การพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดความเสี่ยงระดับ E ขึ้นไปในผู้ป่วย OPD ที่ได้รับการฉีดยา


ชื่อเรื่องการพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดความเสี่ยงระดับ E ขึ้นไปในผู้ป่วย OPD ที่ได้รับการฉีดยา

ชื่อผู้วิจัย นางอัจฉรา ศรีทองคำ

ชื่อหน่วยงาน งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยโสธร เบอร์โทรศัพท์ 

รูปแบบการนำเสนอ แบบบรรยาย(Oral Presentation) สาขา R2R

บทคัดย่อ

บทนำ ความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาสำหรับผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ทุกฝ่าย และเป็นสิ่งที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลที่ได้มาตรฐานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาและได้รับยาฉีดที่ห้องฉีดยาแผนกผู้ป่วยนอก ถมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงเกิดขึ้นหลายอย่าง อาทิเช่น การฉีดยาผิด การแพ้ยา การเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะฉีดและหลังฉีดยา ดังนั้นความปลอดภัยของผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งที่พยาบาลต้องตระหนักและให้ความสำคัญตลอดระยะเวลาที่รับผู้ป่วยไว้ในความดูแล วัตถุประสงค: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดความเสี่ยงระดับ E ขึ้นไปในผู้ป่วย OPD ที่ได้รับการฉีดยา วิธีศึกษา: รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุมตัวอยางคัดเลือกแบบเจาะจง การวิจัยแบงเปน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ ระยะที่ 2 พัฒนาพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดความเสี่ยงระดับ E ขึ้นไปในผู้ป่วย OPD ที่ได้รับการฉีดยา และระยะที่ 3 การประเมินผล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา:1) 1) การศึกษาสถานการณ์ 1.1) ด้านโครงสร้างระบบการป้องกันการเกิดความเสี่ยงระดับ E ขึ้นไปในผู้ป่วย OPD ที่ได้รับการฉีดยายังไม่เป็นระบบชัดเจน 1.2 ด้านกระบวนการ การดูแลผู้ป่วยยังขาดความต่อเนื่องไม่ครบตามกระบวนการพยาบาล 1.3 ด้านผลลัพธ์ การเฝ้าระวังความเสี่ยงระดับ E มีโอกาสเกิดอุบัติการณ์สูง 2) ระบบการป้องกันการเกิดความเสี่ยงระดับ E ขึ้นไปในผู้ป่วย OPD ที่ได้รับการฉีดยาที่พัฒนาขึ้นได้บูรณาการ 2 แนวคิดคือ การเน้นการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย และแนวคิดการบริหารความเสี่ยง 2P Safety  ผลของระบบการป้องกันการเกิดความเสี่ยงระดับ E ขึ้นไปในผู้ป่วย OPD ที่ได้รับการฉีดยา ที่พัฒนาขึ้น (2.1) จำนวนผู้ป่วยที่มารับการฉีดยาที่ห้องฉีดยา 700(N) ราย กลุ่มเฝ้าระวังเสี่ยงสูงที่ต้องสังเกตอาการ ร้อยละ 7(N=49) กลุ่มเสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 23(N=161) และกลุ่มเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 70(N=490) (2.2) ผู้ป่วยที่มารับบริการมีความพึงพอใจร้อยละ 91 ตอระบบการป้องกันการเกิดความเสี่ยงระดับ E ขึ้นไปในผู้ป่วย OPD ที่ได้รับการฉีดยา (2.3) ความเสี่ยงระดับ E เท่ากับ 0 และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างฉีดยาและหลังฉีดยา เท่ากับ 0

 

คำสำคัญ: การพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดความเสี่ยง, ความเสี่ยงระดับ E, ห้องฉีดยาแผนกผู้ป่วยนอก

หมายเลขบันทึก: 705921เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท