เศรษฐกิจ  เฟื่องและฟุบ ได้อย่างไร? : โดย ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์


   เศรษฐกิจ  เฟื่องและฟุบ ได้อย่างไร? : โดย ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

                  ตลอด 60 ปี กว่า ของการพัฒนาประเทศ ภายใต้แผนพัฒนา ฉบับที่หนึ่ง ในปี พศ 2504         มาจนถึงแผนพัฒนา ฉบับที่12  ในปัจจุบัน 

                 คนยุคเบบี้บูมอย่างผม ผ่านประสบการณ์เรียนรู้ เรื่องราวข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ มานานพอที่จะสรุปได้ว่า 

                โดยรวมแล้ว ผมได้เห็น เศรษฐกิจไทยเราเจริญก้าวหน้า กว่าก่อนยุคที่ไม่มีการวางแผนพัฒนา อย่างเป็นระบบเป็นอันมาก

                คนยุคผมได้เห็นชัดเจนถึงความสำเร็จของการพัฒนาประเทศ ที่สามารถ ดำเนินยุทธศาสตร์การโยกย้านแรงงานส่วนเกินในภาคการเกษตร ที่ ทำงานในหน้าฝนเพียงฤดูเดียว มีลูกดกยั้วเยี้ย ทั้งโง่ทั้งจน ทั้งเจ็บทั้งหิวในชนบท   เข้าสู่การมีงานทำทั้งปี ในภาคอุตสาหกรรม และบริการทันสมัย ในภาคเมือง

               อาศัยความได้เปรียบในการแข่งขัน ผลิตสินค้า และบริการเพื่อการส่งออกจนทำให้เศรษฐกิจเติบโตก้าวพ้นความเป็นประเทศด้อยพัฒนา ( underdevelop ) ความยากจนในชนบทลดลงไป ประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง รายได้ต่อหัวของคนในประเทศเพิ่มขี้น เป็นลำดับ 

              อย่างไรก็แม้ว่าเราจะก้าวพ้นความเป็นประเทศด้อยพัฒนา มานานแล้ว แต่ปัจจุบันเราก็ยังติดอยู่ในกับดักของประเทศประเทศกำลังพัฒนาในระดับปานกลาง ที่ไม่สามารถก้าวขึ้นไปสู่ประเทศทที่พัฒนาแล้ว 

              การก้าวผ่านกับดักขึ้นชั้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วมีความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายซึ่งใช้วิธีคิด วิธี บริหารจัดการในรูปแบบเดิมๆไม่ได้อีกแล้ว

             เราไม่สามารถที่จะ อาศัยความใด้เปรียบในการแข่งขัน โดยอาศัยแรงงาน และทรัพยากรธรรมชาติต้นทุนถูก ผลิตสินค้าและบริการเพื่อการส่งออกได้อีกต่อไป

           สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเร็วมากกว่าเพื่อนบ้านหลายประเทศ เรากำลังแก่ก่อนรวย ไม่สามารถพัฒนาตนเองให้รวยก่อนแก่ได้แล้ว 

            เราคงต้องคิดทบทวนกันให้ดีๆว่า แหล่งที่มาของการเติบโต ทางเศรษฐกิจ อย่างมีเสถียรภาพ ควบคู่ไปกับการลดช่องว่งของรายได้ มิให้รวยกระจุกจนกระจาย พัฒนากันต่อไปได้อย่างยั่งยืนจะมาจากแหล่งใด

          นักเศรษฐศาสตร์ระดับปลายแถว อย่างผม คิดว่า เงินทุนคงมิใช่ประเด็นสำคัญ ถ้าคิดแต่ระดมเงินลงทุน มากระตุ้นเศรษฐกิจกันแต่อย่างเดียว คงไม่พอแน่นอน หรือจะตั้งคำถามกันว่าหาเงินมาจากไหนลงทุน ผมก็ว่าผิดประเด็น 

         ผมว่าเงินเราหาได้ ไม่ยากคิกจะแก้กฏหมายขยายเพดานหนี้ก็ทำได้ เงินกู้เราต่อ จีดีพี ยังน้อยกว่าหลายประเทศ อย่างอเมริกา ทะลุเพดานเกิน จีดีพี ไปนานแล้ว 

       วาระสำคัญอย่างยิ่งยวด ของสังคมเรา ในการเติบโตต่อไปได้มิใช่เรื่องเงิน ทุนแต่เป็นเรื่องการนำเงินมาใช้ให้เกิด นวตกรรม ใหม่ๆสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ มิใช้แค่ เอาเงินมาโปรยสร้างงานซ้ำๆซากๆแบบเดิมๆกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะจ้างคนมาขุดดินจ้างอีกคนมากลบ

         ผมเห็นว่า เรื่องที่มีความยากลำบาก ที่จะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดเสาะแสวงหากันมากกว่าทุน ก็คือความสามารถในการดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถ สร้างนวตกรรมใหม่ๆมาใช้ในกระบวนการเติบโตทางเศรษฐกิจ 

      ปัจจุบันทุนมิใช่ปัจจัยหลักสำหรับบ้านเราอีกต่อไป ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ  สามารถคิดสร้างสรรนว ตกรรมใหม่ๆ  สำคัญมากกว่า และเป็นสินค้าที่ขาดแคลน มากกว่าทุน 

      การพัฒนาคุณภาพคน ในทุกกลุ่มอายุ  ทุกพื้นที่ชุมชน ของสังคมจึงเป็นวาระสำคัญที่สุดที่กำหนดความของการยู่รอดของชาติอย่างยังยืนในอนาคต 

       ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จ ในการพัฒนาคน หรือทรัพยกรมนุษย์ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการ ทางด้าน ที่เรียกว่า soft sector ทั้งระบบ รวมทั้ง กระบวนการเรียนรู้ ทางด้านเทคโนโลยี การวิจัยพัฒนา ธรรมาภิบาล การสร้างการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรในสังคม การเพิ่มศักยภาพของผู้ด้อยโอกาส การพัฒนาให้ ครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็ง รวมทั้งการดูแลรักษาสภาวะแวดล้อม

      เหล่านี้เป็นประเด็นหลักของชาติมากกว่า เรื่องอื่นๆ

     หมดสมัย งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข มาร่วมเกือบถึ่งศตรรรษแล้ว

ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

  17 ตค 2566

 

 

หมายเลขบันทึก: 715191เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2023 05:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2023 05:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I agree with ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ that Thailand does not have problems with lack of capital (many Thais and Thai registered companies are investing overseas) and that we have more problems in the lack of innovative technologies , goals and visions.

What our children will be doing for living and for happiness?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท