โครงการ Bye Bye Fat : อ้วนจ๋าลาก่อน


     สวัสดีค่ะ ห่างหายจากการบันทึกไปเสียนาน เพราะยุ่งๆอยู่กับโครงการ Bye Bye Fat : อ้วนจ๋าลาก่อน หรือชื่อเต็มๆว่า โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมน้ำหนัก ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก (Bye Bye Fat : อ้วนจ๋าลาก่อน) ซึ่งเคยเกริ่นไว้บ้างแล้วในบันทึกเรื่อง น้ำหนักเกินมาตรฐาน  วันนี้จึงมาขอเล่ารายละเอียดให้ทราบกัน

หลักการและเหตุผล

            ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาหลักของสาธารณสุข ที่แนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้น โดยสาเหตุปัจจัยที่สำคัญส่วนใหญ่จากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งการบริโภคอาหารไขมันสูง  พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งก่อให้เกิดโรคเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น   ดังนั้นการป้องกันความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน โดยการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น                

            จากผลการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ปี 2549 จำนวน 634 คน พบว่าความเสี่ยงอันดับหนึ่ง ได้แก่ น้ำหนักเกินมาตรฐานมีถึง 157 คน ซึ่งมีดัชนีมวลกาย 25-29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ร้อยละ 73 และมีดัชนีมวลกาย มากกว่า  30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ถึงร้อยละ 27 (รายงานการตรวจสุขภาพ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม, 2549) ซึ่งจากการสนทนากลุ่ม(focus group) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มนี้  พบว่าสาเหตุที่ทำให้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน  คือ  1) การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม  ชอบรับประทานอาหารประเภทแป้ง  อาหารไขมันสูงและขนมหวาน     2) ขาดการออกกำลังกาย    เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ  ด้านปัจจัยนำ พบว่าเจ้าหน้าที่ยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการลดความอ้วน  โดยเชื่อว่าการลดน้ำหนักที่ได้ผลดีต้องอดอาหาร  และออกกำลังกายอย่างหนักจึงจะได้ผล  ซึ่งเคยพยายามลดความอ้วนมาแล้วแต่น้ำหนักไม่ลด  ทำให้ไม่มั่นใจว่าจะควบคุมน้ำหนักได้ ด้านปัจจัยเอื้อ  พบว่าชอบซื้ออาหารถุงปรุงสำเร็จเนื่องจากสะดวก ซึ่งอาหารส่วนใหญ่มีไขมันสูง ส่วนด้านปัจจัยเสริมที่ทำให้มีแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายได้แก่ การกระตุ้นเตือนและแรงสนับสนุนจากเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิด

           จากสภาพปัญหาดังกล่าว  กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงได้ออกแบบโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักที่ประยุกต์ใช้ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมน้ำหนัก  โดยคาดหวังว่าภายหลังเข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมายจะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง  เพื่อป้องกันการเกิดโรค และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ  ซึ่งหากบุคลากรในโรงพยาบาลมีสุขภาพดี  ก็นับเป็นต้นทุนทรัพยากรที่เป็นกำลังสำคัญของโรงพยาบาลต่อไป

จุดมุ่งหมายโครงการ

         เพื่อส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชให้มีสุขภาพดี  มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt">วัตถุประสงค์</h1><p>         1.เพื่อเพิ่มพูนความรู้และการรับรู้ความสามารถตนเองในการควบคุมน้ำหนัก</p><p>         2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการควบคุมน้ำหนักด้านการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร </p><p>         3.เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดชมรมสร้างเสริมสุขภาพแบบเพื่อนช่วยเพื่อนในการควบคุมน้ำหนัก</p><p> ระยะเตรียมการ</p><p>1. ศึกษาข้อมูลผลการตรวจสุขภาพของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล</p><p>2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติเขียน และทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน</p><p>3. ประชุมคณะทำงาน  เพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการ  ประชุมชี้แจงโครงการ  และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ </p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 82267เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต้องการความรู้ในเรื่องโปรแกรมควบคุมน้ำหนักที่ประยุกต์ ทษ.การรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคม อยากทราบว่ามีเทคนิควิธีการอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท