บทบาทหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดในการดูแลผู้สูงอายุแบบ Palliative care (การดูแลแบบประคับประครอง)


            Palliative and End-of-Life Care

 (Reference : http://www.otwest.com.au/pallitive-care)

 

                       ท่านรู้จัก “นักกิจกรรมบำบัด” หรือไม่… ? 

แล้วคำว่า “Palliative care” หรือ “การดูแลแบบประคับประครอง” ล่ะ… ?

 

         สวัสดีค่ะ…วันนี้พวกเรานักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเรื่อง Palliative care ในผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดกันค่ะว่ากิจกรรมบำบัดสามารถช่วยผู้ป่วย Palliative care ได้อย่างไร

        Palliative care หรือ การดูแลแบบประคับประครอง หมายถึง การดูแลผู้ที่มีภาวะจำกัดการดำรงชีวิต (Life limiting Conditions) หรือภาวะคุกคามต่อชีวิต(Life Threatening Conditions) หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆว่าการดูแลผู้ป่วยที่มีระยะเวลาจำกัดของชีวิต ซึ่งการดูแลแบบประคับประครองนี้มีไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรค แต่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต (Quality of life) และเยียวยาบรรเทาความทุกข์ทางด้านร่างกาย และจิตใจ รวมถึงอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยเป็นการดูแลแบบองค์รวม และมีการตั้งเป้าหมายร่วมกันในสิ่งที่เป็นไปได้และสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการตั้งแต่เริ่มต้นเจ็บป่วยจนกระทั่งเสียชีวิตให้จากไปอย่างสงบ 

         ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบ Palliative care หรือการดูแลแบบประคับประครองมักจะเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด โรคที่มีพยากรณ์ลดต่ำลง ไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุ เช่น มะเร็ง (Cancer) สมองเสื่อม (Dementia) พาร์คินสัน (Parkinson) Neuro degenerative diseases เป็นต้น

       และอย่างที่ทุกท่านทราบว่า วัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพและมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากกว่าวัยอื่นๆ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ เช่น 

  • Osteoporosis โรคกระดูกพรุนเสี่ยงต่อการหกล้ม หรือกลัวการหกล้ม ทำให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตลดลง
  • Sarcopenia ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่างๆทำให้ล้าได้ง่ายมากขึ้น ไม่มีแรง ไม่อยากทำกิจกรรมต่างๆ
  • Nutrition ด้านโภชนาการ การได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต 
  • ร่างกายที่อาจเสื่อมไป (Degeneration) เช่น สายตา หู การได้กลิ่น การรับสัมผัส การรับความรู้สึก อวัยวะภายในช่องปากที่เกี่ยวข้องกับการรับแระทานอาหาร
  • Psychosocial จิตใจ เนื่องจากวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม 
  • โรคประจำตัว 

        ซึ่ง “นักกิจกรรมบำบัด” เป็นวิชาชีพทางการแพทย์สาขาหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ ตรวจ ประเมิน บำบัด รักษา ผู้รับบริการทั้งในวัยเด็ก ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ และรวมถึงผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพสูงสุดของผู้รับบริการ หรือหมายถึง แม้จะมีความบกพร่องเกิดขึ้นก็ยังสามารถที่จะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ โดยนักกิจกรรมบำบัดจะใช้กิจกรรมการเป็นสื่อกลางเพื่อบำบัดรักษาผู้รับบริการนั่นเอง

 โดยบทบาทหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดที่เกี่ยวข้องกับงาน Palliative care ในผู้สูงอายุ ได้แก่

  • ความปลอดภัย Optimize comfort and safety 

เช่น การดูแลความปลอดภัยในขณะที่ผู้รับบริการทำกิจกรรม ให้ผู้ป่วยตระหนักรู้ถึงสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น ความร้อน สิ่งของที่มีความแหลม คม เป็นต้น

  • การปรับกิจกรรมการดำเนินชีวิตและปรับสิ่งแวดล้อม Adapt activities and modify the environment

เช่น การลดขั้นตอนการทำกิจกรรมแต่ยังได้ผลลัพธ์ที่เหมือนเดิม การปรับสภาพบ้านให้มีความปลอดภัยและเหมาะสมกับผู้ป่วย

  • ส่งเสริมให้ยังสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินชีวิตให้มากที่สุด Makes change to maintain functional abilities เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ
  • ADL(Activities of daily living) : นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยส่งเสริมและคงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
  • Leisure : ให้ความช่วยเหลือ แนะนำอุปกรณ์ช่วยส่งเสริมทักษะให้สามารถทำงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจได้
  • Rest and Sleep: ให้คำปรึกษา จัดสภาพแวดล้อมส่งเสริมให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้อย่างมีประสิทธภาพ
  • แนะนำการส่งเสริมด้านร่างกาย เช่น การออกกำลังกายแบบ passive exercise การให้ home program 

(Reference : https://inspirationhospice.com/about/)

(Reference : https://www.sanook.com/health/24793/)

 

(Reference : https://rakmor.com/passive-exercise/)

  • การให้ความรู้และคำแนะนำ Educations 
  • ทำความเข้าใจตัวโรคกับผู้ป่วย
  • ให้ความรู้เรื่องความสามารถของผู้ป่วย
  • ให้ญาติเกิดความเข้าใจในความสามารถของผู้ป่วยที่มี และให้ช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
  • สอนเทคนิคต่างๆที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ เช่น Breathing management สอนการหายใจลดความเหนื่อย ผ่อนคลายจากความกังวล
  • Psychosocial
  • ดูแลอารมณ์ของผู้ป่วย
  • Support caregivers บรรเทาความเครียดและความเศร้าโศกของครอบครัวและผู้ดูแลของผู้ป่วย
  • ให้กำลังใจและรับฟังทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล 
  • พัฒนาการสร้างเสริมกระบวนการจัดการทางจิตสังคม

(Reference : https://www.axxess.com)

(Reference : https://palliativedoctors.org/)

(Reference : https://www.samh.co.th/blog/caring-for-bedridden-patients/)

(Reference : https://mgronline.com/qol/detail/9650000086324

  • Adaptive Device
  • แนะนำอุปกรณ์ช่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • ปรับอุปกรณ์ให้เหมาะสมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้

(Reference : https://www.elevaction.ca/en/overhead-lifts)

(Reference : https://www.scopesdf.org/scopesdf_lesson/an-assistive-artistic-device/)

  • ประเมินความสามารถของผู้ป่วย
  • ความสามารถสูงสุดในปัจจุบัน
  • ความสามารถที่จะมีเหลืออยู่มากที่สุดในอนาคต

(Reference : https://www.samh.co.th/blog/caring-for-bedridden-patients/)

  • ประเมินความต้องการของผู้ป่วย(Client needs) ช่วยให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่างๆ(Self-motivation) เพื่อให้เตรียมตัวก่อนเสียชีวิตได้อย่างไม่ค้างคา
  • สัมภาษณ์และจัดการช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจะทำเพื่อให้ผู้ป่วยได้ทำตามความต้องการของตนเอง เกิดความสุขและความพอใจในชีวิต
  • สอนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับความสุข ความสามารถและความต้องการของผู้ป่วยโดยยังคงซึ่งไว้ในเรื่องของคุณค่าและความหมายของชีวิต

(Reference : https://younghappy.com/blog/life-style/Living-will)

           อย่างไรก็ตาม “ความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะฉะนั้นจึงมาเปลี่ยนความกลัวเป็นการยอมรับกันดีกว่าค่ะ" ดูแลคนที่คุณรักด้วยหัวใจ จากไปด้วยความรัก 

           พวกเราหวังว่าบทความการแรกเปลี่ยนรียนรู้ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามารับชมทุกท่านนะคะ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ….ขอบคุณค่ะ 

                                                                                            คณะผู้จัดทำ

                                                                              642300  ธวัลพร ศรีเกียรติณรงค์

                                                                              6423008 พัชรพร ผ่องผล

                                                                              6423019 ณัฐชยา ศรีอุดมมงคล

                                                                              6423021 นันทพร เยาวยอด

                                                                              6423032 ฮูดาซามีลา ดาโอ๊ะ

                                                                 นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 14

 

แหล่งที่มา

พ.ญ.ประถมาภรณ์ จันทร์ทอง. เอกสารประกอบการสอน Palliative care รายวิชา กภกก 344 พฤฒาวิทยาสำหรับนักกิจกรรมบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2566

ดร.กบ. วินัย ฉัตรทอง. เอกสารประกอบการสอน cancer รายวิชา กภกก 263 กิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพร่างกาย 1 สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2565

Claudia Talbot-Coulombe, Gina Bravo and Annie Carrier. Canadian Journal of Occupational Therapy 2022. Occupational Therapy Practice in Palliative and End-of-Life Care in Quebec

 

 

หมายเลขบันทึก: 715993เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท