12. กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี


เริ่มต้น...ที่สร้างสรรค์

            จากการก่อตั้งกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ในปี 2539   ซึ่งสืบสานงานต่อมาจากกลุ่มครูที่มอบทุนการศึกษาในโรงเรียน โดยได้ช่วยงานระดมทุน    มีกิจกรรมฝึกอบรมที่สวนโมกข์    กิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนหลายๆแบบ    จนถึงปี 2545 กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์และเครือข่ายเยาวชนได้วิจัยศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งได้พบรูปแบบการสร้างสรรค์การเรียนรู้ที่ทางกลุ่มดำเนินการมา    โดยมีปัจจัยเอื้อที่สำคัญได้แก่ การมีครอบครัวที่เข้าใจส่งเสริมการทำงานของเด็กๆ  มีที่ปรึกษาที่ดี บรรยากาศของการเรียนรู้มีความสุข  มีระบบพี่น้องภายในกลุ่ม

ต่อจากนั้น ในปี 2546 ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้    โดยมีจุดเน้นด้านการพัฒนาพี่เลี้ยงงานวิจัย การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเยาวชนภายในจังหวัด การเผยแพร่แนวคิด หลักการกระบวนการทำงานวิจัย  และพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการดำเนินงานที่เหมาะสม

            การทำงานในขั้นตอนนี้      ได้พัฒนาศักยภาพของพี่เลี้ยงด้วยกระบวนการทำงานร่วมกันและเสริมกระบวนการอย่างเหมาะสม   มีฐานข้อมูลกลุ่มเยาวชนภายในจังหวัดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้   จำนวนหนึ่ง    เกิดโครงการวิจัย ที่ทาง สกว.  สนับสนุนจำนวน  2 โครงการ คือ โครงการศึกษาแนวทางการจัดการปัญหาขยะอย่างสร้างสรรค์โดยกลุ่มเยาวชนต้นกล้านาใหญ่ โรงเรียนบ้านนาใหญ่  .พุนพิน   และโครงการศึกษาแนวทางการฟื้นฟูคลองใน   ต.คลองน้อย  โดยกลุ่มเยาวชนคลองน้อย  .เมือง   และมีการเผยแพร่ แนวคิด หลักการ  กระบวนการทำงานผ่านการเคลื่อนไหวสร้างสรรค์งานวิจัยดังกล่าวด้วย

                

ในช่วงปี 2548  ได้ติดตาม ส่งเสริมการทำงานวิจัยของกลุ่มเยาวชน  2 กลุ่มอย่างต่อเนื่อง (ในโครงการวิจัยระยะที่ 2)   โดยโครงการศึกษาแนวทางการจัดการปัญหาขยะฯ  ของกลุ่มเยาวชนที่โรงเรียนบ้านนาใหญ่  อ.พุนพิน   ได้พบแนวทางการจัดการปัญหาขยะ  โดยการพัฒนากลุ่มเยาวชนเพื่อสร้างจิตสำนึกที่มีการจัดการปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทาง  และการนำขยะมาใช้ประโยชน์      ส่วนโครงการศึกษาแนวทางการฟื้นฟูคลองใน ต.คลองน้อย โดยกลุ่มเยาวชนคลองน้อย อ.เมือง  ใช้แนวทางการฟื้นฟูคลอง และเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำด้วยการใช้ภูมิปัญญาที่กลุ่มเด็กได้ค้นพบในการทำงานวิจัยในช่วงที่ผ่านมา       ซึ่งในช่วงนี้  มีทีมวิจัยเยาวชนเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กลุ่ม คือกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ท่าชนะ  ซึ่งได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์  ได้เรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในชุมชน ตั้งแต่ป่าเขา ป่าพรุ ป่าชายเลน และอ่าวท่าชนะ  นำไปสู่โครงการวิจัยศึกษาแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำคันธุลี โดยมีเป้าหมายในการจัดกระบวนการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรดังกล่าวอย่างครบวงจร    ศึกษาประเด็นการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติที่ชุมชนดำเนินการผ่านมา   เพื่อกำหนดแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ในภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำคันธุลีด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในลำดับต่อไป

ด้วยการสนับสนุนของทาง สกว. กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์   ได้จัดตั้งหน่วยประสานงานส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชน  .สุราษฎร์ธานี    เพื่อส่งเสริม ติดตามการทำงานของกลุ่มเยาวชน จำนวน  3 กลุ่ม  พร้อมด้วยการทำงานส่งเสริม พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย อีกประมาณ 4-5 กลุ่ม เพื่อจะพัฒนาไปสู่การกำหนดโจทย์วิจัยที่เหมาะสม  พร้อมด้วยการประสานเชื่อมร้อยการทำงานของเครือข่ายเยาวชน  โดยมีการยกระดับการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเป็นแกนหลักสำคัญ

จากการเรียนรู้ด้วยกระบวนการที่เหมาะสมของกลุ่มเด็กๆ ต่างวัยต่างสภาพแวดล้อม โดยการสนับสนุนของหลายๆฝ่ายได้ก่อให้เกิดความรู้ในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวของเยาวชนเองที่ได้พัฒนาวิธีคิดเชิงวิเคราะห์  สังเคราะห์  มีทักษะการทำงานร่วมกัน  มีความผูกพันต่อท้องถิ่นมากขึ้น  สามารถเชื่อมโยงยกระดับจนก่อเกิดเป็นปัญญา   สะท้อนคุณค่าสิ่งที่เด็กๆ ได้ร่วมคิดร่วมทำกันมา  ซึ่งได้ส่งผลในด้านการพัฒนากลุ่มเยาวชนที่มีบทบาทในระดับชุมชนและสังคม  เช่น กลุ่มเยาวชนต้นกล้านาใหญ่  กลุ่มรักษ์คลองน้อย  กลุ่มอนุรักษ์ท่าชนะ เป็นต้น     นำไปสู่การสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกัน   การจัดเวทีแลกเปลี่ยน  เวทีนำเสนอผลงานในระดับจังหวัดต่อเนื่องหลายครั้ง

พร้อมกันนี้     กลุ่มยุวชนฯ   ได้ริเริ่มงานการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบสานภูมิปัญญา มาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว โดยการสนับสนุนของวิทยาลัยการจัดการทางสังคม  (วจส.)  โดยได้พัฒนาการเรียนรู้ร่วมกับน้องๆ กลุ่มเรียนรู้ภูมิปัญญาคุณลุงศรีพัฒน์  เกื้อสกุล  ผ่านกระบวนการศึกษาประวัติคุณลุง  การฝึกหัดรำมโนราห์  เล่นหนังตะลุง  การสื่อสาร รณรงค์ เผยแพร่  ศึกษารวบรวมผลงานของคุณลุงเพื่อสืบสานคุณค่าสิ่งที่ดีงามของชุมชนในกลุ่มเยาวชนกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีเงื่อนไขเหมาะสมด้วยสายสัมพันธ์ดั้งเดิม

กลุ่มสืบสานภูมิปัญญาที่หมู่บ้านทับชัน ไทรงาม  กำลังศึกษาประวัติท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มชนไทยทรงดำ  ร่วมกันทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน  เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้  และมีกลุ่มสืบสานภูมิปัญญาหลวงปู่พุทธทาส  กำลังจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อศึกษาภูมิปัญญาของท่านเพื่อจะนำมาสืบสานผ่านการปฏิบัติบูชาร่วมกับกลุ่มน้องๆกลุ่มอื่นๆ

การเรียนรู้ในวิถีทางสุขภาวะ  ซึ่งยุวชนสร้างสรรค์ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้   ดับบ้านดับเมือง  เรียนรู้อยู่ดีที่ภาคใต้  ได้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรม ในกลุ่มเด็กเยาวชน รวมถึงการประสานงานกับเครือข่ายเยาวชนภาคใต้  กำลังอยู่ในช่วงการสรุปงาน  การถอดบทเรียน โดยการสนับสนุนของทางทีมงานดับบ้านดับเมือง  ซึ่งจะมีการถอดบทเรียนในแง่มุมใหม่ๆ ที่ทางกลุ่มจะนำไปพัฒนางานและเผยแพร่ได้อีก   โดยเฉพาะการกำหนดทิศทางในปี 2549  กลุ่มมีการวางแนวที่จะสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและนอกจังหวัด     ด้วยบทเรียนที่สำคัญของกลุ่มคือการยึดมั่นแนวทางการทำงานแบบมีส่วนร่วม ในความหมายแบบเข้มที่เยาวชนมีบทบาทหลักในการดำเนินงานทุกขั้นตอนจากการตัดสินใจร่วมกันของสมาชิก   ทำให้เด็กๆ เกิดการพัฒนาวิธีคิด มีความสามารถหลายๆ ทางในกระบวนการพัฒนากลุ่มเยาวชนต่อไปอีก

ย้อนอ่านรายละเอียดของกลุ่มที่  2  3  4  5  6  7  8   9 10  11 และติดตามความเป็นมาเวทีเยาวชนจิตอาสาเพื่อพัฒนาตนเอง  ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3

 
 
หมายเลขบันทึก: 91452เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2007 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ยังไม่ได้อ่านเนื้อหา ก็น่าสนใจแล้ว เยี่ยมจ้า...
คะ กลุ่มนี้เยี่ยมเลยคะ  รุ่นพี่ มอ.ปัตตานี

ยังมีอีกหลายกลุ่มและมีบทเรียนของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในบทความบทเรียนของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์

สวัสดีครับ

  • ขอร่วมกลุ่ม เยาวชนด้วย จะได้มั๊ยเนี่ย

พี่เอี้ยงเยี่ยมที่สุดเลยค่ะ และเพื่อน ๆ กลุ่มต้นกล้านาใหญ่ด้วย

  • เข้ากลุ่มด้วยจ้า..รับเปล่าอะ..

     

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท