โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในโรงเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราช


การจัดงาน "มอบรางวัลหนังสือเล่มเล็ก" วิถีชีวิต ครอบครัว ชุมชน และโลก

๒๖ มกราคม ๒๕๕๐

          มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ได้จัดงาน"งานมอบรางวัลหนังสือเล่มเล็ก" โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในโรงเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนในพื้นที่พรุเคร็ง ชายทะเล ลุ่มน้ำปากพนัง และโรงเรียนบ้านบางโหนด อ.ขนอมโดยเฉพาะพื้นที่การทำโครงการของ ปตท.  โดยการสนับสนุน ขององค์กร ปตท. ธกส. สวทช.และมูลนิธิหมู่บ้าน  ซึ่งมองเห็นว่าการจัดการศึกษาเพื่อให้ชุมชนได้ คืนสู่ต้นกำเนิดชิวิต(back to the source) คืนสู่รากเหง้า(back to the roots)และคืนสู่พื้นฐาน(back to basic)  ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยม และอุดมศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ได้ผ่านโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต เป้าหมายคือการสร้างผู้รู้อยู่คู่ท้องถิ่น ซึ่งการเข้าร่วมโครงการจำนวน ๑๑ โรงเรียน เช่น โรงเรียนวัดควนเคร็ง ควนยาว ควนป้อม บ้านบางกลม เนินธัมมัง คงคาล้อม บ้านกุมแป รักบี้จุฬา-ธรรมศาสตร บ้านโก้งโค้งและโรงเรียนบ้านบางโหนด  เริ่มโครงการมา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ และดำเนินการร่วมกันมาจนกระทั้งสิ้นสุดโครงการ   จัดระดับรางวัลผลงานออกเป็น "ผลงานรางวัลนักเรียนยอดเยี่ยม" "รางวัลดีเยี่ยม""รางวัลดี"และผลงานนักเรียน รางวัล"ชมเชย"

          การประกวดและตัดสินรางวัล ได้ดำเนินการจัดงานที่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ต่างก็ได้รับการตัดสินรางวัลมาเป็นที่เรียนร้อย  การจัดงานในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมทวินโลตัสนครศรีธรรมราช เป้าหมาย เป็นการมอบรางวัลเพื่อให้เกิดการขยายผลในทางปฏิบัติไปสู่โรงเรียนต่างทุกเขตพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการก็ได้โชว์ผลงานของนักเรียนทั้งที่เป็น"หนังสือเล่มเล็ก"ที่ได้รับรางวัล และผลงานการปฏิบัติผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ศึกษานิเทศน์  กระจูด  น้ำปลา น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น และได้เชิญกลุ่มองค์กรเกษตร โรงเรียนครู-นักเรียน กศน. ธกส. ประชาชน และนักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิต ประมาณ ๕๐๐ คน

      รศ.ดร.เสรี  พงศ์พิศ  ผอ.สสวช.ได้สรุปว่า "หากเด็กได้เรียนเกี่ยวเรื่องของตนเอง ชุมชน ฐานการเรียนก็จะเป็นศิงเดียวกัน เพราะวิถีชีวิตของชุมชนก็จะเป็นสาระเดียวกัน"  นายวิชม  ทองสง ผู้ว่าราชการจังหวัด  ได้เป็นประธานปิดงาน ได้กล่าวว่า"เยาวชนได้เรียนรู้ใน ๓ รู้จัก คือ ๑)รู้จักตนเองและครอบครัว  ๒)รู้จักชุมชน รู้จักบ้านของตนเอง ๓)รู้จักโลกและประเทศส่วนรวมของตนเอง ทางจังหวัดได้ดำเนินการเพื่อให้ชุมชนเข้มพึ่งตนเองให้ได้ โดยได้เริ่ม ปี ๔๘ จำนวน ๔๐๐หมู่บ้าน ปี  ๔๙ จำนวน ๖๐๐หมู่บ้านและ ปี ๕๐ จะดำเนินการที่เหลืออีก ๕๐๑หมู่บ้านโดยใช้หลักของ KM ใช้แกนนำหมู่บ้านละ ๘ คน ซึ่งคาดว่าจะได้ชุมชนตัวอย่างที่ดำเนินการอย่างจริงจัง และจะขยายผลในอนาคตให้ได้ เพื่อ"เป้าหมายชุมชนพึ่งตนเอง"  โดยใช้แผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองเป็นเครื่องมือ และที่สำคัญท่านมองว่า"มหาวิทยาลัยชีวิตจะเป็นเครื่องมือขยายผลอีกทางหนึ่งด้วย(สวัสดิ์ สมัครพงศ์ สรุป)

หมายเลขบันทึก: 74669เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท