วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปสาระสำคัญการแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้ (KM) ด้านวิจัย  ปีการศึกษา 2566 ประเด็น “การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ”


สรุปสาระสำคัญการแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้ (KM) ด้านวิจัย  ปีการศึกษา 2566 ประเด็น “การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ” 

วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ. ห้องประชุมพวงผกา อาคารเรียน 1 ชั้น 6 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

วิทยากร อ.ดร กมลทิพย์  ตั้งหลักมั่นคง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ “การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ”  โดย ผศ.ดร.อัศนี วันชัย  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราชกล่าวถึงทิศทางในการนำเสนอการพัฒนานวัตกรรมสามารถนำไปสู่เชิงพานิชย์  อีกทั้งการพัฒนานวัตกรรมเป็นภารกิจของ สถาบันพระบรมราชนก

ประเด็นที่ 1 กระบวนการในการสร้างความสำเร็จเพื่อการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ  

อ. ดร กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง  กล่าวถึงจุดเริ่มต้นเกิดจากการจัดการเรียนการสอนวิชาเลือกเสรี “วิชาทฤษฏีนวัตกรรมทางการพยาบาล”  ในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง ปี 2560  มีการปรับกิจกรรมการ 3 process คือ 

  1. inter-professional education approach การเรียนร่วมกับสาขาวิชาอื่น
  2. mentor and coach  ปรับแนวคิดอาจารย์เป็นเพียงผู้สนับสนุน 
  3. Transform  ปรับเปลี่ยนแนวความคิดให้ตรงกับผู้ใช้บริการ

เรียนการสอนโดยให้นักศึกษาพยาบาลเรียนได้เรียนร่วมกับสาขาวิชาชีพอื่น  (inter-professional education approach)  โดยการจัดกลุ่มการเรียนพร้อมกับนักศึกษาคณะวิศวกร มหาวิทยาลัยราชภัฎ จัดกลุ่มให้นักศึกษาทั้งสองสาขาวิชาวางแผนในการทำนวัตกรรมทางการพยาบาลร่วมกันโดยให้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

มอบหมายงานให้อาจารย์พยาบาลทุกท่านเป็นที่ปรึกษานักศึกษาแบ่งกลุ่มโดยให้อาจารย์ 1 ท่าน ต่อนักศึกษา 1 กลุ่ม โดยให้ครูเพียงผู้สนับสนุนส่งเสริมให้นักศึกษาผลิตผลงาน ไม่ต้องคำนึงถึงหลักวิชาการมากเกินไป

ปรับเปลี่ยนแนวความคิดให้ตรงกับผู้ใช้บริการ 

  1. Think and feed โดยการสัมภาษณ์ผู้ใช้ ได้แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วย , ญาติ, พ่อแม่ ในด้านความต้องการในการใช้งาน , ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เคยใช้ ตัวอย่าง 
  2. Hear  คือ ความคิดเห็นของ ผู้อื่นที่เห็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้น 
  3. See มุมมองของผู้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน  ความเห็นของการตลาด รูปทรงที่น่าจะจำหน่ายได้  เช่น  ขนาดเล็ก ไม่น่ากลัว และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
  4. Say and Do  ถามความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน ตัวอย่าง การตรวจตามนัดของผู้ป่วยติดเตียง 
  5. Pains  ความกังวลกลัว หรือ อุปสรรคในการใช้งาน ตัวอย่าง 

    5.1 อุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปากในผู้ป่วยติดเตียง เดิมใช้  suction ผู้ดูแลไม่กล้าใช้เพราะกลัวว่าจะเข้าไปลึกจนทำอันตรายกับผู้ป่วย 

    5.2 ลูกสูบยางที่ใช้ดูดเสมหะทารกการทำอุปกรณ์ดูดเสมหะให้กับทารกที่ไม่สามารถขับเสมหะด้วยตนเอง 

  6. Gains  นวัตกรรมดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริงตามเป้าหมาย ตัวอย่าง 

    6.1อุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปากในคนไข้ติดเตียงสามารถทำความสะอาดได้จริง

    6.2 นวัตกรรมดูดเสมหะทารก สามารถใช้งานได้จริงและมั่นใจว่าจะไม่มีสิ่งตกค้างในอุปกรณ์ดูดเสมหะ

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ร่วมกับ นักศึกษาวิศวกรรม ทำให้เกิด Learning activity

  1. Team working skill ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของทุกคนส่งผลให้ประสบความสำเร็จที่มีมากขึ้น
  2. Respect and Learning from others เกิดการยอมรับและเรียนรู้จากศาสตร์ของกันและกันว่าแต่ละสาขาวิชามีความหลากหลายและสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
  3. Positive relationship มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันแม้ว่าแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไปจากความคิดดังเดิมของตนเองก็ตาม เช่น นักศึกษาวิศวกรอาจจะแต่กายไม่สุขภาพ กางเกงขาด สูญบุหรี่ แต่ในอีกมุมมองก็มีความสามารถที่แตกต่างจากวิชาชีพทางการพยาบาลที่สามารถนำความรู้มาต่อต่อยอดและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้  ได้แก่ การทำวงจรไฟฟ้าเพื่อให้ทราบว่าน้ำเกลือหมดแล้ว เป็นต้น 
  4. Sharing learning process and outcome สามารถนำเสนอผลงานการเรียนรู้ร่วมกันได้
  5. Critical thinking skill  นักเรียนทั้งสองสาขาวิชาที่เรียนรู้ด้วยกันทำให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรผลงานด้านนวัตกรรม
  6. Problem solving skill  มีทักษะในการแก้ปัญหาในการการที่จะอธิบายให้แต่ละสาขาวิชาที่มีศาสตร์ความรู้ที่แตกต่างจากตนเองได้เข้าใจศาสตร์วิชาของตนเองได้ เช่น กลไกการคลอดว่าจะมีการหมุนของกลไกการคลอดของศีรษะทารกก่อนคลอดออกมา โดยการอธิบายกับหนุนและให้ดูจาก VDO เป็นต้น

ผลงาน

  1. มีชิ้นงานนวัตกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย 
  2. การนำผลงานไปนำเสนอในงานต่างๆ ทั้งในสาขาอาชีพและนอกสาขาอาชีพ
  3. การได้รับรางวัลที่ทรงคุณค่าต่างๆ ทั้งในประเทศและนอกประเทศในระดับ นานาชาติ 
  4. ตกผลึกความคิดในการสร้างนวัตกรรมคือ ชิ้นงานนวัตกรรมแต่ละชิ้นงานจะต้องนำไปนำเสนออย่างน้อยสามเวที เพราะแต่เวทีที่ไปนำเสนอจะมีข้อเสนอแนะจากกลุ่มคนที่หลากคลายสาขาอาชีพช่วยให้มีการปรับปรุงพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณภาพในที่สุด

ประเด็นที่ 2 แนวทางในการสนับสนุนคณาจารย์ให้พัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมด้านสุขภาพ

          มอบหมายงานให้อาจารย์ทุกคนรับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาการทำนวัตกรรมของนักศึกษา โดยให้อาจารย์ 1 คน รับผิดชอบนักศึกษา 1 กลุ่ม

ประเด็นที่ 3 การจดสิทธิบัตรอย่างไรให้สำเร็จ

          ในการจดสิทธิบัตร ต้องอาศัยระยะเวลา ต้องใจเย็นๆ และดำเนินไปตามขั้นตอน

ประเด็นที่ 4 ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ

  1. ด้านทุนในการผลิตนวัตกรรม เพราะไม่มีทุน ใช้วิธีการนำรางวัลจากการประกวดผลงานมาเป็นต้นทุนในการสร้างนวัตกรรม
  2. การจดสิทธิบัตรเดิมที่ไม่แน่ใจว่าจะใช้ชื่อของผู้ใด เพราะแต่ละคนก็บอกว่าเป็นผลงานของนักศึกษาแต่ตามความเป็นจริงแล้วอาจารย์จะเป็นต้นความคิดให้นักศึกษาทำนวัตกรรมในแต่ชิ้นงาน ประกอบกับการพัฒนานวัตกรรมเป็นการดำเนินงานของอาจารย์ เพราะนักศึกษาแต่ละรุ่นก็ต้องจบการศึกษาไปไม่สามารถมาดำเนินการพัฒนานวัตกรรมชิ้นดังกล่าวได้ ดังนั้นผลงานนวัตกรรมจึงให้เป็นชื่อของอาจารย์ผู้ให้คำปรึกษา
  3. มีอาจารย์ที่สนใจงานนวัตกรรมมีน้อย
  4. นักศึกษาไม่มีเวลา เนื่องจาก ในการไปนำเสนอผลงาน นักศึกษากำลังฝึกภาคปฏิบัติทำให้ต้องนักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติไม่ต่อเนื่องตามจำนวนชั่วโมงของรายวิชา

ประเด็นที่ 5 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ

  1.  Coaching ให้ครูเป็นเพียงผู้ให้คำสนับสนุน ส่งเสริม 
  2. ให้นักศึกษานำผลงานไปนำเสนอในเวทีต่างๆ ทั้งในสาขาวิชาชีพและนอกสาขาวิชาชีพ
  3. นำข้อเสนอแนะต่างๆ จากบุคคลภายนอกมาปรับปรุงผลงาน
  4. ผลการปรับปรุงผลงาน Prototype ที่ 3 จะทำให้ชิ้นงานนวัตกรรมมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของบุคคลภายนอกมากที่สุด
  5. ให้อาจารย์มีความรู้สึกเป็นเจ้าของนวัตกรรมทำให้อาจารย์ผู้นั้นจะทุมเทในการสร้างสรรนวัตกรรมชิ้นดังกล่าว
  6. ให้อาจารย์อยู่เป็นเพื่อนนักศึกษาตลาดเวลาในขณะที่นำเสนอผลงานวิชาการเพื่อช่วยเสริมความมั่นใจให้กับนักศึกษา

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ “กระบวนการการจัดการเรียนรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ

ผศ.ดร.สมาพร  เทียนขาว กล่าวถึงการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรมที่จะช่วยในการผูกยึดผู้ป่วยให้ดูแล้วมีความนุ่มนวลและบุคคลภายนอกมองดูแล้วไม่เป็นการทำร้ายผู้ป่วยในสายตาของญาติๆ

อาจารย์ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี กล่าวถึงนโยบายการพัฒนานวัตกรรมของสถาบัน คือ การมอบหมายให้แต่ละรายวิชาในภาคปฏิบัติจัดให้นักศึกษาสร้างนวัตกรรม โดยการส่งต่อผลงานนวัตกรรมให้เพื่อนในกลุ่มถัดไปนำผลงานนวัตกรรมไปทดลองใช้ พบว่า นักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มถัดไปรู้สึกว่าผลงานนวัตกรรมนี้ไม่ใช้เป็นของตนเอง ทำให้อาจารย์แต่ละกลุ่มที่รับผิดชอบให้คำปรึกษาจะใช้วิธีการประชุมกลุ่มนอกเวลา เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษา ส่วนการนำเสนอผลงานนวัตกรรมนั้น กลุ่มวิชาการได้จัดกิจกรรมร่วมกับงานกิจการนักศึกษาให้นักศึกษานำผลงานของตนเองมานำเสนอให้ นักศึกษาทุกชั้นปีได้เห็นผลงาน และส่งไปประกวดผลงานภายในสถาบันพระบรมราชนก

ผศ.ดร.วิภาพร  สิทธสาตร์ กล่าวถึงแนวทางพัฒนานวัตกรรมของสถาบันขณะนี้กลุ่มงานวิจัยได้ร่วมมือกับอาจารย์จากคณะสถาบัน  มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ มาร่วมให้คำปรึกษาในการออกแบบนวัตกรรมที่อาจารย์และนักศึกษาผลิตขึ้นในโครงการ Reserch Plus 

หมายเลขบันทึก: 717982เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2024 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2024 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ

จันทร์จิรา อินจีน

เป็นแนวทางที่ดีในการนำมาพัฒนานวตกรรมต่อไป

ได้รับเทคนิคและแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมที่ดีค่ะ เกิดไอเดียการพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพร่วมกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล

การสร้างนวตกรรมที่มีคุณค่า ต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และคงความเป็นไทย

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร

เป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรม และจุดประกายทางความคิดให้เกิดนวัตกรรมของตนเองและการต่อยอด

เนื้อหาแลกเปลี่ยนน่าสนใจ สร้างแรงบรรดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท