เก็บตก 3: Positive Psychology


จิตวิทยาแนวเดิมจะพยายามค้นหาว่าปัญหาว่าอยู่ตรงใหนแล้วแก้ตรงนั้น แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าคนอีกหลายๆคนทีเจอสถานการณ์เดียวกันแล้วทำไมถึงไม่เป็นปัญหา

(บันทึกเมื่อ 3 มกราคม 2004)

มีโอกาสอ่านหนังสือของ Dr. Paul Pearsall เรื่อง Beethoven Factor เป็นหนังสือที่ดีมากเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้จักจิตวิทยาแขนงใหม่ที่เรียกว่า Positive Psychology 

จิตวิทยาแขนงนี้จะเน้นให้ความสนใจทาง Salutogenic

Salutogenic = คือการอ้างอิงถึง มุมมอง(point of view) ที่มองหาพลังหรืออะไรที่ทำให้เราเข้มแข็งหรือความต้านทาน (strenghts)  และมุ่งทำความคิดนั้นๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด (focus on maximizing)

ตรงนี้มันนาจะเปรียบได้กับการมอง น้ำดีกับน้ำเสีย  จิตวิทยาแนวเดิม (หรือในแนวตะวันตก) จะพยายามแสวงหาจุดที่เป็นปัญหาแล้วแก้ ก็เหมือนกับการที่พยายามจะหาแหล่งน้ำเสียแล้วพยายามบำบัด   แต่ positive psychology ก็มองว่าลองหยุดแล้วพยายามมองดูความเป็นจริงของโลก มีคนที่เกิดปัญหาเดียวกันแต่กลับไม่เป็นป้ญหาทางจิตแสดงว่าบุคคลเหล่านั้นต้องมีจุดแข็ง (strength)อะไรสักอย่างที่ช่วยเป็นภูมิคุ้มกัน ลองมามองย้อนกลับไป จริงๆแล้วการบำบัดน้ำเสียมันยาก มาลองใช้น้ำดีไล่น้ำเสียคือการใส่ (strength) ในคนที่มีปัญหาแทนดีกว่า

positive psychology จึงเป็นศาสตร์ที่ศึกษาอะไรที่จะสามารถเป็นภูมิคุ้มกันทางจิต

ในหนังสือเล่มนี้ Dr. Paul ได้ยกย่อง พระพุทธเจ้า ว่า เป็น บิดา ของ Positive Psychology

 

หมายเลขบันทึก: 88423เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 02:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะคุณ  นาย ณรินทร์ เจริญทรัพยานนท์

  • สงสัยจะอ่านหนังสือเล่มเดียวกันกับครูอ้อยค่ะ
  • ดีจัง..ที่ได้อ่านสรุปก่อน...ขอบคุณมากนะคะ

สวัสดีครับ ครูอ้อย

พอดีกลับไปอ่าน diary เก่าของตนเองเมื่อปี 2004 ครับเลยเอามาฝาก คนที่เป็นตนคิดจริง ของ postitive psychology น่าจะเป็น Dr. Martine Seligma ครับ รู้สึกว่าตอนนี้มีการเปิดหลักสูตรในระดับปริญญาทางด้านนี้แล้วที่ University of Pennsylvania ครับ

  • ขอบคุณมากเลยค่ะ..นำมาสรุปให้ครูอ้อยอ่านบ่อยๆนะคะ..จะได้ไม่ต้องอ่านเอง..ได้บุญกุศลกับสาวเหลือน้อยแบบครูอ้อยนะคะ

ขอบคุณด้วยความจริงใจค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ณรินทร์...

  • เรียนเสนอให้เพิ่มป้าย "พุทธ" และ "ศาสนา"... สาธุ สาธุ สาธุ
  • อ่านแล้วได้แนวคิดว่า จิตวิทยาอาจจะเป็น 2 มุมมอง (paradigm)
  1. pessimistic psychology - มองแง่ร้าย + มุ่งแก้ไขส่วนบกพร่อง
  2. optimistic psychology - มองแง่ดี + มุ่งพัฒนาส่วนดี

ขออนุญาตต่ออีกหน่อย...

  • หรืออาจจะเป็นแบบนี้
  1. negative psychology - มองแง่ร้าย + มุ่งแก้วิกฤต
  2. positive psychology - มองแง่ดี + พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส > มุ่งพัฒนา...

ดีครับ กำลังสนใจอยู่พอดี...

มีแง่มุมอะไรดี ๆ ในเรื่องนี้นำมาเล่าต่ออีกนะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

น่าสนใจมากนะคะที่ Dr. Paul ได้ยกย่อง พระพุทธเจ้า ว่า เป็น บิดา ของ Positive Psychology 

---------------------------------------------

ครูอ้อยครับ ยินดีครับ

---------------------------------------------

คุณหมอวัลลภครับ

อาจจะมองได้อีกมุมหนึ่งว่าเป็น เน้นทางใหนระหว่างproactive VS reactive ด้วยนะครับผมว่าผมว่า

---------------------------------------------

Mr Direct ครับ

ตอนนี้อ่านหนังสือทางด้านนี้เพิ่มอีกประมาณสองสามเล่ม แล้วจะเอาแง่มุมอะไรดีๆ มาเพิ่มครับ

  • น่าสนใจจริงๆครับทุกเรื่องเลย
  • ผมคงต้องหามาอ่านแล้วครับ
  • ขอบคุณที่เปิดประตูแห่งความรู้ให้ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

---------------------------------------------- 

อาจารย์ กมลวัลย์ครับ

ใช่แล้วครับ Dr Paul ได้กล่าวยกย่องไว้ว่า

พระพูทธเจ้า ถือได้ว่าเป็นบิดาของ Positive Psychology ก็ว่าได้ครับ

กำลังสนใจศึกษาเรื่องนี้อยู่พอดีค่ะ เพราะเรียนปริญญาโทอยู่  จะขอคำแนะนำเรื่องหนังสืออ่านเพิ่มเติมได้ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท