ชีวิตที่พอเพียง  4696. PMAC 2024 & 2025 : รีทรีตทีมจัดการประชุมฝ่ายไทย


 

วันที่ ๖ - ๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ทีมจัดการประชุมฝ่ายไทย ของ PMAC ไปประชุมรีทรีตกันที่โรงแรม นีรา รีทรีต ริมแม่น้ำท่าจีน ที่อำเภอสามพราน นครปฐม   

เริ่มจากกการ AAR การจัดงาน PMAC 2024 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา   ของผู้รับผิดชอบใน ๗ หน่วยงานคือ (๑) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  (๒) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  (๓) กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข  (๔) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (๕)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (๖)สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขผู้ดำเนินการทางด้านวิชาการ (Rapporteur)  (๗)สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขสำนักงานเลขานุการฯ (PMAC Secretariat)

สาระจากการทำ AAR  ช่วยให้ได้แผนการทำงานของหลายฝ่ายที่จะต้องเตรียมการประมาณ ๖ เดือนล่วงหน้า    เช่นการจัดการและฝึก rapporteur    การจัดการ study visit ให้หน่วยงานเจ้าภาพได้เรียนรู้ด้วย  การประสานงานเชิงสาระและต่อยอดการประชุม side meeting   เป็นต้น

การไปกินนอนร่วมกัน ช่วยให้ได้เรียน”รู้เรื่องราว “หลังไมค์”   ของบางหน่วยงาน ที่มีการเมืองภายใน   ที่ผู้ใหญ่ของ PMAC พึงตระหนัก    และหาวิธีทำให้การดำเนินการของ PMAC ดำเนินไปได้อย่างมีคุณภาพในท่ามกลางมรสุม ที่เข้ามากระทบ

มีคนบอกว่าว่า เกิดจากผู้ใหญ่บางคนบ้าอำนาจ   จริงหรือเปล่าก็ไม่ทราบ     พอดีในห้องพักของผม (ห้อง ๓๑๖) มีหนังสือให้อ่าน ๓ เล่ม   สองเล่มเป็นหนังสือธรรมะฉบับแปล   อีกเล่มหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ Super Collaborators :  Altruism, Evolution, and Why We Need Each Other to Succeed  เขียนโดย Martin Nowak & Roger Highfield    ที่สาระบอกผมว่า ผู้ใหญ่แบบนั้นน่าสงสารที่ไม่เข้าใจพลังที่แท้จริงของความเก่งของท่าน

เดี๋ยวนี้เราอ่านหนังสือภาษาอังกฤษเล่มหนาๆ สองสามร้อยหน้าเอาสาระได้ภายในห้าถึงสิบนาที    โดยผมลองใช้งาน Generative AI   ผมลองใช้คุณ เจมินี ณ กูเกิ้ล    ก็ได้ผลที่ดีทีเดียว    ท่านผู้อ่านอาจลองใช้ Gen AI ตัวอื่นก็ได้   แต่ต้องมีวิธีตั้งคำถาม   ชีวิตคนสมัยนี้ต้องเป็นนักตั้งคำถามที่คมและทะลุทะลวง   แล้วใช้ Gen AI รับใช้หาข้อมูลและสรุปให้   ที่เมื่อเราได้รับรายงานก็ต้องไม่ด่วนเชื่อ   

สรุปสาระสำคัญที่สุดจากหนังสือเล่มดังกล่าวได้ว่า   วิวัฒนาการสู่ชีวิตที่มีความซับซ้อนอาศัยความสามารถในการร่วมมือ มากกว่าการแข่งขัน (Survival of the fittest)    ยิ่งในยุคปัจจุบันที่สังคมและโลกมีความซับซ้อนสุดๆ    ความสามารถในการร่วมมือ เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละ ช่วยให้บุคคลและกลุ่มแข็งแรง   

เหมือนอย่างที่เราร่วมกันทำงานรับใช้มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ    โดยไม่หวังผลตอบแทน   

การประชุมในวันที่ ๗ มีนาคม นำสู่การร่วมกันกำหนด Vision, Positioning, Mission ของ PMAC   ที่ความงามอยู่ที่การร่วมกันทำความเข้าใจและกำหนด    รวมทั้งมีการเสนอให้มีกลไกส่งเสริมการพัฒนาความสามารถของบุคคล ในการทำงานวิชาการตาม theme ของ PMAC แต่ละปี  มีระบบ mentor    และเชื่อมสู่ระบบ secondment ที่หยุดไปหลายปี   

Vision  : A world with equitable health systems

Positioning : A neutral, independent, and inclusive global platform committed to advancing equitable health systems

Mission :

     Policy Formulation

   M  Movement 

   A  Awareness building & Advocacy

   C   Capacity Building       

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ มี.ค. ๖๗ โรงแรมนีรารีทรีต ห้อง ๓๑๖ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 717815เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2024 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2024 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท