หรือสินค้าเกษตรจะตกอับในยุค Knowledge Economy (ตอนที่ 1)


"World Economy ทุกวันนี้เปลี่ยนไปจากเดิม จากภาคการเกษตร มุ่งสู่ภาคบริการมากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของ Knowledge Economy"

หลังจากได้อ่านสรุปสาระสำคัญของหนังสือ As The Future Catches You ที่แปลเป็นไทยว่า "เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ"  ซึ่งเขียนโดย Juan Enriquez   ซึ่งดำรงตำแหน่ง Director of the Life Sciences Project  ที่ Harvard  Business School  ที่ก่อนหน้านี้พยายามจะอ่านให้จบแต่ก็ไม่จบซักที  จนมีนักศึกษาถือเอกสารที่เป็นสรุปสาระสำคัญมาให้ช่วยตีความ  เพราะเต็มไปด้วยภาษาอังกฤษที่เป็นศัพท์เทคนิค   และในบางประโยคก็มีใจความแฝง   อ่านไปอ่านมาก็เลยคิดว่าคงต้องไปอ่านต่อให้จบ

จริงๆแล้ว  หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเข้ามาในประเทศไทยตีพิมพ์ประมาณปี 2546   ก็ถือว่าตัวเองตกยุคพอสมควรที่ยังไม่อ่านหนังสือเล่มนี้ให้จบซักที  เพราะหนังสือได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะหลังจากที่ได้รับคำนิยมจาก พันตำรวจโท  ดร.ทักษิณ  ชินวัตร ทำเอาผู้บริหารทั่วประเทศไทยเป็นตัองหามาอ่าน  รวมถึงสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ก็นำมาเป็นหนังสือประกอบการเรียนกันเป็นแถวๆ     

ประเด็นที่สนใจหลังจากได้อ่านไปด้วย  ตีความ (ตามความเข้าใจของตัวเอง) ไปด้วยในวันนี้ (27 ม.ค.2550)   คือเรื่องของ "The New Rich and The New Poor"   ที่อยู่ในบทที่ 3 ของหนังสือ  โดยในเนื้อหารระบุว่าความแตกต่างในเรื่องของ "การศึกษา" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ "Scientific Literacy" นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเรื่องความมั่งคั่ง   (scientific  literacy   คือการสั่งสมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ : ประมาณว่าแปลเองค่ะ)   นอกจากนั้นเศรษฐกิจโลก (World Economy)  ก็เปลี่ยนไปจากเดิม คือภาคการเกษตรมุ่งสู่ภาคบริการมากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของ Knowledg Ecomony (ระบบเศรษฐกิจที่มีรากฐานของการใช้องค์ความรู้....อันนี้ก็แปลเอาเอง)

ที่นาสนใจอย่างยิ่งคือ  มีการเปรียบเทียบตัวเลขผลผลิตของทั่วโลก (Global  Production)  ซึ่งแบ่งสัดส่วนหลักๆ เป็น ผลผลิตทางการเกษตร (Agriculture)     อุตสาหกรรม (Manufacturing)    และ บริการ (Service)  ในช่วงปี 1960 กับปี 1998  ที่พยายาม load  แผนภูมิที่เค้าใช้ประกอบมาให้ดูค่ะ .... แต่ไม่สำเร็จ

เอาเป็นว่าสรุปตัวเลขแล้วกัน สัดส่วนผลผลิตของโลกในปี 1960 แบ่งเป็น  ผลผลิตทางการเกษตร 30%   ผลผลิตอุตสาหกรรม 32%  และผลผลิตด้านการบริการ 38%

ปี 1998 สัดส่วนผลผลิตของโลกเป็นผลผลิตทางการเกษตร 4%   ผลผลิตทางอุตสาหกรรม 32%  และผลผลิตทางด้านบริการ 62% 

ถ้ามองเผินๆ ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า นับวันบทบาทของผลผลิตทางการเกษตรจะด้อยความสำคัญลงเรื่อยๆ ในตลาดโลก.  โดยเฉพาะในเรื่องของความด้อยมูลค่า (Value) ...ขณะที่ผลผลิตที่ใช้บุคลากรที่มีความรู้อย่างเช่นด้านบริการ ยิ่งทวีความสำคัญและเป็นที่ต้องการ ......เพราะตามมุมมองของ Juan Enriquez สิ่งที่เกิดขึ้นก็สืบเนื่องจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีทำให้เศรษฐกิจโลกยืนอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินกิจกรรมการผลิตที่ใช้องค์ความรู้ (Knowledge Economy)  พร้อมกับตอกย้ำว่า  

คนที่มีความรู้จะทวีความสำคัญ  ขณะที่แรงงานขาดทักษะจะยิ่งด้อยค่า "The knowledge  component become more important, and manual worker labour has less vauable"

แล้วอนาคตสินค้าเกษตรจะเป็นอย่างไร.......เกษตรกรไทยจะต้องทำอะไรจึงจะอยู่ได้......จะมีพื้นที่สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลักและเต็มไปด้วยแรงงานขาดทักษะ ในระบบเศรษฐกิจโลกหรือไม่......

อย่างไรก็ตาม...ในมุมมองของข้าพเจ้า.....ในบรรดาข้อมูลแวดล้อมที่ทำให้ Juan Enriquez สรุปทิศทางของเศรษฐกิจโลกไว้เช่นนั้น ก็ยังมีช่องเล็กๆ ที่ประเทศเกษตรกรรมอย่างเราพอจะหลุดรอดออกไปได้... คือเป็นข้อสงสัย..เล็กน้อยที่เกิดขึ้น ว่า ถ้าสัดส่วนผลผลิตเกษตรในโลกลดความสำคัญลงเหลือเพียงแค่ 4%  แล้วคนในโลกที่มีอัตราการขยายตัวของประชากรเป็นทวีคูณจนมากกว่า 6,000 ล้านคนในปี 1999  กินอะไร........

...........เนื้อหาการอภิปรายยาวมากค่ะ...โปรดติดตามตอนต่อไป .......

 

หมายเลขบันทึก: 74806เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท