วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนจากภายนอก ครั้งที่ 2


ทุนวิจัย

การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก

..........................................

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ โดย ดร.เบญจมาภรณ์  นาคามดี

    1. ความสำคัญของการขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอก

          ตัวชี้วัดประกันคุณภาพการศึกษาด้านการวิจัย ตัวบ่งชี้ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ วิทยาลัย ฯ ตั้งเป้าหมายที่คะแนนเต็ม 5 เท่ากับ 50,000 บาทขึ้นไปต่อคนต่อปี เมื่อดูข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง วิทยาลัย ฯ ยังไม่บรรลุเป้าหมาย และเมื่อพิจารณาภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยต่ออาจารย์ประจำยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของภาพรวมวิทยาลัย ฯ และเป็นเงินทุนจากภายในวิทยาลัย

    2. ข้อค้นพบจากการลงมือทำ “ตั้งเป้าหมายการทำวิจัยให้เป็นเหมือนงานประจำ”

          “เทคนิค 4 ต. + 1 ติด” ให้ตรงเป้าเพื่อขับเคลื่อนการขอทุนวิจัยภายนอกสถาบัน ดังนี้ 

          2.1 ต. ที่ 1  ตรง theme ผู้ให้ทุนโดยศึกษาจากเครือข่าและ website ของแหล่งทุน 

          2.2 ต. ที่ 2  ตรงใจ ถูกใจผู้ให้ทุน ตรงความสนใจของเรา เขียนให้ตรงความต้องการของเจ้าของทุน และเขียนให้เข้าใจ

          2.3 ต. ที่ 3 ตรงแบบฟอร์มทุกชนิดตรวจสอบความสมบูรณ์ และถูกต้องของแบบฟอร์มต่างๆ 
ที่จะต้องใช้ submit

          2.4 ต. ที่ 4 ตรงต่อเวลา ยื่นข้อเสนอ/ยื่นขอทุน/ส่งงาน ตามที่เจ้าของทุนกำหนด

          2.5 ติดใจ ทำให้ทีมเราถูกใจ ทุกคนได้ประโยชน์/ได้ใจทีม/ช่วยเหลือกัน จากยาขมจะกลายเป็นงานประจำ

    3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

          3.1 ผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ได้แก่ ผู้บริหาร/เครือข่าย/ เพื่อน/ภาควิชา/ผู้ประสานทุน/เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน 

          3.2 กระบวนการ ระบบบริหารงานวิจัย การเข้าร่วมประชุม KM สร้างโอกาสในการรู้จักแหล่งทุน การทำงานกับทีมในรูปแบบแบบเพื่อน (ลึกซึ้งกว่าเครือข่าย) และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ

          3.3 ตนเอง ปรับมุมมอง เรียนรู้ บริหารเวลา มองผลประโยชน์หน่วยงาน “ทุกปัญหามีทางออก ไม่ใช่ทุกทางออกมีแต่ปัญหา

ภาควิชาภาควิชาบริหารการพยาบาล โดย ดร.อัศนี  วันชัย 

          1. ประสบการณ์เขียนโครงร่างการวิจัยเพื่อขอทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ปีงบประมาณ 2565 

             1.1 คิดประเด็นวิจัยที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดเป้าหมายของหน่วยงานและแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) 

            1.2 ต้องมีบทสรุปผู้บริหาร: จะทำอะไร ทำกับใคร ใครใช้ประโยชน์

            1.3 กรอบการวิจัย: แผนผังภาพแสดงเป้าหมายและตัวชี้วัดของโครงการที่ครอลคลุมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

            1.4 เขียนให้เห็นความเชื่อมโยง: วัตถุประสงค์ ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ

            1.5 ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีและทางสังคมของงานที่จะทำ โดยมีหลักการและแนวคิดมาสนับสนุน

            1.6 การขับเคลื่อนให้งานสำเร็จ: ผู้วิจัยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ทำ และมีเครือข่ายในการขับเคลื่อน 

          2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

             2.1 ใส่ใจทุกรายละเอียดตั้งแต่เริ่มต้น: กรรมการพิจารณาทุนดูความเป็นไปได้ทั้งประวัติผู้วิจัย และความถูกต้องของระเบียบวิจัย 

   2.2 ความอดทน การแก้ไขงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด

   2.3 กัลยาณมิตร

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน โดย ดร.กีรติ  กิจธระวุฒิวงษ์ 

          การเขียนโครงร่างการวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกโครงการ Flagship ปีงบประมาณ 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

          1. ที่มาของโครงการ 

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย และสถาบัน

การศึกษา ได้มอบหมายให้เป็น “หน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม (Program Management Unit : PMU) ที่รับผิดชอบ แพลตฟอร์ม 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม โดยมีแผนงานสำคัญ ได้แก่ 

1) Zero Waste Thailand 

2) PM 2.5 

3) การบริหารจัดการน้ำ 

4) Thailand Ageing Society 

5) Open Society Social Change และ 

6) ความปลอดภัยทางถนน 

จึงได้ประกาศรับข้อเสนอการวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลโครงการที่ตอบโจทย์แผนงานสำคัญของ วช.

โปรแกรมที่ 8 สังคมสูงวัย “ต่อยอดองค์ความรู้และผลการวิจัยที่มีมาแล้วในอดีต ไปสู่การใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุรุ่นปัจจุบัน และรุ่นต่อไปในอนาคต ด้วยการขยายผลต้นแบบระบบรองรับสังคมสูงวัยในเมืองและชนบท”

 มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ หัวหน้าโครงการ รศ. พญ. ศรีเวียง ไพโรจน์กุล กรอบวิจัย การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลประคับประคองและการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาล 

2. การเข้าร่วมโครงการ

    1) ทบทวนวรรณกรรมและเขียนโครงร่างการวิจัย

    2) หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ชัดเจนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ให้ทุน แผนงานใหญ่

    3) ระเบียบวิธีการวิจัยเหมาะสม สามารถหาคำตอบการวิจัยได้

    4) ระบุสถานที่ได้ครอบคลุมกับโครงการวิจัย

    5) ระยะเวลาวิจัยสอดคล้องกับงบประมาณที่ขอ

    6) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ควรได้ตามเป้าหมายของผู้ให้ทุน

3. หลักการทำงาน

   1) ประชุมทีมงานโครงการใหญ่ โดยหัวหน้าโครงการ ผ่าน ZOOM สองเดือนต่อครั้งในทีมใหญ่ ทั้ง 3 โครงการ

  2) ประชุมโครงการใหญ่ ร่วมกับผู้รับทุน เฉพาะกลุ่มหัวหน้าโครงการ เดือนละ 1 ครั้ง

  3) การทำจริยธรรมผ่านคณะกรรมการวิจัยในคนของประเทศ และการเสนอจริยธรรมใน site ที่ไปเก็บข้อมูล

  4) การเสนอ amendment เพื่อลดพื้นที่ในการทำวิจัย จากสถานการณ์โรคระบาด ให้นักวิจัยทำงานในพื้นที่ของตนเอง

  5) การวางแผนนำเสนอผลงาน interim report ผ่าน virtual conference

4. สิ่งที่ได้จากการทำงานร่วมกัน

  1) การเข้าถึงข้อมูลและประกาศแหล่งทุน ประเภทของทุนต่างๆ เช่น Fundamental fund, Flagship

  2) เครือข่ายของทีมทำงาน ตามวัตถุประสงค์ของแหล่งทุน เช่น Flagship ต้องสอดคล้องกับแผนงานใหญ่ของประเทศ โดยทุน Flagship จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานระดับประเทศ เช่น การดูแลแบบประคับประคองถูกส่งไปยัง มสผส. เป็นต้น หัวหน้าโครงการต้องเป็นผู้มีประสบการณ์สูง เป็นที่รู้จักของประเทศ 

 3) โครงการวิจัยต้องมี impact สูงที่มีหน่วยงานระดับประเทศ นำผลการศึกษาไปใช้ต่อทั้งในเชิงนโยบาย ปฏิบัติการจริง ร่วมกับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ

 4)  การค้นหาพื้นที่ ที่มีแรงบันดาลใจ ความตั้งใจ ในการพัฒนาประเด็นการวิจัยไปพร้อมกับนักวิจัย -- > เลือกและเสนอโดยหัวหน้าโครงการวิจัย ที่ประสบการณ์การทำงานระดับประเทศ

ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช โดย ดร.เกศกาญจน์  ทันประภัสสร

          ประสบการณ์เขียนโครงร่างการวิจัยเพื่อขอทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ปีงบประมาณ 2565

          “กลยุทธ์ในการขอทุนวิจัยภายนอก 10 ต.” ดังนี้

          1) ต้อง ผู้วิจัยอยู่ในสถานการณ์ต้องขอทุนเพื่อนเป้าหมายขององค์กร  

2) ตื้อ จากผู้รับผิดชอบกลุ่มงานวิจัย

3) ตอบรับ ผู้วิจัยตอบรับด้วยการเขียนโครงร่างวิจัย 

4) ตรีม คือหัวข้อตรงกับการวิจัยที่ผู้ให้ทุนต้องการ

4) ตรง คือตรงกับความเชี่ยวชาญตามสาขาของผู้วิจัย

6) ตามหาแบบฟอร์มในการเขียนจากผู้ให้ทุนวิจัยจากเวปไซด์

7) ติดตามไลน์กลุ่มผู้ประสานงานและบริหารจัดการในสิ่งที่ต้องทำ

8) เตรียมวางแผนการทำงาน

9) ต่อคือผู้วิจัยต้องไปต่อเมื่อได้รับการประสานให้ทำสัญญารับทุน

10) เติมเต็ม คือผู้วิจัยต้องจัดการให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ตามที่ได้เซ็นสัญญารับทุนไว้ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ-ตัวเองหากทำผิดสัญญาทุนวิจัย

ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดย ดร.สุวรรณี  สร้อยสงค์

          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ทุนมาจาก วช. และจัดสรรทุนมาให้ เป็นงานแผน โครงการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยทำการดูแลโรคเรื้อรังในพระสงฆ์ ระยะเวลาทุน 1 ปี ส่งงานและเบิกเงินทุนให้ทัน ทำเล่มวิจัย รวมทั้งตีพิมพ์ให้ทันตาม Timeline ของโครงการวิจัยที่ขอทุนนั้นๆ ชื่อโครงการวิจัย คือ “องค์ความรู้และการพัฒนานวัตกรรมการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของภาคีเครือข่ายภาคเหนือ” วิจัย R&D 

สิ่งสำคัญ ต้องส่งงานและเบิกเงินทุนให้ทัน ทำเล่มวิจัย รวมทั้งตีพิมพ์ให้ทันตาม Timeline ของโครงการวิจัยที่ขอทุนนั้นๆ การประสานงานทีมงานและพระสงฆ์ และมีประสบการณ์การอบรมลูกไก่ นำไปสู่การได้รับทุนวิจัย วช. “การบริหารเวลาสำคัญมาก การทำงานด้วยใจรักและเพียรพยายาม” 

 

หมายเลขบันทึก: 691016เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2021 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2021 07:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

การขอทุนวิจัยภายนอกเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความมีวินัยและความพยายาม ชื่นชมนักวิจัยที่ได้รับการจัดสรรทุนภายนอกทุกท่าน และเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มากคะ

ได้รับความรู้ และแรงบันดาลใจในการขอทุนวิจัยภายนอก และคิดว่าต้องพัฒนาความรับผิดชอบในการดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จตามเวลาที่แหล่งทุนกำหนด

ได้ความรู้และแนวทางที่ดีมาก เพื่อนำไปปรับใช้ต่อไป ขอบคุณค่ะ

เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้รับแนวคิดในการจัดทำผลลัพท์ของงานวิจัยที่ได้รับทุนภายนอกที่ดีมาก เช่น การจัดทำเอกสารเผยแพร่งานวิจัยฉบับกระชับ(ใช้QR code) เนื้อหาสาระการนำเสนอรายงานการวิจัยแบบกระชับชัดเจน ขอบคุณคะ

ฟังแล้ว มีแรงบันดาลใจ อยากทำให้ประสบความสำเร็จค่ะ

ฟังแล้ว มีแรงบันดาลใจ อยากทำให้ประสบความสำเร็จค่ะ

ฟังแล้ว มีแรงบันดาลใจ อยากทำให้ประสบความสำเร็จค่ะ

ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจที่ดี เนื้อหากระชับเข้าใจง่ายดีค่ะ

ป็นแนวทางการพัฒนาตัวเองที่ดีเพื่อให้ได้รับทุนภายนอก จะพยายามค่ะ

ได้รับประโยชน์ไว้ใช้ในการทำวิจัยในอนาคตดีมากค่ะ

ได้รับประโยชน์ไว้ใช้ในการทำวิจัยในอนาคตดีมากค่ะ

ได้รับประโยชน์ไว้ใช้ในการทำวิจัยในอนาคตดีมากค่ะ

ได้รับประโยชน์ เพื่อนำเป็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไปค่ะ ดีมากค่ะ

ได้รับประโยชน์มากคะ ทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำวิจัยอย่างต่อเนื่องและขอทุนภายนอกต่อไปคะ

การนำวิธีการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกมาทำ KM ทำให้ได้เห็นแนวคิดการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อความสำเร็จในการขอทุนวิจัยภายนอก และได้แลกเปลี่ยนวิธีการหรือกลยุทธ์ต่างๆในการขับเคลื่อนให้โครงการวิจัยดำเนินการได้สำเร็จตามเวลาที่กำหนดค่ะ

สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์

อาจารย์ทุกท่านที่มาและเปลี่ยน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเป็นต้นแบบที่ดี สำหรับการขอทุนภายนอกค่ะ

จากการแลกเปลี่ยนในวันนี้ ทำให้ได้เทคนิค และเคล็ด (ไม่ลับ) จากคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ฯ ทำให้มีแนวทางในการปรับใช้ รวมทั้งเกิดแรงบันดาลใจให้ก้าวต่อไปค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในการขอทุนภายนอกต่อไปนะคะ

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

ขอบคุณมากเลยคะ เป็นการเเลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์ หากมีโอกาสจะได้ใช้แนวทางความรู้ไปใช้ในการเขียนงานวิจัยเพื่อขอทุนภายนอกคะ

สุวรรณี สร้อยสงค์

ขอชื่นชมอาจารย์ที่นำประสบการณ์ขอทุนภายนอก มาถ่ายทอดและเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ ทำให้เกิดแรงบันดาลที่จะขอทุนวิจัยคะ

นฤมล เอกธรรมสุทธิ์

การขอโครงการภายนอกมีความยุ่งยาก แต่ได้ฟังจากการประชุมครั้งนี้มีกำลังใจขึ้นค่ะ

ดีมากเลยคีบ ทำให้เข้าใจระบบการขอทุนโครงการครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท