกรรมการทำสมาธิ กิจกรรมนี้ให้ผู้เรียนหลับตาตั้งสติ ทำจิตให้นิ่ง ก่อน Conference ใช้เวลา 3 -5 นาที ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ครูจะกล่าวเกรินนำให้ผู้เรียนทบทวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาแล้วเชื่อมโยงกับ ความรู้หรือกิจกรรมที่จะทำต่อไป แล้วปล่อยให้ทำจิตนิ่ง และเมื่อครบเวลาก่อนที่ผู้เรียนจะลืมตา ครูจะทบทวนอีกครั้ง หรือ ให้ผู้เรียนหลับตาตั้งสติ ทำสมาธิ ทบทวนสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติ ก่อนจะทำการสอบทำหัตถการต่าง  ๆ เพื่อคลายความกังวล และลดความตื่นเต้นในการสอบปฏิบัติ

กิจกรรม Check in  ในตอนเช้าก่อน Pre conference เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาสำรวจความรู้สึกตนเอง และพูดความรู้สึกของตน โดยเปรียบเทียบกับสภาพท้องฟ้า เป็นเวลา 15 นาที เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้

          กิจกรรม Check out ในตอนเย็น Post conference  เพื่อให้นักศึกษาสำรวจความรู้สึกตนเองในภายหลังฝึกปฏิบัติการพยาบาล โดยเปรียบความรู้สึกกับสภาพทะเล และอาจารย์ประจำกลุ่มสรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนความรู้สึก  เป็นเวลา 15 นาที

          กิจกรรม ฟังอย่างใคร่ครวญ ให้นักศึกษาจับคู่ เล่าเหตุการณ์ที่ตนเองประสบความสำเร็จและเหตุการณ์ที่ไม่ชอบหรือรู้สึกแย่กับเหตุการณ์นั้น ๆ โดยให้ผู้ฟังโดยไม่พูดแทรก ให้เวลาคนละ 5 นาทีต่อ 1 เรื่องเล่า จากนั้น อาจารย์ประจำกลุ่มให้นักศึกษาสะท้อนความรู้สึกที่ได้ฟังจากเพื่อน และสรุปฟังอย่างใคร่ครวญจะทำให้เราให้เกียรติผู้อื่นและเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้น

          กิจกรรม กงล้อสี่ทิศ เพื่อส่งเสริมการรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น เป็นศาสตร์โบราณของอินเดียแดงที่นำสัตว์สี่ชนิดมาเป็นแบบของคน  4 ประเภทได้แก่ เหยี่ยว หมี กระทิง และหนู  ให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์นิสัยของตนเอง ลักษณะที่มีจุดแข็งและจุดอ่อนแตกต่างกันออกไป นำเสนอเหตุผลของการเลือกสัตว์ชนิดนั้น ๆ อาจารย์ประจำกลุ่มสู่เรียนสรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเข้าใจตนเองและผู้อื่นที่มีทั้งจุดดีและข้อจำกัด  หากพัฒนาข้อจำกัดได้จะทำให้จุดด้อยหายไปกลายเป็นจุดดีมากขึ้น

          กิจกรรมศิลปะ และ สุนทรียสนทนา ครูให้ผู้เรียนวาดภาพ ระบายสี ที่สะท้อนถึงตัวผู้เรียน พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ ซึ่งกิจกรรมาการวาดภาพจะช่วยให้ผู้เรียนสำรวจ และทำความรู้จักตนเองมากขึ้น มีสติอยู่กับตนเอง หรือการเรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ และจากนั้นให้ผู้เรียนเล่าสิ่งที่อยากจะบอกเกี่ยวกับรูปวาดของตนเอง โดยสมาชิกท่านอื่น ๆ รับฟังอย่างตั้งใจ ไตร่ตรอง ฟังอย่างรู้เท่าทัน ให้ผู้พูดได้พูดอย่างเชื่อมโยง โดยการแขวนลอยข้อสงสัย ข้อคำถามไว้ก่อน ไม่ด่วนสรุปและวิจารณ์การแสดงความเห็นนั้น ๆ เป็นการสร้างบรรยากาศความมั่งคงปลอดภัยให้แก่กัน

          กิจกรรมสัมผัสธรรมชาติ  เป็นกิจกรรมที่สื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเองเชื่อมโยงกับผู้อื่น และสรรพสิ่งอย่างลึกซึ้ง กิจกรรมนี้จะพาผู้เรียนไปสัมผัสกับสวนพฤกษาของวิทยาลัย ไปฟังเสียงธรรมชาติ สัมผัสต้นไม้ ลม เสียงแดด เสียงนก และอธิบายเกี่ยวกับความรู้สึกของตนเอง และสิ่งที่ได้เรียนรู้ เพื่อจะเชื่อมโยงสู่การเปิดใจ รับฟัง สังเกต รู้สึก เข้าถึงคิดความ อารมณ์ ความต้องการของผู้บริการ ญาติ และสมาชิกทีมสุขภาพ 

2. ผลที่เกิดกับผู้เรียนจากการนำกระบวนการจิตตปัญญามาประยุกต์ใช้ในการเรียน

1) ผ่อนคลาย นักศึกษา A “การเรียนในรายวิชา Bcpn เป็นวิชาที่ต้องเน้นการฝึกทักษะ อีกทั้งต้องการเตรียมความพร้อมในส่วนของการเขียนแผนการพยาบาลอีกมากมายทำให้รู้สึกกดดันและเครียด แต่พอได้ร่วมทำกิจกรรมจิตตปัญญาก็ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และเข้าใจในหลายๆอย่างมากขึ้น”

2) มีสติ นักศึกษา C “การนั่งสมาธิ ฟังเสียงจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และฟังเสียงหัวใจตัวเอง มีหลายสิ่งและความวุ่นวายมากมายในชีวิต จนไม่รู้จะจัดระเบียบอย่างไร การได้ปล่อยวางและมองสิ่งที่ใกล้ที่สุดอย่างข้างหน้า ทำให้เรารู้ว่าควรทำสิ่งใดก่อน”

3) รู้จักตนเอง นักศึกษา B “ มีความรู้สึกดีมากกว่าเดิมค่ะ เพราะได้รู้จักตนเองมากขึ้น มีจุดอ่อนและจุดแข็งอะไรบ้าง นำมาปรับใช้ในการฝึกและพัฒนาตนเองให้มากขึ้นกว่าเดิม กล้าที่จะพูด กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆที่เข้ามา เพราะเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตนเอง เป็นการฝึกให้มีความมั่นใจในตนเอง แสดงความคิดเห็นที่อยู่ในกรอบที่ถูกต้อง เรียนรู้แลกเปลี่ยนต่างๆกันมากมาย หรือการกระตุ้นการตอบคำถามของอาจารย์เป็นสิ่งที่ดีมากๆเป็นการฝึกกระบวนการคิดของนักศึกษาได้ดี เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เป็นการเสริมสร้างกระบวนการคิดและความมั่นใจได้ดีมากๆ”

4) มีความสุขกับการเรียน นักศึกษา   D “กิจกรรมจิตรปัญญา ช่วยทำให้ การเรียนรู้ วิชา BCPN 1 มีความกดดันหรือวิตกลดลง ทำให้สามารถ เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ ได้อย่างมีความสุข”

3. ผลที่เกิดกับผู้สอนจากการนำกระบวนการจิตตปัญญามาประยุกต์ใช้ในการเรียน

1) เรียนรู้การนำกระบวนการจิตตปัญญามาใช้ในการเรียนการสอน

2) ฝึกฝนตนเองให้สามารถขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ และทำให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในแนวทางจิตตปัญญา

3) ทำให้ได้ทบทวนตนเอง และเข้าใจความแตกต่างของบุคคล

4) เต็มความสุขและเสริมสร้างพลังใจให้กับตนเอง

 

 

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ โดย อ.อัญชลี  รุ่งฉาย

กระบวนการเรียนรู้แบบ Simulation based learning

1. ขั้นที่ 2 pre-brief

  • ชี้แจงรายละเอียด ใช้เวลา10 นาที
  • ให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในห้องปฏิบัติการเสมือนจริง
  • การทำงานของหุ่นเสมือนจริง SimMom Essential แนะนำอุปกรณ์ต่างๆ และเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนสร้างความคุ้นเคยกับหุ่น และอุปกรณ์ในห้อง

2. ขั้นที่ 2 ปฏิบัติในสถานการณ์

- แบ่งผู้เรียน 10 คนเป็น 2 กลุ่มๆละ 5 คน สุ่ม ผู้เรียน 5 คน เข้าเรียนรู้สถานการณ์ 

- กำหนดบทบาทเป็นพยาบาลวิชาชีพ 5 คน แสดงบทบาท เป็นหัวหน้าเวร หัวหน้าทีม และสมาชิกทีม ส่วนผู้เรียนที่เหลือเป็นผู้สังเกตการปฏิบัติของเพื่อน และในสถานการณ์  scenario ใช้เวลา 15-20 นาที

    บทบาทครู

ผู้สอนคนที่ 1 เป็นผู้ที่ควบคุมสถานการณ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเป็นผู้ที่ สังเกตพฤติกรรมและบันทึกพฤติกรรมในโปรแกรม 

ผู้สอนคนที่ 2 แสดงเป็นแพทย์และผู้ป่วย

ผู้สอนคนที่ 3 คอยเข้าให้การช่วยเหลือเมื่อผู้เรียนมีปัญหาและประเมินการเรียนรู้ขณะปฏิบัติในสถานการณ์ (scenario) และอภิปรายและสรุปผลการเรียนรู้

 ผู้สอนคนที่ 4 ประเมินการเรียนรู้ขณะปฏิบัติในสถานการณ์ (scenario) และอภิปรายและสรุปผลการเรียนรู้

ขั้นที่ 3 สรุปผลการเรียนรู้ (debriefing) ใช้การสะท้อนคิดในหัวข้อดังนี้

1) บรรยายเหตุการณ์ (description) ว่า “มีอะไรเกิดขึ้น” 

2) บอกความคิด/ความรู้สึกที่เกิดขึ้น (feelings) 

3) ประเมินความคิดเห็นต่อ สถานการณ์ (evaluation) ว่า “มีประสบการณ์อะไรที่ทำได้ดี และมีประสบการณ์อะไรที่อยากจะทำให้ดีขึ้น” 

4) วิเคราะห์ภาพ รวมของ สถานการณ์ (analysis) โดยเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎี ประสบการณ์ และระบุความรู้/หลักการที่ใช้แก้ปัญหาใน สถานการณ์ 

5) สรุป (conclusion) หลักการ แนวคิดที่นำไปปฏิบัติหรือประยุกต์ในสถานการณ์ใหม่ 

6) ผู้เรียนวางแผนการกระทำสำหรับ อนาคต (action plan) โดยถามผู้เรียนว่า“เราจะทำอย่างไร ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก?”

 

 

 

 

 

 



 

 

หมายเลขบันทึก: 691015เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2021 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2021 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

TL พอลองเอามาผสมผสานกับ RP ก็เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ผสมกลมกลืนกันได้ดีนะคะ ประเด็นค้นพบที่สำคัญ คือ จุดเริ่มต้นเรื่องประสบการณ์ที่จะนำพานักศึกษาสู่การเรียนรู้ต้องเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ชวนคิด ชวนสะท้อนเพื่อหาแนวทางสู่การเปลี่ยนแปลงการดำเนินหนทางในอนาคตที่ดีขึ้นในทุกมิติ

ยอดเยี่ยม

ยอดเยี่ยมครับ

ยอดเยี่ยมครับ

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนเหมาะที่จะมาใช้ในการจัดการเรียนกับนักศึกษาพยาบาลมาก เพราะช่วยพัฒนานักศึกษาให้เป็นพยาบาลที่ดีได้

เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

ได้มุมมองและแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมจากทุกภาควิชาที่นำเสนอ ถือว่าเป็นประโยชน์มากๆในการนำไปจัดการเรียนการสอนที่จะทำต่อไปอย่างชัดเจนและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้นและเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งผู้สอนและผู้เรียนต่อไป

เป็นการเรียนการสอนแบบใหม่ที่สามารถนำมาพัฒนาและใช้ในการเรียนการสอนปัจจุบัน​ ที่มีแนวทางและประโยชน์ที่ช่วยทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้มากขึ้น​ และยังช่วยให้นักศึกษาฝึกการวิเคราะห์ได้มากขึ้น

เป็นการเรียนการสอนแบบใหม่ที่สามารถนำมาพัฒนาและใช้ในการเรียนการสอนปัจจุบัน​ ที่มีแนวทางและประโยชน์ที่ช่วยทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้มากขึ้น​ และยังช่วยให้นักศึกษาฝึกการวิเคราะห์ได้มากขึ้น

เป็นการเรียนการสอนแบบใหม่ที่สามารถนำมาพัฒนาและใช้ในการเรียนการสอนปัจจุบัน​ ที่มีแนวทางและประโยชน์ที่ช่วยทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้มากขึ้น​ และยังช่วยให้นักศึกษาฝึกการวิเคราะห์ได้มากขึ้น

ได้เรียนรู้วิธีการผ่านตัวอย่างการนำไปใช้ของภาควิชา

ดร.ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

ขอชื่นชมผู้นำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกท่าน ท่านได้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดี
ชวนติดตาม เนื้อหากระชับได้ใจความและชัดเจนดีมากค่ะ

ได้จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยใช้แนวคิดของtransformative learning และเห็นผลลัพธ์ในการพัฒนานักศึกษาที่ดีขึ้น ถ้าได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติและทำตามลำดับชั้นปีอย่างต่อเนื่องก็จะดีมาก เพื่อคุณภาพของบัณฑิตพยาบาลในการดูแลผู้รับบริการต่อไป

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

จากที่ได้เข้ารับฟังการนำเสนอเเลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning) ของแต่ละภาควิชา ได้เห็นถึงแนวทาง กระบวนการ และประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ช่วยให้นักศึกษาสามารถฝึกคิดวิเคราะห์ได้มากขึ้น จากการใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษา

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

จากที่ได้เข้ารับฟังการนำเสนอเเลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning) ของแต่ละภาควิชา ได้เห็นถึงแนวทาง กระบวนการ และประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ช่วยให้นักศึกษาสามารถฝึกคิดวิเคราะห์ได้มากขึ้น จากการใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษา

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

จากที่ได้เข้ารับฟังการนำเสนอเเลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning) ของแต่ละภาควิชา ได้เห็นถึงแนวทาง กระบวนการ และประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ช่วยให้นักศึกษาสามารถฝึกคิดวิเคราะห์ได้มากขึ้น จากการใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษา

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

จากที่ได้เข้ารับฟังการนำเสนอเเลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning) ของแต่ละภาควิชา ได้เห็นถึงแนวทาง กระบวนการ และประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ช่วยให้นักศึกษาสามารถฝึกคิดวิเคราะห์ได้มากขึ้น จากการใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษา

ได้รับความรู้เรียงการจัดการเรียนการtransformative learning

transformative learningเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการสะท้อนคิดและเกิดทักษะทางปัญญา จะนำไปเป็นแบบอย่างคะ

Transformative learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสำคัญในปัจจุบัน การ KM ครั้งนี้ ได้ความรู้ถึงขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน พร้อมตัวอย่างที่ชัดเจน สามารถนำไปประยึกต์ใช้ได้ต่อไปค่ะ

เบญจมาภรณ์ นาคามดี

จากการได้ฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แนวคิด transformative learning จากประสบการณ์ของคณาจารย์หลายๆ ภาค ทำให้เกิดความเข้าใจ การประยุกต์ ดัดแปลง และนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาในวิชาที่รับผิดชอบ ขอชื่นชมค่ะ ภาพฝันคือวิธีการเรียนการสอนที่เป็นแบบเฉพาะของชาวพุทธชินราช ให้กำลังใจนะคะ

เบญจมาภรณ์ นาคามดี

จากการได้ฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แนวคิด transformative learning จากประสบการณ์ของคณาจารย์หลายๆ ภาค ทำให้เกิดความเข้าใจ การประยุกต์ ดัดแปลง และนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาในวิชาที่รับผิดชอบ ขอชื่นชมค่ะ ภาพฝันคือวิธีการเรียนการสอนที่เป็นแบบเฉพาะของชาวพุทธชินราช ให้กำลังใจนะคะ

เบญจมาภรณ์ นาคามดี

จากการได้ฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แนวคิด transformative learning จากประสบการณ์ของคณาจารย์หลายๆ ภาค ทำให้เกิดความเข้าใจ การประยุกต์ ดัดแปลง และนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาในวิชาที่รับผิดชอบ ขอชื่นชมค่ะ ภาพฝันคือวิธีการเรียนการสอนที่เป็นแบบเฉพาะของชาวพุทธชินราช ให้กำลังใจนะคะ

ชื่นชมทุกท่านที่มีการนำ TL ไปใช้ค่ะ ส่งผลที่ดีมากต่อผู้เรียน และได้แนวคิดนำไปปรับใช้ในการสอนค่ะ ขอบคุณค่ะ

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

จากที่ได้เข้ารับฟังการนำเสนอเเลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning) ของแต่ละภาควิชา ได้เห็นถึงแนวทาง กระบวนการ และประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ช่วยให้นักศึกษาสามารถฝึกคิดวิเคราะห์ได้มากขึ้น จากการใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษา

สุวรรณี สร้อยสงค์

ได้ฟังการถ่ายทอดประสบการณ์ ของอาจารย์แต่ละภาควิชา รู้สึกชื่นชมมากๆ และจะนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนที่จะฝึกให้นักศึกษาสะท้อนคิด เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้มากขึ้น

นฤมล เอกธรรมสุทธิ์

มีความเข้าใจ TL เพิ่มมากขึ้น เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท