สอนออนไลน์อย่างไรให้เด็กไลก์


สอนออนไลน์ให้สนุก 

WHO ชวนพ่อแม่ลูกให้มีสุขภาพดีในช่วงโควิด ด้วยกิจกรรมน่าสนใจ เช่น ล้างมือประกอบดนตรี อ่านข้อความที่ดีมีความคิดบวกเป็นสากล ใช้เรื่องเล่าที่สะกิดใจให้เห็น My Hero is You ลูกคือพระเอก/นางเอกของพ่อแม่ คลิกเรียนรู้เพิ่มเติมที่ #HealthyAtHome - Healthy parenting (who.int)

พร้อมได้ยกความรู้จาก UNICEF ได้ดีต่อใจ คลิกเรียนรู้เพิ่มเติมที่  How to keep your child safe online while stuck at home during the COVID-19 outbreak | UNICEF

ประเด็นสำคัญคือ 

  • การสื่อสารเปิดใจระหว่างพ่อแม่ลูก ใช้บทสนทนาที่ซื่อสัตย์ คือ เข้าใจในคุณค่าของความช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ ลูกรู้ว่าพ่อแม่หมายถึงอะไร แยกแยะและไว้ใจได้ว่าอะไรเหมาะสม กับ ไม่เหมาะสมแล้วจะจัดการอย่างไรให้ลูกรับรู้สึกคลายกังวล ไม่โดนตำหนิจากคนรอบข้าง ไม่ใช้รูปกับชื่อเต็ม-ระวังข้อมูลส่วนตัวจากคนแปลกหน้า
  • พ่อแม่เรียนรู้เทคโนโลยีมีการป้องกันสื่อออนไลน์ที่ไม่ปลอดภัย พ่อแม่สาธิตประสบการณ์คิดบวกจากสื่อออนไลน์
  • ใช้คำถามปลายเปิด รับฟัง อธิบายความจริง เสมือนเป็นเพื่อนวัยเดียวกัน พ่อแม่สังเกตลมหายใจลูกสีหน้าท่าทางและใช้น้ำเสียงอ่อนโยน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อมีโอกาสดูแลสุขภาพตัวเองให้พร้อมก่อนดูแลลูก

สื่อออนไลน์ให้สำเร็จ 

จาก Links ที่น่าสนใจทั้งสามส่วน ประกอบด้วย Try these 15 tips to make online learning easier for all your students | Poll Everywhere Blog และ 8 New Ideas for Engaging Online Students | WBT Systems และ Tips for Taking Online Classes: 8 Strategies for Success (northeastern.edu) จึงขอสรุปให้คุณครูทุกท่านได้เตรียมความพร้อมกับการสอนออนไลน์ดังต่อไปนี้โดยเรียงตามทักษะจิตสังคมจากภายนอกสู่ภายในใจของลูกศิษย์กับคุณครูที่รวมกับแสดงบทบาทผู้เรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 

  • การช่วยเหลือเรื่องความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ไม่เร็วพอ ถ้าเปิดสอนกันตลอดวัน ก็ไม่เหมาะ ผู้เรียนแต่ละคนมีการติดต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเครือข่ายความเร็วสูงต่างกัน ที่สำคัญเรียนรู้รูปแบบการใช้งานออนไลน์ให้ใช้งานได้ดีจริง
  • สร้างบรรยากาศการสอนออนไลน์เสมือนกับผู้เรียนกำลังอยู่ในชั้นเรียน ผู้เรียนรับรู้สึกควบคุมความเป็นตัวของตัวเองได้ดี จิตอิสระคิดสร้างแรงจูงใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้หลายทางเลือก เช่น ครูโทรหาลูกศิษย์รายบุคคลที่เรียนรู้ช้า อีเมล์มอบหมายงานที่ทำได้สำเร็จในช่วงเวลาสั้น บรรยายแบบป้อนความรู้ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที รายละเอียดปรับมาเป็นบันทึกคลิปสั้นไม่เกิน 10 นาที ทำเป็นแยกตอนให้กลับไปทบทวนเองได้ ผสมกับการแบ่งกลุ่มอภิปรายในหัวข้อบรรยายนั้น พร้อมจับคู่เพื่อนช่วยกันเรียนกับเพื่อนอีก 30 นาที ตบท้ายด้วยการตั้งคำถามชวนให้ทบทวนความรู้ความเข้าใจในผู้เรียนสัก 30 นาทีก่อนเวลาที่ตั้งไว้จบการบรรยาย เพื่อปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ให้มีคุณค่าอย่างแท้จริง และ/หรือขอร้องในการตอบแบบสำรวจความคิดเห็นตรงไปตรงมาก็ได้
  • สร้างแผนการเรียนรู้รายบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว ไม่ชอบตอบคำถาม ครุ่นคิดแต่เรื่องตัวเอง และอยู่ในโลกส่วนตัวสูง ครูให้เวลานอกในการให้คำปรึกษา แต่อยู่ในช่วงเวลาทำการ
  • ดูแลจิตใจในผู้เรียนให้จดจ่อ เกิดบรรยากาศการสอนที่บ้านที่ถ่ายทอดสดความรู้สึกร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างจริงใจ เห็นอกเห็นใจ มีความเมตตากรุณา ครูพร้อมช่วยเหลือศิษย์ตลอดเวลา และสร้างชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข เช่น ร้องเพลงนำ เต้นรำบ้าง ฉลองวันเกิดผู้เรียน เป็นต้น
  • อย่าเพิกเฉยกับเสียงที่คุยกับผู้อื่นขณะครูสอนออนไลน์ ควรทำความเข้าใจในเจตนาของผู้เรียนจริงจัง โดยไม่ตำหนิ เพียงรับฟังด้วยความรักความเข้าใจในการร่วมกันแก้ปัญหาชีวิตทางการเรียนรู้

สร้างออนไลน์ให้สบาย 

  • ครูฝึกฝนห้าทักษะ คือ 1. การเล่าเรื่องแทนการสอนแบบอ่านสไลด์ 2. การเชิญชวนให้ลูกศิษย์เล่าเรื่องความภาคภูมิใจในเรื่องราวชีวิตตนที่เป็นต้นแบบการแก้ปัญหาได้ แม้เพียงเล็ก ๆ ครูก็ชื่นชมจริงใจ 3. การตั้งคำถามให้ลูกศิษย์เสนอความคิดเห็นว่า ถ้าเป็นคุณ จะแก้ปัญหาอย่างไร  4. เนื้อหาการสอนที่ทันสมัย มีข้อเท็จจริงและครูไม่จำเป็นต้องรอบรู้ทุกเรื่อง สอนเป็นทีม สอนพร้อมระบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีครูพี่เลี้ยงประจำทีมได้ และ 5. กระตุ้นและสังเกตวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนที่วัดผลได้จริงตามที่เห็น
  • ย้ำแรงจูงใจภายในการเรียนรู้ คือ แม้ว่างานจะยาก เราจะตั้งใจค่อย ๆ ทำจนสำเร็จผล ทำวันนี้ให้ดี มีชีวิตที่เป็นเป้าหมายเพื่อการเติบโตเป็นพลเมืองดีมีประโยชน์ในสังคม และย้ำแรงจูงใจภายนอกในการเรียนรู้ คือ คุณได้รับประกาศนียบัตรออนไลน์ในวันนี้ คุณบอกได้ไหมว่ารู้อะไรบ้าง และจะนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปใช้อย่างไรในชีวิตนอกห้องเรียน
  • ฝึกฝนทุกคนในห้องเรียนออนไลน์ให้เห็นคุณค่าแห่งทักษะการจัดการเวลา คือ เวลาสิ้นสุดในการส่งงาน เป็นเพียงการบังคับเส้นตาย เราควรฝึกสร้างเป้าหมายในการทำงานให้สำเร็จก่อนเส้นตายนั้นโดยระบุคำพูดหรือตัวอักษรที่เป็นช่วงเวลาที่ยืดหยุ่น ระลึกจำได้ เช่น งานนี้ลองช่วยกันวางแผนรับผิดชอบส่งได้ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 7 นี้
  • ครูที่ดีมีการฝึกฝนทักษะการสอนก่อนสอนออนไลน์จริง หรืออย่างน้อยวางแผนให้เข้าใจจริง อย่าปล่อยเวลาสอนให้เลยมื้อพักทานอาหาร ควรสอนเสร็จก่อนเวลากำหนดจริงเพื่อให้ผู้เรียนได้พักและอภิปรายความรู้ความเข้าใจสัก 30 นาที
  • มีบทเรียนรู้ที่น่าสนใจจากคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ คลิกที่  โรงเรียนลักปิดลัก เปิดสร้างความเสียหายมากเพียงไร - waymagazine.org | นิตยสาร WAY ให้คุณครูทุกท่านตระหนักรู้ว่า เราไม่สามารถทำการสอนชดเชยเพื่อความสมบูรณ์แบบตามหลักสูตรในชั้นเรียนเนื่องด้วยวิกฤตการณ์โควิด เพราะจะทำให้สมองของเด็กตึงเครียดเกิดภาวะถดถอยสะสมจนพัฒนาการการเรียนรู้สู้ต่อโลกแห่งความจริงช้าไปถึง 3 ปี ส่งผลให้อดทนต่อความเครียดต่ำ อารมณ์ขึ้นลงหงุดหงิดง่ายแบบลงไม้ลงมือ และมักโทษตัวเอง ไม่ยอมรับความผิดพลาดแห่งตน เกิดสภาวะที่ไม่ไว้ในศักยภาพของคนรอบข้าง เพราะมองคนแบบหุ่นยนต์ ไร้ความคิดสร้างสรรค์ ทุกคนต้องทำตามระเบียบข้อบังคับเดียวกันโดยเกินความจำเป็น เพราะกรอบคิดทุกอย่างทำให้เราไม่มีความคิดแก้ไขปัญหาอย่างยืดหยุ่น

สอนออนไลน์ให้มั่นใจ ถอดบทเรียนจากการลงทะเบียนเรียน Udemy 41 นาทีกับ TJ Walker 

  • อย่าหลบกล้อง ใช้เสียงเป็นธรรมชาติ ไม่ตะโกน กำลังกับผู้เรียน 1 ต่อ 1 ให้รู้สึกปลอดภัยและเพลิดเพลินการสอนด้วยความเป็นตัวของตัวเอง ใส่รองเท้าอะไรก็ได้ จิบน้ำเล็กน้อย ไม่ต้องใช้กล้องแพง ไม่ต้องใช้ไมโครโฟนแพง ไม่มีใครแคร์ หายใจลึก ๆ แล้วพูดว่า “คุณทำได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนเล็กน้อย Minor Modification”
  • ฝึกสอนสัก 1 สัปดาห์ก็จะมั่นใจขึ้น ลดความตื่นเต้นด้วยการซ้อมผ่านบันทึกด้วยกล้องมือถือแนวขวาง 1-6 นาที แล้วมองดูสิ่งที่ตัวเองกำลังพูด ไม่ได้ให้ดูรูปลักษณะภายนอก บันทึกซ้ำและมองดูสัก 2-10 ครั้ง ก็บอกตัวเองว่า OK ถ้าสิ่งที่ตัวเองกำลังพูด พูดช้าและคำพูดชัดเจน "ทำให้ผู้เรียนติดตามและอยากมีส่วนร่วมแลกเปลี่นนเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Enthusiastic Engaging) และ/หรือ ให้ใครช่วย Feedback จะดีขึ้นใน 2-3 วันต่อ 1 เรื่องสอน
  • ไม่ควรใช้เครื่องหรืออุปกรณ์ช่วยส่งบทพูด (Script Teleprompter) เพราะเราไม่ได้ Talk Show แต่เรากำลังสอนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจจริง
  • ไม่ว่าจะใช้ Platform ใด ๆ เช่น Zoom, Facetime, Skype เราจะฝึกฝนทักษะการพูดต่อสาธารณะมากกว่า การสอนแบบอ่าน Slide ไม่ควรอ่านโน้ต พูดเป็นแนวสบาย ๆ กับสิ่งที่อยากพูด ไม่ควรมี Background Screen ไม่มีสิ่งของเร้าสายตาผู้เรียน ขอให้ Focus ที่ใบหน้าผู้สอนก็พอ
  • หาห้องเงียบ ไม่มีสิ่งเร้าผู้ฟัง ไม่เปิดเพลง แม้จะมองไม่เห็นผู้เรียนทั้งหมด ก็ตั้งคำถามไปยังผู้เรียนได้
  • ควรใส่ชุดสีเข้มหรือสีดำ ไม่ต้องแต่งหน้าเพราะไม่ได้ออกรายการทีวี ถ้าอยากแต่งหน้า ก็ใช้เพียงแปรงทาแป้งรองพื้นสีอ่อนพอ ใช้ไมค์คลิปไม่แพงก็พอ
  • ลองเช็คการสอนผ่านท่ายืน จะได้เห็นการผงกศรีษะ การใช้มือ การแสดสีหน้า รอยยิ้ม ท่าทาง ที่เป็นธรรมชาติ มองสบตากล้องให้มากที่สุด โดยมุมกล้องไม่แหง่น (Eye contact, Best look & voice)
  • ควรเพิ่มแสงจากไฟตั้งโต๊ะ และให้แสงธรรมชาติเข้ามาที่หน้าต่าง มาอยู่ข้างหน้าผู้สอน จะได้ไม่ทำให้หน้าผู้สอนดำมืด ไม่ควรนั่งเอนหลังสบายเกินไป จะทำให้ได้บรรยากาศไม่ตั้งใจเรียน โน้มตัวเข้าหากล้องสัก 15 องศา

สื่อออนไลน์ได้สุขภาวะ

  • การเรียนออนไลน์จะจัดตามตารางสอนในชั้นเรียนไม่ได้ เพราะการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ และ/หรือ การก้มมองมือถือกับไอแพดนานเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อสุขภาพดี เรียนหน้าคอม 25 นาที พัก 5 นาที ทำได้ 3 รอบ จากนั้นให้พัก 15 นาที ในทางกิจกรรมบำบัด เราได้ออกแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิตลดภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนและเด็กนักศึกษาที่นั่งหน้าจอคอมมากเกินไป คลิกเรียนรู้ที่ ชวนเด็กขยับกายสกัด "โรคอ้วน" อันตรายเงียบ..ชีวิตนิวนอร์มอล (thaipost.net) และที่สำคัญสุดคือ การดูแลสุขภาพตนเองให้พร้อมก่อนดูแลครอบครัวโดยระยะห่างแต่ห่วงใย คลิกเรียนรู้ที่ กิจกรรมเชิงบวกดูแลตัวเอง WFH ช่วยเว้นระยะห่างอย่างมีคุณภาพ (thaipost.net)
  • ป.1-3 ออนไลน์ไม่เกิน 1-2 ชม.ต่อวัน ป.4-6 ออนไลน์ไม่เกิน 2-3 ชม.ต่อวัน ม.1-6 ออนไลน์ไม่เกิน 3-4 ชม.ต่อวัน ในทางสุขภาพ อ้างอิงจาก A Virtual Learning Schedule Should Be Shorter Than a Regular School Day (weareteachers.com) ที่สำคัญการเรียนรู้ในวัยเรียนเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน ไม่จำเป็นต้องออนไลน์ตลอดเวลา เช่น การเรียนทำอาหาร การเรียนเล่นเครื่องเล่นดนตรี การเรียนศิลปกรรม การเรียนนันทการ หรือ กิจกรรมที่เติมชีวิตให้สนุกสนาน ผ่อนคลาย และเพลิดเพลิน จนถึงการเรียนนันทนจิต หรือ กิจกรรมที่ใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์ อย่างน้อย 1 ชม.ต่อวัน
  • ลองดูแผนภาพที่ผมแนะนำไว้นานแล้ว ขอบคุณทีมงาน Mahidol Channel ที่ทำ Infographic ดีต่อใจครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 691452เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2021 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2021 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท