อีกมุมหนึ่งของบ้านสามขา (2)


       การทำ"บัญชีครัวเรือน" ของบ้านสามขานั้น  เท่าที่ผู้วิจัยได้พูดคุยและอ่านจากเอกสารของบ้านสามขา  ทำให้ได้ทราบว่า "บัญชีครัวเรือน" เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยทำให้ชาวบ้านได้รู้จักตัวเอง  รู้ที่มา-ที่ไปของเงิน 

       จากการสำรวจภาวะหนี้สินในช่วงปี พ.ศ.2544-2547  พบว่า  บ้านสามขามีหนี้สินประมาณ 18 ล้านบาท  ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมากและชาวบ้านไม่คาดคิดมาก่อนว่าหมู่บ้านจะมีหนี้สินมากถึงขนาดนี้

       ต่อมาชาวบ้านสามขาได้ประชุมปรึกษาหารือกันและมีมติร่วมกันว่าทุกครัวเรือนจะต้องทำบัญชีครัวเรือนของตนเองทุกวัน  โดยในบ้านสามขาจะมีแบ่งผู้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลบัญชีครัวเรือนออกเป็นกลุ่มๆ (จำไม่ได้ชัดเจนว่าเรียกเป็นหมวด , กลุ่ม หรือ.......)  กลุ่มหนึ่งจะมีแกนนำดูแล 2-3 คน  แกนนำจะคอยเก็บบัญชีที่แต่ละครัวเรือนทำไว้มาตรวจสอบว่าลงบัญชีครบหรือไม่  รวมทั้งรวบรวมข้อมูลรายรับ-รายจ่ายของหมู่บ้าน  จากนั้นก็จะนำข้อมูลมารวมกันทั้งหมด  และประกาศให้คนในหมู่บ้านทราบว่าขณะนี้สถานการณ์ของหมู่บ้านเป็นอย่างไร

       สำหรับผลที่เกิดขึ้นจากการทำบัญชีครัวเรือนนั้น  พบว่า

      1. มีชาวบ้าน (จำนวนหนึ่ง) ที่สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของตัวเองได้จากการทำบัญชีครัวเรือน  ทำให้มีหนี้สินลดลง  มีวินัยทางการเงิน  และสามารถพัฒนาตัวเองให้ขึ้นมาเป็นแกนนำทางความคิดและการปฏิบัติของหมู่บ้านได้

      2. มีชาวบ้าน (จำนวนหนึ่ง) ที่ทำบัญชีครัวเรือนบ้าง  ไม่ทำบ้าง  ซึ่งแกนนำก็พยายามที่จะกระตุ้นให้คนเหล่านี้ทำอย่างสมำเสมอ

      3. มีชาวบ้าน (จำนวนหนึ่ง) ที่ไม่ทำเลย  ซึ่งแกนนำก็พยายามที่จะชักชวนให้ชาวบ้านเหล่านั้นเข้าร่วมกิจกรรมนี้  พร้อมๆไปกับการวิเคราะห์สาเหตุของการที่ชาวบ้านไม่ทำบัญชีครัวเรือนหรือทำไม่สมำเสมอ

      อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าบ้านสามขาจะมีการทำบัญชีครัวเรือนสมำเสมอพอสมควร  รวมทั้งพยายามวิเคราะห์หนี้สินของตัวเองเป็นระยะ  แต่ก็พบว่าปัญหาเรื่องหนี้สินหากพิจารณาในด้านตัวเลขแล้ว  บ้านสามขามีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นจาก 18 ล้านบาท เป็น 20 ล้านบาท  ซึ่งคงต้องลงไปดูในรายละเอียดว่าหนี้สินที่เพิ่มขึ้นมามาจากหมวดใด  คนแต่ละกลุ่มมีหนี้สินเพิ่มขึ้น-ลดลงอย่างไร ฯลฯ

      

หมายเลขบันทึก: 90987เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2007 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณวิไลลักษณ์ เรื่องของชุมชนหมู่บ้านสามขาเคยได้ยินมาระยะหนึ่งแล้ว น่าประหลาดใจว่าเมื่อมีเครื่องมือ (บัญชีครัวเรือน) ทำไมเครื่องมือนี้จึงได้ผลไม่เหมือนกัน ในหมู่บ้านเดียวกัน แถมยอดหนี้ยังเพิ่มขึ้นมาอีก

บางทีนักพัฒนาที่เป็นคนนอกชุมชนอาจมีความเชื่อมั่นในเครื่องมือมาก ในตัวเลขที่วัดได้ จนสนใจคนและบริบทน้อยไปนิดหรือเปล่าคะ

ดีใจจังค่ะ  serch หาข้อมูลจาก google  เกี่ยวกับบัญชีครัวเรือน  เนือ่งจากทำงานวิจัยอยู่เหมือนกันแต่เป็นเรื่องปัจจัยในการจัดทำ  อยากขออนุญาตถามเรื่องขอมูลเกี่ยวกับการทำ  ไม่ทราบงานของอาจารย์เสร็จแล้วหรือยังค่ะ  เพราะที่ดิฉันทำอยู่คือที่ อ. เมือง พระนครศรีอยุธยา บังเอิญเป็นสมาชิก gotoknow เหมือนกัน  อาจารย์จะแนะนำอะไรเพิ่มเติมบ้างไหมคะ  ขอบคุณล่วงหน้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท