ชาสมุนไพรไทยแท้ ตราแม่บ้าน


สูตรสมุนไพรประกอบด้วย 5 ชนิดคือ ไมยราบ ใบหม่อน เตยหอม ทองพันชั่ง และดอกคำฝอย โดยมีไมยราบเป็นองค์ประกอบหลัก ใช้ชื่อว่า ชาสมุนไพรไทยแท้ตราแม่บ้าน

       ตามที่ได้เล่าเรื่องผู้หญิงเก่ง สาขาเกษตรกร คือนางเสงื่ยม ไม้แป้น จากจังหวัดอ่างทอง ดิฉันได้ไปเปิดคลังความรู้ของจังหวัดอ่างทองก็พบประวัติความเป็นมาของชาสมุนไพรไทยแท้ ก็ขอ ลปรร.เรื่องนี้คะ

  • แรกเริ่มเดิมที กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรป่าโมกพัฒนาก่อตั้งเมื่อปี 2534  รวมกันทำขนมแต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนปี 2542 คุณเสงี่ยมได้เกิดอาการปวดหลัง จึงระลึกได้ว่าตอนเป็นเด็ก ๆ คุณตาปวดหลัง ใช้ให้ไปเก็บต้นไมยราบมาต้มให้กินแล้วหาย จึงทำตามแล้วหายปวดหลัง
  • ดังนั้นจึงตั้งกลุ่มผลิตชาสมุนไพรขึ้นมีสมาชิก 30 คน รายได้เฉลี่ยคนละ 3000 บาทต่อเดือน  โดยได้รับคำปรึกษาจากผู้รู้ในการปลูกและใช้สมุนไพรคือนายไสว เกษไชยศรี
  • สูตรสมุนไพรประกอบด้วย 5 ชนิดคือ ไมยราบ ใบหม่อน เตยหอม ทองพันชั่ง และดอกคำฝอย โดยมีไมยราบเป็นองค์ประกอบหลัก ใช้ชื่อว่า ชาสมุนไพรไทยแท้ตราแม่บ้าน  รสชาติหอม กลมกล่อมและมีประโยชน์ สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดคือ

   ไมยราบ  ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดหลังและขับปัสสาวะ

   ใบหม่อน ช่วยลดความดันโลหิต ควบคุมน้ำตาลในเลือด

    บำรุง   สายตา บำรุงกระดูก มีแร่ธาตุ ช่วยลดคลอเรสเตอรอล

   เตยหอม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

   ทองพันชั่ง ช่วยลดอาการอักเสบ ยาอายุวัฒนะ

   ดอกคำฝอย ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ

   

  • มีการขยายเครือข่ายไปทั่วจังหวัดอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงในการปลูกสมุนไพร สร้างรายได้และทางเลือกให้แก่เกษตรกรโดยผลิตลูกประคบจำหน่ายเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ และยังมีชาใบหม่อน ดอกคำฝอย กระชายดำ สมุนไพรขัดผิวอีกด้วย
  • ได้รับการจดสิทธิบัตรภูมิปัญญา
  • กลุ่มนี้ยังได้เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ด้านการแปรรูปสมุนไพรแก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป
  • นับว่าเป็นกลุ่มอนุรักษ์สมุนไพรให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า

     ดิฉันภูมิใจที่กลุ่มนี้ใช้การจัดการความรู้สร้างงานสร้างอาชีพและแบ่งปันความรู้ภายในกลุ่มและนอกกลุ่ม ทำให้คุณภาพชีวิตและเกิดความสุขในชุมชนขึ้นอย่างทั่วถึง

หมายเลขบันทึก: 83741เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
      ขอบพระคุณมากครับ ที่นำมาแบ่งปัน
แสดงว่า "กลุ่มชาสุนไพร ของจังหวัดอ่างทอง" เป็นBest Practice ของเรื่องดังกล่าวที่นำองค์ความรู้มาแลกกันได้ โดยเราทำหน้าที่ "เสริมหนุน" ให้มีการนำไปสู่การเรียนรู้และทำงานตามที่เกษตรกรต้องการได้ค่ะ  ขอบคุณนะค่ะที่ช่วยสืบค้น Best Practice มาเล่าให้ฟัง

ดีจังเลยค่ะ ต้องลองไปหามาชิมกันบ้างแล้ว

 เรียนคุณสิงห์ป่าสัก คงได้เจอกันเร็ว ๆ นี้

เรียนคุณจือ อย่าลืมถอดองค์ความรู้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อการลปรร.ด้วยนะคะ

เรียนคุณเพื่อนร่วมทาง วันหลังจะเอาไปให้ชิมนะคะ หอมและทานแล้วชื่นใจจริงๆ คะ

 

อยากทราบว่ามี CD การผลิตชาจำหน่ายไหมค่ะ  เนื่องจากจะนำมาใช้ในการเรียนวิชาสัมมนาค่ะ

ตอนนี้รับประทานไมยราบทั้ง 5 อยู่ค่ะโดยต้มกับลูกไต้ใบเเล้วจะมีผลดีหรือเสียอย่างไรบ้าง? เเล้วจะทานอย่างไรถึงจะถูกต้องค่ะ

ไมยราบกินลดความอ้วนได้หรือไม่ค่ะ?..

มีช่าที่เหมาะกับคนท้องมั้ยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท