มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

น้ำใจเยียวยาสังคม


น้ำใจเยียวยาสังคม [20 มี.ค. 50 - 16:51]

<p>การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร!</p> <p>การทำแท้ง!</p> <p>เด็กถูกทิ้ง!</p> <p>ครอบครัวแตกแยก!</p> <p>และอีกสารพัดปัญหาที่กัดกร่อนสังคมไทยมาเนิ่นนาน หลายยุคหลายสมัย และยิ่งนับวันยิ่งน่าห่วง มากขึ้นเรื่อยๆ ห่วงเพราะแนวโน้มของปัญหาเหล่านี้ดูจะสูงขึ้นๆ จนวันนี้กลายเป็นวิกฤติ ทาง สังคม</p> <p>ปัจจุบันมีเด็กถูกทอดทิ้ง ซึ่งทางกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ รับไว้ในความ อุปการะประมาณ 20-25 คนต่อเดือน คือ ตัวเลขที่ได้จากการสรุปยอดเฉลี่ย จากสถิติ ของ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยงานที่ดูแลสถานสงเคราะห์เด็กของรัฐทั่วประเทศ</p> <p>โดยสถิติการรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งของกรมพัฒนาสังคมฯ ตามปีงบประมาณปี 2548 มีจำนวน 264 คน ปีงบประมาณ 2549 มี 202 คน และ แค่เพียง 2 เดือนของปีงบประมาณ 2550 (ช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. 2549) มีจำนวน 36 คนแล้ว</p> <p>เด็กหลายคนถูกทิ้งที่โรงพยาบาลหลังคลอดไม่กี่วัน เด็กบางคนถูกนำไปทิ้งใน ที่สาธารณะ ขณะที่อีกหลายคนโดนทิ้งไว้กับคนรับจ้างเลี้ยงเด็ก หรือทิ้งไว้กับญาติ รวมถึงการทิ้งที่โรงพยาบาลขณะนำเด็กไปรักษาพยาบาล</p> <p>ถึงวันนี้คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าต้นตอของปัญหาจริงๆนั้นยังแก้กันไม่ตก ทางที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นต้องหันมาตามล้างตามเช็ดผลพ่วงของปัญหาที่เกิดขึ้น</p> <p>และหนึ่งในโครงการเพื่อเยียวยาปัญหาสังคมไทย คือ “ครอบครัวอุปถัมภ์ หรือครอบครัว อุปการะ” กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยรัฐพร้อมที่จะรับเด็ก ที่พ่อแม่ไม่พร้อมในการ เลี้ยงดู ไม่ว่าจะมาจากปัญหาใดๆก็ตาม เพื่อขจัดเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจ กับผู้คน ในสังคม ที่มีการนำเด็กทารกไปทิ้งในสถานที่สาธารณะ หรือในถังขยะ รวมถึงการทำแท้ง ตลอดจนการทำร้ายเด็กทารกจนเสียชีวิต</p> <p>ปัจจุบันเด็กที่ถูกทอดทิ้งจะอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ 8 แห่ง ตามภาคต่างๆ คือ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท สถานสงเคราะห์ เด็กอ่อนปากเกร็ด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ จ.เชียงใหม่ สถานสงเคราะห์ฃ เด็กบ้านแคนทอง จ.ขอนแก่น สถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี จ.อุดรธานี สถานสงเคราะห์เด็กชาย บ้านศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช และสถานสงเคราะห์เด็กบ้านสงขลา จ.สงขลา</p> <p>แต่ด้วยสิทธิเด็กทุกคนสมควรจะได้รับการเลี้ยงดูและมีชีวิตเติบโตในครอบครัว ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ทางกรมพัฒนาสังคมฯ จึงได้จัดหาครอบครัวทดแทนให้แก่เด็กๆเหล่านี้ ทั้งในรูป แบบครอบครัวถาวร คือ การรับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และในรูปแบบของครอบครัวทดแทนชั่วคราว หรือที่เรียกว่า “ครอบครัวอุปถัมภ์ หรือครอบครัวอุปการะ”</p> <p>โดยรูปแบบของครัวครอบครัวอุปถัมภ์ คือ การรับเลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ฯไปดูแลชั่วคราว ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่พ่อแม่ ยังไม่พร้อมจะรับเด็กไปเลี้ยง หรือเด็กอยู่ในระหว่างขั้นตอน การรับบุตรบุญธรรม ส่วนคนที่จะขอเด็กไปอุปการะก็ต้องผ่านคุณสมบัติมากมาย ตามที่กรมพัฒนาสังคมฯ กำหนดเอาไว้</p> <p>โครงการครอบครัวอุปถัมภ์ ได้มีการดำเนินการมา เป็นเวลาเกือบ 7 ปี แล้ว นับตั้งแต่เริ่มโครงการในนิคมสร้างตนเอง ขึ้น ในปี 2543 ก่อนที่จะขยายไปใน ชุมชนต่างๆ ทั่วทุกภาค ซึ่งปัจจุบันมีเด็กที่อยู่ ในการเลี้ยงดูของครอบครัวอุปถัมภ์จำนวน 104 คน</p> <p>น.ส.พารื่น นิตยสุทธิ์ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี บอกว่า “ในสถานสงเคราะห์จะมีพี่เลี้ยง 1 คนต่อเด็ก 3 คน การที่เด็กอยู่ในครอบครัวอุปถัมภ์ จะได้รับการดูแลใกล้ชิดกว่า และเด็กก็จะมีความสุขที่ได้อยู่กับครอบครัว ซึ่งการพิจารณาสมาชิกในนิคมที่มายื่นขอรับเลี้ยง จะดูสภาพความเป็นอยู่ ทัศนคติของคนในครอบครัว แล้วทางสถานสงเคราะห์จะเตรียมความพร้อม ของเด็กและผู้ที่จะรับอุปถัมภ์ให้ทำความเข้าใจเด็ก มีการปฐมนิเทศก่อน เมื่อนำเด็กไปเลี้ยงแล้วก็จะมีการติดตามผล โดยทีมนักสังคมสงเคราะห์ในแต่ละเดือน ซึ่งในภาพรวมก็น่าพอใจในความสำเร็จ”</p> <p>นางสุพิน สอนศรี อายุ 42 ปี อาชีพทำนา ในนิคมสร้างตนเองห้วยหลวง จ.อุดรธานี หนึ่งในครอบครัวอุปถัมภ์ บอกว่า “ตอนแรกก็อยากได้เงินค่าเลี้ยงดู เดือนละ 2,000 บาท แต่พอเลี้ยงๆไปก็รัก สงสารเด็กเพราะเขาขาดความอบอุ่น เลี้ยงเขาแล้วก็ผูกพัน พอมีคนมาเอาไปก็ร้องไห้ ไม่อยากให้ แต่ต้องทำใจ เพราะเขากลับไปอยู่กับพ่อแม่จริงของเขา”</p> <p>ขณะที่ ด.ญ.ตุ่น พิมศรี อายุ 10 ขวบ ซึ่งอยู่ กับครอบครัวอุปถัมภ์นานกว่า 6 ปี บอกว่า “หนูก็มีความสุขดี อยากอยู่กับพ่อแม่ตลอดไป หนูก็ช่วยพ่อแม่ทำงานด้วย หนูมีพี่ชายและน้องชายในครอบครัวนี้ ถ้าโตขึ้นหนูก็จะตอบแทนท่านทำงานส่งเงินมาให้แม่” เมื่อถามถึงความรู้สึกที่มีต่อพ่อแม่ที่แท้จริง ด.ญ.ตุ่น บอกว่า “หนูไม่เกลียดท่าน เพราะอย่างน้อยก็ซาบซึ้งที่ท่านไม่ทำแท้ง ทำให้หนูเกิดขึ้นมา”</p> <p>ทีมข่าวสังคม มองว่า แม้ครอบครัวอุปถัมภ์จะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่การดึงชุมชนและสังคมเข้ามามีส่วนร่วมเยียวยาจิตใจเด็กเหล่านี้ นับว่าเดินมาถูกทางแล้ว</p> <p>นี่คือบทพิสูจน์ที่น่าชื่นใจว่า โลกาภิวัตน์ หรือทุนนิยม ไม่สามารถเปลี่ยน“น้ำใจ” คนไทย ที่มีหัวใจเอื้อเฟื้อ ไม่ทอดทิ้ง และพร้อมยื่นมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน!!</p> <p class="link3" align="center">ทีมข่าวสังคม</p><p class="link3" align="left">ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ</p><hr width="100%" size="2" /><p class="link3" align="left">  </p>
หมายเลขบันทึก: 86607เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2007 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท