ออกจากความวิตกกังวล 5 ขั้นตอน


      พระพุทธเจ้าประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสสอนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอควรนึกถึงนิมิต๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน?

        1) เมื่อนึกถึงเรื่องใด เกิดความคิดฝ่ายชั่วขึ้น ให้เปลี่ยนเรื่องนั้น ไปสู่เรื่องอื่นที่ประกอบด้วยกุศล จะทำจิตให้เป็นสมาธิได้ เปรียบเหมือนนายช่างเอาลิ่มเนื้อละเอียดมาตอกเอาลิ่มเนื้อหยาบออกไปฉะนั้น

        2) แต่ถ้าความคิดฝ่ายชั่วยังเกิดขึ้น ก็ให้พิจารณาโทษของความคิดฝ่ายชั่ว จะทำจิตให้เป็นสมาธิได้ เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาวที่รักสวยรักงาม รังเกียจซากศพที่มาคล้องอยู่ที่คอฉะนั้น

        3) แต่ถ้าความคิดฝ่ายชั่วยังเกิดขึ้น ก็พึงไม่ระลึก ไม่ใส่ใจในความคิดฝ่ายชั่วนั้นเหล่านั้น จะทำจิตให้เป็นสมาธิได้ เปรียบเหมือนคนตาดี ไม่ต้องการเห็นรูป ก็หลับตาเสีย หรือมองไปทางอื่น

        4) แต่ถ้าความคิดฝ่ายชั่วยังเกิดขึ้น ก็พึงพิจารณาถึงเหตุของความคิด คือดูว่าอะไรเป็นเหตุให้ความคิดฝ่ายชั่วเกิดขึ้น จะทำจิตให้เป็นสมาธิได้ เปรียบเหมือนคนเดินเร็ว เดินช้าลง หยุด ยืน นั่ง นอน สละอิริยาบถหยาบๆ ทำอิริยาบถที่ละเอียดขึ้นๆ

         5) แต่ถ้าความคิดฝ่ายชั่วก็ยังเกิดขึ้น ก็พึงเอาฟันกดฟัน เอาลิ้นกดเพดาน ข่มขี่บีบคั้นจิต เปรียบเหมือนคนมีกำลังกว่า จับคอคนมีกำลังน้อยกว่า ข่มขี่บีบคั้นฉะนั้น

Note

1) เมื่อทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่าชำนาญในทางที่เกี่ยวกับความคิด (วิตก ความตรึก) ประสงค์จะคิดเรื่องอะไร ก็คิดได้ ไม่ประสงค์จะคิดเรื่องอะไร ก็ไม่คิดได้ ตัดความวิตกกังวลลงได้ ทำให้นอนหลับเป็นสุข ทำความทุกข์ให้ลดลงได้

2) นิมิต ในที่นี้แปลว่า "วิธีการ"

3) กุศล แปลว่า "ฝ่ายดี ฝ่ายสว่าง ฝ่ายบวก" ตรงข้ามกับอกุศลที่แปลว่า"ฝ่ายชั่ว ฝ่ายมืด ฝ่ายลบ"

 

อาจเป็นรูปภาพของ ต้นไม้, กลางแจ้ง และ ข้อความ
หมายเลขบันทึก: 709537เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2022 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2022 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท