ชีวิตที่พอเพียง ๔๑๕๓. หลัก ๒๐ : ๖๐ : ๒๐


 

นี่คือวิธีคิดเชิงยุทธศาสตร์ สำหรับสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร หรือในสังคม   ที่ย่อมต้องเผชิญแรงเสียดทาน หรือการต่อต้าน เสมอ   มากบ้างน้อยบ้าง

ยุคนี้เป็นยุค disruptive change   ผู้บริหารทั้งหลายต้องหาทางบริหารการเปลี่ยนแปลง    ในหลายกรณีผู้บริหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาวิทยาลัย) ไม่กล้าหรือท้อ   เพราะรู้ว่าจะต้องโดนต่อต้านจากอาจารย์บางกลุ่ม   

ผมแนะนำให้บริหารการเปลี่ยนแปลงโดยใช้สูตร 20 – 60 – 20    ซึ่งหมายถึงสมาชิกขององค์กรร้อยละ ๒๐, ๖๐ และ ๒๐   ร้อยละ ๒๐ แรกเป็นกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลายคนดำเนินการตามแนวทางใหม่ไปบ้างแล้ว   ต้องไปชวนคนกลุ่มนี้เป็นผู้ดำเนินการในแนวทางใหม่ เพื่อแสดงให้คนในองค์กรเห็นว่า ก่อผลดี   ทั้งดีต่อองค์กรหรือส่วนรวม และดีต่อผู้ปฏิบัติงาน    อีกร้อยละ ๖๐ เป็นกลุ่มกลางๆ พร้อมจะเปลี่ยนแปลงหากบรรยากาศเอื้อ   ให้ใช้ทั้งคนและผลงานของร้อยละ ๒๐ แรก ชักจูงคนกลุ่มร้อยละ ๖๐ เข้าร่วมขบวน   

ส่วนคนร้อยละ ๒๐ หลังอย่าพยายามเปลี่ยน เพราะจะเปลืองแรงมาก และอาจไปรบกวนความเคยชินของเขา    ที่ต้องการทำงานแบบเดิมๆ อยู่ใน comfort zone   หากพยายามไปเปลี่ยนเขาอาจรวมตัวกันต่อต้าน    เพราะเขารู้สึกว่าสูญเสียศักดิ์ศรี

ในทางปฏิบัติจริง ไม่ตรงไปตรงมาอย่างนี้    เพราะในหลายกรณี คนที่เริ่มต้นอยู่นกลุ่มร้อยละ ๒๐ หลัง   เมื่อเห็นด้วยตนเองว่าแนวทางใหม่มีคุณค่าแท้จริง    เขาอาจย้ายตัวเองมาอยู่ในกลุ่มร้อยละ ๒๐ แรก  และอาจกลายเป็นหัวโจกของกลุ่มนี้ไปเลยก็มีให้เห็นบ่อยๆ   

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ม.ค. ๖๕ 

 

    

หมายเลขบันทึก: 697810เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2022 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2022 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท