ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน (Transformational Leadership)


บทเขียนที่แล้วผมได้เขียนเกี่ยวกับ Change Leadership  ก้บTransformational Leadership ว่าต่างกันอย่างไร บทเขียนนี้ขออนุญาตนำเสนอเกี่ยวกับ Transformational Leadership (ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน) ตามแนวคิดของ Bass & Avolio (Bass, B.M. & Avolio, B.J.: Improving organizational effectiveness through transformational leadership, 1994 และ Avolio, B.J. & Bass, M.B.: Developing potential across a full range leadership: A case on transactional and transformational leadership, 2002)

Transformational leadership  เป็นภาวะผู้นำที่บุคลกรในองค์การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธทำงานของตนจากการนำของผู้นำที่ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำงานของตนเอง ด้วยสิ่งที่ Bass & Avolio เรียกว่า 4Is หรือที่ผมถอดความเป็นภาษาไทยว่า ‘4ส’ 

ส1:  การสร้างอุดมการณ์ต้นแบบ (Idealized Influence) พฤติกรรมผู้นำเป็นต้นแบบสำคัญในการทำงาน ผู้นำอยากนำองค์การไปในทิศทางใด ตัวเขาเองต้องประพฤติตนให้เป็นต้นแบบในทิศทางนั้น ผู้นำต้องเป็นผู้ที่ผู้ตามชื่นชม เชื่อถือ และเคารพ ทำใหนสิ่งที่ถูกที่ควร มีมาตรฐานทางจริยธรรมสูง ไม่ใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน และผู้นำต้องร่วมแบกรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับผู้นตามเสมอ และมีความคงเส้นคงวาของพฤติกรรมการนำที่กล่าวมาข้างต้น 

ส2: การเสริมสร้างแรงจูงใจ (Inspirational motivation) ผู้นำการปรับเปลี่ยนมีพฤติกรรมที่จูงใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง โดยการให้ความหมายและความท้าทายกับเพื่อนร่วมงาน สร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมงาน มีความไว้วางใจและมองโลกในเชิงบวก ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์สู่อนาคตที่ดี มีการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์การ 

ส3: การเสริมสร้างพลังปัญญา (Intellectual stimulation) ผู้นำการปรับเปลี่ยนกระตุ้นพลังเพื่อนร่วมงานในการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานที่เป็นอยู่  มุมมองต่อปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวการทำงานดังเดิม กับสิ่งท้าทายใหม่ว่ายังใช้ได้หรือไม่ เชิญชวนให้ทุกคนมีส่วนร่วม หรือนำเสนอแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ อย่างเต็มที่ ไม่วิพากษ์วิจารณ์ความคิดหรือข้อเสนอเพียงเพราะสิ่งนั้นแตกต่างจากที่ผู้นำคิด หรือเชื่อ 

ส4: การใส่ใจรายบุคคล (Individualized consideration) ผู้นำแบบปรับเปลี่ยนใส่ใจอย่างจริงจังต่อความต้องการจำเป็นหรือประสงค์ของเพื่อนร่วมงานเป็นรายบุคคลทั้งด้านผมสัมฤทธิ์และความก้าวหน้าของแต่ละคน ยอมรับในความแตกต่างของบุคคล  ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงหรือโคชเพื่อความก้าวหน้าของทุกคน สร้างบรรยากาศแบบเกื้อหนุน มีการสื่อสารสองทาง สื่อสารเป็นรายบุคคล รับฟังอย่างใส่ใจ กระจายอำนาจการิหาร และบริหารแบบเดินดูงานด้วยตนเอง แต่ต้องระมัดวังไม่ให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกว่าถูกจับผิด เป็นต้น 

นี่คือองค์ประกอบสำคัญของการเป็นผู้นำแบบปรับเปลี่ยนตามแนวคิดของ Bass & Avolio ครับ 

สมาน อ้ศวภูมิ

12 สิงหาคม 2565

หมายเลขบันทึก: 705293เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2022 06:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2022 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท