"ห่วงโซ่การผลิต" และ "ห่วงโซ่คุณค่า" ของพฤกษ์ (จับประเด็น)


ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธุ์  ผมได้แบ่งปันผลการระดมสมองเกี่ยวกับประโยชน์ของ “พฤกษ์” ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม ….  วันนี้ ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่เห็นว่าสำคัญ … ที่นักพัฒนาชุมชน ควรจะเห็น “คน” ในแต่ละบทบาท ในห่วงโซ่การผลิต …เกี่ยวกับต้นพฤกษ์ ดังภาพ 

ในภาพเป็น “ห่วงโซ่คุณค่า” … แสดงให้เห็น “คน” ที่เกี่ยวข้องกับพฤกษ์ซึ่งอยู่ใน “ห่วงโซ่การผลิต” สินค้าจากพฤกษ์ …. ย้ำว่า นี่เป็นผลของการระดมสมอง … ยังต้องไปลงมือทำ… ต่อไป …

สินค้าที่คาดว่าจะเป็นผลผลิตจากต้นพฤกษ์ ได้แก่ ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ไม้แกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ และถ่านบำรุงดิน ส่วนเรื่องการนำใบอ่อนของพฤกษ์มากิน และเรื่องการดอกไปทำชา ยังไม่ได้นำมาไว้ในห่วงแห่งการขาย 

หรือหากมองไปในมุมของ “คนทอผ้า ย้อมสี” ก็จะมีคนอื่น ๆ ในชุมชนที่เกี่ยวข้องด้วย ดังภาพ เช่น คนเลี้ยงไหม คนทอผ้า ซึ่งจะนำเอา แก่นพฤกษ์ ขี้เลื่อย หรือ เปลือกพฤกษ์ มาศึกษาทดลองย้อมเป็นเชดสีต่าง ๆ  …. วันหน้าอาจได้นำมาแสดงเป็นตัวอย่างครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 711831เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2023 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2023 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท