การประเมินเทียบระดับการศึกษาของ กศน. กลุ่มจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุงและตรัง


บทบาทของ กศน.ต่อการพัฒนาการศึกษานอกระบบกับการศึกษาตามอัธยาศัย

๒๓มกราคม ๒๕๕๐

         ผมเองในฐานะ ผู้อำนวยการเรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตนครศรีธรรมราชได้ร่วมในพิธีเปิดการประถมนิเทศ "ผู้ใฝ่รู้ แสวงหา พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง" ประเมินเทียบระดับซึ่งเป็นไปตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งได้จัดการศึกษาไว้ ๓ ลักษณะ คือ ๑)การศึกษาในระบบ ๒)การศึกษานอกระบบ และ๓)การศึกษาตามอัธยาศัย    โดยจัดการศึกษาตลอดชีวิตและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม

             ปรัชญาความรู้สำหรับการประเมินเทียบโอนระดับการศึกษาของประชาชน โดยยึดหลักความรู้มี ๒ อย่าง คือ ๑)ความรู้ชัดแจง(Explicit Knowladge) หมายถึง การวิจัย หลักวิชาการ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และขั้นตอนการพิสูจน์ต่างๆ ๒)ความรู้แฝงหรือความรู้ฝังลึก มีไม่เกิน ๒๐%(Tacit Knowladge) หมายถึง ความรู้ในตัวคน เช่น ภูมิปัญญา ประสบการณ์ต่างๆทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นองค์ความรู้ของคน ชุมชน วิจารณาญาณ ซึ่งมีถึง ๘๐%หรือเกินกว่า   ซึ่งมีการเปรียบเทียบว่า"เหมือนดังภูเขาน้ำแข็ง ส่วนที่ปรากฏบนผิวน้ำเพียง ๒๐ ส่วนแต่ที่อยู่ใต้น้ำมีถึง ๘๐ ส่วน" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้ที่อยู่ในตัวคนหรือประสบการณ์ต่างๆของคนหรือมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม เพราะฉะนั้นการให้ความสำคัญกับคน โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาพัฒนาคนจะมีกำไรถึง ๔ เท่าเมื่อเทียบกับการลงทุนด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ

                 การประเมินความรู้ในตัวคน ๔ ด้านด้วยกัน

                 ๑)ความรู้ทั่วไป เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น

                ๒) ทักษะการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาตนเองคุณธรรมการทำงาน

               ๓)ทักษะการพัฒนาชีวิตหรือการดำเนินชีวิต ครอบครัว สังคม ชุมชน และ

            ๔)ค่านิยม เช่น ในเรื่องทัศนคติต่างๆ การช่วยเหลือสังคมชุมชน

              ศูนย์การประเมินระดับการศึกษา ได้ดำเนินการมาแล้ว ๓ รุ่น

                 -นครศรีธรรมราช รุ่น ๑ จำนวน ๑๒ คน รุ่น ๒ จำนวน ๒๒๔คน และรุ่น ๓ จำนวน ๔๑๒ คนรวม ๖๓๘ คน

                 - ตรัง เข้าประเมิน รุ่น ๓  จำนวน ๒๗ คน

                - พัทลุง  ทั้ง ๓ รุ่น ไม่มีสักคนเดียว

                นายวิชม  ทองสง ผวจ.นครศรีธรรมราช เป็นประธานประถมนิเทศ ชื่นชม ว่านครศรีธรรมราชทำงานอย่างได้ผล ถือว่าเป็นอันดับแนวหน้าของประเทศ ต้องชื่น ผอ.วิมล วัฒนา กศน.นครศรีธรรมราชที่เอาจริงเอาจังและมองเห็นคุณค่าความรู้ในตัวคน ผู้เข้าประเมินผ่าน ม.๖ ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตนครศรีธรรมราช กระจายคลุมพื้นที่ พร้อมรับ นักศึกษาที่สูญเสียโอกาสในอดีต หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต(ศศ.บ.) สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในปีการศึกษา ๒๕๕๐ "ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง" นำที่ทำไปเรียน นำสิ่งที่เรียนไปทำ สร้างผู้นำให้อยู่คู่กับท้องถิ่นเพื่อชุมชนพึ่งตนเอง"เรียนรู้รากเหง้า ชื่นชมบรรพบุรุษ เคารพในภูมิปัญญา มองเห็นคุณค่าของความรู้ในตัวคน"

 

หมายเลขบันทึก: 74061เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 07:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท