แล้วอย่างไรละถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาแบบ “ผู้ใช้เป็นศุนย์กลาง” (User-centered design approach)


เอาละตอนนี้ก็จะมาพูดกันถึงว่า แล้วแบบใหนละที่จะเรียกได้ว่า เป็น approach หรือแนวในการพัฒนาแบบให้ผู้ใช้ เป็นศุนย์กลาง มีหนังสืออยู่หลายเล่มครับที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ที่ผมคิดว่าน่าจะเข้าใจง่ายสุดมาจากหนังสือ ของนาย Jeffrey Rubin โดยเขาก็ได้ยกมาอีกที่จากบทความของ Gould and Levis  แล้วผมก็จะยกมาขยายความให้ครับ

การพัฒนาที่จะให้อยู่่ในข่ายที่เราจะสามารถเรียกได้ว่ามันเป็นไปตามวิถีทางของ UCD หรือวิถีทางของการให้ ผู้ใช้เป็นศุนย์กลาง นั้น Gould and Levis ได้เขียนไว้ว่าจะต้องประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักดังนี้

  1. ต้องเิริ่มต้นโดยการให้ความสำัคัญกับการศึกษาผู้ใช้ (users) และงานที่เขาจะต้องทำ (tasks)

    ผู้พัฒนาต้องศึกษาและเข้าใจลักษณะการคิด แนวคิด เจตคติ หรืออะไรก็ตามที่มีผลเกียวกับการบวนการคิด(cognitive factors) ซึ่งอาจจะได้แก่ การรับรู้ การจำ การเรียนรู้ เป็นตัน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และจะต้องศึกษาถึงลักษณะงานของผู้ใช้ที่เราศึกษาด้วย ผู้พัฒนาจะต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าผู้ใช้ต้องการประสบความสำเร็จอะไรกับงานชิ้นหรือชนิดนั้นๆ

  2. ต้องมีการวัดผลโดยตรงกับผู้ใช้โดยการทดลอง(Empirical measurement)

    ผุ้พัฒนาต้องมีการวัดการตอบสนองและสมรรถนะของสิ่งที่พัฒนาต่อผู้ใช้”*** โดยอาจจะมีการทดสอบหรือทดลองกับ scenario, simulation หรือ prototype แลัวนำมาวิเคราห์

    ***(ตรงนี้ขอเน้นนิดหนึ่งว่า ไม่ใช่ทดสอบ สมรรถนะของผู้ใช้ นะครับ อย่าลืมว่าเราไม่ได้โทษผู้ใช้ว่าเขาทำไมฉลาดน้อย ไม่สามารถใช้สิ่งที่เราพัฒนาได้ ปรับความคิดใหม่นะครับเราต่างหากละครับ เราเหล่านักพัฒนา ที่ไม่เข้าใจเขาและพัฒนาไม่สอดคล้องกับกระบวนการคิดและงานของเขา)

  3. ต้องมีการใช้การพัฒนาโดยการทำซ้ำๆ (Iterative design)

    ผู้พัฒนาเมื่อทำทดลองหรือทดสอบตามกรรมวิธีไดๆแล้ว ไม่ว่าจะด้วยการใช้ usability inspection methods หรือ usability testing แล้วพบปัญหา จะต้องมีการแ้ก็ไขแล้วต้องนำไปทดลองซ้ำ อีกครั้ง จนกว่าเราจะแก้ปัญหานั้นๆ ได้หรือประสบความสำเร็จตาม benchmarks ที่เราตั้งไว้

รู้หลักแล้วต่อไปนี้เรามาร่วมกันใช้การพัฒนาแบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลางนะครับ ไม่ได้หมดทั้ง 3 ข้อ ได้สัก 1 ข้อก็ยังดี ศึกษาผู้ใช้เราก่อน (ศึกษาในความหมายนี้ไม่ใช่แค่ไปเก็บ requirements จากผู้ใช้เท่านั้นนะครับ ต้องศึกษาโดยใช้หลักตามแนวข้อที่หนึ่งจริงๆ "Know Thy User" )  โดยหลักแล้วมันจะดีกว่าการที่เราจะเดาเอาเองโดยใช้แค่ collective experience ของเราตัดสินว่าผู้ใช้ต้องการอะไร หรือไม่ก็จำกัดอยู่แค่อะไรที่เราทำได้หรือที่เทคโนโลยีให้มา หรือไม่ก็แค่พัฒนาไปตาม development process ไม่ว่าจะ models ใหนก็ตามโดยไม่คำนึงถึงผู้ใช้มันจะมีผลในภายหลังแน่นอน เพราะมันอาจจะ ใช้ยาก หรือ ใช้ได้น้อย หรืออาจจะใช้ไม่ได้เลย

เราไม่ทราบเลยว่าสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแล้วมันไม่สามารถใช้ได้ เราสูญเสียมากมายเท่าไร ลองนึกภาพดูนะครับ ถ้าเราเปรียบเทียบเหมือนกับว่าเราเห็นตึกรามบ้านช่องที่รกร้างๆ และไม่ได้ใช้อยู่เยาะแยะมากมาย เต็มไปหมด ในดินแดน IT เราจะยังจะร่วมกันเพิ่มตึกร้างๆในดินแดนนี้อีกหรือครับ

     

     

 

คำสำคัญ (Tags): #hci#ucd#usability#usability testing
หมายเลขบันทึก: 82758เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 04:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

พี่ณรินทร์ค่ะ

มะปรางเคยทำ Card Sorting  ในการ Redesign เว็บไซต์ตอนที่เรียนอยู่ค่ะ วิธีนี้จะว่าไปแล้ว ก็เหมือนการเล่นเกมส์  ให้จำกลุ่มเมนูของเว็บไซต์ตามความเข้าใจของผู้ใช้งาน ค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

น้องมะปรางเปรี้ยวครับ

Card Sorting เป็น หนึ่งในเทคนิคหรือ method ของ UCD ครับ จัดอยู่ในข่ายของ input และdesign technique ครับ ไม่ใช่ evaluation technique

Card Sorting นี้จะถูกใช้กับ info-oriented website เท่านั้นครับ เพีอช่วย architect information (อีกด้านหนึ่งเขาจะเรียกว่า task-oriented หรือพวก web application ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่แค่ view info เท่านั้น ผู้ใช้สามารถ manipulate data หรือ content ได้ ตรงนี้ละที่จะได้ยินคำว่า Interaction Design)

method นี้จะช่วยให้เราสร้างโครงสร้างของ Navigation ตามความต้องการของผู้ใช้ครับ วิธีนี้จะใช้กันมากเวลาจะวาง information architecture (IA)ของ content ครับในภาษาของ IA เขาก็พูดว่า เขาใช้ Card Sorting ช่วย increase findability ครับ

 

  • พี่ณรินทร์ค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำอธิบายที่ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น  รออ่านบันทึกต่อไปอยู่นะค่ะ
  • คุณวีร์  อยากเรียก หรือ อยากเรียน ค่ะ อ่านแล้ว งงค่ะ ถ้าอยากเรียก หมายถึงเรียกชื่อ หรือ ยังไงค่ะ
P
มะปรางเปรี้ยว: ขอโทษครับพิมพ์ผิด อยากเรียน (เมื่อกี้ก็พิมพ์ผิดอีกแล้ว -_-')

น้องวีร์ครับ

ในเมืองไทยต้องนี้เท่าที่พี่ทราบ ก็มีแต่อาจารย์ จันทวรรณ เท่านั้นละครับที่สอนที่ ม.อ. ตามที่น้องมะปรางเคยเรียนมา แต่ก็ยังไม่มีเป็นในระดับ degree นะครับ เราอาจจะล้าหลังกว่าฝรั่งเขาสักนิดในเรื่องนี้

  HCI เป็นวิชาที่กว้างมากครับ ไปยืมเอา method และ technique ของหลายวิชามาปรับใช้ทั้งทางด้าน research, design, และ evaluation จึงได้ชื่อว่าเป็น inter-disciplinary หรือ multi-disciplinary subject 

 เรียน HCI อย่างน้อยสุดจะได้เรียน 3 ศาสตร์ใหญ่ครับ psychology, computer science และ design 

มีอีกทีค่ะ คุณวีร์ แต่เป็นวิชาเลือกในระดับปริญญาโท สาขา IT ของพระเจ้าเกล้าธนบุรี ค่ะ  แต่รูปแบบการเรียนการสอนของวิชานี้ ไม่ทราบเหมือนกันค่ะว่าที่นี่จะสอนอย่างไร  แต่หนูเรียนกับอาจารย์จันทวรรณ ต้องทำออกมาเป็นโปรเจคค่ะ

ขอเล่านิดนึงค่ะ ตอนที่เรียนวิชานี้ เห็นอะไรก็ประเมินการออกแบบไปซะหมด เช่น ไปกด ATM ก็รู้สึกว่าปุ่มกด ที่ออกแบบตำแหน่งก็ทำให้กดยาก คิดในใจทำไม ไม่คิดว่าลูกค้าจะกดยาก ลำคาญ แล้วหนีไปใช้ ATM ของธนาคารอื่นบ้างน่ะ

วิชานี้ ต้องบอกว่าเป็นวิชาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เยอะมาก ขนาดเรื่องการตลาด ยังเอาไปคิดถึงการออกแบบป้ายโฆษณา ข้อความในโฆษณา เป็นต้นค่ะ

ตอนนี้ผมเรียนกับอาจารย์จันทวรรณอยู่อ่ะคับ

เรียนhciเนี่ยแหละคับ

แกให้ผมเรียนอังกฤษทั้งเล่มเลย

ตอนนี้ก้อนั่งแปลอยู่เลย

เพราะจะสอบวิชาของแกแล้วอ่ะคับ

ยังไงให้พี่ๆช่วยแนะนำด้วยนะคับ

ผมกำลังหาเกี่ยวกับ IA แล้วก้อ site navigation

เหอะๆ

เมื่อกี้ลืมผิมชื่อ

เหะๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท