โลกใบใหม่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้...ตอนที่ 2


ท่ามกลางผู้คนมากมาย ฉันยังคงเหงาและแสวงหาบางส่วนของชีวิตที่ขาดหายไป

ก่อนอื่น...ขอขอบคุณชาว blog ทุกท่านที่ได้เข้ามาทักทายและให้กำลังใจ "มือใหม่หัดเขียน" นะคะ แล้วจะแวะเข้าไปทำความรู้จักกับ blog ของทุก ๆ ท่านค่ะ

การใช้ IT เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "สิ่งที่ดี" ของผู้คนเป็นด้าน positive ของระบบโลกาภิวัตน์  ขณะเดียวกัน หากรู้ไม่เท่าทัน เราก็อาจกลายเป็น "เหยื่อ" ของระบบไปก็ได้...ตรงนี้สะท้อนจากการที่เห็นลูกศิษย์ (รวมทั้งหลานเราด้วย) นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ได้นานทีละหลาย ๆ ชั่วโมง บางคนนั่งได้เป็นวัน ๆ (เหมือนคนติดการพนัน) ทำให้เป็นห่วงว่า...สุขภาพจะเสื่อมก่อนวัยอันควรหรือเปล่า...และตามประสาคนรักธรรมชาติ ...ทำให้คิดไปว่า ...น่าจะแบ่งเวลาไปเดินเล่นชมนก ชมไม้ แสงเรื่อเรืองของท้องฟ้ายามเย็นก่อนตะวันตกดิน น่าจะให้สุนทรียภาพแห่งชีวิตมากกว่าแสงจากหน้าคอมฯ ...ฤามิใช่....

อาจเป็นเพราะผู้คน "เหงา" มากขึ้น "ว้าเหว่" มากขึ้น และ "โดดเดี่ยว" มากขึ้น วันเวลาที่ผ่านไปได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมและได้สร้างความเป็น "ปัจเจก" ให้แก่วิถีชีวิตเพิ่มขึ้นทุกขณะ เป็นไปได้ว่าโลกแห่งไซเบอร์ตอบสนองความปรารถนาที่มีอยู่ลึก ๆ ในหัวใจ....

ท่ามกลางผู้คนมากมาย ฉันยังคงเหงาและแสวงหาส่วนที่ขาดหายไปในชีวิต.... 

โจทย์หรือคำถามสำคัญ ไม่ใช่การเติมเต็มส่วนที่ขาดหาย แต่คือการรู้และเข้าใจว่า "ส่วนที่ขาดหาย" ของชีวิตนั้นคืออะไร?

หมายเลขบันทึก: 91017เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2007 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

น่าคิดค่ะ  หากรู้ไม่เท่าทัน เราก็อาจกลายเป็น "เหยื่อ" ของระบบไปก็ได้...

คงตัองปรับสมดุลและดูแลตัวเองด้วยค่ะ บางทีก็เพลิดเพลินไปกับการท่องอินเตอร์เน็ตมากเกินไปบ้าง ก็ต้องหากิจกรรมอื่น ทำดูด้วยน่ะค่ะ แต่คนส่วนใหญ่อาจจะลืมคิดถึงข้อนี้ไป

ขอบคุณมากค่ะ ที่ให้แง่คิดดี ๆ ค่ะ ^-^

สวัสดีค่ะอาจารย์ทิพวัลย์

อาจารย์ใช้ถ้อยคำที่งดงามในการเขียนมากเลยค่ะ

แฝงไว้ด้วยข้อคิดดีๆมากมาย

ขอ(แอบ)ชื่นชมอาจารย์อีกคนนะคะ

 

เข้ามาทักทายอาจารย์ทิพวัลย์ค่ะ

 

  • มายินดีต้อนรับดีใจที่ได้พบอาจารย์
  • ในอนาคตจะไปคารวะถึงที่ทำงานครับผม
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณมะปรางเปรี้ยว

ขอบคุณอีกครั้งนะคะ ได้อ่านข้อมูลความรู้ใน blog ของคุณมะปรางเปรี้ยว เลยทำให้ได้เปิด blog สำเร็จค่ะ

วันก่อนน้องที่อยู่ปราจีนให้มะปรางมาชิม...มะปรางวันนี้ไม่เปรี้ยวแล้วนะคะ  เป็น "มะปรางหวาน" ซะมากกว่าค่ะ

 

ใครเอ่ย...M-AOM ....

ตอนเด็ก ๆ เป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก โดยเฉพาะบทกวีและวรรณกรรมค่ะ แต่ไม่รู้ทำไมตอนโตไปเลือกเรียนสายวิทย์....ต่อที่เกษตรอีกต่างหาก...ไม่น่าจะไปกันได้เลยเนอะ...โอวาทสี่ของท่านเหลี่ยวฝานบอกไว้ว่า...เบื้องหลังสิ่งที่เราคิดว่าเราลิขิต...อาจเป็นชะตาฟ้าลิขิต...และเบื้องหลัง (อีกชั้น) ของฟ้าลิขิต ก็คือ เรานั้นเองที่สร้างชะตา...

 คุณ M-AOM เปิด blog ด้วยหรือเปล่าคะ จะได้เข้าไปเยี่ยมชมบ้างค่ะ

เด็กน้อยไม่ต้องคอยรักนะคะ

เพราะมีคนที่ "รัก" เราอยู่เสมอและตลอดเวลาค่ะ

อยากรู้ไหมว่าคนคนนั้นเป็นใคร...

โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

เป็น " Blogger มือใหม่" นะคะ เทคนิคอะไรก็ทำไมค่อยจะเป็นเลยค่ะ....

ได้แวะเข้าไปเยี่ยมชม blog ของอาจารย์แล้วค่ะ คงได้มีโอกาสเปิดเวที "ปุจฉา-วิสัจชนา" กลางลานหญ้าที่กำแพงแสนกันบ้างนะคะ

  • คงมีโอกาสครับอาจารย์
  • ดีใจจังเลยครับผม

สวัสดีค่ะ อาจารย์

M-AOM ไม่ได้เปิด blog ค่ะ ขอติดตามอ่านของอาจารย์ไปดีกว่า ได้ความรู้แบบสุนทรีย์ดีค่ะ

เป็นเรื่องที่น่าคิดครับพี่ ประเด็นที่ 1 มันอยู่ที่ผู้ใช้เครื่องมือนั้นว่าจะนำไปใช้อย่างไร แล้วไม่โดนเครื่องมือเหล่านั้นพาให้หลงทาง ประเด็นที่ 2 แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า "สิ่งที่ขาดหายนั้น" คืออะไร และแน่ชัดได้อย่างไรว่า เป็นสิ่งนั้นจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาหลอกตัวเองเท่านั้น ขอบคุณครับ

หนู M-AOM ค่ะ

วันนี้ยังไม่เปิด... แต่วันนึงข้างหน้าอาจจะเปิดได้ใช่ไหมคะ หนู M-AOM ทราบไหมคะว่า แม้แต่ Life Diagram เองกว่าจะเปิดได้ก็นาน...เป็นปีทีเดียวค่ะ

ขอบคุณที่จะติดตามอ่านนะคะ..... Cheers

คุณเอส_ครับ

 ถ้ารู้และเข้าใจ "เครื่องมือ" ดีพอ ก็คงรู้ว่าจะต้องใช้อย่างไรจึงจะเป็นผลดีมากกว่าผลเสียค่ะ คงต้องช่วยกันบอกกล่าวเล่าเรื่องค่ะ ผู้คนจะได้ไม่หลงทางค่ะ

 เป็น "ข้อคิด"ที่ดีมากเลยค่ะ การจะรู้ว่าสิ่งที่ขาดหายนั้นคืออะไร และแน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นสิ่งนั้นจริง ๆ เราก็ต้องลอง "ปฏิบัติ" ให้รู้ได้ด้วยตนเองค่ะ ภาษาพระเรียกว่า "ปัจจัตตัง" ค่ะ

ระบบที่เกิดขึ้นมนุษย์เป็นคนสร้าง ผลดีหรือผลเสียมีด้วยกันทั้ง 2 ด้านอยู่ที่การนำไปใช้ โลกแห่งไซเบอร์ตอบสนองความปรารถนาที่มีอยู่ลึก ๆ ในหัวใจ....
จริงหรือไม่ หรือลอกลวงกัน หรือว่าจริงใจ (อนิจจัง)
หรือความไม่แน่นอน หากเพียงว่าโลกแห่งไซเบอร์
มีความรวดเร็ว สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
มีประโยชน์เชื่อมโยงให้ทุกคนสามารถศึกษาหาความรู้ ได้โดยไม่รู้จบจึงทำให้ทุกคนเริ่มแปลกแยก
จนลืมไปว่าเราเป็นมนุษย์สังคม

IT จะกลายเป็นปัญหาระดับชาติในไม่เกิน 10 ปีนี้
หากไม่รีบตื่นตัวแก้ไข เด็กๆ ที่ยังมีวุฒิภาวะไม่พอ
ไม่รู้เข้าใจถึงอันตรายแฝงที่มาจากอินเตอร์เน็ต

น่าแปลกที่คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่รู้สึกเหงาท่ามกลาง
ความวุ่นวายที่ล้อมรอบตัว ผู้คนทำอะไรรวดเร็ว
คิดเร็ว พูดเร็ว แต่ขาดการใส่ใจอย่างแท้จริง
ผู้คนที่ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนมาก กล้าแสดงออกหลังแป้นพิมพ์
เพราะในความเป็นจริง หลายคนไม่กล้าแสดงจุดยืนของตนเอง
แทบทุกคนในโลกไซเบอร์ คิดว่าไม่ต้องมีความรับผิดชอบในการนำเสนออะไร
เพราะกฎหมาย และระบบดูแลที่รองรับยังอ่อนเหลือเกิน
เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของคนใช้เน็ตแล้วน่าใจหาย
ถามว่าทำไม่ผู้คนมากมายถึงติดอินเตอร์เน็ตกันงอมแงม
มันน่าจะเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน
ที่อยากจะได้รับการยอมรับ มีคนสนใจ มีความสำคัญ
แม้จะเป็นบนโลกเสมือนจริงแบบโลกไซเบอร์ก็ตาม
และอินเตอร์เน็ตนี่แหล่ะที่สามารถเป็นเวทีแสดงออกได้อิสระโดยปราศจากปัจจัยภายนอก
มาเป็นข้อจำกัด เช่น วัยวุฒิ คุณวุฒิ ฐานะการเงิน รูปลักษณ์หน้าตา
  • เฮ้อ อันตรายที่ส่งตรงถึงบ้านคุณ

อาจารย์ประเสริฐและคุณ Little Jazz คะ

โลกแห่งไซเบอร์เหมือนเหรียญสองด้านนะคะ

ใช้อย่างรู้เท่าทันก็เป็นประโยชน์...

แต่ถ้าขาด "สติ" ..แน่นอนค่ะ...อันตรายส่งตรงถึงบ้าน...

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นดี ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาเยี่ยมค่ะ

ดิฉันทำงาน(กับcomบ้าง)ด้วย

ไปเล่นกับหลานด้วย พาเที่ยว ช่วยดูแลด้วยความเต็มใจ 3 วัน/อาทิตย์

ในช่วงเย็น จึงจะเข้ามาในG2K ค่ะ 

ดิฉันพยายามไม่ใช้สายตามากไปค่ะ  ให้มีช่วงห่างบ้าง 

P lสวัสดีค่ะ
         ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมนะคะ
         ได้อ่าน blog ของคุณ sasinanda เป็นระยะ ๆได้ความรู้ดี ๆ หลายเรื่องค่ะ เพียงแต่ไม่ค่อยได้ให้ความเห็นไว้ค่ะ
          คือไม่ค่อยได้มีโอกาสอยู่กับคอมฯ น่ะค่ะ เวลาส่วนใหญ่ที่มีนอกจากการเรียนการสอนแล้ว จะใช้ในการเดินทางลงพื้นที่ค่ะ
          ดีใจที่ได้รู้จักกันผ่าน G2K นะคะ
      
         
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท