KM


ทำอย่างไรถึงจะได้รับงบประมาณจาก อบต.
          ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับอำเภอ ครั้งที่  1/2550  เมื่อวันที่  20  กุมภาพันธ์  2550    โรงเรียนอุเทนพัฒนา  อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม  ได้มีการนำเทคนิคการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จ(Best  practice)  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  ผมได้รับฟังเทคนิคการประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก อบต.  ของคุณ สมปอง  สุจิมงคล  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6  สำนักงานเกษตรอำเภอเรณูนคร  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม  ซึ่งมีเทคนิคที่ดีและประสบผลสำเร็จอย่างมาก  จึงนำมาแลกเปลี่ยน  ตามเรื่องเล่าของคุณสมปอง  สุจิมงคล  ดังนี้          ในปัจจุบันงบประมาณที่มาจากส่วนกลางค่อนข้างมีน้อยหรือแทบจะไม่มี  ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะงบประมาณส่วนใหญ่รัฐบาลจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หรือ  อบต.)  เป็นผู้บริหารจัดการ  งานส่งเสริมด้านการเกษตร  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีงบประมาณสนับสนุน  ทั้งในด้านปัจจัยการผลิต  การถ่ายทอดความรู้  การสาธิตเพื่อให้เกษตรกรนำไปเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพของตนเอง  ดังนั้น  หากไม่มีงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังกล่าว  ก็จะทำให้งานส่งเสริมด้านการเกษตรไม่ประสบผลสำเร็จ  เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตำบลหรือเกษตรตำบลต้องจัดหาแนวทางที่จะของบประมาณมาดำเนินการ  โดยแหล่งงบประมาณที่อยู่ใกล้ชิดกับท้องถิ่นมากที่สุด  คือ  อบต.  ในการที่จะขอสนับสนุนงบประมาณจาก  อบต.  นั้น  ในส่วนของตำบลเรณูใต้ได้ยึดหลักดังต่อไปนี้เป็นแนวทางในการของบประมาณ          1.  มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ  โดยเฉพาะกรรมการศูนย์ฯ  รวมทั้งนำหนังสือเชิญตัวแทนจาก อบต.  เข้าร่วมประชุม          2.  ยินดีช่วยงานในกรณี  อบต.  ร้องขอหรือขอความร่วมมือ          3.  จัดทำรายงานการประชุม  สรุปผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ  ให้อบต.ทราบทุกครั้งที่มีการประชุม

          4.  สร้างความเข้าใจและสร้างความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่และพนักงานทุกคนใน อบต.

Dsc05047
          5. จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอ  อบต.  เป็นประจำทุกปี  พร้อมติดตามความก้าวหน้าในการขอสนับสนุนงบประมาณ

Dsc05048

          6.  เชิญคณะเจ้าหน้าที่จาก  อบต.  ตรวจเยี่ยมโครงการที่  อบต.  สนับสนุนพร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทั่วไปได้ทราบ

Dsc05049

 

          7.  เมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก  อบต.  แล้ว  ต้องรายงานความก้าวหน้าของโครงการให้  อบต.  ทราบ  เป็นประจำทุกเดือน

Dsc05052

          8.  สนับสนุนกิจกรรมต่าง     ที่  อบต.  จัดขึ้น

Dsc05050

          9.  สร้างความเข้าใจในภารกิจให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

Dsc05051
          10.  จัดทำรายงานสถานการณ์การผลิตต่าง    ให้  อบต.  ทราบ  อย่างน้อย  ปีละ 2  ครั้ง          11.  ปฏิบัติภารกิจ  ภาระหน้าที่  ความรับผิดชอบ  ที่ได้รับมอบหมาย  ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด  พร้อมกับประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมในทุกโอกาสเท่าที่มีและเหมาะสม          การปฏิบัติเช่นนี้  ข้าพเจ้าเชื่อว่าในการขอสนับสนุนงบประมาณจาก  อบต.  คงจะประสบผลสำเร็จ          คุณสมปอง  สุจิมงคล  เป็นเกษตรตำบล  ที่มีผลงานระดับแนวหน้าของจังหวัดนครพนม  เป็นเกษตรตำบลที่มีผลงานดีเด่น  เป็นทีมงาน KM  ของสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม   นักส่งเสริมท่านใดจะนำเทคนิคดังกล่าวไปทดลองปฏิบัติพัฒนาถ่ายทอด   ผลเป็นอย่างไรก็นำมาแลกเปลี่ยนกันบ้าง                                                                                                  ทวี   มาสขาว
คำสำคัญ (Tags): #อบต.
หมายเลขบันทึก: 80089เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

     ขอบพระคุณมากครับ ที่บันทึกเทคนิคนี้มาแบ่งปัน

น่าจะแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมหน่อยนะคะว่าทำอย่างไร อบต.จึงจะยอมรับเชื่อถือศรัทธาและไว้วางใจเรา

ผมว่ามีประโยชน์มาก  ทั้งในส่วนของเนื้อหาและวิธีการในการนำKMไปใช้  เมื่อวันที่ 28/3/2550 ผมกับคุณจือ ได้ไปช่วยทำความเข้าใจการจัดการความรู้ให้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงเช้าเขาได้เชิญ หัวหน้าสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด(ไม่แน่ใจว่าตำแหน่งถูกหรือไม่) มาคุยเรื่องการถ่ายโอนภารกิจแก่ อบต.  ก็มีปัญหาคล้ายๆแบบนี้แหละ  อบต.ไม่เห็นความสำคัญ  ไม่สนับสนุนงบประมาณด้านการเกษตร  ท่านก็ตอบว่าในระดับนโยบายก็พยายามผลักดัน  แต่ก็ไม่มีอำนาจจะไปสั่ง อบต. วิธีการคือเราต้องทำงานให้ได้ใจเขา แต่ก็ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด  ช่วงบ่ายตอนสร้างความเข้าใจแนวคิด/หลักการการจัดการความรู้ ผมก็ได้แนะนำเขาว่าให้ลองนำ KM ไปจัดการดู  ดูว่าในจังหวัดมีเกษตรตำบลคนไหนเก่งในการทำงานประสานกับ  อบต.จนได้รับการสนับสนุนอย่างดี นำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆในเวที DW หรือเวทีอื่นก็ได้

            ขอบคุณพี่ทวี ที่นำประสบการณ์ดีๆมา  ลปรร.

อ่านแล้ว ถ้าร้องเพลงก็ต้องบอกว่าใช้เลย ทำดีแล้วทำต่อไปและขอนำองค์ความรู้นี้ไปเผยแพร่ต่อไป ถ้าเข้าใจกันอะไรมันก็ง่าย จริงหรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท