ชีวิตที่พอเพียง 4486. อยู่กับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (๕๐) บันทึกเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ๒๕๖๖


   

ผมเล่าเรื่องชีวิตยามสมองเสื่อมของสาวน้อยเป็นระยะๆ () ((๓)  (๔)  (๕)  (๖)   (๗)   (๘)   (๙)   (๑๐)   (๑๑)    (๑๒)   ๑๓   ๑๔   ๑๕  ๑๖  ๑๗  (๑๘)  (๑๙)  (๒๐)  (๒๑)   (๒๒)  (๒๓)   (๒๔)   (๒๕)   (๒๖)    (๒๗)    ๒๘  ๒๙   ๓๐   ๓๑   ๓๒   ๓๓   ๓๔   ๓๕   (๓๖)   (๓๗)    (๓๘)   (๓๙)   (๔๐)   (๔๑)   (๔๒)  (๔๓)   (๔๔)  (๔๕)  (๔๖)   (๔๗)   (๔๘)  (๔๙)  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับท่านผู้อื่นที่ต้องเผชิญสภาพคล้ายๆ กัน ที่นับวันจะมีจำนวนมากขึ้น   

อาการ Parkinson ชัดเจนขึ้น

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ไปตรวจกับ อ. หมอยงชัย นิละนนท์ ตามนัด    อาการที่ชัดขึ้นมากคือมือขวาสั่นมากขึ้น สั่นมากกว่ามือซ้ายอย่างชัดเจน   อาจารย์บอกว่าการที่อาการสองข้างรุนแรงต่างกันเป็นตัวบอกว่าเป็นโรค Parkinson    ท่านจึงเพิ่มยา Tab Madopar (250 mg) เดิมกิน ¼ เม็ดเช้าค่ำ   เพิ่มตอนเที่ยงด้วย   

อาการมืขวาสั่นนี้ ทำให้เวลาหยิบอาหารเข้าปากมักใช้มือซ้าย ทั้งๆ ที่เป็นคนถนัดขวา    เราพยายามให้เอาช้อนใส่อาหารเข้าปากเอง    เพื่อให้การเคลื่อนไหวมือช่วยกระตุ้นสมอง   ตอนนี้ไม่สามารถใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้    ผมบอกปิ่น นักบริบาล ให้ใช้ช้อนพิเศษ ที่ช่วยให้ใช้มือเอาอาหารเข้าปากเองง่ายขึ้น   โดยปิ่นช่วยตักอาหารใส่ช้อน แล้วเอาด้ามช้อนใส่มือ       

ไปทำบุญบรรพบุรุษของผมชุมพร 

วันที่ ๒๙ - ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เรานั่งรถยนต์ไปชุมพร เพื่อร่วมงานทำบุญบรรพบุรุษ และรวมญาติประจำปี   น้องๆ ต่างก็ชมว่าพี่ตุ๋นหน้าตาแจ่มใส ดูมีความสุข    เวลาคนมาทักก็ยิ้มแย้มและรับไหว้     กับบางคนก็บอกว่าจำได้  แต่กับบางคนก็ส่ายหน้ายิ้มๆ   

ประยุกต์หลักการ neurodiversity

นี่คือหลักการใหม่ที่ผมเพิ่งเรียนรู้เมื่อปลายเดือน กรกฎาคม ๒๕๖๖ และบันทึกไว้ ที่นี่     ผมตีความว่าเป็นหลักการทางจิตวิทยา   เพื่อช่วยให้คนสมองเสื่อรู้สึกมีความมั่นใจในตัวตนของตนเอง    ช่วยให้มีความสุข    ซึ่งที่ผ่านมาผมใช้แบบมวยวัด และน่าจะมีส่วนช่วยให้เธอมีหน้าตาท่าทางและพฤติกรรมที่ส่อว่าเธอรู้สึกว่าตนมีชีวิตที่ปลอดภัย    ได้รับการยอมรับสภาพที่เป็นอยู่    และตัวเธอก็ยอมรับสภาพของตนเอง 

เราอยู่ที่ไหน

ช่วงต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ เธอถามผมหลายครั้ง ว่า “เราอยู่ที่ไหน”    บ่งบอกว่า ความรู้สึกและความจำด้านสถานที่เสื่อมไป  เมื่อผมบอกว่า “อยู่ที่บ้านของตุ๋น”   “บ้านของเรา”  “เราช่วยกันออกเงินซื้อ” เธอก็หัวเราะชอบใจ    ผมถามต่อว่า “ดีไหม”  “บ้านนี้อยู่สบายไหม”   เธอจะตอบว่า “ดี”    เป็นการสนทนาเพื่อสร้างอารมณ์บวก    อารมณ์ความรู้สึกปลอดภัย   

ลูกสาวพาไปกินอาหารนอกบ้าน

วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นวันหยุดชดเชย   ใต้ลูกสาวคนเล็กเดินทางมาจากสิงคโปร์ แล้วนำรถตู้มารับแม่ พ่อ พี่สาว แม่บ้านของต้อง และปิ่น นักบริบาล   ไปกินอาหารเที่ยงที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ   แล้วไปซื้อรองเท้าที่ร้านไนกี้ที่เมืองทองธานี    โดยเราเอารถเข็นนั่งไปเข็นเธอ   ดังรูป 

วันนี้เธอขึ้นลงรถตู้ได้ดีกว่าครั้งก่อนๆ    และกินอาหารได้มาก   

เลี้ยงฉลองวันเกิด ๘๐ ปี

วันที่ ๒๗ สิงหาคม เป็นวันครบรอบวันเกิด ๘๐ ปี   ใต้มารับไปกินอาหารเที่ยงที่ร้านเรือนไทยกุ้งเผา วัดเชิงเลน   ไปกัน ๔ คน คือชมพู่ นักบริบาลที่มาดูแลคุณยายอมราไปช่วยดูแลด้วย    ตกเย็นลูกสาว ๓ คนพร้อมหน้ากันพาแม่ไปกินเลี้ยงที่ร้านข้าวต้มชัยโภชนา  ที่ถนนสามัคคี โดยแป๋ม แม่บ้านของต้องขอติดไปชิมอาหารด้วย   มีความสุขกันถ้วนหน้า     ทุกคนมีความสุขที่เห็นเธอมีความสุข      

วิจารณ์ พานิช          

๓๑ ส.ค. ๖๖

 

 

 

 

1 ที่โต๊ะอาหารเช้า โรงแรมเอเต้  ๓๐ ก.ค. ๖๖

2 กับพี่ต๋อย และพี่อี๊ด ศิริสัมพันธ์  ห้องอาหารเช้า โรงแรมเอเต้

3 ๓๐ ก.ค. ๖๖ กิ๊ก ลูกสาวของคุณวิเชียร มานั่งเป็นเพื่อนระหว่างพระสวด เพราะไม่สะดวกที่จะเดินไปอีกอาคารหนึ่ง

4 เที่ยงวันที่ ๑๔ ส.ค. ๖๖ กินอาหารเที่ยงที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ

5 สามีปรนนิบัติ

6 ลูกสาวซื้อรองเท้าใหม่ให้

7 ลูกสาวพาไปเลี้ยงวันเกิดที่ร้านเรือนไทยกุ้งเผา วัดเชิงเลน

8 ดอกไม้อวยพรวันเกิดจากลูกสาว

9 เลี้ยงวันเกิดตอนเย็นที่ร้านข้าวต้ม

 

10 เป่าเทียนเค้กวันเกิด

หมายเลขบันทึก: 714432เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2023 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2023 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท