เรื่องของ DNS


Computer Basic

          เมื่อต้น เดือน เมษาที่ผ่านมา ได้ไปสอบข้อเขียนเข้าศึกษา ระดับปริญญาโท แล้วมีโจทย์ ถามว่า DNS ออกตัวก่อนว่า ไม่ได้ เอาข้อสอบมาเผยแพร่ แต่ อยากจะนำเสนอ เรื่อง DNS สำหรับคนที่ไม่รู้เท่านั้น คือผม ก็ ทราบมาบ้างแต่ไม่ระเอียดเท่าไรเลย ไปลองค้นหาข้อมูลมาเพิ่มเดิม ครับผม

DNS ( Domain Name Service ) เป็นงานบริการที่อยู่เบื้องหลังการอ้างถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหญ่น้อยทั้งหลายในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังเช่นที่เราอ้างถึงเว็บไซต์ต่างๆ โดยอ้างถึงที่อยู่ของเว็บไซต์ผ่านชื่อโดเมนที่เว็บไซต์นั้นๆ ตั้งอยู่ เช่น www.yahoo.com เป็นต้นชื่อที่อยู่ของเว็บไซต์ดังตัวอย่างมีส่วนสำคัญแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของชื่อโฮสต์ ( ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ) คือ www และส่วนของโดเมนคือ yahoo.com ทั้งสองส่วนรวมกันทำให้สามารถอ้างถึงชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นที่อยู่ของเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้องแต่ในความเป็นจริงแล้วคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ให้บริการเว็บ หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ ( Web Server ) นั้น จะมีสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนที่แท้จริงด้วยหมายเลขไอพี ( IP Address ) ซึ่งเป็นระบบตัวเลขประจำตัวเครื่องแต่ละเครื่อง บริการ DNS นั้นจึงเป็นเพียงการจับคู่ระหว่างชื่อโฮสต์เข้ากับหมายเลขไอพีเพื่อความสะดวกในการอ้างอิงและจดจำเท่านั้น


รูปที่ 1 การทำงานของ Domain Name Service

ดังนั้นถ้าเราต้องการจัดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ของเราขึ้นเอง จะต้องมี 2 องค์ประกอบนี้คือ อันดับแรกต้องจดทะเบียนชื่อโดเมน ( Domain Name Registration ) เพื่อให้ได้ชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของเว็บไซต์ และลำดับที่สองจะต้องเช่าหมายเลขไอพีที่แท้จริง ( Real IP Address ) เพื่อกำหนดให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ของเรามีตัวตนที่แท้จริงสามารถติดต่อได้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วโลก และมีหมายเลขที่คงที่แน่นอน ( Fix Address ) เปรียบเสมือนบ้านเลขที่หรือหมายเลขโทรศัพท์นั่นเอง ทั้งสองบริการนี้สามารถติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือตัวแทนทั่วไปช่วยจัดหาให้ได้ มีค่าใช้จ่ายสูงและต้องเช่าเป็นรายปีและรายเดือนตามลำดับ จึงเป็นต้นทุนสูงเกินกว่า SME จะแบกรับได้Dynamic DNS ขวัญใจคนประหยัด ในยุคที่อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ตระกูล DSL กำลังเฟื่องฟูเช่นปัจจุบัน การที่ผู้ใช้งานตามบ้านหรือ กิจการ SME จะนำบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงประเภทนี้มาติดตั้งใช้งานจึงไม่ใช่เรื่องยากเลย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ สามารถติดตั้งได้แทบจะทันทีที่ต้องการ ในขณะเดียวกันราคาค่าบริการก็แสนถูกและมีแนวโน้มจะลดราคาลงหรือไม่ก็จะได้ความเร็วสูงยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการ SME สามารถสร้างเครือข่ายและแชร์อินเตอร์เน็ตภายในสำนักงานได้อย่างง่ายดายโดยลงทุนอุปกรณ์เร้าเตอร์โมเด็มเพียงตัวเดียวเท่านั้นแต่ปัญหาของบริการอินเตอร์เน็ตประเภทนี้คือ หมายเลขไอพีที่เกิดจากการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตแต่ละครั้งจะเปลี่ยนค่าอยู่เสมอไม่คงที่ โดยผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะเป็นผู้แจกจ่ายออกมาให้แก่เร้าเตอร์ของเรา เรียกว่า Dynamic IP Address เช่น ในการเชื่อมต่อครั้งแรกอาจจะได้หมายเลขไอพี 203.177.128.51 ต่อมาวันรุ่งขึ้นเราอาจจะเชื่อมต่ออีกครั้งหนึ่งอาจจะได้หมายเลขไอพี 203.177.128.96 และเปลี่ยนไปทุกครั้งที่ทำการเชื่อมต่อใหม่ จึงทำให้ไม่สามารถจัดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้มีตัวตนแน่นอนในระบบอินเตอร์เน็ตได้ตามต้องการ

รูปที่ 2 ระบบเครือข่ายขนาดเล็กเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ADSL

ปัญหาดังกล่าวนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยโซลูชั่นที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยแม้แต่บาทเดียว คือ บริการ Dynamic DNS ซึ่งมีเว็บไซต์เปิดให้บริการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ได้แก่ thaiddns.com dyndns.org no-ip.com หลักการทำงานของบริการ Dynamic DNS นี้จะอาศัยกลไกของระบบ DNS ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว คือ จะเปิดให้เราลงทะเบียนเป็นสมาชิกเสียก่อนจากนั้นจึงจะให้เลือกใช้โดเมนที่จัดเตรียมไว้ให้ ( เช่น homelinux.com ) แล้วกำหนดชื่อโฮสต์ประกอบเข้ากับชื่อโดเมนนี้เพื่อให้เป็นชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของเราเอง ( เช่น mycom.homelinux.com ) ซึ่งชื่อนี้จะไม่ซ้ำกับสมาชิกคนอื่นๆ อีก จากนั้นจะเปิดสิทธิ์ให้เราล๊อกอินเข้าสู่ระบบเพื่อเข้าไปปรับปรุงหมายเลขไอพีให้แก่ชื่อโฮสต์นี้ได้ตามต้องการ เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ตามในระบบอินเตอร์เน็ตอ้างถึงชื่อโฮสต์นี้ ผู้ให้บริการ Dynamic DNS จะแจ้งหมายเลขไอพีนี้ให้จึงทำให้คอมเพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าถึงเว็บเซิร์ฟเวอร์ของเราได้โดยอ้างชื่อนี้ในที่สุดบริการ Dynamic DNS จึงช่วยให้ผู้ที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตราคาถูกทั่วไปและมีหมายเลขไอพีไม่คงที่สามารถจัดตั้งโฮสต์ของตนเองขึ้นที่บ้านหรือสำนักงาน

 ที่มา : www.itdestination.com

คำสำคัญ (Tags): #computer
หมายเลขบันทึก: 90355เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2007 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มารับความรู้ดีๆๆค่ะ ขอบคุณนะคะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท