รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change Leadership Model)


วันก่อนขณะที่สอบเค้าโครงของนักศึกษาระดับปริญญาเอกคนหนึ่่งที่นำเสนอหัวข้อดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ‘รูปบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม … ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง แต่ด้วยความสงสัยว่ามีแนวคิดใหม่เกี่ยวกับภาวะผู้นำนี้เกิดขึ้นมาแต่เมื่อไหร และเป็นอย่างไร ก็เลยให้นักศึกษานำเสนอแนวคิด และหนังสืออ้างอิงหลักประกอบการพิจารณา  โดยหนังสือหลักที่นักศึกษานำเสนอคือ ‘The Social Change Model of Leadership Development’ ซึ่งเท่าที่เคยเข้าใจดูเหมือนเขาจะเน้นการเปลี่ยนแปลงสังคม หรือชุมชนเป็นหลัก และเสนอว่าการจะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ดีนั้นต้องใช้ภาวะผู้่นำที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้งกล่าวด้วย แต่สาระหลักไม่ได้นำเสนอรูปแบบภาวะผู้นำที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้งหลังจากวิพากษ์กันระดับหนึ่งก็ได้ข้อสรุปว่า นักศึกาาอาจจะพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ โดยทำความเข้าใจหนังสือดังกล่าวและที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมต่อไปได้ และเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องนี้ให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้นผาก็เลยตัดสินใจเขียบบทเขียนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ดังเอกสารที่แนบ 

20240121171920.pdf

และถ้านักศึกษายังสนใจจะทำเรื่องนี้ต่อยากให้นักศึกษาแยกความแตกต่างระหว่าง ‘ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม (Leadership for Social Changes)  กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change Leadership)’ เพราะในปัจจุบันนี้มีนักวิชาการตะวันตกเสนอภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนสังคม หรือที่จะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง หลายแนวคิด เช่น Transformational Leadership, Servant Leadership, Adaptive Leadership, Community-based Leadership, Sustainable Leadership, หรือ Collaborative Leadership เป็นต้น แต่ถือว่าเป็นภาวะผู้นำที่อยู่ในตระกูลความคิดของ ‘ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง’ จึงประยุกต์ใช้กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ ส่วนงานเขียนของ Komives และคณะนั้นมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยใช้ภาวะผู้นำเป็นกลไกขับเคลื่อน และเป้นหนังสือที่ศึกษาและนำเสนอองค์ประกอบการเปลี่ยนแปลงสังคมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ดังนั้นถ้านักศึกษายังสนใจจะพัฒนางานนี้ต่อ แนวคิดที่ผมนำเสนอไว้ข้างต้น และบทเขียนที่แนบในบทเขียนจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานอย่างยิ่ง และผมจะติดตามอ่านงานต่อครับ ดีครับ 

สมาน อัศวภูมิ

21 มกราคม 2567

หมายเลขบันทึก: 717100เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2024 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2024 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

I have problems with the deep semantics of [Leadership for Social Changes, Social Change Leadership] but I think perhaps the word leader should/could be less human-centric but generalized to social ideas/events/programs/… in the sense of action (aspiration) rather than just actor (hero).

Could this cover cases of collaborative, distributive networking models in advancing social changes?

I believe that the best leader is ‘self-leading’. If everyone could lead himself, or herself without harming others, that would be idealised. However, often, someone has to stand out to do something, or else the worst will come. Anyway, whatever happens in the end, we have to accept it, no matter we like it or not! For example, if it happens that at the moment, the world environment is more than we can live, and everyone is bound to die. We must, then, die. Nothing else we could do. But, before the time comes, let’s do whatever we can to prolong the situation. Thank you.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท