Workshop “ ครูวิทย์ฯ ในดวงใจ ”


“ ครูวิทย์ฯ ในดวงใจ ที่สร้างสรรค์การสอนให้เด็กรักวิทยาศาสตร์”

         

         ผ่านไปแล้วกับการประชุมปฏิบัติการ ครูวิทย์ฯ ในดวงใจ ที่สร้างสรรค์การสอนให้เด็กรักวิทยาศาสตร์ ของโครงการเครือข่ายนวัตกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียน เมื่อวันที่ 20-251 เมษายน 2550 ณ โรงแรมศาลายาพาวิลเลี่ยม วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จ. นครปฐม      

          วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้คือ  เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงบวก และความภาคภูมิใจในการเป็นครูวิทยาศาสตร์     เพื่อรวบรวมองค์ความรู้การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ทำให้ผู้เรียนมีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์  (Scientific Thinking) อันเกิดจากประสบการณ์จริงของทุกคน     และเพื่อสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับที่มีนวัตกรรม    ซึ่งเทคนิคที่ใช้ในเวทีนี้คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ Storytelling, Deep listening, Dialogue, AI, การจดบันทึก, Blog และ AAR

          สำหรับกลุ่มเป้าหมายคือ ครูวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนในเขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 30 คน โดยมีการคัดเลือกจากการสัมภาษณ์เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท. )         โครงการพัฒนาอัฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชนระดับ ม. ปลาย และปริญญาตรี (ศจ. สวทช.)    โครงการพัฒนาอัฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชนระดับ ม. ต้น (ม. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)  โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

           บทเอกของเวทีนี้คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ในประเด็นของ  ความสำเร็จเกี่ยวกับประสบการณ์การสร้างสรรค์ หรือ วัตกรรมการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนรักวิทยาศาสตร์ หรือ คิดเป็นวิทยาศาสตร์ของตนเอง   ซึ่งครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 30 ท่าน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยมีทีม คุณอำนวยจาก มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ทำหน้าที่ชวนพูดชวนคุย  สร้างบรรยากาศ ควบคุมเวลา   และมีทีม คุณลิขิตจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  เพื่อจดบันทึก เรื่องเล่า  และจับประเด็นหรือวีธีการปฏิบัติที่ได้จากเรื่องเล่า

           ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ได้จากเรื่องเล่าของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม ได้ถูกนำเสนอในกลุ่มใหญ่ สามารถรวบรวมดังต่อไปนี้
  •  ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
  •  การสร้างวินัย
  •  ทำการทดลองโครงงานโดยเรียนรู้จากของจริง  ปลูกฝังกระบวนการวิทยาศาสตร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป การให้เรียนรู้ด้วยตนเอง และจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
  •  กระตุ้นความคิด และกระตุกด้วยคำถาม อาจให้คิดนอกกรอบ และไม่ยึดติดตำรา
  •  การให้/สร้างโอกาส
  •  การให้เรียนรู้ด้วยความสนุก
  •   ใช้สื่อ โดยครูทำเองหรือให้เด็กเป็นผู้ทำ
  •  สร้างแรงบันดาลใจ ทำเป็นตัวอย่าง
  • สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างเด็กและครู เพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย เด็กกล้าเข้าหาครู
  •  สร้างนวัตกรรมด้วยการบูรณาการ   บริหารชั้นเรียน  ให้นักเรียนรุ่นพี่สอนนักเรียนรุ่นน้อง   การวางแผนอย่างดี  ใช้จิตวิทยา
  •  การแลกเปลี่ยนเทคนิคกับเอครู
  •  มีจิตวิทยาศาสตร์ ด้วยการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอน
  •  เน้นความสำเร็จเป็นกลุ่ม  สนับสนุนตามความสามารถ   รักเด็กอ่อน/เก่งเท่ากัน
  • ทุ่มเทและอดทน
  •   ดูแลเอาใจใส่  (สร้างศรัทธา  สร้างบรรยากาศ และชมเชยบ่อยๆ)
  •   สอนให้นักเรียนถ่ายทอดแก่ผู้อื่น  ลดความเห็นแก่ตัว

           เมื่อจบกระบวนการครบวันครึ่ง เครื่องมือสุดท้ายคือ AAR บรรยากาศการเปิดใจอบอวลไปด้วยความภาคภูมิใจ และความชื่นมื่นของครูวิทย์ฯ ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมและคณะทีมผู้จัดงาน จนครูท่านหนึ่งพูดว่า 

พบกันในบล็อก    ทุกซอกทุกมุม

แลกเปลี่ยนรู้ภูมิ      ขุมปัญญา 

การทำงานหนักเป็นดอกไม้งามของชีวิต

การทำตามแนวคิดเป็นเครื่องมือพิชิตความสำเร็จ

หมายเลขบันทึก: 92119เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
บังเอิญแวะมาเจอเวบต์หน้าตาน่ารัก สีหวานแหวว พร้อมกับบทความดีดี ก็ต้องขอยกนิ้วให้ทรัพยากรบุคคลที่ดีของเมืองไทยสักหน่อยหละ
ชื่นชมในการที่เป็นครูที่มีความสามารถเอาใจใส่ความรู้สึกของเด็ก  ต้องการครูแบบนี้มากๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท