ปรับกลยุทธ์รับมือ โลกร้อน


Global Warming: Turning crisis into opportunity

สถานการณ์โลกร้อน (Global Warming) นับเป็นปัญหาใหม่ที่ทั่วโลกกำลังจับตา มีการพูดถึงเรื่อง หลายประเทศร่วมลงนามในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Potocal) เพื่อช่วยชะลอและยับยั้งวิบัติภัยธรรมชาติ เพื่อให้นานาประเทศหาแนวทางร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การหาพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม มีการพูดถึงแนวคิด (Clean Development Mechanism: CDM) ที่เป็นกลไลทางเศรษฐศาสตร์ในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรม

ไม่ใช่เฉพาะตลาดภาคอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญ แต่ตลาดด้านการฝึกอบรมเล็งเห็นความสำคัญในประเด็นสภาพแวดล้อมมากดูได้จากหลักสูตรของ Asian Productivity Organization ในปี 2550 ในส่วนของ Interface Sector ประเภท Green Productivity มีทั้งหมด 15 หลักสูตรคือ

  • Eco-products International Fair 2007 and International Conference
  • Seminar on Green Service in the Tourism Industry
  • Seminar on the 3Rs (Reduce, Reuse, and Recycle)
  • e-Learning Course on Energy Efficiency
  • Practicum Workshop on Green Productivity
  • Workshop on Eco-towns
  • Workshop on Green Productivity and Eco-design
  • Establishment of an Eco-products Database
  • Development of a Manual on Green Productivity and
  • Greening Supply Chains
  • Establishment of a Network of Green Productivity Advisory Committees
  • e-Learning Course on ISO 14000 (In three phases)
  • Study Meeting on Green Procurement and Green Supply Chains
  • Study Meeting on Outsourcing Energy and Environmental Management
  • Study Meeting on Clean Development Mechanisms
  • Study Meeting on Eco-innovation


หลักสูตรประเภท Green Productivity เป็นกลุ่มที่มีจำนวนหลักสูตรมากที่สุด เมื่อเทียบกับหลักสูตรในด้านการบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Strengthening of SMEs, Knowledge Management, Total Quality Management หรือ Agricultural Marketing / Processing (http://www.apo-tokyo.org/02upc_sked.htm)

ไม่ใช่เพราะสถานการณ์บังคับ แต่เป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร เป็นการสร้างกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โดยชูความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสังคม เพื่อนำมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันระยะยาวที่ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้

“ผมมั่นใจว่า ในอนาคตอันใกล้ จะเกิดมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ขึ้นมากมาย เพื่อปกป้องสภาพแวดล้อมของโลก หากเราไม่เตรียมพร้อมรับมือ ก็เท่ากับเราลดศักยภาพทางการแข่งขันของเราลงไปอีก”

สำหรับนักวางกลุยทธ์ คงจะต้องให้น้ำหนักกับประเด็นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นของการประเมินปัจจัยแวดล้อมภายนอก (External Factor Evaluation) โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมของไทย

หมายเลขบันทึก: 88229เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ทาบว่าของไทยเรามีจัดเรื่องพวกนี้บ้างหรือเปล่าครับ

เมื่อก่อนเคยมีรณรงค์เรื่องใช้ผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 แต่ช่วงนี้เงียบๆไป

อีกอย่างไม่รู้ว่าในภาคอุตสาหกรรมมีความตื่นตัวด้านนี้

อย่างไรบ้างซึ่งเค้าน่าจะต้องมีมาตรการอะไรบ้างนะครับ

เพราะช่วงนี้นำ้มันแำำพงมากๆ 

วิธีลดโลกร้อนทุกคนรู้อยู่แล้ว

แต่ไม่ทำ เพราะเห็นแก่ตัว

ต้องลดความเห็นแก่ตัว

ถ้าทำตรงนี้ได้ ปัญหานี้ก็จบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท