80ความดีเพื่อในหลวง (4) : เต็มใจ (แต่เครียด)


ความสำเร็จของเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1.มีทักษะและวัฒนธรรมการฟัง 2.กระแสคลื่นกระตุ้นผู้เล่า 3.บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นกันเอง ให้ความยอมรับเคารพ เห็นคุณค่า ความภาคภูมิใจในกันและกัน .

ตั้งใจไว้ว่าจะเขียนเรื่องทำความดีเพื่อถวายในหลวงให้ได้ซัก 80 ความดี ในตอนนี้ก็เพิ่งเขียนได้แค่ตอนที่ 4 เอง อันที่จริงก็มีเรื่องที่น่าจดจำเยอะแต่ว่าพักนี้อิฉันเองรู้สึกว่าตัวเองจะสูงขึ้นแถมมีขนขึ้นเยอะผิดปกติ

อ๊ะ..อ๊ะ..อ๊ะ..อย่าเพิ่งคิดส์มาก ห้ามคิดนอกลู่นอกรอยเด็ดขาด เพราะอิฉันกะลังจะบอกว่าตัวเองน่ะ

"ขี้เกียจสันหลังยาว + ขี้เกียจจนตัวเป็นขนแย้ววว...."

สำหรับความดีในตอนนี้ เป็นเรื่องที่ดิฉันเต็มใจไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับคนนอกสถาบัน โดยที่ดิฉันได้รับการติดต่อจากคุณนภัสกุล ซึ่งเป็นหนึ่งใน KM Team ของสถาบันทันตกรรม ให้ไปเป็นผู้ให้และไปเล่าเรื่องเทคนิคการเป็นคุณลิขิตให้กับสถาบันทันตกรรม ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านรั้วติดกับบำราศฯนี่เองแหล่ะค่ะ

แต่...อิฉันก็เกิดความเครียด...ว่าจะพูดอะไรดี ...

...จะต้องเตรียมเรื่องอะไรไปเล่านี่ ...

...วิตกจริต และเป็นทุกข์ไปล่วงหน้าตามประสาคนสติแตก ปัญญายังไม่เกิด แถมด้วยติดภาระงานประจำของตนเองอีก

เกิดสติและตั้งหลักได้ก็จากการมาทบทวนถึงบันทึกต่าง ๆ ที่ตนเองอดตาหลับขับตานอนบันทึกใน G2K   "ชุมชนคนชุดเขียว"  ความคิดที่สว่างวาบเข้ามา..และนั่นแหละ โป๊ะเช๊ะ ....ช่ายเลย...บอกกับตัวเองทันทีว่า...เอ้า..ฮึบ...สู้ว๊อย... 

 

"..เราก็เล่าเรื่องที่เราบันทึกมาให้เขาฟังสิ เขาต้องการฟังสิ่งที่เป็นประสบการณ์จริงนะ ไม่ใช่ทฤษฎี..."

และในวันที่ 26 มกราคม 2550 เวลา 13.00 - 16.00 น. ดิฉันก็ไปปรากฏกาย ณ สถาบันทันตกรรมและพบกับ"พลพรรครักลิขิต"

อู๊ย....ไม่ต้องงงค่ะ อิฉันตั้งชื่อให้กับชาวทัตกรรมที่สนใจและรักการลิขิต เพื่อให้กิ๊บเก๋และน่าสนใจเล่น ๆ ค่ะ ซึ่งดิฉันก็แอบเห็นสีหน้า แววตาของหลายคนดูวิบวับ ๆๆๆ ดูท่าว่า..จะสนใจชื่อที่ดิฉันตั้งให้ซะแล้ว

เมื่อจบ Table Talk เรื่องเทคนิคการเป็นคุณลิขิต ดิฉันได้ให้สมาชิก "พลพรรครักลิขิต" ลองฝึกทักษะการเป็นคุณลิขิตด้วยการหาอาสาสมัครให้สมาชิกเล่าเรื่องใดก็ได้มาเป็นตัวอย่างสัก 1-2 เรื่อง และในขณะที่อาสาสมัครนั้นเล่าเรื่องก็ให้สมาชิกคนอื่นฝึกทักษะการฟังและจับประเด็นเพื่อฝึกการจดบันทึก  ก็มีน้องคนหนึ่งอาสาเล่าเรื่อง ความว่า...

"....หนูรู้สึกประทับใจกับเพื่อนที่ทำงานชั้น 3  กับชั้น 4 ที่ทำงานกันช่วยเหลือกันมาตลอด ถึงแม้ว่าบางครั้งก็อาจจะมีเรื่องที่ไม่ชอบใจกันบ้าง ทะเลาะกันบ้าง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีงานมาชิ้นหนึ่ง ก็จะเห็นเจ้าหน้าที่ของชั้น 3 และชั้น 4 ช่วยกันทำงานจนสำเร็จทุกครั้งเลย ซึ่งเป็นเพราะเจ้าหน้าที่เขารักกัน ทำให้หนูประทับใจและอยากให้หน่วยงานอื่นเป็นอย่างนี้บ้าง..."

จากนั้นดิฉันให้ทุกคนลองจับประเด็นว่าได้ประเด็นหรือ/ใจความสำคัญอะไร  คุณเชื่อไหมคะว่าคนทันตกรรมมีทักษะการจับประเด็นสุดยอดจริง ๆ ค่ะ เขาพากันตั้งชื่อให้เรื่องนี้กันอย่างสนุกสนาน มีทั้ง..

  • ลิ้นกับฟัน
  • เพื่อนกันตลอดกาล
  • เพื่อนช่วยเพื่อน
  • เพราะเรานั้นรักกัน
  • รักต่างชั้น
  • และในที่สุดชื่อที่ชนะโหวต คือ "รักต่างชั้น" เพราะสามารถสื่อความหมายได้ดีที่สุด

นอกจากนี้ทุกคนยังเกิด ปิ๊ง..!! ..แว๊บ ได้พล็อตเรื่องที่จะนำไปเขียนบันทึกได้อีกอย่างหลากหลาย หลายคนสนใจที่จะสมัครเป็นสมาชิกของ G2K แถมได้ตั้งชื่อบล็อกของตนเองก่อนที่จะได้สมัครซะอีก งานนี้คุณหมอกฤษดาต้องเป็นพี่เลี้ยงให้กับสมาชิกที่เหลือแล้วล่ะค่ะ

 

สำหรับดิฉันเองนั้น...ก็รู้สึกอิ่มเอม ดี๊ด๊า...อย่างบอกไม่ถูก 3 ชั่วโมงที่ดิฉันได้นั่งพูดคุยเล่าประสบการณ์การบันทึกตรงกับ คุณหมอกฤษดา ปัญจนุวัฒน์ และสมาชิกประมาณ 10 กว่าคน เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่น่ารักและอบอุ่นอย่างยิ่ง  ความสำเร็จของเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ เกิดจาก... 

 

  • ทุกคนมีทักษะและวัฒนธรรมการฟังที่ดีมาก ๆ คือ
    • ฟังอย่างตั้งใจ
    • แถมด้วยความชื่นชม (Appreative Inquiry) 
    • ฟังในบรรยากาศเชิงบวก
    • ฟังอย่างเปล่งประกาย ทั้งสีหน้า แววตา ท่าทาง
    • ฟังด้วยวิญญาณสร้างสรรค์ (Active / Productive Listener)

  • เกิดกระแสคลื่นกระตุ้นผู้เล่า คือ
    • ดิฉันเกิดความรู้สึกอยากเล่า
    • เกิดพลังในการเล่าเรื่อง
    • ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย
    • อยากเล่าเรื่องราวดี ๆ ทั้งหลายทั้งมวลได้ใสกระจ่าง

 

  • บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นกันเอง ให้ความยอมรับเคารพ เห็นคุณค่า ความภาคภูมิใจในกันและกัน  

 

ท้ายสุดขอบอกชาวทันตกรรมทุกคนที่มาร่วมพบปะพูดคุย Table Talk อย่างเป็นกันเองว่า " พวกคุณยอดเยี่ยมมากค่ะ"

หมายเลขบันทึก: 74980เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2007 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
การเกิดคุณค่า มาพร้อมกับความภูมิใจ   ครับ
ชื่นชมไอเดียปิ๊งแว๊บค่ะ "... เราก็เล่าเรื่องที่เราบันทึกมาให้เขาฟังสิ เขาต้องการฟังสิ่งที่เป็นประสบการณ์จริงนะ ไม่ใช่ทฤษฎี ..."

คุณเม็กดำ 1

  • การยอมรับความมีคุณค่าในกันและกัน เป็นพลังและทำให้เกิดความภาคภูมิใจค่ะ
  • อ้อ..ดิฉันสงสัยว่าทำไมต้อง เม็กดำ 1 คะ ?

อ.หมอนนท์คะ

กาลครั้งนี้สอนว่า...เมื่อสติแตก อย่าให้สติเตลิด ต้องค่อย ๆ  ทบทวน

ปัญญาย่อมเกิดภายหลังสติแตกค่ะ อิอิอิ...

ยอดเยี่ยมค่ะ อ่านแล้วรับรู้ได้ถึงพลังที่ส่งออกไปยังผู้ร่วมรายการเลยนะคะ นึกภาพออกเหมือนที่ทึ่งในพลังเมื่อวันที่โชคดีได้อยู่ข้างๆคุณเล็กเลย อย่างนี้สงสัยจะหัวกระไดไม่แห้งซะแล้วมังคะ ยอดหญิงมหัศจรรย์

พี่เล็กอย่าตรากตรำทำงานหนักมากนะคับ หมูเห็นเงียบๆไป เป็นห่วงมากๆคับ

สวัสดีคับพี่เล็กที่คิดถึง^_________________^

http://gotoknow.org/blog/watcharakit/75182

สวัสดีค่ะ

  • เข้ามาทักทาย
  • บันทึกน่ารัก
  • หวานแหว๋ว
  • เนื้อหาละเอียด เก็บทุกอย่างได้หมด
  • มีสาระยิ่ง
ร่วมภูมิใจ และยินดี กับการไป ลปรร ครั้งนี้ด้วยครับ

บันทึกพี่เล็กมีชีวิตชีวาไม่เคยเปลี่ยนเลยนะคะ

เนื้อหาดูครบถ้าม สรุปประเด็นได้เยี่ยมจิงคะ และยังสื่อถึงการรู้คุณค่าของตน เกิดความภาคภูมิใจ...นี่คือเสน่ห์ของหารเล่าเรื่องที่ได้รสชาติบนเนื้องานจริงๆ คะ....และที่สำคัญเน้นให้จ๊ะจ๋าเห็นถึงความเชื่อของการทำงาน การได้รับความสุขในการทำ..สุขใจจริงๆ คะที่ได้อ่านบทความนี้
  • มาทักทาย
  • หายไปหลายวันคิดถึง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท