จป. ใกล้ตัว


Wisdomwide การอบรม, อบรม, Knowledge Managmenet

"อุบัติเหตุร้ายแรงสามารถควบคุมและป้องกันได้" นี่คือประเด็นสำคัญที่บริษัท Wisdomwide จัดอบรมในหลักสูตรการจัดทำข้อบังคับและคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน และ การประเมินความเสี่ยงในสถานประกอบการ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
 
"เพราะเราตระหนักดีว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับภาคการผลิต นอกจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อองค์กรและพนักงานแล้ว มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคู่ค้า ชุมชนและสังคมเป็นมูลค่าที่มากเกินกว่าจะประเมินและชดเชยได้ นั่นคือสิ่งที่ทำให้เราให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและการควบคุมอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น"  คุณณณัฎฐ์ เขมโสภต Corperative Communication Manager บริษัท วิสดอมไวลด์ จำกัด

ครอบคลุมทุกแนวคิด เน้นการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน และปฏิบัติ

นอกจากการอบรมให้ครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ประเด็นเล็กๆ ที่สำคัญอย่างการจัดเก็บสารเคมีร้ายแรง จำพวก สารเคมีที่เป็นพิษมาก สารไวไฟ หรือสารที่ระเบิดได้ การตรวจตรา ความบกพร่องของอุปกรณ์ เครื่องจักร ความผิดพลาดของการบริหารและพนักงาน ไปจนถึงภัยธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้น เรายังเน้นที่การวิเคราะห์อย่างละเอียดทุกขั้นตอน ทั้งในทฤษฎีเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้ง workshop ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เข้าอบรมพร้อมคำแนะนำจาก รองศาสตราจารย์วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล วิยากรที่เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เริ่มตั้งแต่การจัดทำข้อมูล รายละเอียดการประกอบการ จัดทำบัญชีสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดระดับความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยง ใน 6 ประเด็นที่กล่าวมา การชี้บ่งอันตราย ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งที่เน้นการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีเนื้อหาหลักดังนี้

· Checklist และ WHAT-IF Analysis นับว่าเป็นวิธีการชี้บ่งอันตรายที่ง่ายและมักได้รับความนิยมเลือกใช้กัน ใช้ได้กับทุกเรื่อง แต่จุดอ่อนที่สำคัญคือ ถ้ากลุ่มคนที่มาเลือกใช้วิธีนี้ในการบ่งอันตรายเครื่องจักร หรือขบวนการผลิตที่ไม่คุ้นเคย หรือข้อมูลน้อย ผลการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Check list และ WHAT-IF Analysis ก็จะไม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญหรือหยาบเกินไป
· HAZOP เป็นวิธีการชี้บ่งอันตราย ที่คนหลายๆ คนอยากเรียนรู้ บ้างครั้งเพียงต้องการเรียนรู้ แต่ไม่ได้ใช้ก็ไม่เป็นไร เป็นวิธีการชี้บ่งอันตรายที่ดี มีระบบและกฎเกณฑ์แน่นอน เหมาะสมกับใช้การชี้บ่งอันตราย ขบวนการผลิตที่มีระบบเป็นท่อ ภาชนะเก็บสารเคมี, ถัง Reacotr และปั้มที่เป็นของไฟล เช่น น้ำ, ไอน้ำ, สารเคมี, ก๊าซ, ลม และของเหลวอื่นๆ
· FAULT-TREE Analysis นับว่าเป็นวิธีการชี้บ่งอันตรายที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก ต้องเรียนรู้กฎกติกาและเทคนิคการทำ FTA ให้เข้าใจจริงๆ จึงจะนำมาใช้ได้ผล เป็นเทคนิคที่ต้องนำผลมาหาเหตุ เหมาะสมกับการชี้บ่งอันตรายที่เกิดจากหลายๆ สาเหตุ นิยมใช้ในการสอบสวนอุบัติเหตุที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
· FMEA เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่จำเพาะกับเครื่องจักร อุปกรณ์เท่านั้นแลจะให้ได้ผลดี ควรใช้ตั้งแต่การออกแบบ FMEA ควรใช้ชี้บ่งอันตรายชิ้นส่วนย่อยๆ ของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จะได้ผลดีมาก โดยเฉพาะชิ้นส่วนย่อยที่มีผลที่มีต่อการทำงานของระบบใหญ่ของเครื่องจักรและอุปกรณ์
· EVENT-TREE Analysis เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่มีข้อจำกัดในการใช้เหมือนกัน คือจะต้องไปชี้บ่งอันตรายเครื่องจักรอุปกรณ์ ขบวนการผลิต และอื่นๆ ที่มีระบบควบคุม ถ้าไม่มีระบบควบคุมจะใช้วิธีนี้ไม่ได้

"ไม่รู้นอกจากจะไม่ปลอดภัยต่อการทำงานแล้ว ยังส่งผลต่อกระบวนการการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ผ่านมาตรฐานการส่งออก และเสี่ยงต่อบทลงโทษทางกฎหมาย"

นอกจากประเด็นการวิเคราะห์กระบวนการป้องกันอันตรายตามที่ได้กล่าวมาแล้ว หัวใจของหลักสูตรอบรมที่ผ่านมายังให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่สำคัญของภาคการผลิต โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความปลอดภัย ที่ถูกหยิบยกมาพิจารณาประกอบกับการวิเคราะห์ ได้แก่

1. ระเบียนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง

2. ประกาศกระทรวงอุตหสากรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2542) ในเรื่องมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน

3. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549

กฎหมายเหล่านี้ ถือเป็นสิ่งมาตรฐานเบื้องต้นสำหรับสถานประกอบการ ที่จะดำเนินการในภาคการผลิต เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือต่อทั้งพนักงาน คู่ค้า และลูกค้า ซึ่งจะเป็นการก้าวออกไปสู่การแข่งขันในตลาดระดับภูมิภาค และระดับโลกต่อไป

หมายเลขบันทึก: 81328เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2007 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท