ปรากฎการณ์ฟ้าผ่า


Thunderbolt

คำนิยามศัพท์ :

ฟ้าผ่า   [N] thunderbolt
    
Def. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่ระหว่างเมฆกับเมฆ หรือเมฆกับพื้นโลก เกิดพลังงานสูงมากจนสามารถทำลายสิ่งที่กีดขวาง เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน.
     Sample:ขณะฝนตกจะมีพายุและในบางคราวอาจเกิดฟ้าผ่าขึ้นได้

ฟ้าผ่า   [V] strike
      Def. เกิดอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่ระหว่างเมฆกับเมฆ หรือเมฆกับพื้นโลก เกิดพลังงานสูงมากจนสามารถทำลายสิ่งที่กีดขวาง เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน.
     Sample:ฟ้าผ่าบ้านคนและต้นไม้ล้มตายเสียหายอย่างหนัก

ฟ้าผ่า   [V] strike (of lightning); hit (of lightning)
     Def. เกิดอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่ระหว่างเมฆกับเมฆ หรือเมฆกับพื้นโลก เกิดพลังงานสูงมากจนสามารถทำลายสิ่งที่กีดขวาง.
    
Sample:ฟ้าผ่าบ้านคนและต้นไม้ล้มตายเสียหายอย่างหนัก

Related word : อสุนีบาต;อสนีบาต;
<div align="justify"><hr></div><p>ฟ้าแลบ   [V] lighten
      Def. เกิดแสงวาบขึ้นในท้องฟ้าลักษณะเป็นเส้นหรือแผ่น เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่ผ่านอากาศเป็นเหตุให้เกิดความร้อนสูงมากจนปรากฏเป็นแสงสว่างวาบขึ้น.
     Sample:ฟ้าแลบแล้วรีบเข้าบ้านเถอะ อีกเดี๋ยวฝนคงจะตกหนัก</p><p>ฟ้าแลบ   [N] lightning; flash of lightning
      Def. แสงที่เกิดวาบขึ้นในท้องฟ้าลักษณะเป็นเส้นหรือแผ่น เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่ผ่านอากาศเป็นเหตุให้เกิดความร้อนสูงมากจนปรากฏเป็นแสงสว่างวาบขึ้น.
      Sample:ฟ้าผ่าจะเกิดขึ้นพร้อมกับฟ้าแลบ เพราะปรากฏการณ์ทั้งสองเกิดขึ้นในเวลาและสถานที่ใกล้ๆ กัน</p><div align="justify"><hr></div><div style="text-align: center">สายฟ้าเลี้ยวลง Over Head Ground Wire บนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง</div><p align="justify">      โดยทั่วไปฟ้าผ่าจะเริ่มต้นในก้อนเมฆที่มีประจุสะสม ระดับสูง 1.5-10 Km เหนือพื้นโลกซึ่งมีการกระจายของประจุ ที่ฐานของก้อนเมฆจะเป็นประจุลบ ส่วนบนจะเป็นบวก ส่วนใหญ่จุดเริ่มต้นของฟ้าผ่าจะเกิดที่กลุ่มประจุลบเพราะอยู่ใกล้พื้นโลก เมื่อความเครียดของสนามไฟฟ้ามีค่าถึงจุดวิกฤติ ในก้อนเมฆ 10 kV/cm (ในบรรยากาศที่ระดับพื้นโลกจะประมาณ 30 kV/cm) ก็จะเกิด Ionization ตามหลักการเกิด Discharge ในก๊าซจึงเห็นเป็นลำแสง

      การเกิด Ionization ของอากาศจะเกิดเป็น leader หรือหัวนำร่อง มีทิศลงสู่พื้นโลก Stepped leader แบบสุ่ม เหมือนในรูปจะเห็นว่ามันเลี้ยวก็คือ มันจะมีช่วงก้าวตั้งแต่ 3 เมตร – 200 เมตร เฉลี่ยช่วงก้าวประมาณ 50 เมตรในทิศทางที่แตกตัวง่ายที่สุด ความเร็ว 10-100 km/s แต่ละจังหวะที่ก้าวจะหยุดพักราว 10-50 ไมโครวินาที ก่อนที่จะกระโดดก้าวต่อไป เมื่อหัวนำร่องเข้าใกล้พื้นโลกจะทำให้เกิดประจุเหนี่ยวนำเช่น ที่ยอดแหลมของอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ หรือที่ OHGW เป็นต้น </p><p align="justify"> </p>

หมายเลขบันทึก: 88077เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2007 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เป็นการอธิบายปรากฎการณ์ที่ละเอียดทีเดียว

สุดยอดๆๆๆๆ แห่งนักวิทยาศาสตร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท