โครงการรณรงค์ลดดื่มเหล้าแบบบูรณาการ


เป้าหมาย :ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนและดำเนินกิจกรรมในการจัดระเบียบการลดดื่มเหล้าในเทศกาล วันสำคัญและพิธีกรรมต่าง ๆ โดยนำหลักธรรมคำสอน และสิ่งดีงามตามความเชื่อและศาสนาที่ตนเคารพบูชา มาปฏิบัติอย่างจริงจัง ก่อเกิดปัญญามีความหนักแน่นเชื่อมั่นในศักยภาพแห่งความดีงาม

โครงการรณรงค์ลดดื่มเหล้าแบบบูรณาการ

บนฐานความเชื่อและศาสนธรรม

 

๑.  คำสำคัญ :           ลดปัจจัยเสี่ยง, การณรงค์

 

๒.  จังหวัด :           เชียงใหม่

 

๓.  กลุ่มเป้าหมาย :  

               เยาวช ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. อสม. คณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ประชาคม แกนนำพ่อบ้าน ครู ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำศาสนา หมอผีหรือผู้นำพิธีกรรม จาก ๕ หย่อมบ้าน (บ้านแม่หลุ, บ้านป่าเลา, บ้านป่าเฮี้ย, บ้านห้วยทราย และบ้านปู่เอก)

 

๔.  เป้าหมาย :

               ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนและดำเนินกิจกรรมในการจัดระเบียบการลดดื่มเหล้าในเทศกาล วันสำคัญและพิธีกรรมต่าง ๆ โดยนำหลักธรรมคำสอน และสิ่งดีงามตามความเชื่อและศาสนาที่ตนเคารพบูชา มาปฏิบัติอย่างจริงจัง ก่อเกิดปัญญามีความหนักแน่นเชื่อมั่นในศักยภาพแห่งความดีงาม

 

๕.  สาระสำคัญของโครงการ :

               โดยปกติ เหล้า กับชาวปกาเกอะญอเป็นสิ่งที่แยกไม่ขาดจากกัน เนื่องจากเหล้าเป็นเครื่องเซ่นที่ขาดไม่ได้ในแทบทุกพิธีกรรม แต่กระนั้นก็ตามชาวปกาเกอะญอจะไม่ดื่มเหล้าพร่ำเพรื่อ พื้นที่กินเหล้าจึงเป็นพื้นที่เฉพาะพิธีกรรมเท่านั้น นอกจากนั้นความเชื่อ ดื่มเหล้ามากผีไม่ชอบ ก็ยิ่งทำให้ไม่ทำให้มี ขี้เหล้า ในชุมชนปกาเกอะญอ ทั้งที่เหล้าหาและผลิตได้ไม่ยากเย็นนัก

               ปัจจุบันเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ผู้ดื่มเหล้ารายใหม่เริ่มต้นตั้งแต่ยังเป็นเด็กและเยาวชน กินเหล้า เมา ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นภาพที่เห็นบ่อยขึ้นในชุมชน พ่อบ้าน แม่บ้าน คนเฒ่า คนแก่ ต่างพลอยเครียดตามไปด้วย

               ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานเข้ามาสู่ชุมชน ทำให้ผู้นำชุมชนทั้งพระและฆราวาสนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ ได้พูดคุยและริเริ่มให้มีการรณรงค์ลดเหล้าขึ้นอย่างจริงจัง โดยอาศัยฐานความเชื่อทางศาสนาทั้งพุทธและคริสต์ที่ชาวบ้านนับถือ รวมทั้งความเชื่อดั้งเดิม จึงเป็นที่มาของ โครงการรณรงค์ลดดื่มเหล้าแบบบูรณาการบนฐานความเชื่อและศาสนธรรม

๖.  เครื่องมือที่ใช้ :

            กิจกรรมพิเศษ : เป็นกิจกรรมที่ดำเนินงานเมื่อมีโครงการนี้เข้ามาในชุมชน ได้แก่ การสำรวจข้อมูล, การประชุมทบทวนสืบค้นภูมิปัญญา, การเดินป่าศึกษายาสมุนไพรที่ใช้บำบัดผู้ติดเหล้า, การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน, ค่ายเยาวชนคนรักสุขภาพ ฯลฯ

            กิจกรรมปกติ : เป็นกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการอยู่แล้ว แต่จะแทรกการรณรงค์เรื่องการลด ละ เลิก เหล้า ด้วย กิจกรรมกลุ่มนี้ ได้แก่ การประชุมวางแผนการทำงาน, การจัดกิจกรรมรณรงค์, การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์, การแข่งขันกีฬาชุมชนสัมพันธ์, งานนุ่งขาวห่มขาวปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิง

            กิจกรรมไม่เป็นทางการ : เป็นกิจกรรมที่ไม่ระบุไว้ในโครงการ เช่น การเทศน์สอนตอกย้ำในทุกวันพระ การพูดคุยส่วนตัวขอให้เลิกดื่มเหล้าและเลิกขาย การพูดคุยของกลุ่มแม่บ้านขอร้องให้ร้านค้าเลิกขายเหล้ารวมทั้งการบอกกล่าวให้สามีลดเหล้า การปรับใช้พิธีกรรมสาบานเพื่อการเลิกเหล้าของชาวบ้าน เป็นต้น

 

๗.  การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน :

               กลไกขับเคลื่อนโครงการ ได้แก่ ทีมประสานงานโครงการ (พระสมจันทร์  ขนฺติวโร และนายบุญส่ง  นันทวิเชียรชม ) และกลุ่มแม่บ้าน

 

๘.  ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :

               ระยะเวลาดำเนินงาน ๑ ปี ระหว่าง ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

 

๙.  การประเมินผลและผลกระทบ :

               มีการจัดแบบสำรวจประเมินผลการดำเนินงานของดครงการเมื่อสิ้นสุด ผลลัพธ์สำคัญ ๆ ได้แก่ การลดดื่มเหล้าในวันสำคัญ ทั้งวันสำคัญของชาติ วันสำคัญทางศาสนา เทศกาล และวันสำคัญตามประเพณีของ ผู้เลิกดื่มเหล้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มที่ดื่มมากมีจำนวน ๑๒ ราย กลุ่มผู้ดื่มปานกลางมี ๑๑๒ ราย กลุ่มที่ดื่มน้อยมี ๘๖ ราย และผู้ที่ไม่ดื่มมี ๘ ราย การจำหน่ายเหล้าในชุมชนลดลง จากการดำเนินงานของโครงการส่งผลให้ผู้ดื่มเหล้าลดลง และเหตุนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การขายเหล้าของร้านค้ามียอดลดลง จากการสำรวจข้อมูลพบว่า จากเดิมมีเหล้าจากนอกชุมชนเข้ามาขาย ซึ่งจะขายได้เฉลี่ย ๒๗๐ ขวด/ปี หลังดำเนินโครงการ เหล้าจากภายนอกที่นำมาขายลดลงเหลือเพียง ๕๐ ขวด/ปี เท่านั้น

 

๑๐. ความยั่งยืน

               -

๑๑. จุดแข็งและอุปสรรค

               มีการบูรณาการความเชื่อและศาสนธรรมในการลดการดื่มเหล้าในชุมชน มีการดำเนินการ ๓ รูปแบบ ได้แก่ การผสานคำสอนของพุทธศาสนาและคำเชื่อดั้งเดิม, การแทรกเนื้อหาคำสอนในกระบวนการดำเนินงาน และการปรับใช้ความเชื่อ/พิธีกรรม มีการรณรงค์ลดเหล้าในชุมชนได้ดำเนินผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งปี ทั้งกิจกรรมพิเศษ, กิจกรรมปกติและกิจกรรมไม่เป็นทางการ พุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการรณรงค์ลดเหล้าในชุมชน นอกจากนั้นยังมีการลดเงื่อนไขปัจจัยเสี่ยงเรื่องเหล้าในชุมชน รวมทั้งการใช้กลุ่มแม่บ้านเป็นกลไกในการแก้ปัญหา

 

๑๒.                 ที่ติดต่อ :

            อาศรมพระธรรมจาริกบ้านแม่หลุ ต.กองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

คำสำคัญ (Tags): #รณรงค์#เหล้า
หมายเลขบันทึก: 72088เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท