BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

การตรวจสอบสมานฉันท์ของสังคม


สมานฉันท์

ตอนนี้ประเทศไทยต้องการความสมานฉันท์ของสังคมภายในประเทศ ซึ่งผู้เขียนฟังข่าวก็ได้ยินคำนี้เข้าหูเสมอ...เมื่อกี้ได้ยินคำนี้อีกก็มีความคิดบางอย่างโพล่งขึ้นมาจึงนำมาเล่าในที่นี้...

คำว่า สมานฉันท์ มาจาก สมาน + ฉันท์...คำว่า สมาน ถ้าแปลแบบบาลีหมายถึง เท่าเทียม เสมอ ... แต่ถ้าแปลแบบไทยไทย น่าจะแปลว่า เชื่อม หรือ ผนึกเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน หรือรวมเป็นพวกเดียวกลุ่มเดียวกัน ..ประมาณนี้

ส่วนคำว่า ฉันท์ แปลว่า ความพอใจ ชอบใจ ยินดี ....(ส่วนที่แปลว่า กิน ซึ่งใช้กับพระ-เณร คงจะนอกประเด็นนี้ 5 5 5) ดังนั้น สมานฉันท์ น่าจะหมายถึง ความพอใจร่วมกัน ความยินดีในการเชื่อมโยงเป็นพวกเดียวกัน ...ประมาณนี้

มาถึงสิ่งที่ใช้ในการตรวจสอบความสมานฉันท์ของสังคมในชาติซึ่งผุดขึ้นมาในคลองความคิด... ผู้เขียนคิดว่า สังคหวัตถุ ๔ สามารถใช้ตรวจสอบความสมานฉันท์ของสังคมนั้นๆ ได้ 

สังคหวัตถุธรรม คือ ธรรมะว่าด้วยเรื่องของการประมวลมา นั่นคือ ประมวลมาให้เป็นหนึ่งเดียวกัน มี ๔ ประการ ดังนี้...

  • ทาน คือ การแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • ปิยวาจา คือ คำพูดเป็นที่รักที่ชอบใจซึ่งกันและกัน
  • อัตถจริยา คือ การประพฤติให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นหรือสังคม
  • สมานัตตตา คือ ความเป็นอยู่พอเสมอกัน ไม่ยกตนข่มผู้อื่น

เมื่อพิจารณาแต่ละข้อ ทาน ในสังคมไทยยังคงมีอยู่ เช่น มีการช่วยเหลือหรือบริจาคสม่ำเสมอเมื่อคราวน้ำท่วม ไฟไหม้ อากาศหนาวจัด ...

ปิยวาจา ในสังคมไทยค่อนข้างเสื่อมโทรมลงไปเรื่อยๆ เพราะดูตามสื่อต่างๆ มักจะมีการด่าทอ ตำหนิติเตียน ส่อเสียด อยู่เสมอ

อัตถจริยา ในสังคมไทยไม่ค่อยชัดเจน ดังปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในปัจจุบัน ...

สมานัตตตา ในสังคมไทยเสื่อมโทรมอย่างหนัก มีความเป็นอยู่แตกต่างกัน อาจเปรียบได้ตั้งแต่ใต้เหวลึกไปจนถึงระดับเหนือเมฆ ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจบริโภคนิยม ...อีกอย่าง ความเป็นอยู่ที่ไม่เหมือนไม่เท่าเทียมกันนี้ เพราะค่านิยมพื้นฐานด้านประเพณี วัฒนธรรมหรือโลกทัศน์อื่นๆ แตกต่างกัน... 

เมื่อมองปัญหาผ่านสังคหวัตถุ๔ ..ผู้เขียนคิดว่า จะต้องแก้ไขที่ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ...

ส่วนแนวทางแก้ไข ? เป็นเรื่องที่ต้องแปรแนวคิดไปเป็นวิธีปฏิบัติของผู้มีอำนาจในสังคม

คำสำคัญ (Tags): #สมานฉันท์
หมายเลขบันทึก: 82635เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2007 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาธุ สาธุ พระสอนธรรม  ไม่ดัง นักข่าวไม่ค่อยสนใจ

หนังสือพิมพ์ไม่ลงข่าว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท