การยกเลิกแฟ้ม opd card


ลดการใช้กระดาษ ยกเลิกแฟ้ม opd card

ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไปโรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีนโยบายจะการยกเลิกแฟ้ม opd card   โดยจะเริ่มในผู้ป่วยใหม่ก่อน   ส่วนผู้ป่วยเก่าให้ค่อยเป็นค่อยไป    ในระยะเริ่มต้นอาจพบปัญหาบ้าง   คาดว่าเราจะป็นที่แรกในประเทศไทย ที่ลดการใช้กระดาษ  ยกเลิกแฟ้ม opd card  โดยใช้ระบบบันทึกเป็นระบบอิเลคทรอนิกส์แทน  คาดว่าจะลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล  ลดที่เก็บopd card  ลดการค้นแฟ้ม และอื่นๆอีกมากมาย  ............

 

14-06-2551

การตรวจผู้ป่วยนอก / ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบPaperless  ในระยะเปลี่ยนผ่าน

 

ประเด็นที่เป็นประโยชน์จากการพัฒนาระบบ Paperless

1.       ผู้ป่วยได้ตรวจตามเวลานัด/ผู้ป่วยใหม่ไม่ต้องเสียเวลารอแฟ้มในรายที่แพทย์เลือกระบบ Paperless  เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลารอแฟ้ม

2.       ลดภาระงานกรณียกเลิกการ print out  ผลlab ที่มีในคอมพิวเตอร์ทุกชนิด  และยกเลิกการ print out  รายละเอียดการตรวจในรายที่แพทย์เลือกระบบ Paperless ทำให้มีเวลาดูแลผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

3.       ลดต้นทุนการเบิกสติ๊กเกอร์จากการยกเลิกการ print out  ผลlab และยกเลิกการ print out  รายละเอียดการตรวจในรายที่แพทย์เลือกระบบ Paperless

4.       กระตุ้นให้แพทย์ลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์มากขึ้น  ทำให้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

5.       ลดความซ้ำซ้อนของการทำงานซึ่งเดิมต้อง print out  ข้อมูลที่มีอยู่แล้วใน คอมพิวเตอร์  มาติดใน OPD  Card   ทั้งหมด ทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายค่าสติ๊กเกอร์จำนวนมาก

6.    สามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อการบริหารและการวิจัยได้  เรียนรู้ได้

 

ได้มีการพูดคุยกบคนทำงานสรุปพบว่ายังมีปัญหาได้ดังนี้

1.             การส่งแฟ้ม OPD  Card  ในระยะเปลี่ยนผ่าน   คณบดีให้แพทย์สามารถเลือกที่จะเข้าระบบ Paperless   หรือไม่ก็ได้   เวชระเบียนไม่สามารถทราบได้ว่าแพทย์ท่านใดต้องการใช้ OPD  Card  หรือไม่ต้องการจึงจำเป็นต้องส่ง OPD  Card  ราย  ในระยะที่ผ่านมาพบว่าส่งบ้างไม่ส่งบ้าง   ให้ register  ขอเป็นรายๆไปทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบการตรวจและระบบนัดคือ

·             ผู้ป่วยไม่ได้ตรวจตามนัด  ในกรณีที่แพทย์ไม่สมัครเข้าระบบ Paperless   เจ้าหน้าที่ต้อง  register   เพื่อขอแฟ้ม   แฟ้มมาส่งช้ามาก  ทำให้ผู้ป่วยและแพทย์อารมณ์เสีย

·             เจ้าหน้าที่ของคลินิกต้องเสียเวลา register  เพื่อขอแฟ้มใหม่  ซึ่งเป็นงานที่เพิ่มขึ้นจากเดิม    ระบบเดิมผู้ป่วยนัดเวชระเบียนจะค้นแฟ้มให้ทุกราย

·             ในรายที่แพทย์เลือกระบบ Paperless แต่ยังมีเอกสารที่ยังไม่บันทึกผ่านระบบ HIS เช่นผลตรวจการได้ยิน  ผลEKG   รูปถ่าย  แบบฟอร์มต่างๆ  ใบrefer  ใบเอกซเรย์ intervention ฯลฯ  เจ้าหน้าที่ของคลินิกต้องเสียเวลา register  เพื่อขอแฟ้มใหม่ เพื่อนำมาเก็บเอกสารเหล่านี้

 2.        ระบบการตรวจของแพทย์

·             ยังมีแพทย์ประมาณ  40-50  % ยังถนัดที่จะใช้แฟ้ม  OPD  Card    ไม่ถนัดที่จะดูผลการตรวจ / ผล Lab  ผ่านคอมพิวเตอร์    ปัจจุบันยกเลิกการ print  ผล Lab ที่มีในคอมพิวเตอร์  แต่อาจารย์แพทย์บางท่านยังให้ print  ผล Lab  อยู่

·             โปรแกรมวาดรูปอยู่ในระหว่างการทดลองใช้   ยังวาดรูปได้ล่าช้า   ปลายปากกาใหญ่ไป   วาดรูปไม่สะดวก

·             ประวัติการตรวจผู้ป่วยไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของเวชระเบียน มีทั้งในคอมพิวเตอร์ และเขียนในกระดาษใน OPD  Card    มีทั้งพิมพ์และไม่รายละเอียดการตรวจติดในแฟ้ม   ทำให้เสียเวลาในการอ่านประวัติเก่ามาก

3.  ระบบการทำงานของเจ้าหน้าที่OPD

·             ปรับระบบสื่อสารของพยาบาล / เจ้าหน้าที่  เนื่องจากเดิมเจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารกันด้วยข้อมูลใน OPD  Card   ซึ่งสามารถเปิดดูได้เลยทั้งบริเวณเคาน์เตอร์  หน้าห้องตรวจ   และในห้องตรวจ    ปัจจุบันถ้าไม่ใช้ OPD  Card   ต้องเดินมาดูหน้าคอมพิวเตอร์บริเวณเคาน์เตอร์ซึ่งลงโปรแกรมของพยาบาลเท่านั้น   

·             การจัดลำดับผู้ป่วยเข้าห้องตรวจ  เดิมใช้ OPD  Card  เรียงตามลำดับเวลา  เมื่อไม่มี OPD  Card   ทำใบแทน  หรือบัตรแทนเพื่อจัดลำดับคิวเพื่อเป็นสื่อในการเรียกผู้ป่วยเข้าห้องตรวจ

·             ระบบการทำงานมีทั้ง 2 ระบบ

·             เมื่อไม่มี OPD  Card   ต้องพัฒนาระบบสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วยทั้งภายในคลินิกและภายนอกคลินิก  โดยเฉพาะการส่ง consult  ระหว่างคลินิก  เจ้าหน้าที่ที่รับ consult  ต้องเสียเวลาเปิดดูประวัติการตรวจในคอมพิวเตอร์

·              ในรายที่แพทย์เลือกระบบ Paperless แต่ยังมีเอกสารที่ยังไม่บันทึกผ่านระบบ HIS เช่นผลตรวจการได้ยิน  ผลEKG   รูปถ่าย  แบบฟอร์มต่างๆ  ใบrefer  ใบเอกซเรย์ intervention ฯลฯ  เจ้าหน้าที่ของคลินิกต้องเสียเวลา register  เพื่อขอแฟ้มใหม่ เพื่อนำมาเก็บเอกสารเหล่านี้    การจัดเรียงเอกสารไม่มีระบบที่แน่นอน

·             หน่วยงานที่รับการส่งต่อยังต้องการ OPD  Card   ทุกราย   เช่นการ admit  หอผู้ป่วยยังต้องการแฟ้มทุกราย  ส่งต่อไปยังห้องผ่าตัด  DSC   ห้องส่องกล้อง ฯลฯ  ต้องแฟ้มทุกรายเสียเวลา register  เพื่อขอแฟ้ม 

 4. ระบบคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนยังไม่ครอบคลุมทุกโปรแกรม   มีผลทำให้แพทย์ที่เลือกระบบ  Paperless   ยังต้องใช้แฟ้ม  OPD  Card   เพื่อให้ระบบ Paperless  สมบูรณ์ยิ่งขึ้นควรพัฒนาโปรแกรมต่อไปนี้

·             พัฒนาโปรแกรมสำหรับเจ้าหน้าที่อื่นๆ ( Non  MD )  ที่ดูแลผู้ป่วยเช่น  นักตรวจการได้ยิน   ผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย    นักกายภาพบำบัด  ฯลฯ  เดิมสามารถเขียนลงใน OPD  Card   ให้สามารถลงข้อมูลในระบบ HIS  ได้

·             พัฒนาโปรแกรมสำหรับ Scan  เอกสาร / รูปภาพ ที่ส่งมาจากโรงพยาบาลอื่นๆ   หรือเอกสารที่เป็นแบบฟอร์มต่างๆที่ยังไม่ลงในระบบ HIS

·             พัฒนาโปรแกรมการลงข้อมูลการrequest/การรายงานผลในส่วนที่ยังใช้กระดาษเช่น  รูปถ่าย  แบบฟอร์มต่างๆ ใบเอกซเรย์ intervention  แบบฟอร์มการตรวจคลินิกเฉพาะโรค   การคัดกรองพัฒนาการของเด็ก  ฯลฯ เข้าในระบบ HIS

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 73545เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
ยินดีที่ได้เห็นบันทึกนี้ค่ะ...จะติดตามอ่านนะคะ

ขอบคุณที่สนใจค่ะ  แล้วจะเก็บมาเล่าให้ฟังนะคะ

ในมุมมองของผู้ใช้บริการท่านมีความคิดเห็นอย่างไร

สนใจค่ะ เพราะทุกันนี้ OPDcard บางรายหนาเกินไป แต่อาจมีปัญหาบ้างในการทำงานใหม่ ๆ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

ปานเทพ คณานุรักษ์

ยกเลิกการบันทึกลงกระดาษ ใช้การบันทึกลงคอมพ์ เวลา audit ทำอย่างไรครับ

และกรณีที่องค์กรภายนอกเช่น สกส., ปกส. ขอรายละเอียดเพิ่มเติมทำอย่างไรครับ

กรณีคอมแฮงก์ ระบบล่ม ต้องมีระบบสำรองไว้ด้วยนะคะ

ฟังดูดี แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยากมาก เพราะไม่สะดวกในการทำงานในห้องทันตกรรมเลย

เทคโนโลยีการสื่อสารกับการแพทย์ดูจะเป็นเรื่องที่ไปด้วยกันได้อย่างเหมาะเจาะ เพราะนอกจากวงการแพทย์จะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในเรื่องการพัฒนายา และการรักษาโรคแล้ว ยังสามารถช่วยให้การให้บริการรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย ค่ะ

ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ก็มีการใช้ระบบบันทึกข้อมูล

เป็นเป็นแฟ้มอิเลคทรอนิกส์มาเกือบ 6 เดือนแล้วค่ะ

โดยเป็นการแสกน OPD card ลงฐานข้อมูลคอมพิเตอร์

ทางหน่วยสารสนเทศที่รพ.พัฒนาปรับปรุงให้เข้ากับใช้งานมาโดยตลอด

ตอนนี้ ใช้สะดวก และรวดเร็วขึ้นมาก

แต่อาจยังต้องพัฒนาโปรแกรมการลงข้อมูลของแพทย์ในอนาคตค่ะ

เพราะขณะนี้เป็นไฟล์อิเลคทรอนิกส์ที่ได้มาจากการใช้กระดาษอยู่

ยินดีที่ได้มาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณลักษมี

  • ดิฉันอยู่ที่ รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นค่ะ ได้อ่านเรื่อง Paperless แล้ว น่าสนใจมากค่ะ ที่นี่ยังไม่มีการใช้ระบบนี้เลยค่ะ
  • อยากนำระบบนี้มาใช้บ้างค่ะ เป็นไอเดียที่ดี แต่ก็ต้องจัดระบบให้ดีพอสมควรเลยล่ะค่ะ เพื่อให้เกิดปัญหาตามมาน้อยที่สุด

ผมในฐานะคนไข้ ผมต้องการพบแพทย์ มากกว่าที่จะมาเสียเวลากับเรื่องนี้ครับ ทางที่ดีควรปรับปรุงระบบพร้อมกันทั้งประเทศเลยครับ

บทความนี้โดนใจคนทำงานมากๆค่ะ ตอนนี้เริ่มพัฒนาในASTHMA CLINIC/คนไข้เด็กที่มีการนัดหมาย สู้ๆค่ะ ให้กำลังใจคนทำงานค่ะ#2P#เราและเขาปลอดภัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท