กลุ่มพัฒนาบุคลากร
นาย ไชยนันท์ กลุ่มพัฒนาบุคลากร แสงทอง

หลักสูตรพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ กระทรวงวัฒนธรรม


ผู้นำมืออาชีพ

โครงการพัฒนานักบริหารระดับกลางหลักสูตรพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพกระทรวงวัฒนธรรม (Super Leader)”ประจำปี ๒๕๕๐ 

๑. หลักการและเหตุผล       

               ปัจจุบันการเข้าสู่โลกาภิวัตน์ทำให้ทุกองค์กรและหน่วยงานต้องปรับทัศนคติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยสามารถรอดพ้นจากภัยคุกคามของโลกาภิวัตน์ และสร้างความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน                        

         การพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีทักษะ ความรู้ มีทัศนคติ ตลอดจนวัฒนธรรมที่สอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้น  การเพิ่มความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญ กอปรกับในภาวะปัจจุบันทุกองค์กรจะต้องมี วิสัยทัศน์ (VISION)  เป้าหมาย (GOALS) พันธกิจ (MISSION) และกลยุทธ์ (STRATEGIES) ซึ่งจะต้องปรับตัวเป็นองค์กรเชิงรุกในการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างองค์กรการเรียนรู้ (LEARNING ORGANIZATION) และสังคมการเรียนรู้ (LEARNING SOCIETY) โดยการสร้างบรรยากาศในการหาความรู้ร่วมกัน (LEARNING ENVIRONMENT) การกระตุ้นให้ผู้นำ ผู้บริหารตลอดจนพนักงานในทุก ๆ ระดับเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้  เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และต้องมีการติดตามประเมินผลของการพัฒนาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงานขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม                       

         ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าว กระทรวงวัฒนธรรมจึงจะต้องเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก ให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจและสังคมในยุคปัจจุบัน กระทรวงวัฒนธรรมจะต้องทำงานแบบใหม่ที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรม  ดูแลการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ที่กระทบต่อประเทศ และรักษาความเป็นเลิศทางวัฒนธรรมโดยนำทฤษฎี ทุนทางวัฒนธรรม   หรือ “Cultural Capital” มาเป็นแนวคิดและเครื่องช่วยในการวิเคราะห์วิธีการทำงานที่มุ่งไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดทำโครงการการจัดหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม 

๒. วัตถุประสงค์

       .     เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรของกระทรวงวัฒนธรรมให้สามารถปรับตัวในยุคโลกาภิวัตน์ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหน่วยงานของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถซึ่งจะต้องอาศัยระยะเวลา และความต่อเนื่อง

      ๒.   เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด (Coaching, Mentoring and Facilitator) และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้ได้ต่อไป ซึ่งจะเป็นการสร้างเกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อย่างมหาศาลในระยะยาว 

     ๓.    เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการทำงานให้มุ่งเน้นไปที่ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และการบริการที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้า ในการสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน๔.    เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวเรื่องวัฒนธรรมจากกรณีศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในโลก 

๓. หัวข้อวิชาการฝึกอบรม                       

      หลักสูตร พัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ (Super Leader) จำนวน ๖๐ ชั่วโมง (ภายในประเทศ) ครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

     -  สภาพแวดล้อมภายใน

    ภายนอก และผลกระทบต่อกระทรวงวัฒนธรรม

    -  นโยบายและวิสัยทัศน์ของกระทรวงวัฒนธรรม

    -  การปฏิรูประบบราชการกับการเตรียมพร้อมเชิงรุกของกระทรวงวัฒนธรรม

    -  กระทรวงวัฒนธรรมกับโลกาภิวัตน์

    -  กระทรวงวัฒนธรรมกับการศึกษาและสังคมไทย

    -  กระทรวงวัฒนธรรมกับ Branding

    -  ภาวะผู้นำกับการบริหารองค์กรและการเปลี่ยนแปลง (Leadership in a changed world)

      -  การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

      -  กระทรวงวัฒนธรรมกับกลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ (Marketing as Strategy)

      - การสร้างคุณธรรม และธรรมาภิบาลสำหรับการบริหารแบบบูรณาการ     (Ethics & Good Governance)

      -  การบริหารการเงินสมัยใหม่สำหรับการบริหารแบบบูรณาการ (Smart Financial Management)

        -  การสร้างและบริหารพันธมิตรและเครือข่าย (Networking and Partnership Management    and Strategy)

      -  การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)

      -  IT กับการทำงานยุคใหม่-  E.Q และ เชาว์อารมณ์

      -  การวิเคราะห์กลยุทธ์ และกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy Road Map)                      

      -  การพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร (Human Resource Development, Management and Strategy)

      -  ผู้นำกับการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร (Leaders & Brand Image)

       -  การสร้างวัฒนธรรมและองค์กรแห่งเรียนรู้และมูลค่าเพิ่มต่อองค์กร (Learning culture, Learning organization and value added)

       -  เทคนิคการทำงานเป็นทีมให้ประสบความสำเร็จ (Team Building and Team that success)

       -  การบริหารโครงการ (Project Management)

       -  การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

       -  การบริหารแบบแหวกวงล้อม

       -  การเจรจาต่อรอง  (Negotiate and Win)

       -  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร (Effective communication)

       -  เทคนิคการตัดสินใจ (Decision Making)

       -  เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

       -  การทำวิจัย (Research Method) เพื่อสร้างนวัตกรรม (Innovation)

       -  แผนธุรกิจ (Business Plan) ของกระทรวงวัฒนธรรม

       -  กรณีศึกษาตัวอย่างความสำเร็จของวัฒนธรรมฝรั่งเศส และประเทศเกาหลี                       

๔. วิทยากร   

        วิทยากรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน  

๕. วิธีการฝึกอบรม

       วิธีการฝึกอบรมเป็นรูปแบบที่เน้นการเรียนรู้ Learning Forum, Workshop, Dinner Talk, Luncheon Talk 

๖. ระยะเวลาการฝึกอบรม   

       รุ่นที่ ๔   ระหว่างเดือน ๒๑ กุมภาพันธ์ ถึง ๓  มีนาคม  ๒๕๕๐  ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

       รุ่นที่ ๕   ระหว่างเดือน  ๑๔ -  ๒๔ มีนาคม  ๒๕๕๐  ณ  โรงแรมเอสดี อเวนิว  กทม.

       รุ่นละ ๔๕  คน     ใช้เวลาศึกษาครั้งละ ๔ วัน จำนวน ๒ ครั้ง  รวม ๖๐ ชั่วโมง 

๗. สถานที่อบรม  

      รุ่นที่ ๔   โรงแรมเอกชนเขตจังหวัดในเขตภาคใต้                  

      รุ่นที่ ๕   โรงแรมเอกชนในเขตภาคกลาง  

๘. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

       กลุ่มที่ ๑                 

       ๑.    เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง (ระดับ ๘) ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม                

       ๒.   อายุไม่เกิน  ๕๗  ปี               

       ๓.   สามารถเข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ  ต่อเนื่องเต็มเวลา และทันเวลาฝึกอบรม โดยมีระยะเวลาอมรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๕ ของระยะเวลาการอบรมตลอดหลักสูตร ในกรณีที่เจ็บป่วยหรือมีงานราชการเร่งด่วน  ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  จะต้องทำการลาเป็นลายลักษณ์อักษร                        

       กลุ่มที่ ๒        

       ๑.    เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ระดับ ๗ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม       

       ๒.   อายุไม่เกิน  ๕๗  ปี       

       ๓.   เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกอง/กลุ่ม /หรือเทียบเท่าลำดับที่ ๑  ถ้าผู้รักษาการในลำดับที่ ๑ มีเหตุอันควรที่ไม่สามารถเข้ารับการอบรมได้  ให้ผู้รักษาการลำดับที่ ๒ หรือ ๓ แล้วแต่กรณี  หรือ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับกลาง       

       ๔.   สามารถเข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ  ต่อเนื่องเต็มเวลา และทันเวลาฝึกอบรม โดยมีระยะเวลาอมรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๕ ของระยะเวลาการอบรมตลอดหลักสูตร  ในกรณีที่เจ็บป่วยหรือมีงานราชการเร่งด่วน  ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  จะต้องทำการลาเป็นลายลักษณ์อักษร และมีหลักฐานรับรองจากผู้บังคับบัญชา  

. ค่าใช้จ่ายในการอบรม                       

       ๑.    งบประมาณจากเงินกันในกรณีไม่มีหนี้เพื่อจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจ ปีงบประมาณ ๒๕๔๙  ของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  เป็นค่าใช้จ่ายรุ่นละ ๑,๒๐๐,๐๐๐.- บาท จำนวน ๒ รุ่น เป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๔๐๐,๐๐๐.- บาท (สองล้านสี่แสนบาทถ้วน)                        

       ๒.   ค่าพาหนะ และค่าที่พักของผู้เข้ารับการอบรม  เบิกจากต้นสังกัด

๑๐. ประกาศนียบัตร                       

       ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ โดยมีเวลาอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ของระยะเวลาการอบรมตลอดหลักสูตร  จะได้รับประกาศนียบัตร จากกระทรวงวัฒนธรรม และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 

๑๑. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                       

       ๑.    ผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของนักบริหารและการบริหารจัดการที่ดีและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ                       

       ๒.   ผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถปรับตัวในยุคโลกาภิวัตน์ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหน่วยงานของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งจะต้องอาศัยระยะเวลาและความต่อเนื่อง                       

       ๓.   ผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด (Coaching, Mentoring and Facilitator) และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้ได้ต่อไป ซึ่งจะเป็นการสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม 

๑๒. หน่วยงานที่รับผิดชอบ                       

       สำนักบริหารกลาง (กลุ่มพัฒนาบุคลากร) สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

หมายเลขบันทึก: 80173เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สรุปผลการอบรม

หลักสูตร ผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ (super leader)  

กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

๑.  พิธีเปิด

                        มีการปฐมนิเทศ แนะนำโครงการ ชี้แจงกำหนดการ โดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หลังจากนั้นเป็นการชมวีดีทัศน์การสัมภาษณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ) ในความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ ความคาดหวังที่ต้องการจากผู้เข้ารับการอบรม  แนวคิดในการบริหารงาน และกล่าวเปิดพร้อมให้โอวาท

                        สรุปสาระจากวีดีทัศน์สัมภาษณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ประเด็น รายละเอียด หมายเหตุ
ความคาดหวัง รมต. มีความคาดหวังว่า เมื่อผู้เข้ารับการอบรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมจังหวัดผ่านการอบรมแล้ว ต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะ-          เป็นผู้นำในองค์กร-          คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้-          ติดต่อ ประสานงาน หน่วยงานที่หลากหลายในพื้นที่ได้-          เรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่ปิดกั้นองค์ความรู้ ทำให้เกิด KM วีดีทัศน์
แนวคิดคิดภาคใต้ วัฒนธรรมจังหวัด ต้องเรียนรู้ ศึกษาในภูมิสังคมและประวัติศาสตร์ภาคใต้ อย่างระมัดระวัง เช่น โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ใน ๓ จังหวัด ควรเปลี่ยนชื่อเป็น วัฒนธรรมท้องถิ่นสายใยชุมชนและควรยอมรับความหลากหลายและแตกต่างทางวัฒนธรรม  
คุณธรรมจริยธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม  โดยประสาน สนับสนุนให้มีบทบาท ในสถาบัน-          ศาสนา เพราะทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี-          บ้าน ครอบครัว-          สถานศึกษา  
วัยรุ่น เยาวชน สนับสนุนให้วัยรุ่นสนใจท้องถิ่น วิถีชีวิตแบบไทย และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  
ปรัชญาผู้นำของ รมต.ไขศรีฯ - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รอบรู้ในทุกๆ เรื่อง  แก้ปัญหาได้  คิดจากพื้นฐานของความเป็นจริง  ทำให้ได้  และเอาชนะอุปสรรค  
 
การพัฒนาบุคลากร มีนโยบายที่จะพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้ได้รับความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยจะมอบนโยบายให้ท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรมจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะเริ่มที่ระดับต้น และระดับกลาง อาจจะใช้งบประมาณจากกรมต่าง ๆ สนับสนุนด้วย  
 

 

๒. กิจกรรมวิเคราะห์ผู้นำ

                        เป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นำผ่านการชมวีดีทัศน์ แล้วร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อรวมประเด็นความคิดเห็น โดยมีตัวอย่างผู้นำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้วิเคราะห์ จำนวน ๒ ราย ดังนี้

                        ๑.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ)

                                พฤติกรรมผู้นำ

                                ๑.    เป็นผู้ที่มีแนวคิดก้าวหน้า ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาคน

                                ๒.   เป็นผู้มีความรู้และแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา

                                ๓.   เป็นผู้มีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารงาน

                                ๔.   เป็นผู้มีคุณธรรม

                                ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

                                ๑.    ควรมีการพัฒนาบุคลากรในทุกระดับอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการทำงานในภาพรวมขององค์กร

                                ๒.   กระทรวงวัฒนธรรมควรมีการบริหารงานโดยเน้นทุนทางสังคม เนื่องจากฐานของการทำงานวัฒนธรรมคือประชาชน

                                ๓.   ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนชื่อโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เป็นโครงการวัฒนธรรมท้องถิ่นสายใยชุมชน ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้  เนื่องจากเราเป็นคนไทยเหมือนกันไม่ควรมีการแบ่งแยก

                                ๔.   การทำงานของกระทรวงวัฒนธรรมต้องมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ จึงจะทำให้การทำงานขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว                         ๒.   ดร.อำนวย วีรวรรณ

                                พฤติกรรมผู้นำ

                                ๑.    เป็นผู้ที่มีความรู้ (รู้กว้าง รู้จริง รู้ลึก ทันสมัย) ตัดสินใจบนหลักเหตุผล

                                ๒.   เป็นผู้มีความกล้า (กล้าคิด กล้าแสดงออก กล้ายอมรับผลการตัดสินใจของตนเอง)

                                ๓.   เป็นผู้มีอุดมการณ์ในการทำงาน

                                ๔.   เป็นนักวิเคราะห์สถานการณ์

                                ๕.   มีการทำงานเป็นทีม 

๓.  การศึกษาทฤษฎีผู้นำ จำนวน ๓ ทฤษฎี คือ

 

๑.       ทฤษฎี The Roles of Leadership ของ Stephen Covey

 

๑.๑    Path finding (หาช่องทาง)

 

๑.๒   Aligning (ทำงานในทิศทางเดียวกัน)

 

๑.๓   Empowering (การกระจายอำนาจ)

 

๑.๔   Role Model (เป็นแบบอย่างที่ดี)

 

 

๒.     ทฤษฎี ๔ E ของ Jack Welch)

 

๒.๑   Energy (มีพลัง)

 

๒.๒  Energize (การกระตุ้นให้เกิดพลัง)

 

๒.๓  Edge (ตัดสินใจเร็ว)

 

๒.๔  Execution (เอาชนะอุปสรรค)

 

๓.     ทฤษฎีผู้นำของ ดร.จีระ หงส์ลดารมย์

 

๓.๑   Crisis Management (การบริหารในภาวะวิกฤต)

 

๓.๒  Anticipate Change (การทำนายอนาคต)

 

๓.๓  Motivate others to excellent (การกระตุ้นให้คนอื่นเป็นเลิศ)

 

๓.๔  Conflict resolution (แก้ปัญหาความขัดแย้ง)

 

๓.๕  Explore opportunities (สร้างโอกาสใหม่ ๆ)

 

๓.๖   Rhythm & Speed (จังหวะและความเร็ว)

 

๓.๗  Edge (Decisiveness) (การตัดสินใจ)

 

๓.๘  Team Work (ทีมงาน)

 

การแสดงความเห็นต่อท่านรัฐมนตรีไขศรี ศรีอรุณ ในการกล่าวเปิด โครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ กระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่ ๔ ในวันที่  ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐           

    ประเด็น การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในทุกจังหวัดทั้ง ๗๕ จังหวัด           

    เห็นด้วย กับโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนโดยการจัดทำงานร่วมกันในชุมชนระหว่างภาครัฐและประชาชน           

    ไม่เห็นด้วย ในการที่ท่านรัฐมนตรีจะให้ ๓ จังหวัดภาคใต้เปลี่ยนชื่อจากโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนเป็นโครงการวัฒนธรรมท้องถิ่นสายใยชุมชน อยากให้ใช้ชื่อเหมือนกันเพราะเป็นคนไทยเหมือนกนทั้งประเทศ

1. ความคาดหวังที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้

    -        รัฐต้องคุ้มค่าที่ได้ลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพราะผู้นำเหล่านี้จะนำความรู้ที่ได้รับไปสร้างคุณูปการให้เกิดขึ้นกับประชาชน องค์กร และประเทศชาติ

    -        ได้ผู้บริหารมืออาชีพที่ดี 

2. หลักการเป็นผู้นำ     

   - กล้าคิด กล้าทำ     

   - มีความรอบรู้ ตัดสินใจรวดเร็ว โดยยึดหลักคุณธรรม มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี     

   - เป็นการทำงานเป็นทีม เป็นไปตามขั้นจุดเด่นของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช     

   -  มีความรอบรู้ เข้าใจเรื่องเร็ว ตัดสินใจเร็ว มีความเป็นผู้นำที่ดี 

สรุปความรู้ที่ได้ในการอบรบวันที่ 21 ก.พ. 2550

   1.      ความรู้ที่ได้จาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม คุณหญิงไขศรี  ศรีอรุณ

   2.      การพัฒนาบุคลากรของกระทรวง จะพัฒนาทุกกลุ่มทุกระดับ

   3.      การทำงานวัฒนธรรมจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ประสานทุกระดับที่เกี่ยวข้อง

   4.      ประยุกต์งานให้เหมาะสมกับพื้นที่ จะต้องคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ ในการปฏิบัติงาน 

   5.      ทุกสถาบันในสังคม ไม่ว่าสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา และสถาบันสื่อ (เทคโนโลยี)  จะต้องช่วยกันสร้างสรรค์งานวัฒนธรรมการทำงานทุกอย่าง แม้แต่การอบรมจะต้องมีการประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง

กลุ่ม

    สรุปประเด็นความคิดเห็นที่ได้จากการเรียนรู้ในวันนี้

    -        วิเคราะห์ความคิดเห็นของท่านรัฐมนตรีในการพัฒนาบุคลากร ท่านให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กรอ.สุขุม  นวลสกุล     กระตุ้นความขัดแย้งในส่วนรวม ขจัดความขัดแย้งในส่วนตัว จะก่อให้เกิดการพัฒนาองค์รที่ปราศจากความขัดแย้ง อ.จีระ  หงส์ลดารมภ์     รูปแบบของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย

   -        วิเคราะห์ ผู้นำตามบุคลิกภาพ

   -        ทักษะความเป็นผู้นำ

   -        กระบวนการภาวะผู้นำ

   -        การสร้างคุณค่า

นายสราญ รุ่มจิตร กลุ่ม 4
วิธิการ/รูปแบบ/กระบวนการ ของ ศ. ดร.จีระ  ที่ใช้ดำเนินการในวันนี้  มีความรู้สึกเหมือนกับใช้เวลาเพียงนิดเดียว....ดูนาฬิกาอีกครั้ง...อ้าว 17.30 น.แล้ว  ...สุดยอด

       การบริหารความขัดแย้ง         

       -  ความขัดแย้งเรื่องส่วนตัว เป็นความขัดแย้งที่เป็นภัยต่อองค์กร แต่ความขัดแย้งเรื่องส่วนรวม นำมาซึ่งประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร และเกิดแนวคิดใหม่ที่หลากหลาย          

        - อย่างทำให้ความขัดแย้งเรื่องส่วนรวมไปเป็นความขัดแย้งเรื่องส่วนตัว

    ความคาดหวังจากการอบรม         

    - ผู้บริหารและผู้นำของกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้บริหารยุคใหม่ Smart เป็นผู้ที่สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามนโยบาย เป้าหมายของกระทรวง และประเทศชาติได้อย่างเป็นระบบ

   ๑.     ประทับใจ เทคนิค การถ่ายทอดความรู้ อย่างชาญฉลาด ของดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ไม่มีการ Lecture ใช้การกระตุ้น ยั่วยุให้เกิดการปะทะทางปัญญา นำปัญญาที่เกิดไปปรับใช้ในการทำงาน

   ๒.   ปัจจัยที่จะนำเราไปสู่ความเป็น Leadership

  ·       อุปนิสัยตัวเอง

  ·       ทักษะความรู้ ความสามารถตัวเอง

  ·       วิสัยทัศน์ตัวเอง มองเป็นระบบ กำหนดอนาคตได้

  ·       สร้างคุณค่าให้เกิดการยอมรับตัวเรา จากบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ได้    

ข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรมยุคโลกาภิวัตน์

  ๑.     โปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบ

 

  ๒.   เปิดรับการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

 

  ๓.   ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์

 

  ๔.   ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

 

  ๕.   ทำงานแบบบูรณาการ

 

  ๖.     คิดและทำงานเชิงรุก

 

  ๗.   เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

 

  ๘.   ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

  ๙.     มีคุณธรรมและจริยธรรม

สิ่งที่ได้รับ         

        จากการที่มีโอกาสได้รับการพัฒนาโดยเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำ และผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม รุ่นที่ 4”  ซึ่งดำเนินการโดย ทีมงานของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ นั้น

     1.      มีความภาคภูมิใจ เหมือนได้ยกระดับศักดิ์ศรีของตนเองขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เพราะการได้เข้ามาเป็นลูกศิษย์ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่สังคมรู้จักดี ในชื่อเสียง ฝีมือ ผลงานของท่าน

   2.      ได้รับความรู้ใหม่ๆ จาก อาจารย์จีระ และคณะวิทยากรที่อาจารย์เดินมาให้ความรู้ ทุกท่านเป็นผู้มีผลงาน มีฝีมือ และประสบผลสำเร็จในการบริหารงาน ในการเป็นผู้นำที่น่าเชื่อถือ และเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง     สิ่งเหล่านี้ เป็นประโย่ชน์ต่อการนำไปเป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการงานในสนง.ของตน รวมทั้งทำให้เรามีความรู้สึกว่าจะต้องกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองให้ทันสมัย ให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อที่เราจะสามารถนำพาองค์กรให้ขึ้นไปยืนอยู่ในระดับแถวหน้าได้อย่างมีศักดิ์ศรี

ข้อเสนอแนะ

   1.      วิธีการดำเนินการของอาจารย์จีระดีมาก เป็นการเข้ารับการอบรมที่คุ้มค่ากับเวลา และเป็นสิ่งที่ได้รับมีประโยชน์มาก อยากให้กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินโครงการต่อเนื่องและต่อยอดไปเรื่อย ๆ เพราะบุคลากรของกระทรวงจะได้รับการพัฒนาที่คุ้มค่า

   2.      ในการประชุมสัมมนาของกระทรวงวัฒนธรรมทุกครั้ง อยากให้กระทรวงได้เรียนเชิญผู้ที่มี่ประสบการณ์ที่มีความสำเร็จ ต่ออาชีพหน้าที่ เป็นที่เชื่อถือของสังคม มาเป็นวิทยากรด้วย เพราะจะทำให้ข้าราชการเกิดความสนใจ และมีแรงกระตุ้นในการพัฒนาตนเองดียิ่ง 

ประยูร เวชยันต์ กลุ่ม 4
     การสรรหาวิทยากร  ผู้มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จ  ในภารกิจการเป็นผู้นำและผู้บริหารมาให้ความรู้  ถ่ายทอด  และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวัฒนธรรม  ทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าการจัดอบรมครั้งนี้  บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกระทรวง
เสรี คงรัตน์ เลขที่ 29 กลุ่ม 4
      จากการที่ได้รับความรู้ในการอบรมผู้บริหารมืออาชีพจากวิทยากรหลายท่านทำให้เกิดวิสัยทัศน์ในการที่จะนำแนวทาง แนวปฏิบัติ  มาประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้เกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบตามแนวทางการบริหารงานที่ดีต่อไป
สราญ รุ่มจิตร เลขที่ 33
     มีประสบการณ์จากการเข้ารับการอบรมตลอดช่วงระยะเวลารับราชการมา 20 ปีเศษ........แต่เมื่อได้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้เป็นวันที่สอง...ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า   มีความสำคัญ  เกิดความมั่นใจ......ผมโชคดีมากที่มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ท่าน ศ.ดร.จีระ  โตยตรง

สรุปการนำเสนองานกลุ่ม หัวข้อ โครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับงานวัฒนธรรม ในยุคโลกาภิวัตน์ 

กลุ่ม ๒

วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจโครงการผลิตภัณฑ์จากแพะ

1.      นม พาสเจอร์ไรด์

2.      นม UHP

3.      เสต็กแพะ/ หนังแพะซึ่งเป็นยา

4.      อาหารสัตว์จากผลิตภัณฑ์แพะ

5.      ยาโด๊ปจากไขข้อกระดูกแพะเน้นเรื่องการสร้างคน สร้างงาน  เริ่มต้นด้วยความสำคัญของวิถีชีวิตจัดทำโดย

    -ระดมทุนโดยวิถี สหกรณ์

    - สร้างเครือข่ายโดยชาวบ้านมีอาชีพเลี้ยงแพะ รับซื้อในราคาที่สูง

   - อาหารของแพะจะเป็นหญ้า/ใบไม้โครงการอาหารแพะ  International อาหารชาวเล

   1. วัตถุ    - เนื้อแพะ    - หนังแพะ    - กระดูกแพะ   - ขนแพะ   - นมแพะ   - เขาแพะ/เล็บแพะ

   2. แหล่งจำหน่าย  - ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลา  - ภายในประเทศ

   3 จังหวัดภาคใต้ และทุกจังหวัด3. แหล่งทุน 

     - กู้ธนาคาร 

     - กระจายหุ้นให้ชุมชน

     - ระดมทุน

4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    -          สร้างงาน/อาชีพให้กับชุมชนใน 3 จังหวัดภาคใต้

    -          ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    -          แก้ปัญหาคนว่างงาน

    -          ลดอาชญากรรมในพื้นที่ 3 จังหวัด

6.      วิธีการดำเนินการ

    -          เสนอโครงการให้กระทรวงวัฒนธรรม

    -          ตั้งคณะทำงาน

    -          ประชุมคณะทำงานโดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้เรื่องการทำอาหารแพะ

    -          ติดต่อต่างประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง-          ทำ Road Show ในต่างประเทศร่วมกับกระทรวงพาณิชย์

    -          ดำเนินตามโครงการ 

กลุ่ม

   1.      โครงการวิถีไทยที่ในบาง     หลักการ ส่งเสริมการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงด้วยวิถีชีวิตแบบในบางดั้งเดิม เพื่อให้ชีวิตของประชาชนมีความยั่งยืน และเพิ่มรายได้ โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay

   2.      โครงการ Low place tour     หลักการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเดิมซึ่งได้มาท่องเที่ยวในบางอยู่แล้ว และนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในบางสู่การท่องเที่ยวระดับโลก โดยเริ่มจากนักท่องเที่ยว ซึ่งมาเที่ยวที่เกาะสมุย 

กลุ่ม ๕โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยผลผลิตเกษตรไทย

   -          จัดทำอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งในระดับชุมชน และระดับประเทศสังคมไทยเป็นสังคมเกษตร ทุกคนต้องทานอาหาร จะทานอาหารที่มีคุณภาพ ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง หลังจากที่ผลิตเหลือ สามารถส่งขายต่างประเทศได้

   -          ทั้งส่ง สิ่งของแบบไม่แปรรูป

   -          ทั้งส่งสิ่งของแบบแปรรูป-          เกษตร และวัฒนธรรม และความยั่งยืน เป็นวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย อาจารย์จีระ  เสริมว่า ควรเน้นภาคเกษตร โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต เพื่อสร้างความยั่งยืน  

กลุ่ม

โครงการระดับชาวบ้านลองกองกระป๋อง และลองกองแห้ง  

       เนื่องจากที่นราธิวาส ทุกบ้านส่วนใหญ่ปลูกลองกอง และใน 1 ปี ได้มีผลิตผลออกมาจำนวนมาก ทั้งนี้ จึงคิดโครงการ เพื่อแปรรูปลองกอง โดยจะมีวิธีการสาธิตและไปผลิตเป็นของตนเอง มีการลงทุนสร้างโรงงานแปรรูป เพื่อนำไปขาย และสร้างรายได้ให้กับชุมชน 

กลุ่ม

โครงการระดับประเทศ :

    1. ชื่อโครงการ  เชื่อมถ่ายแลกเปลี่ยน วิถีชีวิตชุมชนไทยระหว่างไทย-มาเลเซีย

    2. หลักการ : มีคนไทยกลุ่มหนึ่งตกแผ่นดินอยู่ในประเทศมาเลเซีย อาศัยอยู่ในรัฐเคดาห์ ปสิค กรันตัน ตรังกาปู มีวิถีชีวิตแบบไทยแท้ดั้งเดิม มีความเป็นอยู่ที่ทันสมัย แต่รักษาความเป็นไทยที่เข้มแข็ง เป็นไทยวิถีพุทธที่งดงาม

    3. วัตถุประสงค์         

       - เพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิถีไทยของคนไทยในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย 

       - เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และเสริมสร้างการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

    4. เป้าหมาย       

        ผู้นำไทย จำนวน 100 คน  ศึกษา และดูงานเน้นเรื่องการแสดงทางศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม

         โครงการระดับชุมชนส่งเสริมการประหยัด และออม กิจกรรมสัจจะออมทรัพย์ หมู่บ้าน - ตำบลอ.จีระ เสริมเรื่องว่าการไปมาเลเซีย ให้เป็นโครงการรุ่น 4 เข้าไปร่วมกัน และอยากให้ร่วม กับมูลนิธิฯ   

      

กลุ่ม โครงการระดับประเทศโครงการนวดแผนไทยกระจายไปในต่างแดนเอาหมอนวดของไทย ไปสอนที่เกาหลี  เพราะเกาหลี สนใจที่มาศึกษาถึงประเทศไทย เดือนละ 2 หมื่นหมอนวด ได้เอาฝรั่งไปสอนอาจารย์เสริมว่ามีโครงการที่ฝรั่ง นำไป เช่นที่ดูไบมีการเปิดสปา 

กลุ่ม โครงการระดับชุมชน วิถีถิ่น ทำกินได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยยึดหลักการพอเพียงและพอประมาณ และการพึ่งตนเอง ในวิถีชีวิตปกติของชาวบ้าน เป็นโครงการ Home Stay , มีการพาไปชมหิ่งห้อย และการพายเรือโครงการระดับประเทศจังหวัดปัตตานี คุยกับ ม.สงขลา ว่าทำอย่างไรจึงจะพ่วงจังหวัดปัตตานี้ พ่วงไปกับจังหวัดที่มีการท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักอยู่แล้วทำอย่างไร คนไปเที่ยวสตูล จะไปเที่ยวที่สงขลา และปัตตานีอรุณรุ่งตานี เที่ยวที่สิงขลา สนธยาสตูล 

ขออนุญาตร่วมเสนอความคิดเห็น ผู้นำที่ดี ควรมีข้อนี้มากที่สุดคือความเสียสละ ความอดทน ความเข้าใจในทุกคน (รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง) ไม่ได้หมายถึงไปรบแต่หมายถึงเข้าใจในความสามารถของคนแต่ละคน และใช้คนให้ถูกทาง ตามความสามารถ เช่น

บางคนเก่งคิด เก่งวิเคราะห์ วางแผน เก่งพูด เก่งปฏิบัติ เก่งเทคโนโลยี ถ้าทุกคนจูงมือกัน โดยไม่ต้องเป็นเต่ากับกระต่าย แข่งกันเห็นมาหลายปี เหนื่อยแล้วก็ป่วย เพราะเครียด (ความดันโลหิตสูง / เบาหวาน/ หัวเข่าเสื่อม ฯลฯ นั่งประชุมมากเกิน แทนที่จะนำเสนอเป็นข้อดี ข้อเสีย ข้อเสนอแนะ ประชุมไม่ถึงชั่วโมง แบ่งหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน คนที่ได้รับหน้าที่จะทำหน้าที่ได้ดีแน่นอน เพราะได้ลองปฏิบุัติมาแล้ว เราไม่จำเป็นต้องเก่งทุกด้านเพียงแต่ต้องรอบรู้ทุกด้านเท่านั้น สามารถแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างทันท่วงที ไม่ใช่ซ้ำเติมเมื่อทำผิดพลาดโดยใช้ปัญญา (เปลี่ยนจากปัญหา มาเป็นปัญญา) รับรองพัฒนาอย่างยั่งยืน)ตามพระบรมราโชวาท เพราะเราออกกำลังกาย รับกระต่ายกับเต่าซ้อนท้ายจักรยานเข้าเส้นชัยไปด้วยกัน คนไม่ได้ถูกชี้วัดโดยคนอื่นเท่านั้น แต่โอกาสทุกคนมีเท่ากัน 24 ชั่วโมงเท่ากัน หายใจเข้าออกเหมือนกัน ต่างกันตรงที่สามารถแบ่งเวลา ดูแลตนเอง คนในครอบครัว การงาน และกิจกรรมต่างๆ ได้หรือไม่ เพราะเมื่อถึงเส้นชัย จะอยู่เพียงลำพัง หันหาใครก็ไม่เหลือใครสักคน หรือมีคนร่วมแสดงความยินดี จากอ้อมกอดของคนในครอบครัว การเจรจาต่อรอง (เสมือนภาษาทางการฑูต การพูด การสื่อสาร) เพราะสามารถจะทำให้คนทำงานให้เป็นทีม เพราะไม่ใช่การสั่ง แต่ขออาสาสมัคร หรือที่เรียกว่าจิตอาสา ไม่มีงบประมาณก็ยังทำ ไม่ใช่ทำเพราะมีงบฯ การเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมไม่ได้เป็นสิ่งที่ยาก แต่ขอเพียงเรามีจิตสำนึกที่ดีก่อน เราจะสามารถนำเสนอวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างแน่นอน เช่น ภาษาและวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับอากาศ การร่ายรำ ประเพณี และอาหาร เป็นต้น เรานำมาต่อยอดได้ เช่น เชิญชวนคนปลูกต้นไม้ (ไม้สัก) กล้วยไม้ ผักปลอดสาร โดยการใช้การกีฬามาร่วมเช่น ปลูกต้นไม้เป็นทีม

ใช้การแปรอักษรสมัยเรียนมาต่อยอด คือ ปลูกต้นไม้ให้เป็นศิลปะ เมื่อถ่ายภาพทางอากาศ จะเห็นเป็นภาพต่างๆ ด้วยการปลูกต้นไม้ให้เป็นรูปต่างๆ จะเป็นการประกวดระดับท้องถิ่น จังหวัด ประเทศโดยมอบเกียรติบัตร และเชิญไปเป็นวิทยากรต่อยอด แทนการได้รับรางวัล โดยการแข่งขันแบบเก่า เพราะบางครั้งถ้าใช้ตัวเงินวัดจะทำให้แตกแยกและเกิดการเขม่นกันอีก อาจจะมอบเป็นอาหาร ผลผลิตของแต่ละจังหวัดมาเป็นรางวัล เช่น อาหารทะเล / ต้นไม้สัญญลักษณ์ประจำจังหวัด / กะปิ /น้ำปลา /ข้าวสาร /ไข่ ฯลฯ เป็นต้น เมื่อมีผลผลิตก็นำมาในการสร้างไอเดียการพัฒนาอาหารประจำภาค ตกแต่งสวนภายใต้ความคิดวัฒนธรรมนำไทยร่วมใจพัฒนาคน เพิ่มผลผลิต ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข มีสุขถ้วนหน้า ชาวประชาสุขใจ ทุภภิกขภัยไม่มาเยือน

ด้วยความปรารถนาดี และด้วยจิตสำนึก (จิตสำนึกไม่ได้มีความอยากแล้ว พอเพียงแล้ว ส่วนจิตใต้สำนึกยังมีความต้องการไม่สิ้นสุดเพราะยังคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ทุกท่านสามารถเลือกเองได้ โชคชะตา กำหนด 50% ส่วนอีก 50% เราสามารถกำหนดเอง เพราะนั่งดูมานานอะไรที่ง่ายคนไม่ค่อยจะทำเพราะอะไร ทั้งที่ คนพร้อมกันทุกด้าน ขาดเพียงแต่...เท่านั้น ) เชื่อหรือไม่ประสบการณ์สามารถทำให้ประเทศเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีได้ สู้ทำอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน แต่ทำให้เกิดการพัฒนาจิตใจ เปลี่ยนวิธีการคิด วิธีการปฏิบุัติ วิธีการนำเสนอ เพราะเราเชื่อว่าประเทศเราสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนด้วยคนตราบเท่าที่ยังมีคน (หากไม่มีคนจะเอาอะไรมาพัฒนา ตึกมาสร้างตึกก็คงไม่ใช่ สะพานมาสร้างสะพาน ก็ไม่ได้ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกก็คือคน หรือมนุษย์เท่านั้น)โปรดร่วมกันรักษาคนหรือมนุษย์ไว้ตราบนานเท่านาน ประเทศไทยไม่ได้เป็นสองรองใคร และคนทุกคนก็ไม่ได้เป็นสองรองใครนอกจากคนที่เกิดมามีฝาแฝดขำขำ อยากให้ของขวัญที่ยิ่งใหญ่แด่พระราชาก็คือแค่ทุกคนร่วมกันคิดร่วมกันทำ

สิ่งที่ดีด้วยกัน ตามหน้าที่ วันเดียวประเทศเราก็สามารถพัฒนาได้ทันที พระเจ้าอยู่หัวท่านก็จะยิ้มได้อย่างแน่นอน น้ำมาก็ร่วมกันป้องกัน ฝ่ายดูแลเขื้อนก็ทำหน้าที่ /ฝ่าย หนอง คลอง บึง ลำลางสาธารณะ ก็ช่วยกัน ผ่านหน้าบ้านใครก็ลงมือช่วยกันไม่มีคำว่ายาก

เพราะเราลงมือ เชิงรุก อย่ารอแต่ตั้งรับ แต่ถ้าหากเรายังเกี่ยงกัน ทุกอย่างก็ต้องรอ แต่ถ้าช่วยกันวันเดียวก็เสร็จ เหมือนขยะตกข้างถัง ถ้าคนหยิบไปทิ้งลงถังขยะ ขยะก็หมดไป แต่หากร่วมกันระดมทิ้งปัญหาก็หมักหมม ขอให้ปัญหาหมดไปเพราะเปลี่ยนจาก ห เป็น ญ เท่านั้นก็พอ

ขออนุญาตรับผิดชอบในความคิดเพราะนี่คือความคิดเชิงสร้างสรรค์ของตนเอง ไม่ต้องการชื่อเสียง ไม่ต้องการดัง เพราะชื่อมีอยู่แล้ว เสียงก็มีเสียงพูดอยู่แล้ว ดังไปก็หาความเป็นปกติสุขของชีวิตไม่ได้ ชอบทำอะไรตามปกติสุขมากกว่าค่ะ ขอบคุณและขอให้ประเทศไทยรอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ด้วยดี และขอให้คนไทยไม่ยากจน ทั้งๆที่ คนไทยเป็นเจ้าของวัตถุดิบ ทำไมเราแกล้ง..ทั้งที่ เรารู้กันอยู่แก่ใจ ความดีทำง่าย และท้าทาย ส่วนความชั่วทำยาก แต่คนชอบทำมากกว่าเพราะคิดว่าเห็นผลเร็ว แต่เราแค่เห็น สัจจธรรม ทุกคนมีขามา ก็มีขากลับ พระอาทิตย์ยังมีขึ้น มีลง น้ำขึ้น น้ำลง พระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์แรม การคอรฺ์รับชั่นมีทุกอาชีพ หากเรายังยอมรับในสิ่งที่ผิด เช่น ไปซื้อของที่ตลาด แม่ค้าชั่งไม่ถึงกิโลกรัม แต่คิดราคา1กิโลกรัม /เด็กไปสอบสอบไม่ได้ พ่อแม่ต้องไปเสียค่าแปะเจี๋ยะ ก็ถือว่าได้ทำผิดไปแล้ว หรือแม้แต่ข้าราชการ มาทำงานสาย ไม่เคยเขียนใบลา ก็ไม่แตกต่าง จากจุดเล็ก ถ้าช่วยกันป้องกันปัญหาก็หมดไปทีละจุด แต่ถ้ายังไม่เร่ิมก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ความคิดอยู่ในสมองไม่ต้องกลัวว่าจะถูก Copy เพราะในหนึ่งคำอธิบายได้ไม่เหมือนกันแน่นอน เก้าอี้ไม่ได้สิ่งสำคัญในการทำงาน เพราะเราเพียงแค่ อยากเห็น คนไทย มีสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจดี มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี พบกันก็เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน ขอเพียงเท่านั้น ก็พอฯลฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท