นักกิจกรรมบำบัดกับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) และผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life)


การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) คืออะไร?

 

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life)

หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า สภาพอาการเจ็บป่วยอยู่ในระยะลุกลาม เรื้อรัง หรือเข้าสู่ระยะท้ายๆ ของโรคซึ่งไม่มีวันรักษาให้หายได้ โดยมากจะมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 1 ปี

 

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) 

หมายถึง การดูแลทางการแพทย์การพยาบาลทุกชนิด รวมถึงการดูแลทางด้านกาย จิต อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ตามความต้องการของผู้ป่วย ตลอดจนการดูแล ครอบครัวผู้ป่วยจากความโศกเศร้า เนื่องจากต้องสูญเสียผู้ป่วยไป 

 

เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง 

เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มีความสุขสบายทั้งทางร่างกายและจิตใจ สามารถจากไปอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 

 

อ้างอิง : คู่มือประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) ของ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 

เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/palliative/sites/default/files/public/Pallative%20care.pdf

 

(รูปภาพ : https://rvnahealth.org/news/a-primer-on-palliative-care/)

 

หลักการของการดูแลแบบประคับประคอง

การดูแลแบบประคับประคองเป็นการดูแลควบคู่ไปกับการรักษาหลัก โดยมีหลักการที่สำคัญ ดังนี้

  • ดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว
  • ประเมินผู้ป่วยอย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน ให้การดูแลโดยมุ่งลดความทุกข์ทรมานทั้งจากอาการทางกาย เช่น ลดอาการปวด หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน จากอาการทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น
  • พยายามดูแลให้ผู้ป่วยถึงวาระสุดท้ายอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เร่งการเสียชีวิต ไม่ยืดการเสียชีวิต

อาการของผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต

  • การรับประทานอาหารและน้ำลดลง
  • สติสัมปชัญญะเปลี่ยนแปลง
  • การหายใจผิดปกติ
  • ปลายมือปลายเท้าเย็นหรือคล้ำ
  • กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่อยู่
  • หลับตาไม่สนิท

อ้างอิง : การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) สำหรับผู้ป่วยและครอบครัว

เข้าถึงได้จาก : https://www.phyathai.com/th/article/3214-การดูแลแบบประคับประคอง

 

นักกิจกรรมบำบัดคืออะไร?

 

(รูปภาพ : https://silverbellhomestead.com/occupational-therapy-what-is-it/)

 

นักกิจกรรมบำบัด (Occupational therapist) 

ทำหน้าที่ในการฟื้นฟูคนไข้ที่มีความผิดปกติทางด้านร่างกาย และจิตใจ รวมไปถึงช่วยเรื่องการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กให้สมวัยอีกด้วย โดยวัตถุประสงค์ของนักกิจกรรมบำบัดคือ ต้องการให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน อย่างดีที่สุดตามศักยภาพของบุคคล เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมต่อไปได้ 

นักกิจกรรมบำบัดดูแลใครบ้าง

  • เด็ก
  • ผู้มีความบกร่องทางกาย
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิต

อ้างอิง : นักกิจกรรมบำบัด จาก Mahidol University Careers Service  

เข้าถึงได้จาก : https://careers.mahidol.ac.th/occupational-therapist/

 

บทบาทนักกิจกรรมบำบัดกับงาน palliative care 

  • ฟื้นฟูหรือคงความสามารถของผู้รับบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันผ่านการปรับอุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม กิจกรรมหรือให้ assistive device ในการทำกิจกรรม เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมและความปลอดภัย
  • ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด,ความเหนื่อยล้าและความกังวลจากโรคพยาธิสภาพที่เป็นอยู่ 
  • ช่วยเหลือผู้รับบริการในการบรรลุเป้าหมายหรือความต้องการที่ผู้รับบริการต้องการทำ
  • ให้ความรู้กับผู้ดูแลในการดูแลผู้รับบริการในช่วงระยะสุดท้าย ( End of life ) 
  • เตรียมผู้รับบริการและญาติให้พร้อมต่อการจากไป โดยให้ Psychological care เสริมสร้างแรงใจ เพื่อให้สามารถผ่านช่วงเวลาที่ผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือได้จากโลกนี้ไปแล้วไปได้ด้วยดี
  • สนับสนุนให้ผู้รับบริการ, ครอบครัว, ญาติหรือผู้ดูแลได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันไปจนถึงช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตของผู้รับบริการ
  • ปรึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้กระบวนการรักษาและผลลัพธ์ที่เหมาะสมกับผู้รับบริการมากที่สุด

 

“อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังอาจได้ยินเสียงรับรู้การสนทนาแม้ว่าอาจจะไม่สามารถโต้ตอบได้ ครอบครัวสามารถพูดบอกความรัก ความห่วงใย บอกถึงการสะสางสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นกังวล ให้ผู้ป่วยได้รับรู้และสบายใจ นอกจากนี้ควรพูดด้วยความเคารพในตัวผู้ป่วย และระมัดระวังการพูดขัดแย้งกันเมื่ออยู่ใกล้ผู้ป่วย”

               (อ้างอิง :  https://www.phyathai.com/th/article/3214-การดูแลแบบประคับประคอง)

 

ตัวอย่างเคส จากวิชา พฤฒาวิทยาผู้สูงอายุสำหรับนักกิจกรรมบำบัด 

ผู้ป่วยหญิงอายุ 55 ปี ได้รับการวินิจฉัย เป็นมะเร็งเต้านม มีการแพร่กระจายไปยังกระดูกหลายแห่ง ผู้ป่วยยังสามารถช่วยเหลือตัวเองและทำกิจวัตรประจำวันได้ และ ยังไปทำงานได้ ต้องการการช่วยเหลือเป็นบางครั้ง ผู้ป่วยมีอาการปวดขาและสะโพก ได้รับยาเป็นมอร์ฟิน วันละ 60 มิลลิกรัม และ ใช้ยาน้ำมอร์ฟินเสริม วันละ 1-2 ครั้ง พอคุมอาการปวดได้

วิเคราะห์จาก Biopsychosocial model

Biological : ผู้ป่วยหญิงอายุ 55 ปี เป็นมะเร็งเต้านม มีอาการปวดขาและสะโพก

Phycological : ผู้รับบริการยอมรับให้การรักษา / ประเมินสภาพจิตใจเพิ่มเติมว่ายังมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพร่างกายหรือตัวโรคหรือไม่ / ประเมินเพิ่มเติมว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือการทำงานหรือไม่ / สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงยาที่ได้รับว่าส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือการทำงานหรือไม่

Social : ผู้ดูแล ครอบครัว/ทีมสหวิชาชีพที่ดูแล/ ได้รับยามอร์ฟีน 60 มิลลิกรัม / ใช้น้ำยามอร์ฟีนเสริมวันละ 1-2 ครั้ง / สถานที่ทำงาน / โรงพยาบาล / บ้านที่อยู่อาศัย

PPS : 90

 

คำแนะนำในการจัดการกับความเจ็บปวด

ให้คำแนะนำกับผู้รับบริการ

  • ใช้อุณหภูมิในการลดปวด
  • นวดลดปวด
  • การให้ความรู้แก่ผู้รับบริการถึงอาการของตัวโรค เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถปรับการใช้ชีวิตได้ ลดการใช้ส่วนที่เจ็บปวด
  • ให้ relaxation techniques แก่ผู้รับบริการ เช่น Music therapy ผ่อนคลายอาการปวด
  • ให้ Psychological support เสริมสร้างแรงใจให้กับผู้รับบริการ
  • ให้คำแนะนำในการจัดท่าทางต่างๆที่ถูกต้อง เช่น ท่านั่ง และท่านอน

ให้คำแนะนำกับญาติ

  • สอนวิธีการนวดลดปวด
  • ให้ psychological support สร้างเสริมกำลังใจให้กับผู้ดูแล
  • แนะนำให้ปรับสภาพบ้านและอุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้รับบริการ เนื่องจากมี limit จากอาการปวด

 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PTOT344 พฤฒาวิทยาผู้สูงอายุสำหรับนักกิจกรรมบำบัด เขียนโดย นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 (รุ่น14)

สมาชิก

  1. 6423001 กีรติกร บุญเรืองศักดิ์
  2. 6423013 วรงค์ภรณ์ ปกครอง
  3. 6423014 กฤตยา คำใบ
  4. 6423025 เพ็ญพิชชา เด่นเวสสะ
  5. 6423027 ศตคุณ ศิวะเสน

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 715984เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท