ทูต คือใคร


มาทำความรู้จักกับทูต

ทูตคือใคร

นักการทูตคือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของผู้นำประเทศและเป็นผู้แทนของประเทศในการติดต่อกับอีกรัฐหนึ่ง เช่นการพบปะหารือระหว่างผู้นำลาวกับนายกรัฐมนตรีไทยถือเป็นการติดต่อระหว่างรัฐทั้งสอง ในกรณีที่ผู้นำรัฐมีความสนิทกันก็อาจจะยกหูโทรศัพท์คุยระหว่างกันได้เลยซึ่งก็ถือว่าสิ่งที่พูดหรือตกลงกันทางโทรศัพท์นั้นคือความตกลงระหว่างประเทศทีเดียว

นอกจากนี้การติดต่อกันจะทำกันทางหนังสือก็ได้ เช่น สารแสดงความยินดีของนายกรัฐมนตรีไทยในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโดยปรกติจะทำผ่านช่องทางการทูต ก็คือผ่านกระทรวงการต่างประเทศ

นอกจากการติดต่อตามรูปแบบดังกล่าวข้างต้นแล้ว มีเหมือนกันที่การติดต่อระหว่างรัฐจะทำผ่านสื่อมวลชนโดยการให้สัมภาษณ์ของผู้นำประเทศหนึ่ง เช่นนายกรัฐมนตรี พาดพิงถึงอีกประเทศหนึ่ง ทำให้อีกประเทศต้องตอบโต้ทางสื่อมวลชน อย่างนี้เรียกว่าเป็นการติดต่อแบบตอบโต้กันระหว่างรัฐ ซึ่งมักจะเป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกันมากกว่าที่จะสร้างความสัมพันธ์

เอกอัครราชทูต หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Ambassador  มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary หมายถึง บุคคลที่รัฐผู้ส่ง (เช่นประเทศไทย) แต่งตั้งให้ไปยังรัฐผู้รับ (เช่นประเทศฝรั่งเศส) เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนรัฐผู้ส่ง(คือประเทศไทย)ในรัฐผู้รับ (คือฝรั่งเศส) ในความเข้าใจของคนทั่วไปจะเรียกบุคคลนี้ว่าท่านทูตเฉยๆ เช่นทูตไทย ทูตจีน ทูตลาว

จริงๆแล้ว ทูตมิได้มีเอกอัครราชทูตเท่านั้น ยังมีทูตประเภทอื่นอีก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่นในกรณีที่ตัวเอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนัก  อยู่ในรัฐผู้รับก็จะมีคำที่ใช้เรียกว่า Non-resident Ambassador (หมายถึงว่าไม่ได้มีสถานทูตตั้งอยู่ในประเทศนั้นแต่ได้รับมอบหมายให้เป็นทูตดูแลประเทศนั้นด้วย เช่น เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ได้รับมอบหมายให้ดูแลประเทศมาดากัสการ์ด้วยโดยไม่มีสถานทูตไปตั้งที่มาดากัสการ์ )

นอกจากนี้ยังมีเอกอัครราชทูตที่มิได้ประจำอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตใดๆ เลย แต่ประจำอยู่ในองค์การระหว่างประเทศในต่างประเทศซึ่งเรียกว่า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ Ambassador Extraordinairy and Plenipotentiary Permanent Representative of Thailand to the United Nations ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่งที่นครนิวยอร์คและเจนีวา

ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง Ambassador-Designate หมายถึงบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรวตำแหน่งเอกอัครราชทูตแต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ

เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ Ambassador-at-Large หมายถึงผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิ์และสถานะเที่ยบเท่าเอกอัครราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูงานและกิจการเฉพาะกิจหรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว

เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง-(Ambassador Attached to the Ministry) หมายถึงผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตโดยมีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

(มีต่อ)

คำสำคัญ (Tags): #เอกอัครราชทูต
หมายเลขบันทึก: 86993เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 07:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (60)

สวัสดีครับ

มาถามตามประสาเจ้าหนูจำไมครับ :D (เขินจัง)

เห็นในบันทึกได้เขียนถึงทูตประจำสหประชาชาติ ไม่ทราบว่าทูตประจำสหประชาชาตินั้น ทำหน้าที่อะไรหรือครับ

เข้าใจว่ารักษาผลประโยชน์ของชาติในเวทีสหประชาชาติ เช่นเรื่องการปราบยาเสพย์ติดที่อาจจะรุนแรงเกินไปหน่อย แต่ไม่เข้าใจว่ามีช่องทางทำกันอย่างไรนะครับ

ขอบพระคุณมากครับ :D

ยินดีครับ

องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (อังกฤษ:United Nations หรือ UN  เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นองค์การระหว่างประเทศที่กำเนิดขึ้นเป็นองค์การที่สองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ต่อจากสันนิบาตชาติ ปัจจุบันสหประชาชาติมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 192 ประเทศ (เกือบทุกประเทศในโลก) จุดประสงค์คือการนำทุกชาติทั่วโลกมาทำงานร่วมกันเพื่อสันติภาพและการพัฒนาโดยอยู่บนหลักพื้นฐานของความยุติธรรม ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และความกินดีอยู่ดีของทุกคน นอกจากนี้ยังให้โอกาสประเทศต่าง ๆ สร้างดุลแห่งการพึ่งพาอาศัยกันและรักษาผลประโยชน์ชาติในกรณีที่เกิดปัญหาระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรม ให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน และเป็นศูนย์กลางในการร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ

การทำงานของผู้แทนประเทศต่างๆ ในองค์การจึงมีทั้งงานที่ร่วมกันทำในฐานะองค์การระหว่างประเทศและการรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตนในองค์การ...ถือเป็นองค์การการเมืองระหว่างประเทศครับ

วิธีการทำงานก็จะมีการประชุมกันเป็นหลักครับตลอดทั้งปี(คล้ายสภา ที่มีผู้แทนมาจากจังหัวดต่างๆ ) ในองค์การสหประชาชาติก็จะมีเอกอัครราชทุตผู้แทนถาวรฯของประเทศสมาชิกทั้งหมดทำหน้าที่เป็นตัวแทนประเทศ และมีการแบ่งงานคณะกรรมการด้านต่างๆ มีระบบการพิจารณาเรื่องและลงคะแนน ลงมติที่ผูกมัดประเทศสมาชิก ในเมืองไทยเราก็มีเอสแคปซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติเช่นกัน วิธีการทำงานก็เหมือนกัน หากสนใจจริงๆ สามารถเข้าไปศึกษาในห้องสมุดได้ครับ..........

ดีใจครับที่มีผู้สนใจเรื่องการต่างประเทศ

ด้วยความปรารถนาดี

คือผมอยากเป็น ทูต อะครับต้องเรียนอะไรหรอครับ ใช่เรียนรัฐศาสตร์ เอกการทูตเปล่าครับ แล้วตอน ม. ปลายเรียน วิทย์-คณิตได้รึเปล่าครับ

แล้วต้องเก่ง ภาษาอังกฤษ มากๆด้วยรึเปล่าครับ

ช่วยตอบคำถามด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

 

ผมเป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นทูต ซึ่งผมอยากทราบว่าหนทางสู่การเป็นทูตนั้นต้องมีการเตรียมตัวอย่างไร ต้องมีการสอบหรือหนทางไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร และนามสกุลมีส่วนกับการได้รับตำแหน่งอย่างที่คนทั่วไปว่ากันจริงหรือไม่ครับ ของความกรุณาตอบด้วยเถอะครับ

คุณ Rathpong คุณ J

ขอตอบรวมกันนะครับ

การเป็นนักการทูต สิ่งสำคัญประการแรกก็คือ ใจต้องชอบครับ

ถ้าใจชอบแล้ว ก้ต้องรู้เส้นทางของการจะเป้นนักการทูต

ก็คือต้องเรียนหนังสือให้เก่ง เน้นเรื่องภาษาต่างประเทศ เรียนคณะรัฐศาสตร์การทูตหรือที่เกี่ยวข้องกับเวทีระหว่างประเทศ กฏหมายระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ

จากนั้นสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศให้ได้

เพียงแค่นี้เองครับ แต่ต้องเรียนให้เก่ง

หากตั้งใจจริงๆ ไม่มีสิ่งใดที่มนุษย์เราทำไม่ได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ

พลเดช

อยากเป็นทูตค่ะ

ต้องเรียนกี่ปีค่ะ

เรียนสายไหนเหรอค่ะ

และสุดท้ายอยากรู้ว่า เวลาไปประเทศไหนเนี่ยเราต้องเตรียมตัวยังไงค่ะ

กรุณาตอบด้วยน่ะค่ะ

อยากรู้ค่ะ...........

ถ้าให้ตรงที่สุด ก็ต้องเรียนรัฐศาสตร์การทูตครับ หรือวิชาทางสังคมศาสตร์ก็ได้ครับ เช่นนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เป็นต้น

ตามหลักสูตรปริญญาตรีบ้านเราก็คือ 4 ปี

ที่ต้องจบปริญญาตรีก็เพราะกระทรวงการต่างประเทศจะเปิดรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นข้าราชการก็ในระดับปริญญาตรีขึ้นไปครับ

ก็ต้องสอบคัดเลือกให้ได้

จากนั้นจึงจะเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นเรียนรู้อาชีพการเป็นนักการทูต

การจะออกไปประจำการในต่างประเทศนั้นแล้วแต่กระทรวงจะพิจารณาครับ

การเตรียมตัวจึงเป็นการเตรียมตัวที่จะไปทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยหรือหน่วยงานของไทยในต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะมีการอบรมข้าราชการก่อนไปประจำการตามความเหมาะสมครับ

พิจารณากันไปเป้นขั้นตอนนะครับ

ด้วยความปรารถนาดี

ขอบคุณสำหรับคำตอบมากๆเลยค่ะ

 

ท่านพลเดชครับ

          กระผมมีเรื่องอยากจะเรียนถามครับ กระผมอยากจะทราบว่า ข้อสอบที่จะใช้สอบเข้ากระทรวงต่างประเทศนั้น เป็นเเนวไหน ออกอย่างไรบ้างครับ คือกระผมมีพี่สาว พี่ผมจบคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกญี่ปุ่นน่ะครับ จบโท ด้านภาษาอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เเละเค้ากำลังจะไปต่อต่างประเทศ ในระดับ ปริญญาโท เเละเอก ไปด้วยทุนมงบูโชซึ่งเป็นทุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อกลับมา มีความสนใจอยากจะเป็นทูตครับ กระผมอยากทราบว่า จะต้องเตรียมตัวสอบอย่างไร รบกวนท่านพลเดชด้วยนะครับ

                                            ด้วยความเคารพอย่างสูง

ขอตอบครับ

ในช่วงที่เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกข้าราชการ จะมีตัวอย่างข้อสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศจำหน่ายครับ  หรือลองไปค้นดูในห้องสมุดกระทรวงการต่างประเทศนะครับ ถนนศรีอยุธยาครับ ประชาชนทั่วไปก็เข้าไปใช้บริการห้องสมุดนี้ได้ครับ

นอกจากนั้น ถ้าไปเรียนที่ญี่ปุ่นแล้ว ขอแนะนำให้แวะเข้าไปที่สถานทูตบ้าง เพราะสถานทูตคือแหล่งที่จะเรียนรู้ชีวิตนักการทูตเช่นกัน  ท่านทูตและเจ้าหน้าที่สถานทูตทุกคนยินดีครับที่จะให้คำแนะนำคนไทยทุกคน รวมทั้งที่สถานทูต ก็ต้องมีห้องสมุด ผมก็ขอแนะนำให้ไปใช้ห้องสมุดด้วยครับ

การเป็นนัการทูตที่ดี ต้องฝึกสรุปและจับประเด็นเรื่องต่างๆ ให้เก่งครับ ก็จะมาจากการอ่านเป็นหลัก อ่านแล้ว(สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูล/ความคิด) จากนั้นนำมาความคิด พิจารณา และสรุป รวมทั้งจดบันทึกด้วย

โชคดีนะครับ

 

ขอบพระคุณท่านพลเดชเป็นอย่างสูงสำหรับคำเเนะนำ ครับ

ตอนนี้เรียนหมออยู่จะมีโอกาสเป็นทูตได้ไหมคะ

เรียนคุณอุบลรัตน์ครับ

ความจริงแล้ว การเป็นนักการทูต ถ้าชอบก็เป็นได้ครับ ไม่ว่าจะเรียนอะไรมา

อย่างไรก็ดี การจะเข้าเป็นข้าราชการ กต. จะต้องสอบเข้าครับ เป็นด่านแรก

ในอดีตก็มีคนที่สอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศได้ที่จบมาจากหลายสาขา มีทั้งสายตรงคือรัฐศาสตร์การทูต และที่เกี่ยวข้อง เช่นนักกฏหมาย นักเศรษฐศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ นักบริหาร...เท่าที่ทราบ ยังไม่ค่อยเห็นคนที่จบหมอมาเป็นนักการทูตนะครับ แต่ไม่มีอะไรห้ามครับ

ส่วนใหญ่ ผู้ที่มาสอบเข้ากระทรวง มักจะจบปริญญาตรีและโทเป็นอย่างน้อย ก็จะมีอายุอยู่ประมาณ 20 -25 ปี เรียกว่ามีเวลานานพอที่จะอยู่ในราชการและเรียนรู้ความเป็นมืออาชีพได้ดี

ขอให้โชคดีนะครับ

ด้วยความปรารถนาดี

 

สวัสดีค่ะท่าน

ดิฉันมีความใฝ่ฝันอยากทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศมาตั้งแต่เด็กแล้ว

ตำแหน่งที่ชอบก็คงจะเป็นนักการฑูตค่ะ เพิ่งลองไปสอบนักการฑูตมาค่ะ ตอนนี้ก็รอผลอยู่ค่ะ แต่คิดว่าไม่ค่อยชัวร์เท่าไหร่เพราะมีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก แล้วโดยส่วนตัวแล้วก็ไม่ได้จบทางด้านการระหว่างประเทศมาโดยตรงด้วย หนูจบภาษาเกาหลีมาค่ะ แต่ว่าอยากเรียนต่อปริญญาโททางด้านรัฐศาสตร์การฑูตมากๆ จะได้เอาไว้่ต่้อยอดในการสอบคราวหน้า(เผื่อคราวนี้พลาดค่ะ) เลยอยากรบกวนถามท่านว่าจะเรียนที่ไหนดีค่ะ (สำหรับนักศึกษาจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงานอย่างหนู) เพราะเข้าไปดูในหลายๆมหาวิทยาลัยแล้ว ส่วนมากเค้าจะรับแต่คนที่มีประสบการณ์อย่างน้อยสองปี หรือไม่ก็คนที่เรียนด้านรัฐศาสตร์มาในปริญญาตรีค่ะ

รบกวนด้วยนะคะ และขอบคุณล่วงหน้าค่ะ 

สวัสดีครับ

รอผลสอบดูก่อนนะครับ

การสอบเข้ากระทรวงหลังจากข้อเขียนแล้วยังมีสอบสัมภาษณ๋ด้วย เป็นอีกด่านหนึ่งที่ไม่ง่ายนัก

การจะเข้ากระทรวงได้จึงอยุ่ที่ว่าจะสอบผ่านทั้งสองด่านนี้หรือไม่ อาจจะจบปริญญาตรีก็ได้ ดังนั้นหากต้องการเข้าจริงๆ ก็จะต้องเตรียมตัวให้ดีครับ(หากต้องสอบอีกในคราวต่อไป)

การเรียนปริญญาโทนั้น มีช่องทางอีกมากเมื่อเข้าเป็นข้าราชการกระทรวงแล้ว

รู้ภาษาต่างประเทศก็น่าสนใจ ในระหว่างนี้น่าจะไปดูที่องค์การระหว่างประเทศบ้างนะครับ เช่น แอสแคบหรหือตามสถานทุตเพื่อจะได้มีประสบการในการทำงานหรือแม้แต่กระทรวงพาณิชย์ซึ่งมีงานที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศมากเหมือนกัน

โลกสมัยนี้เป็นโลกที่มีหลายมิติ การค้าขายเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเหมือนกัน จบภาษาศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์ก็เป็นนักการทูตได้เช่นกันครับ

ถ้าต้องการเข้ากระทรวงจริงๆ คงต้องเน้นเรื่องการสอบก่อนครับ

ด้วยความปรารถนาดี

สวัสดีค่ะท่าน

รบกวนถามเรื่องคุณสมบัติค่ะ หนูมีสัญชาติไทย มารดา สัญชาติไทย แต่บิดาสัญชาติจีน หนูจะรับราชการเป็นทูตได้ไหมคะ

แล้วถ้าเรียนจบหมอก่อน น่าจะอายุประมาณ 24 ปี รวมใช้ทุน(+เรียนต่อ)ประมาณ 30 ปี จามีโอกาสได้ทำงานในกระทรวงไหมคะ อายุมากไปหรือเปล่า

ตอนนี้เรียนอยู่ ม. 4 สายวิทย์-คณิต

ด้วยความเคารพค่ะ 

สัญชาติไทย ใช้ได้ครับ

อายุ 30 ปี ในขณะที่ผู้สมัครสอบอื่นอาจจะเพิ่งจบปริญญาตรี จะเป็นข้อเปรียบเทียบที่ต้องแข่งขันมากครับ

ถ้าเรียนหมอจบ น่าจะเป็นหมอครับ

ถ้าเลือกสายรัฐศาสตร์การทูต จะตรงกว่าครับ

ขอให้โชคดีครับ

ขอบคุณที่ตอบมากค่ะ (ตอบเร็วมากๆเลย แปลกใจเล็กน้อยค่ะ)

อีกคำถามนะคะ มีทูตไทยที่ได้ทำงานในประเทศไทยบ้างไหมคะ แล้วทูตมีเวลาหยุดไหมคะ เช่น ระหว่างเปลี่ยนประเทศประจำการ

ขอบคุณที่ท่านจัดทำเวบไซต์เผยแพร่ เรื่องเกี่ยวกับทูตค่ะ หนูสนใจเรื่องนี้มากแต่เมื่อก่อนหาแหล่งข้อมูลได้ยากมากค่ะ

สวัสดีครับ

ต้องให้เครดิตอินเตอร์เน็ตครับ แต่ถ้าเน็ตล่มบ่อย ก็คงตอบช้าหน่อยนะครับ

ทูตเป็นข้าราชการ จึงมีวันหยุดวันลาตามระเบียบราชการครับ

ส่วนที่ถามว่าทูตไทยที่ทำงานในประเทศไทย ไม่มีครับ ถ้าเป็นทูตต้องหมายถึงผู้ที่ไปดำรงตำแหน่งในต่างประเทศครับ

มีตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงเหมือนกัน แต่ก็เป็นระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เป็นการเตรียมตัวที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ

เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงบางคนอาจได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นทูตในต่างประเทศ ( Roving Ambassador) โดยยังมีถิ่นพำนักและปฏิบัติงานในประเทศไทยได้ และเดินทางไปดูแลงานที่ประเทศนั้น ตามความเหมาะสม แต่โดยปรกติจะไม่ค่อยเกิดขึ้นครับ

ยินดีครับ

สวัสดีค่ะ ท่านคุณลุง -- ขอโทษนะคะ น้องเมย์ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรดีขอโทษนะคะถ้าน้องเมย์ทำอะไรผิด

น้องเมย์เรียนอยู่ ม.3 ค่ะ อยากเป็นนักการทูตค่ะ ^^  จะเลือกเรียน วิทย์ - คณิต ดีไหมคะ แล้วน้องเมย์ต้องเก่งภาษาอังกฤษมากๆเลยใช่ไหมคะ?

 ...... น้องเมย์จะตั้งใจเรียนค่ะ แล้วก็จะตั้งใจมากๆด้วย เพื่อที่จะทำหน้าที่เป็นนักการทูตที่ดีค่ะ ....

 แม่บอกน้องเมย์ว่านักการทูต ต้องมีฐานะดีค่ะ และมีหน้าตาทางสังคมจริงหรือปล่าวคะ? น้องเมย์ไม่มีหน้าตาทางสังคมจะเป็นได้ไหมคะ?น้องเมย์กลัวจังเลยค่ะ ...

    ตอบน้องเมย์ด้วยนะคะ ท่านคุณลุง

แล้วน้องเมย์จะรอ ทำความฝันของน้องเมย์ให้เป็นจริง

สวัสดีครับ

ผมคงต้องเรียนหลานเมย์

การที่เราอยากจะเป็นอะไรในอนาคตนั้น ผมอยากให้ใช้เวลาสักนิดหนึ่ง คิดและทบทวน ดูตัวเราเอง

เราชอบอะไร

เราถนัดทางไหน

เรื่องว่าเราชอบอะไรนั้น มีมากมายและเปลี่ยนแปลงไปตามวัย ตามสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็ไม่มีอะไรผิด เพราะคนเราชอบอะไรหลายอย่างได้ และในชีวิตจริงก็ทำอะไรหลายอย่างได้และได้ดีด้วย

ส่วนเรื่องถนัดทางไหนนั้น เราป็นนักเรียนก็ดูว่าเราถนัดวิชาใด กิจกรมใดและทำได้ดีที่สุด ทำได้ง่ายและสะดวกที่สุด ซึ่งก็แน่นอนว่าไม่ได้มีอย่างเดียว และในอนาคต สิ่งที่เราถนัดที่สุดในช่วงเรียน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเลือกงานที่เราถนัดมากที่สุดเสมอไป อาจจะเลือกประเภทที่เราถนัดลำดับรองลงมาก็ได้

ดังนั้น ผมคิดว่า ณ เวลานี้ หลานยังอยุ่ ม.3 ลองดูให้มากๆ ในเรื่องต่างๆ ที่บอก สำรวจข้อมุล และผลสำรวจและดูจิตใจตัวเองด้วยว่าเรารู้สึกอย่างไรกับวิถีชีวิตทุกวันนี้

เราไม่จำเป้นต้องเลือกเป็นอะไรที่เราอยากเพียงอย่างเดียวเสมอไป

ที่ผมยกสองเรื่องเป็นหลักนั้นความจริงยังมีเรื่องสิ่งแวดล้อมมาประกอบอีกมากมาย

อย่างไรก้ตาม การจะเป็นนักการทูตนั้น ก็คือการเป็นข้าราชการพลเรือนนั่นเอง ดังนั้น ในขณะนี้ ขอให้ตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด

วิชาที่เรียนนั้น ล้วนมีประโยชน์ต่อชีวิตข้างหน้าทั้งนั้น และถ้าเป็นไปได้ ก็ควรจะเรียนให้เก่งในทุกวิชา

เพราะโลกในปัจจุบันและในอนาคต คนที่เก่งแบบรอบรู้ จะอยู่ได้อย่างเป็นที่ยอมรับและมีความสุข

คณิตก็จำเป็น วิทยาศาสตร์ก็จำเป็น ประวัติศาสตร์ก็ต้องรู้ ภาษายิ่งจำเป็น.........

ชีวิตคือการต่อสู้ การจะอยู่ในสังคมในอนาคต ก็ต้องต่อสู้กันในเรื่องของความรู้ ถ้าหลานเรียนเก่งแล้ว อย่าว่าแต่การจะคิดเป็นนักการทูตเลย อะไรก็เป็นได้ มีทางเลือกเสมอ ซึ่งจะดีกว่าการมีทางเลือกน้อยหรือไม่มีทางเลือกเลย

เป็นการบริหารชีวิต ถ้าเรียนรู้วิธีบริหารได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อชีวิตเรา

ขอให้หลานหาความรู้มากๆ เพื่อจะใช้ความคิดได้มากๆ เมื่อคิดแล้วจะได้มีพิจารณาได้มากขึ้นและจะได้เกิดปัญญาได้มาก

ขอให้โชคดีครับ

 

 

เราไม่จำเป็นต้องเลือกเป็นอะไรที่เราอยากเพียงอย่างเดียวเสมอไป..

ขอบพระคุณท่านคุณลุงนะคะ ^^ น้องเมย์จะตั้งใจเรียนค่ะ ให้เก่งทุกวิชาเพราะความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดจริงไหมคะ?

   แต่ว่าความฝันที่ว่าอยากจะเป็นนักการทูตน้องเมย์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงนะคะ เพราะมันเป็นความฝันของน้องเมย์

 

หลานเมย์

ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ตัวเราเอง

เราเรียนรู้ตัวเราเองมากเท่าไหร่ ก็จะเป็นประโยชน์กับชีวิตข้างหน้า

โชคดีครับ

มีความสนใจอยากเป็นทูตมากครับ...แต่อยากรบกวนถามคุณพลเดชอีกครั้งนะครับนะครับ...การสอบเป็นพนักงานการทูตมีการสอบภาษาต่างประเทศเพียงภาษาอังกฤษอย่างเดียวเหรอครับ...พอดีว่าเรียนภาษาฝรั่งเศสอยู่ด้วยอะครับ...พอจะมีโอกาสได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสสอบบ้างไหมครับ

การสอบเข้ากระทรวง ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักครับ อย่างไร ในอดีต ก็มีเหมือนกันที่มีความต้องการภาษาอื่นๆ นอกจากภษาอังกฤษ เช่นฝรั่งเศสและเยอรมัน หรือแม้แต่ญี่ป่น ซึ่งจะมีการประกาศเป็นการเฉพาะเป็นครั้งๆ ไป ตามความต้องการ แต่คิดว่าไม่มีแล้วในปัจจุบัน

ปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักที่ใช้ในวงการทูตและระหวางประเทศครับ (ในอดีตนั้น ภาษาฝรั่งเศสเคยเป็นภาษาการทูต) ดังนั้น ภาษาอื่นจะเป็นเพียงภาษาเสริม ที่ถ้ารู้ด้วยก็ดี

แต่ถ้าภาษาอังกฤษไม่ดี เป็นนักการทูตก็ลำบากครับ

ดังนั้นในกาสอบต้องสอบภาษาอังกฤษให้ได้และให้ดีด้วยครับ

เรียนท่าน พลเดช วรฉัตร

   ตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ ที่คณะรัฐศาสตร์(ความสัมพันระหว่างประเทศ)ป.ตรี - ผมมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือการเป็นนักการทูตไทย และได้ทำเพื่อประเทศของเรา แต่ผมมีข้อสงสัยนิดนึงครับท่าน คือ ว่า ผมเป็นลูกครึ้งระหว่าง ไทย-ฝรั่งเศส  แต่ ผมถือ สัญชาติไทยแต่กำเนิดและเกิดในประเทศไทย ไม่ทราบว่าผมจะมีสิทในการสอบเป็นนักการทูตหรือไมครับและหากได้ไม่ทราบว่าผมจะได้รับสิทที่เท่าเทียบกับคนอื่นหรือปล่าวครับท่าน ผมเรียนจะใกล้จบแล้วครับถ้า เกิด ผมเป็นลูกครึ้งไทย-ฝรั่งเศสและถือ สัญชาติไทย แต่ไม่มีสิท สอบ ชีวิจผมคงจบสิ้น ไม่ทราบว่าเคยมีนักการทูตไทยเป้นลูกครึ้งหรือปล่าวครับแล้วผมจะมีสิทและเท่าเทียมหรือไม่ครับ  และถ้าได้เป็นนักการทูตระดับ3 จะได้ไปประจำการต่างประเทศหรือปล่าวครับ

                                           ขอบพระคุณท่าน พลเดช เป็นอย่างสูงครับ

ท่านพลเดชครับ...ผมอยากเป็นทูตมากๆ เลยครับ

ตอนนี้ผมเรียนอยู่ ม.4 ขึ้น ม. 5 ผมเรียนสายศิลป์ภาษาครับ เรียนภาษาอังกฤษ-ญี่ปุ่น ครับ แต่ภาษาญี่ปุ่นนั้นมีสอบวัดระดับด้วยครับและการเข้ามหาลัยจำเป็นไหมที่ต้องยื่นใบสอบวัดระดับอันนี้ให้เขาอ่ะครับ

ปีนี้ผมว่าจะไปเก็บเกรดที่ ม.รามคำแหง ไม่ทราบว่าถ้าเราเรียน นิติศาสตร์ไปแล้ว ผมจะมีโอกาสที่จะไปสอบในกระทรวงได้ไหมครับทูตไหมครับ และถ้าจะให้เลือกเรียนนิติศาสตร์กับเรียนรัฐศาสตร์การทูตเรียนคณะไหนดีกว่ากันหรอครับ

คุณ Peerapon ครับ

เรียนนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ก็ได้ทั้งสองอย่างครับเพราะเป็นวิชาที่นักการทูตต้องใช้ทั้งนั้น

นักการทูตดั่งเดิมต้องเรียนหลายอย่างครับ รวมทั้งปรัชญชา ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ แม้กระทั่งการพูดต่อหน้าสาธารณะชนด้วยครับ

สำคัญคือเรียนให้เก่งและแตกฉาน ก็จะสามารถเดินไปทางเส้นนี้ได้ครับ

โชคดีครับ

เมธิณี กิตติสิทโธ

สวัสดีค่ะ หนูอยากทราบว่า

ลำดับขั้นของตำแหน่งของทูตนั้นมีการเรียงลำดับอย่างไร

และการที่จะเป็นเอกคราชทูตนั้น  รู้สึกว่านานเหลือเกิน จะแก่ก่อนไหมค่ะ  แล้วมีเอกราชทูตที่ยังเด็กมีบ้างไหมค่ะ ประมาณ 30-40 ปี ประมาณนี้นะค่ะ

นักการทูต ที่ผมเคยเรียนในคำตอบที่ผ่านๆ มาก่อนหน้านี้ ก็คือข้าราชการ ดังนั้นลำดับขั้นคือตามระเบียบราชการ ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะเปลี่ยนเป็นระบบแท่งแล้ว

การรับราชการพลเรือน เกษียณอายุที่ 60 ปี

ถ้ารักอาชีพนักการทูตจริง ผมไม่อยากให้ไปคำนึงมากนักว่าจะต้องเป็นทูตเมื่ออายุเท่าั้นั้นหรือเท่านี้ หรืออยากเป็นทูตเร็ว หรือให้เร็วที่สุดครับ เพราะการทำงานต้องอาศัยประสบการณ์มากมาย รวมทั้งความรู้ทางวิชาชีพต่างๆ เรียกว่าต้องหล่อหลอมกันมาก อะไรที่เ็ป็นเร็ว ก่อนเวลาอันสมควร ไม่ดีทั้งนั้นครับ

และที่สำคัญ การได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประเทศ ก็ต้องทำในทุกระดับและทำได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะเมื่อเป็นทูต

การเป็นนักการทูตที่ดี ไม่ง่ายเลยครับ

ด้วยความปรารถนาดี 

เมธิณี กิตติสิทโธ

ขอบคุณมากนะค่ะ ที่ตอบคำถามของหนู(เมธิณี กิตติสิทโธ) วันหลังคงจะได้มาถามคำถามอีกนะค่ะ

การเป็นทูตเรียนนิติศาสตร์ไปแล้วเราจะเป็นทูตได้ไหมครับ แล้วช่วยให้แนวทางหน่อยครับผมอยากเป็นมากๆเลยครับ

ได้ครับ

เพราะกฏหมายระหว่างประเทศ ก็อยู่ในสาขานิติศาสตร์

ต้องการเป็นนักการทูต ก็ต้องสอบเข้ากระทรวงให้ได้ครับ

โชคดีครับ

จะป็นทูตต่างประเทศสจะต้องสอบด้วยหรือครับ

ถ้าหมายถึงทูตของต่างประเทศ ก็คือเจ้าหน้าที่ทางการทูตของกระทรวงการต่างประเทศหรือหน่วนงานดูแลงานต่างประเทศของประเทศนั้นๆ ซึ่งกว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่สายการทูตนี้ได้ ก็ต้องผ่านการสอบทั้งนั้นครับ

คือ..อยากถามว่าถ้าเราต้องการศึกษาเพื่อที่จะเป็นทูต เราควรจะเรียนต่อในด้านใด และต้องศึกษาวิชาใดให้มากที่สุดค่ะ ตอนนี้กำลังเรียนม.5 เลยอยากจะเตรียมตัวไว้ค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ..

...ขอบคุณนะค่ะ ที่ช่วยตอบคำถาม แล้วจะตั้งใจเรียนค่ะ...

คุณแน่งน้อยครับ

ตรงที่สุดก็คือรัฐศาสตร์การทูต

แต่ก็มิใช่ว่าเฉพาะรัฐศาสตร์

โลกสมัยใหม่ต้องการนักการทูตที่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ กฏหมาย การบริหารหรือแม้แต่สื่อสารมวลชน

ที่สำคัญก็คือการสอบเข้ากระทรวงครับ

แข่งขันกันสูง

คะแนนที่สำคัญอยู่ที่วิชาการและคะแนนภาษา

หลัวจากผ่าข้อขเยนแล้วก็ยังต้องไปสอบสัมภาษณ์อีก ซึ่งตอนนั้นไหวพริบและความรู้เฉพาะตัวสำคัญ

โชคดีครับ

เป็นเจ้าหน้าที่ทูต ทำงานอะไรอ่ะค่ะ ?

ได้อยู่ที่เมืองไทยหรือป่าว

คอยดูแลนักการทูตเมืองอื่น ๆ ป่ะค่ะ

ผลมีความทะเยอทะยานที่จะเป็นทูตสูงครับ แต่ ผู้ใหญ่จะเยรกไว้ว่า ระวัง จะโดนลูกคุณหญิงคุณนาย เบียด ตก ก็ลยไม่กล้าเรียน สาย ภาษา แต่ผมมีความถนัดทางภาษา กะว่า ถ้ามันมีเส้นเยอะอย่างที่กล่าวมาจริงๆ ก็ท้อเหมือนกันอ่ะครับ ผมอยากเป็นทูตประจำที่ฝรั่งเศส ผมชอบที่นั่นมาก แต่กัวฝันไปไกลเกินแล้วตกลงมามันจะเจ็บอ่ะครับ ผมอยากได้ ข้อมูลของการป็น ทูต อย่างละเอยีด อ่ะครับ จนกระท่งถ้าเมื่อได้เปนทูตแล้ว จะต้องทำงานเกี่ยวกับอะไร อ่ะครับ รบกวน วย ส่ง มาทางเมลืได้ไม๊ครับ จะเป็นการขอบพระคุณ ยิ่ง ครับ ผม

คุณโยโย

คุณแมน

การหาข้อมูลเรื่องการเป็นนักการทูตขั้นแรก ขอให้อ่านบันทึกที่เกี่ยวข้องก่อนครับ ซึ่งจะมีตั้งแต่ นักการทูตคือใคร ทูตทำอะไรบ้างซึ่งอยู่ในบล๊อคนี้

คำตอบมีอยู่แล้วจากการถามที่ผ่านมา

การสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศมีความรัดกุมมากจนคัดได้คนที่มีความสามารถเท่านั้นครับ

การเป็นนักการทูตคือการเป็นข้าราชการประจำครับ ทำงานเป็นข้าราชการ ต้องทำงานโต๊ะ ต้องทำงานกับหนังสือราชการ ทำงานวิชาการ ต้องทำงานประสานงานเช่นข้าราชการทั่วไป

การออกประจำการในสถานทุตไทยในต่างประเทศเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงาน ซึ่งมีระบบที่เป็นสากล

ซึ่งไม่สามารถจะเลือกได้ว่าจะไปประเทศใด ข้าราชการที่ดีต้องสามารถไปอยู่ได้ในทุกประเทศในทุกทวีป ทั้งที่เจริญและประเทศที่ยากจนที่สุด

การเป็นนักการทูตจึงมิใช่การปรารถนาที่จะเป็นตำแหน่งทูตเท่านั้น

แต่คือการทำงานราชการเพื่อประเทศชาติ แม้ไม่ได้เป็นทูตก็ทำงานเพื่อประเทศชาติได้

การจะเป็นทูตก็ต้องเริ่มจากข้าราชการระดับ 3 และต้องไต่ระดับไปเรื่อยๆ จนถึงระดับ 10 เทียบเท่าอธิบดีกรม เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานานครับเรียกว่าเกือบทั้งชีวิตข้าราชการทีเดียว

ลองค้นหาและอ่านดูนะครับ จะมีคำตอบอยู่บ้างแล้ว

ขอให้โชคดีครับ

เรียน พลเดช วรฉัตร อยากทราบว่าการเป็นทูตส่วนมากถ้าจะได้เป็นต้องมีเส้น แล้วถ้าคนที่ไม่มีเส้นจะสามารถเป็นทูตได้มั้ยคะ เพราะ ส่วนมากคนที่จะได้เป็นต้องเป็นคนที่มีชื่อเสียงและมีเส้น จะมีโอกาสได้เป็นทูตมากกว่าคนที่ไม่ได้มีเส้นค่ะ

คุณธันยธรครับ

การเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศต้องผ่านการสอบทั้งวิชาการและสอบสัมภาษณ์ครับ

ไม่ว่าจะมีนามสกุลอะไร ก็ต้องมีความสามารถทางวิชาการเพียงพอที่จะสอบผ่านการคัดเลือกครับ

นักการทูตเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ในการเป็นข้าราชการที่ยาวนานครับ ไม่เกี่ยวกับชาติตระกูลครับ

จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันครับ ถ้ามีความสามารถ

ขอให้โชคดีครับ

วิธีทางการทูตคืออะไร

และมีวิธีการและขั้นตอนอย่างไรคะ

ขอแบบละเอียดเลยนะคะ

วิชาการทูตเกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศของประเทศทั้งหมด การศึกษาวิธีทางการทูตคือต้องศึกษาทุกอย่างตั้งแต่กฏหมายระหว่างประเทศ และกรณีศึกาต่างๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศและกฏหมายระหว่างประเทศประกอบไปด้วยครับ

การจะหาคำตอบในเรื่องที่ถาม อาจจะมีทางหนึ่งที่น่าสนใจคือการอ่านประวัติศาสตร์เยอะๆ ครับ

เพราะประเทศหนึ่งย่อมต้องหาวิธีการเพื่อใช้กับความสัมพันธ์กับอีกประเทศหนึ่ง

วิธีการทางการทูตเป็นหลักที่สำคัญในวงการระหว่างประเทศครับ

มีคนเคยถามว่าการทูตคืออะไร อย่างไร

พระองค์วรรณ (พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์)เคยให้คำตอบว่า

การทูตก็เหมือนการที่เราเดินเข้าไปในถ้ำที่มืดสนิท มองไม่เห็นอะไร เราต้องยื่นมือออกไปข้างหน้าเพื่อคลำหาทางหรือหากมีอะไรจะได้เดินหลบไปได้.....

จากคำกล่าวที่ยกตัวอย่าง

การทูตก็คือการระมัดระวังเพื่อไม่ให้ผลประโยชน์ของประเทศชาติต้องเสียหาย

เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีมากมายหลายมิติ และผลประโยชน์ของประเทศต่างๆ ไม่เหมือนกัน จึงต้องวิธีการการทูตที่ใช้กันทุกประเทศเป็นสากล ก็จะมีข้อตกลง สนธิสัญญา อนุสัญญาที่ทุกประเทศทำร่วมกันเพื่อใช้ในการปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน

ผมเคยกล่าวไว้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เหมือนความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมนั่นเอง

หากมีปัญหาก็ต้องหาวิธีการแก้ปัญหา

วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการเจรจา

เจรจาเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้ดีที่สุด

การทุตมีไว้ก็เพื่อประเทศต่างๆ จะได้มีการเจรจากันครับ

กระทรวงการต่างประเทศมีห้องสมุดนะครับ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้บริการค้นคว้าข้อมูลได้

ลองติดต่อดูนะครับ

นอกจากนั้น ในปัจจุบัน การหาข้อมูลในเน็ตก็ได้ผลดีเหลือเกิน

ขอให้โชคดีครับ

กราบสวัสดีค่ะท่านอ.พลเดช

  • มาอ่านเพื่อรับความรู้เพิ่มเติมค่ะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ ขณะนี้ที่กทม.ฝนตกหนักมากค่ะ
  • ทำให้คนไม่มีรากอดห่วงผู้คนที่ต้อง...เรียกร้องเพื่ออุดมการณ์และความถูกต้องอยู่กลางแจ้งไม่ได้
  • อาจารย์สบายดีนะคะ
  • รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

คุณ คนไม่มีราก ครับ

สบายดีมากครับ

เราต้องรู้จักการสร้างความสบายดีให้กับตนเองครับ

เรื่องที่เข้ามาจะดีหรือไม่ดี เราก็สบายดีได้ครับ

เวลาเป็นองค์ประกอบสำคัญ

ถ้าเราอดทน ต่อสิ่งที่เราไม่ชอบ หรือไม่ดี

เวลาจะเป็นทางออกครับ

อดทนไว้เดี่ยวเวลาผ่านไปมันก็ต้องเปลี่ยนแปลงเอง

และอีกอย่างหนึ่งที่ผมแนะนำก็คือ

อย่าไปยึดมันไว้ครับ

แบมือ ของในมือก็ตกอย่างแน่นอน

สมัยที่ศึกษาอยู่ในประเทศฝรั้งเศส ผมชอบร้องเพลง "พิราบขาว" ไม่ทราบว่าใช่ชื่อนี้หรือไม่ ขึ้นต้นด้วย "ถ้าหากฉันเกิดเป็นนกที่โผบิน"

ขอนำเพลงนี้ตอบครับ ว่าไม่ต้องห่วง

ธรรมะย่อมชนะอธรรมวันยังค่ำครับ

เจริญสุขนะครับ 

ผมก็อยากเป้นทูตเหมือนกันครับ พอดีดูหนังเรื่อง "อิมซังอ๊ก" แล้วประทับใจมากเลย

"ข้าจะเป้นล้ามหลวงอันดับหนึ่งให้ได้" 55 ความคิด เราอยากได้ในสิ่งที่เราคิด แต่มันสุดโต่งหรือป่าวนะ เพราะตอนเรียน ม.ปลายที่อุบลฯเคยมี เออ อะไรน๊า..เข้าเรียกว่าไงผมก็จำไม่ได้นะ คือเจ้ากรมอาเซียนรึป่าวนะ อะไรนี้ละครับเกี่ยวกับอาเซียนนี้ละ ได้มาบรรยาย อบรม ไห้ความรุ้ วันนั้นมีนักเรียนครุเยอะมาก ใครก้ไม่รุ้ถาม ว่าถ้าอยากเป้นทุต

คณะท่านที่มาบรรยาย ก็ตอบประมาณ อาจารย์ พลเดช วรฉัตร เนียละครับ ว่างๆว่าจะแวะไปเล่นที่สถานทุตบางคับ

การเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศเปิดกว้างสำหรับทุกคนที่สนใจ

เป็นอาชีพที่ทำหน้าที่รับใช้ประชาชนและประเทศชาติเช่นเดียวกับข้าราชการอื่นๆ ครับ

ยินดีครับ

เออ! จารย์ คับ ผมขอ อุญาติถามนะว่า ข้าราชการทูต รับเงินเดือนยังไง

ประมาณเท่าไร ค่าตอบแทนสุงมั้ยคับ คับจารย์

ต้องถามไปทาง กพ.ครับ เพราะเป็นข้าราชการพลเรือนครับ

ขอบคุนมากๆ น่ะค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ ที่มีหั้ย และหนูก็มีข้อสงสัยอยู่เรื่องนึงที่อยากจะถาม หนูเคยดั้ยยินเค้าพูดว่า การทูตนี้มั้ยชั่ยหน้าที่เฉพาะรัฐบาลอย่างเดียว แล้วมันหมายถึงยังงัยล่ะ ช่วยอธิบายหั้ยละเอียดหน่อยดั้ยหมัยค่ะ รบกวนหน่อย อยากรุ้มากค่ะ ฟังคำถามแล้วอาจจะงง เพราะว่าหนูอ่านเจอจากหนังสือพิมภาษาอังกฤษ เค้าถามว่า diplomacy is no more the function of government alone..หนูเลยคาอกคาจัยมาถึงมุกวันนี้ รบกวนช่วยอธิบายหั้ยหายข้องจัยดั้ยหมัยค่ะ

ขอบคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

อาจารย์ค่ะ ทำไมไม่เห็นตอบของหนุเลยล่ะค่ะ

หนู sunny

อยู่ที่อินเดีย ไฟดับบ่อย ดับทีไร คอมพิวเตอร์ก็มีปัญหา การใช้บล๊อคต้องใจเย็นๆ จ๊ะ

สำหรับข้อสงสัยของหนูนั้น ก็ตอบได้ว่าการทูตนั้น มีผู้ที่เกี่ยวข้องมากมาย องค์ภาคต่างๆ ทั้งเอกชนและของรัฐ รวมทั้งภาพประชาชน ซึ่งเป้นผู้เล่น player ในเวทีการทูตระหว่างประเทศได้เสมอ ทำให้การทูตมิได้ผูกขาดเฉพาะรัฐบาล

เรามักเห็นเสมอว่าในระดับประชาชน ก็สามารถริเริ่มเชื่อมความสัมพันธ์กับประชาชาของอีกประเทศหนึ่งได้เอง เช่นกิจกรรมทางวัฒนธรรม ก็ถือว่าเป็นการดำเนินงานทางการทูตแล้ว แต่เป็นการทูตภาคประชาชน 

การที่หนูสนใขเรื่องการทูตเป็นสิ่งที่ดี  ก็ต้องอ่านมากๆ สนใจรอบด้าน วันหนึ่งขช้างหน้าจะได้มีโอกาสเป้นตัวแทนประเทศ ไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง

ขอให้โชคดีจ๊ะ

ขอบคุนค่ะ หนูก็หวังว่าเรียนจบเนียะหนูก็จะลองปัยสมัครดู ลองสอบดูจะดั้ยมั้ยดั้ย เพราะตอนนี้หนูก็เรียนด้านนี้พอดี international affair ตอนนี้หนูเรียนอยู่มหาลัยนัยมาเลค่ะ ปีสุดท้ายแล้ว หนูอยู่นี่น่ะ ดั้ยหลายภาษามาก ... thnz alot for the answer..

สวัสดีค่ะ

หนูอยากเป็นนักการฑูตนะค่ะ แต่ถ้าหนูจบ ม.ปลาย สายวิทย์-คณิตมา

หนูจะสามารถ สอบเข้าเรียน ป.ตรี เพื่อเป็นนักการฑูตได้ไหมค่ะ

พอดีหนูเข้าเรียนสายวิทย์มาแล้วอะค่ะ แล้วไม่แน่ใจว่าจะ มีสิทธิ์ สอบเข้า ได้มั้ย

ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท