ความคิดเห็นในเชิงการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองในประเทศฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และประเทศไทย


 

Clark  D. Neher

บทความในนี้เน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพราะความสัมพันธ์อันนี้เป็นพื้นฐานทางสังคมการเมืองในประเทศฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, และประเทศไทย. บทตั้งของมันคือ ระบบความสัมพันธ์ทางการเมืองและสังคมจะเข้าใจได้ โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 คนในหมู่พลเมือง. ในประเทศทั้ง 3 ประเทศรูปแบบขั้นปฐมของการโต้ตอบสื่อสารคือ ความสัมพันธ์เชิงการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้อุปถัมภ์ กับผู้ใต้อุปถัมภ์ ซึ่งอาจนับโดยเป็นบุคคล, ความสัมพันธ์แบบหมูไปไก่มาระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคล ที่มีทรัพยากรไม่เท่ากัน. การปฏิสัมพันธ์แบบมีผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายมีการแตกกิ่งก้านสาขาออกไปเกินกว่าการปฏิสัมพันธ์กันเป็นคู่ หรือกลุ่มบุคคล. โดยย่อระบบความสัมพันธ์ทั้งทางการเมืองและสังคมตั้งอยู่บนผู้อุปถัมภ์และผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์แบบเห็นหน้าค่าตากันและกันเป็นช่วงชั้น และสำเร็จประโยชน์ร่วมกัน. ความสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า ความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อ-ลูกน้อง ได้สร้างโครงสร้างทางสังคมและการเมืองของทั้ง 3 ประเทศ. ระบบนี้ยังคงอยู่ และดำเนินต่อไปด้วยเป็นลักษณะแก่นของสังคม เป็นสังคมที่แบ่งเป็นช่วงชั้น ที่จะให้รางวัลกับบุคคล และหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ไม่พึงปรารถนา.

ความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องไม่ใช่มีเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น เยื่อใยในลักษณะเดียวกันยังจะพบได้ในสังคมที่มีโครงสร้างแบบเหลื่อมล้ำ และมีความเป็นสถาบันน้อย ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะ และความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องยังเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับพลเมืองได้ด้วย. ในสังคมที่ซึ่งมีสถาบันใหม่ๆ เช่น ระบบราชการ, พรรคการเมือง, กลุ่มกดดัน, และสภานิติบัญญัติ ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือถูกจำกัด ความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องจึงกลายมาเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและพลเมือง. ในสังคมที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลจะทำสิ่งซึ่งไม่เป็นการขัดสิทธิเสรีภาพในสังคมที่มีความมีสถาบันสูง

ความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องจะเจริญเติบโตในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำในความาร่ำรวย, สถานภาพ, และการควบคุม. สำหรับชาวนาในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีความขาดทางทรัพยากร ที่ความจำเป็นการต่อการดำรงชีวิตอยู่ และความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่เอื้อต่อการมีชีวิตรอด. เมื่อแหล่งทรัพยากรในเรื่องของสินค้าและการบริการเริ่มขยาย ลูกน้องหรือเจ้าพ่อก็ยิ่งขึ้นต่อกันน้อยลง. ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทรัพยากรในเชิงเศรษฐกิจยังคงมีอยู่อย่างไม่พอเพียง คนที่เข้าถึงทรัพยากรดังกล่าวได้อย่างจำกัด จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์หรือเป็นพันธมิตรกับคนที่มีสถานภาพสูงกว่า. ผู้อุปถัมภ์จะมีอำนาจต่อลูกน้อง และขูดรีดแรงงาน, การป้องกัน, การคุ้มครอง หรือรางวัลอื่น ๆ เพื่อผลประโยน์ของตัว.

ประเทศไทย

องค์ประกอบที่สำคัญในโครงสร้างของสังคมไทยคือความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์และผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์. เมื่อคน 2 คน หรือมากกว่าเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน จะมีความรู้สึกขึ้นในทันทีถึงผู้ใดแก่กว่าหรืออ่อนกว่า เหมือนกับการนับญาติ ในทุก ๆ กรณีจะมีความสับสน (ถ้ามี) ว่าใครแก่กว่า, ร่ำรวยกว่า, มีการศึกษามากกว่า, หรือและมีสถานภาพสูงกว่า. เมื่อความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์และผู้ใต้อุปถัมภ์เกิดขึ้น รูปแบบพฤติกรรมที่ได้รับความเห็นชอบจากสังคมจะถูกนำมาใช้.

ผู้อุปถัมภ์จะต้องมีความเมตตาและใจดี. เขาแสดงคุณภาพนี้โดยการป้องกัน, ช่วยเหลือ, ชมเชย, และแสดงความใจดีต่อผู้รับการอุปถัมภ์. ในทางกลับกัน ผู้รับการอุปถัมภ์ต้องแสดงความนับถือต่อผู้อุปถัมภ์ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเจ้าพ่อ. ลูกน้องต้องกระทำภาระงานจนเต็มความสามารถ และก่อให้เกิดปัญหาน้อยที่สุดกับหัวหน้า.

คำว่า “เกรงใจ” เป็นคุณธรรมแบบโบราณในประเทศไทย ความหมายคือต้องไม่ทำให้คนอื่นๆเดือดร้อน และไม่หักหน้าคนอื่นๆ แทนที่จะขอสิ่งที่ชอบจากเจ้านาย ซึ่งอาจทำให้เขารู้สึกไม่พอใจ แต่ลูกน้องจะต้องหาทางเลือกอื่นๆเพื่อตอบสนองเจ้านายของตนให้ได้ หรืออาจลดทอนการเผชิญหน้าแบบทำให้เสียหน้ากับเจ้านาย. Herbert Rubin ได้ชี้ให้เห็นว่า คำว่าเกรงใจ มี 2 ความหมาย คือ

1. อยู่ด้วยความน่าเกรงขาม หรือรู้สึกกลัว และ

2. ความรู้สึกอ่อนน้อม เพราะไม่สามารถหาสิ่งของหรือสินค้ามาทดแทนได้. จริงๆแล้ว “เกรงใจ” คือการสื่อสารระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ ซึ่งลูกน้องไม่มีสิทธิพูด จนกว่าจะถูกพูดด้วยเท่านั้น. และความเกรงใจยังทำหน้าที่ป้องกันผู้อุปถัมภ์จากความต้องการอันไม่สิ้นสุดจากลูกน้อง.

ความสัมพันธ์แบบเจ้านาย-ลูกน้อง ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบสมบูรณ์แบบ ถึงแม้ว่าธรรมชาติของการแลกเปลี่ยนเจ้านายจะมีอำนาจเหนือลูกน้อง. อำนาจจะอยู่ในความไม่สมบูรณ์ของข้อผูกพันอันนั้น. หากปัจเจกบุคคลมีทรัพยากรในมือน้อย แต่เขามีความต้องการมาก คนที่มีทรัพยากรที่ปัจเจกบุคคลต้องการมากก็จะมีอำนาจเหนือปัจเจกบุคคลคนนั้น. อย่างไรก็ตาม จะมีข้อจำกัดในเรื่องอำนาจที่เจ้าพ่อมีเหนือลูกน้อง เช่น หากเจ้าพ่อมีความต้องการมากเกินไป ลูกน้องอาจไปหาผู้อุปถัมภ์คนใหม่ได้.

ที่ตรงกันข้ามกับประเทศอินโดนีเซีย ที่รูปแบบเจ้าหน้าที่แบบโบราณค่อนข้างคงที่, และที่ฟิลิปปินส์ ที่สำนึกของความอับอายยังคงอยู่อย่างเหนียวแน่น แต่กับคนไทยชอบย้ายจากความสัมพันธ์แบบเจ้านายกับลูกน้องจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง. พูดง่ายก็คือจะมีการลงหลักปักฐานกับเจ้าพ่อคนใดคนหนึ่งเป็นจำนวนน้อย. ทั้งเจ้าพ่อและลูกน้องจะประเมินข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของความสัมพันธ์เพื่อตัดสินใจว่าเจ้าพ่อคนไหนและลูกน้องคนไหนให้รางวัลสูงที่สุดกว่ากัน. ในหลายๆกรณี ลูกน้องที่กำลังหาความสัมพันธ์แบบเจ้านาย-ลูกน้องอาจเป็นข้อเสียเปรียบ เขาจะต้องเลิกติดต่อกับเจ้าพ่อคนใดคนหนึ่งเพราะไม่ต้องการจะรับข้อผูกมัดจากการไปเข้าสังกัดนั้น. โดยนัยยะเดียวกัน เจ้าพ่อที่มีอำนาจอาจหลีกเลี่ยงในการติดต่อกับกลุ่มบางกลุ่ม และโครงการ เพื่อที่จะไม่ต้องเสียทรัพยากรให้พวกนี้มากเกินไป.

ในตอนเริ่มต้น การผูกมัดแบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องแรกเริ่มเดิมทีเป็นการติดต่อหรือความสัมพันธ์แบบส่วนบุคคล เช่นจากญาติหรือจากกลุ่ม, การติดต่อกับราชการ, ความสัมพันธ์กับโรงเรียน, หรือสาแหรกจากหมู่บ้านเป็นต้น และวางอยู่บนความภักดีส่วนบุคคล. อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกำลังเริ่มเสื่อมลงเป็นอย่างมาก และความสัมพันธ์แบบเครื่องมือกำลังเข้ามาแทนที่.

ในชนบทของประเทศไทย ความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องจะปรากฏในประสบการณ์ทุกๆรูปแบบ นั่นคือ เจ้าพ่อสามารถตอบสนองความต้องการทุกรูปแบบของเหล่าลูกน้อง. ความต้องการด้านการศึกษา, การจัดการบ้าน, หรือแม้แต่เรื่องงานได้รับการตอบสนอง ขอเพียงแต่ช่วยเรื่องกำลังแรงงาน, การโอนอ่อนผ่อนตาม, และการป้องกันเท่านั้น. มันไม่มีความจำเป็นในเรื่องการตอบแทนด้วยเงินเสมอไป แต่การแลกเปลี่ยนต้องเป็นสิ่งที่คุ้มค่า. ในสังคมเมือง ระบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องจะเป็นเรื่องเฉพาะและไม่เกี่ยวกับบุคคล ดังนั้นลูกน้องจึงมีเจ้านายมากกว่า 1 คนเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง.

ในการเมืองไทย บุคคลที่จะเป็นเจ้าพ่อได้บางทีอาจเกี่ยวข้องกับการที่เขามีช่วงชั้นระดับสูงในวงราชการ. ในการเมืองระดับชาติ เจ้าพ่อที่ใหญ่ที่สุดคือเจ้าพ่อที่สามารถสั่งคณะรัฐมนตรีได้ และเครือข่ายผู้อุปถัมภ์จะกระจายลงในทุกตำแหน่งของช่วงชั้น. บทบาทที่เหมาะสมในระบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องส่งผลต่อการกระทำทางการเมืองในขณะนั้นด้วย. ภายในบริบทในเรื่องตำแหน่ง ลูกน้องจะคล้อยตามการตัดสินใจของเจ้านาย เพราะเป็นธรรมชาติอยู่แล้วที่ลูกน้องต้องทำอย่างนั้น. ยิ่งไปกว่านั้น พวกชาวนาแทบจะไม่เคยต้องทำอะไรเลย.

ธรรมชาติของความเหลื่อมล้ำในระบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องนี้ในบางครั้งอาจมีการล่วงล้ำช่วงชั้นกันขึ้นมาก็ได้ ดังนั้นการเลือกของลูกน้องจึงมีความสำคัญ. นอกจากนี้เจ้าพ่อจะรู้สึกกดดันในการดูแลความต้องการของลูกน้องด้วยท่าทีเมตตาเพราะต้องการดึงความภักดีให้อยู่กับกลุ่มของตน. ดังนั้นลูกน้องจึงมีบทบาทสำคัญตราบใดที่ระบบนี้ยังคงดำเนินอยู่.

จุดเด่นที่สำคัญของระบบเจ้าพ่อในประเทศไทยคือเสรีภาพในการตัดสินใจที่จะทำอะไร เป็นปัจเจกบุคคล มากกว่าเป็นตัวแทนของการกระทำระดับกลุ่ม. อย่างไรก็ตาม คนไทยรู้บทบาทของตนเอง (และคนอื่นๆก็รู้บทบาทของตนเองเช่นกัน) ในช่วงชั้นทางสังคม. เขาตระหนักถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมว่าเกิดมาจากความร่ำรวย, อำนาจ, ตำแหน่ง, และความรู้ เขาต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรกับสิ่งที่สังคมคาดหมาย. ความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องซึ่งเป็นหัวใจในสังคมไทยแสดงออกโดยผ่านทางภาษา, การทักทาย, ความอ่อนน้อมถ่อมตน, ความคาดหวัง, และเจตคติของทั้งคนที่เป็นเจ้าพ่อและลูกน้อง. อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากความสัมพันธ์แบบช่วงชั้นแล้ว เราจะไม่พบความสัมพันธ์แบบอื่นๆเลย นั่นแปลว่า คนจะทำในสิ่งที่ปัจเจกบุคคลกำลังทำตามที่สังคมคาดหวัง. แต่เมื่อเขาเริ่มเป็นเจ้าพ่อแล้ว คนไทยก็พร้อมในการปรับพฤติกรรมของตนเองว่าต้องอ่อนน้อมถ่อมตนขนาดไหน.

ในทุกๆระดับ คนที่ใช้กลุ่มแบบเจ้าพ่อ-ลูกน้องนั้นทำหน้าที่บางประการให้กับสังคม เช่น กระจายข้อมูล, แบ่งปันทรัพยากร, และจัดการผู้คน. ดังนั้นกลุ่มพวกนี้จะเล่นบทบาทหลักในการบูรณาการสังคมไทย. กลุ่มนี้คือเครือข่ายของสังคม พูดในอีกแง่หนึ่งคือ เป็นกลุ่มที่ใช้คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปนับจำนวนไม่ได้ ในแต่กลุ่มคือความเชื่อมโยงระหว่างลูกน้องทั่วสังคมไทย และข้ามระบบข้าราชการ และโครงสร้างข้าราชการแบบพิเศษด้วย. ในหลายๆกรณี ความสัมพันธ์แบบเจ้าพ่อคือสิ่งที่จบในตนเอง ในขณะที่อีกหลายกลุ่มเชื่อมโยงช่วงชั้นข้าราชการ. ความลื่นไหลของระบบเจ้าพ่อจะช่วยบูรณาการความสัมพันธ์ โดยการทำให้ลูกน้องที่มีสถานภาพต่ำกว่ามาติดต่อกับกลุ่มของปัจเจกบุคคลที่หลายกลายและอยู่ในระดับสูงกว่า.

ความสันพันธ์ระหว่างบุคคลในหมู่ปัจเจกบุคคลในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ผลประโยชน์เป็นอย่างมากก็ได้ ซึ่งสามารถทำให้แต่ละระบบตอบสนองความปราถนาและคุณค่าในแต่ละสังคมนั้น. ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ กลุ่มผลประโยชน์จะคงอยู่ยาวนาน และตอบสนองทางจิตใจ แต่ในประเทศไทย กลุ่มผลประโยชน์เป็นเครื่องมือในการได้สิ่งของต่างๆมากกว่า. ในฟิลิปปินส์ ครอบครัว และกลุ่มเครือญาติเป็นจุดเน้นของระบบเจ้าพ่อ-ลูกน้อง ในขณะที่ประเทศไทย ครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทางธุรกิจ หรือความสัมพันธ์กับโรงเรียนจะมั่นคงมากกว่า. “หนี้ของสัญญาผูกมัด” ระหว่างลูกน้องและเจ้าพ่อจะมั่นคงกว่าในฟิลิปปินส์ แต่จะคลาดความมั่นคงลงในประเทศไทย.

หมายเลขบันทึก: 714556เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2023 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2023 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท